Book,Page,LineNumber,Text
39,0034,001,กรรม โดยการประหารครั้งแรกเท่านั้น เมื่อเขาไม่ตายแม้ด้วยสาหัตถิกประโยค
39,0034,002,ทั้งสอง ก็ไม่เป็นปาณาติบาตเลย ในข้อที่แม้คนมากคนประหารคนคนเดียว
39,0034,003,ก็นัยนี้ แม้ในอันนี้ความผูกพันด้วยกรรม ย่อมมีแก่คนที่ประหารเขาตายเท่า
39,0034,004,การจงใจสั่งให้เขาทำ ชื่อว่า อาณัตติกประโยค แม้ในอาณัตตก-
39,0034,005,ประโยคนั้น ก็พึงทราบความผูกพันด้วยกรรม โดยนัยที่กล่าวไว้ในสาหัตถิก-
39,0034,006,ประโยคนั้นแล ก็ในอาณัตติกประโยคนั้น พึงทราบว่า มีกำหนดไว้ ๖ อย่าง
39,0034,007,อาณัตติกประโยคกำหนดไว้ อย่างเหล่านี้คือ
39,0034,008,วัตถุ๑ กาล ๑ โอกาส ๑ อาวุธ ๑ อิริยาบถ ๑
39,0034,009,กิริยาวิเศษ ๑
39,0034,010,ในข้อกำหนด ๖ นั้น สัตว์มีชีวิต พึงจำไว้ว่าวัตถุ. เวลาเช้าเวลาเย็น
39,0034,011,เป็นต้น และเวลาหนุ่มสาว เวลาเป็นผู้ใหญ่เป็นต้น ก็พึงจำไว้ว่า กาล. คาม
39,0034,012,นิคม ป่า ตรอกหรือทางแยก ดังว่ามานี้เป็นต้น พึงจำไว้ว่า โอกาส. อาวุธ
39,0034,013,เป็นต้น อย่างนี้คือ คาบ ธนู หรือหอก พึงทรงการยืนหรือการนั่งของตนที่ถูกฆ่า
39,0034,014,และคนฆ่าดังว่ามานี้เป็นต้น พึงจำไว้ว่า อิริยาบถ. การแทง การตัด การ
39,0034,015,ทำให้ขาด หรือกร้อนผม ดังว่ามาเป็นต้น พึงจำไว้ว่า กิริยาวิเศษ. ก็หากว่า
39,0034,016,คนถูกเขาสั่งให้ฆ่าผู้ใด ทำวัตถุให้คลาดเคลื่อน [ฆ่าผิดตัว] ไปฆ่าคนอื่น
39,0034,017,นอกจากผู้นั้นไซร้ ผู้สั่งก็ไม่ต้องผูกพันด้วยกรรม ถ้าเขาไม่ทำวัตถุให้คลาด
39,0034,018,เคลื่อนฆ่าไม่ผิดตัว แม้ทั้งสองคนก็ต้องผูกพันด้วยกรรม คือผู้สั่งในขณะสั่ง
39,0034,019,ผู้ถูกสั่งในขณะฆ่า แม้ในข้อกำหนดอื่น ๆ มีกาลเป็นต้น ก็นัยนี้.
39,0034,020,ก็การปล่อยเครื่องประหารด้วยกายหรือของที่เนื่องด้วยกาย เพื่อทำเขา
39,0034,021,ให้ตาย ชื่อว่า นิสสัคคิยประโยค. แม้นิสสัคคิยประโยคนั้น ก็แยกเป็น ๒
39,0034,022,เหมือนกันคือ นิสสัคคิยประโยคเจาะจงและไม่เจาะจง ในข้อนี้ การผูกพัน
39,0034,023,ด้วยกรรม ก็พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วในข้อนี้ ๆ นั่นแล.