Book,Page,LineNumber,Text
46,0047,001,เป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย โลภะเป็นอกุศลด้วย เป็นอกุศลมูลด้วย. อนุสัยเหล่านี้
46,0047,002,บางอย่างไม่มีแก่ภิกษุใด เพราะเธอละเสียได้ ด้วยมรรคนั้น ๆ อย่างนี้ และอนุสัย
46,0047,003,เหล่านี้ก็เป็นอกุศลมูล อันภิกษุถอนขึ้นได้แล้วแล อธิบายว่า ถอนเสียแล้ว.
46,0047,004,ก็พวกอาจารผู้รู้ลักษณะของศัพท์ ปรารถนาการลง เส อักษร สำหรับคำที่
46,0047,005,เป็นปฐมาวิภัตติพหุวจนะ แต่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย พรรณนาว่า ศัพท์ว่า
46,0047,006,เส เป็นนิบาต. ท่านชอบใจคำใด ก็พึงถือเอาคำนั้น.
46,0047,007,ก็ในคาถานี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-
46,0047,008,ภิกษุนั้น คือผู้มีอย่างนี้ เป็นพระขีณาสพ ก็พระขีณาสพย่อมไม่ยึดมั่น
46,0047,009,พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า พระขีณาสพย่อมละ ครั้นละแล้วก็ดำรงอยู่ แม้
46,0047,010,ก็จริง ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังตรัสว่า ภิกษุนั้น ย่อมละฝั่งนอกและฝั่งในเสียได้
46,0047,011,ด้วยลักษณะของคำที่เป็นปัจจุบัน ในวิภัตติที่เป็นปัจจุบันใกล้อดีต.
46,0047,012,อีกอย่างหนึ่ง ก็ภิกษุปรินิพพานอยู่ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ บัณฑิต
46,0047,013,พึงทราบว่า ย่อมละฝั่งในและฝั่งนอก กล่าวคืออายตนะภายในและอายตนะ
46,0047,014,ภายนอกของตนเสียได้.
46,0047,015,พึงทราบความไม่มีอนุสัยในพระคาถานั้น โดยแยกเป็น ๒ ส่วน คือ
46,0047,016,ตามลำดับกิเลส และตามลำดับมรรค.
46,0047,017,ก็เมื่อว่าตามลำดับกิเลส ความไม่มีแห่งกามราคานุสัย และปฏิฆานุสัย
46,0047,018,ย่อมมีได้ด้วยมรรคที่สาม. ความไม่มีแห่งมานานุสัย ย่อมมีได้ด้วยมรรคที่สี่
46,0047,019,ความไม่มีแห่งทิฏฐานุสัย และวิจิกิจฉานุสัย ย่อมมีได้ด้วยมรรคที่หนึ่ง ความ
46,0047,020,ไม่มีแห่งภวราคานุสัยและอวิชชานุสัย ย่อมมีได้ด้วยมรรคที่สี่.