Book,Page,LineNumber,Text 45,0050,001,ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนอรุณขึ้น ควรมีมาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น 45,0050,002,และโยนิโสมนสิการควรเกิดขึ้นก่อนกุศลกรรม เพราะเหตุนั้น พระอานนท์ 45,0050,003,เมื่อจะตั้งนิทาน (คำเบื้องต้น) ในที่อันควร จึงกล่าวคำว่า อิติ เม สุตํ 45,0050,004,เป็นต้นไว้. 45,0050,005,อีกนัยหนึ่ง พระอานนท์แสดงการเกิดมีแห่งสมบัติ คือ อัตถปฏิสัม- 45,0050,006,ภิทา และปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตน ด้วยคำว่า อิติ นี้ ที่แสดงถึงการแทงตลอด 45,0050,007,โดยประการต่างๆ ตามนัยที่กล่าวแล้วในกาลก่อน. พระอานนท์แสดงการเกิด 45,0050,008,มีแห่งสมบัติ คือ ธรรมปฏิสัมภิทา และนิรุตติปฏิสัมภิทา ด้วยคำว่า สุตํ นี้ 45,0050,009,ที่แสดงถึงการแทงตลอดที่แตกต่างจากสิ่งที่ควรสดับ เพราะอมความของอิติ- 45,0050,010,ศัพท์ไว้ หรือเพราะมุ่งถึงเรื่องที่กำลังกล่าว. อนึ่ง พระอานนท์กล่าวคำนี้ว่า 45,0050,011,อิติ ที่แสดงถึงโยนิโสมนสิการ ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล จึงเท่ากับแสดงว่า 45,0050,012,ธรรมเหล่านี้ข้าพเจ้าตามเพ่งด้วยใจ ขบคิดแล้วด้วยทิฏฐิ. อธิบายว่า ปริยัติธรรม 45,0050,013,ทั้งหลาย ที่บุคคลตามเพ่งด้วยใจ โดยนัยเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า 45,0050,014,ตรัสศีลไว้ในสูตรนี้ ตรัสสมาธิไว้ในสูตรนี้ ตรัสปัญญาไว้ในสูตรนี้ ในสูตรนี้ 45,0050,015,มีอนุสนธิเท่านี้ ที่บุคคลกำหนดรูปธรรมและอรูปธรรม ที่กล่าวไว้ในสูตร 45,0050,016,นั้น ๆ ด้วยดี โดยนัยเป็นต้นว่า รูปเป็นอย่างนี้ รูปมีเท่านี้ แล้วขบคิดด้วยทิฏฐิ 45,0050,017,อันเกี่ยวเนื่องกับการตรึกตรองไปตามอาการที่ได้ฟังสืบ ๆ มา อันเป็นตัวทน 45,0050,018,ต่อการเพ่งพินิจ (พิสูจน์) แห่งธรรมหรือกล่าวคือ เป็นญาตปริญญา ย่อมนำ 45,0050,019,ประโยชน์เกื้อกูล และความสุขมาให้ทั้งแก่ตนและบุคคลอื่นแล. พระอานนท์ 45,0050,020,เมื่อกล่าวคำว่า สุตํ นี้ ที่แสดงถึงการประกอบในการฟัง จึงเท่ากับแสดงว่า 45,0050,021,ธรรมเป็นอันมาก อันข้าพเจ้าพึงทรงจำได้ สั่งสมไว้ด้วยวาจาแล้ว (สาธยาย) 45,0050,022,อธิบายว่า การฟัง การทรงจำ และการสั่งสมปริยัติธรรมไว้ เกี่ยวเนื่องกับการ 45,0050,023,เงี่ยโสตลงสดับ. พระอานนท์ แสดงความบริบูรณ์แห่งอรรถและพยัญชนะ