Book,Page,LineNumber,Text 47,0042,001,สำรอกไป ได้แก่ กระจัดกระจายไป ฉะนั้นพระนิพพานนั้น ท่านจึงเรียกว่า 47,0042,002,ขยํ ธรรมเป็นที่สิ้นไป และเรียกว่า วิราคํ ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส. 47,0042,003,อนึ่ง เพราะความเกิดขึ้นของพระนิพพานนั้น ไม่ปรากฏ ความเสื่อม 47,0042,004,ไปก็ไม่ปรากฏ การเป็นอย่างอื่นแห่งพระนิพพานนั้น ซึ่งดำรงอยู่แล้ว ก็ไม่ 47,0042,005,ปรากฏ ฉะนั้นพระนิพพานนั้น ท่านจึงเรียกว่า อมตํ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า 47,0042,006,ไม่เกิด ไม่แก่ และไม่ตาย. ก็พระนิพพานนั้นชื่อว่า ปณีตํ เพราะอรรถว่า 47,0042,007,สูงสุด และเพราะอรรถว่า ไม่เร่าร้อน. 47,0042,008,สองบทว่า ยทชฺฌคา ความว่า (พระศากยมุนี) ได้ทรงบรรลุ 47,0042,009,แล้วคือว่าทรงประสบแล้ว ได้แก่ได้แล้ว คือทำให้แจ้งแล้ว ซึ่งพระธรรมใด 47,0042,010,ด้วยกำลังแห่งญาณของพระองค์. 47,0042,011,บทว่า สกฺยมุนี ได้แก่ ที่ชื่อว่า สักยะ เพราะประสูติในศากยสกุล 47,0042,012,ชื่อว่า มุนี เพราะพระองค์ทรงประกอบด้วยโมเนยยธรรม ศากยะนั้นเอง 47,0042,013,เป็นมุนี จึงชื่อว่า ศากยมุนี. 47,0042,014,บทว่า สมาหิโต ได้แก่ มีจิตตั้งมั่นด้วยอริยมรรคสมาธิ. 47,0042,015,บาทคาถาว่า น เตน ธมฺเมน สมตฺถิ กิญฺจิ ความว่า ธรรมชาติ 47,0042,016,ไร ๆ ที่จะเสมอด้วยพระธรรมที่พระศากยมุนี ผู้ได้นามว่า ขยํ เป็นต้นนั้น 47,0042,017,ซึ่งทรงบรรลุแล้วย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ แม้ใน 47,0042,018,ระหว่างแห่งพระสูตร (ในตอนกลางของอัคคัปปสาทสูตร) ว่า ภิกษุทั้งหลาย 47,0042,019,ธรรมทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ทั้งที่เป็นสังขตะก็ตาม เป็นอสังขตะก็ตาม 47,0042,020,วิราคะ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้เป็นต้น.