Book,Page,LineNumber,Text
45,0045,001,ว่าธรรมที่จะต้องฟังย่อมเป็นฐานให้บุคคลผู้ทำเป็นไปด้วยอำนาจ กิริยา คือ
45,0045,002,การฟัง ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันท่านแสดงถึงการตกลงใจในการรับ
45,0045,003,อารมณ์ของผู้ทำผู้พรั่งพร้อมด้วยกิริยา คือ การฟังนั้น ด้วยจิตสันดานที่เป็น
45,0045,004,ไปแล้ว โดยประการต่าง ๆ.
45,0045,005,อีกประการหนึ่ง บทว่า อิติ แสดงถึงกิจของบุคคล อธิบายว่า
45,0045,006,จริงอยู่ ธรรมดาว่ากิจของบุคคลเป็นอันพระอานนทเถระ แสดงแล้วด้วยอิติ
45,0045,007,ศัพท์ที่มีภาวะประกาศอรรถว่า นิทัสสนะ หรือว่า อวธารณะ ที่มีอาการแห่ง
45,0045,008,ธรรมทั้งหลายที่ได้ฟังมาแล้ว อันตนรับไว้แล้ว เพราะการทรงจำอาการนั้น
45,0045,009,เป็นต้นไว้ เป็นความขวนขวายในธรรม ด้วยการยึดมั่น ในโวหารว่าบุคคล.
45,0045,010,บทว่า สุตํ แสดงถึงกิจของวิญญาณ. อธิบายว่า จริงอยู่ กิริยา คือ การฟัง
45,0045,011,แม้ของผู้มีวาทะว่า บุคคลจะไม่เพ่งถึงวิญญาณก็หามิได้. บทว่า เม แสดง
45,0045,012,ถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยกิจทั้งสอง. อธิบายว่า จริงอยู่ ก็ความเป็นไปของศัพท์
45,0045,013,ว่า เม มีธรรมอันวิเศษที่ไม่ฟังมาแล้วเป็นอารมณ์ โดยส่วนเดียวเท่านั้น
45,0045,014,และกิจของวิญญาณก็พึงตั้งลงในอารมณ์นั้นนั่นแล. แต่ในที่นี้มีความย่อดังนี้
45,0045,015,ว่า อันข้าพเจ้า(พระอานนทเถระ) คือ อันบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณที่มี
45,0045,016,หน้าที่ฟัง ได้ฟังมาแล้ว ด้วยสามารถแห่งวิญญาณที่ได้โวหารว่า ผู้มีหน้า
45,0045,017,ที่ฟัง.
45,0045,018,อนึ่ง บทว่า อิติ และบทว่า เม เป็นอวิชชมานบัญญัติด้วยอำนาจ
45,0045,019,สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แห่งความหมายที่แจ่มแจ้งและความหมายที่ยอดยิ่ง เพราะ
45,0045,020,ว่า ความหมายที่จะพึงเข้าใจได้ด้วยเสียงทั้งหมดก็ดี บัญญัติทั้งมวลเพราะจะ
45,0045,021,ต้องปฏิบัติตามแนวทางแห่งการบัญญัตินั่นเองก็ดี ย่อมมีความไม่ขัดแย้งกันใน
45,0045,022,บัญญัติทั้ง ๖ นั่นแหละ มีวิชชมานบัญญัติเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ความหมาย
45,0045,023,อันใดเป็นความหมายที่ไม่มีอยู่จริง เหมือนมายากลและพยับแดดเป็นต้น และ