Book,Page,LineNumber,Text 46,0045,001,บทว่า วิตถํ ได้แก่ ความแปรผัน มีคำอธิบายว่า ชื่อว่า แปรผัน 46,0045,002,เพราะความเป็นโดยประการที่พวกคนพาลยึดถือเอาด้วยอำนาจกิเลสว่า เที่ยง 46,0045,003,หรือว่า ยั่งยืน ว่าเป็นสุข หรือว่า สวยงาม หรือว่า เป็นตัวตน. 46,0045,004,บทว่า อิทํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงตรัสธรรมชาติ 46,0045,005,มีขันธ์เป็นต้นทั้งหมดนั้นนั่นแล โดยภาวะที่เห็นประจักษ์. 46,0045,006,บทว่า ตฺวา ได้แก่ ทราบด้วยมรรคปัญญา อธิบายว่า ก็แลภิกษุใด 46,0045,007,ทราบธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้นนั้น โดยความไม่หลง และโดยอารมณ์. 46,0045,008,บทว่า โลเก ได้แก่ ในโอกาสโลก. เชื่อมความว่า รู้ว่าธรรมชาติ 46,0045,009,มีขันธ์เป็นต้นทั้งปวงนี้เป็นของแปรผัน. 46,0045,010,บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้ง ๔ เบื้องหน้าแต่นี้ไป ดังต่อไปนี้ :- 46,0045,011,ศัพท์เหล่านี้คือ วีตโลโภ วีตราโค วีตโทโส วีตโมโห มีความ 46,0045,012,แปลกกัน (ไม่เหมือนกัน). 46,0045,013,ในบรรดาคำทั้ง ๔ นี้ ที่ชื่อว่าโลภะ ด้วยอำนาจแห่งความโลภ (อยากได้) 46,0045,014,คำว่า โลภะ นี้ เป็นคำที่รวมอกุศลธรรมฝ่ายโลภะเข้าไว้ทั้งหมด เป็นชื่อแห่ง 46,0045,015,อกุศลมูลที่หนึ่ง หรือเป็นชื่อแห่งวิสมโลภะ โลภธรรมนั้นใด บางคราวย่อม 46,0045,016,เกิดขึ้นได้แม้ในวัตถุทั้งสาม คือ โภคะ ๑ รัฐ ๑ หมู่บ้าน ๑ ที่ชื่อว่าราคะ 46,0045,017,ด้วยสามารถแห่งความรัญจวน ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า โลภธรรมย่อมบังเกิด 46,0045,018,ขึ้นในสตรีทั้งหลายรุ่นพี่น้องหญิง รุ่นธิดา. คำว่า ราคะ นี้ เป็นชื่อของราคะ 46,0045,019,คือกามคุณทั้งห้า. 46,0045,020,ที่ชื่อว่า โทสะ ด้วยสามารถแห่งการประทุษร้าย. คำว่า โทสะ นี้ 46,0045,021,เป็นชื่อของความโกรธที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น.