title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกแย้ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกแย้ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกแย้ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกแย้ ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกแย้และนายอำเภอหนองแค จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกแย้ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกแย้ ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับตำบล เรื่อง การควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหาร และสถานที่ สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๔๑ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายหรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือ ทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “ภัตตาคาร” หมายความว่า ร้านอาหารที่มีขนาดใหญ่ ๒ คูหาขึ้นไป ที่รับประทานอยู่ภายในอาคาร พนักงานแต่งกายมีแบบฟอร์ม “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกแย้ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใด ซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร และมิใช่เป็นการขายของในตลาด ต้องได้รับใบอนุญาตจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตร ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้ง ก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๖ ประเภทสถานประกอบกิจการ ๑) สถานที่จำหน่ายอาหาร แบ่งเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ ๑.๑ ภัตตาคาร ๑.๒ ร้านอาหารทั่วไป ทั้งที่มีที่นั่งและไม่มีที่นั่ง ๑.๓ ร้านเครื่องดื่ม ร้านขนมหวาน ร้านไอศกรีม ๒) สถานที่สะสมอาหาร แบ่งเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ ๒.๑ ร้านขายของชำ ๒.๒ ร้านมินิมาร์ท ๒.๓ ซูเปอร์มาร์เก็ต ข้อ ๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ ก) สถานที่จำหน่ายอาหาร ๑. ที่ตั้งต้องห่างจากสถานที่ที่สกปรก หรือน่ารังเกียจ หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๒. พื้น ผนัง บริเวณที่เตรียม ปรุง ทำด้วยวัตถุแข็งแรง ไม่ชำรุด ทำความสะอาดง่าย ๓. ที่เตรียม ปรุงอาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้น อย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร ๔. สถานที่ปรุง หรือรับประทานอาหาร ต้องสะอาด ถูกสุขลักษณะ ๕. จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่น ซึ่งมีสภาพแข็งแรง สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ ๖. จัดให้มีบริเวณและที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอ และถูกต้องด้วยสุขลักษณะ เพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ ๗. จัดให้มีที่สำหรับล้างมือ พร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ ๘. ภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหารต้องสะอาด ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ ๙. จัดให้มีระบบระบายน้ำอย่างเพียงพอ กรณีที่มีน้ำเสียต้องจัดให้มีการดักเศษอาหาร ดักไขมัน ก่อนระบายน้ำทิ้ง ๑๐. จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอ บริเวณที่ปรุงอาหารต้องมีเครื่องดูดควัน พัดลม ปล่องระบายควันสูงเพียงพอ ไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ ๑๑. จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอ และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย ๑๒. จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกัน ไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร ๑๓. จัดให้มีที่รองรับขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ ๑๔. จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น ๑๕. ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลโคกแย้ ข) สถานที่สะสมอาหาร ๑. ที่ตั้งต้องห่างจากสถานที่ที่สกปรก หรือน่ารังเกียจ หรือเป็นอันตราต่อสุขภาพ ๒. อาคารต้องมีความมั่นคง แข็งแรง พื้น ผนัง เพดาน มีสภาพดี สะอาด ๓. มีชั้นวางสินค้า ทำด้วยเศษวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพแข็งแรง ชั้นล่างสุด มีความสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร มีลักษณะโปร่ง เพื่อให้สามารถทำความสะอาดใต้ชั้นวางสินค้าได้ ยกเว้นกรณีบริเวณที่วางสินค้าที่มีน้ำหนักมาก อาจใช้ชั้นที่มีลักษณะทึบ ๔. หากมีการเตรียมอาหาร สถานที่เตรียมอาหารต้องสะอาด มีแสงสว่างเพียงพอ มีการระบายอากาศที่เหมาะสม ที่เตรียมอาหารต้องสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร และมีการระบายน้ำได้ดี ๕. จัดให้มีระบบระบายน้ำอย่างเพียงพอ กรณีที่มีน้ำเสียต้องจัดให้มีการดักเศษอาหาร ดักไขมันก่อนระบายน้ำทิ้ง ๖. จัดให้มีแสงสว่างที่เพียงพอต่อการประกอบกิจการ มีระบบระบายอากาศ ที่เหมาะสม ไม่อับชื้น ๗. จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอ และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย ๘. จัดให้มีที่รองรับขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารที่มีพื้นที่ เกินสองร้อยตารางเมตร มิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ ๑. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/อื่น ๆ ระบุ ๒. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ ๓. สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งของสถานประกอบกิจการหรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ ในสถานที่ที่ขออนุญาตประกอบกิจการ ๔. แผนที่สังเขปแสดงสถานที่ตั้งสถานประกอบการ ๕. เอกสารแสดงสิทธิ์ในการครอบครองที่ดิน อาคาร สถานที่ ๖. สำเนาแบบก่อสร้างของอาคารที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาท้องถิ่น ๗. ใบรับรองการตรวจสุขลักษณะของสถานประกอบกิจการที่มีผลการตรวจไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีการต่ออายุใบอนุญาต) ๘. ใบรับรอง หรือวุฒิบัตรหรือหลักฐานอื่นใด ที่แสดงว่าผู้ขอรับใบอนุญาต มีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร โดยออกจากส่วนราชการหรือท้องถิ่น สำหรับผู้ขอใบอนุญาตที่เป็นสถานที่จำหน่ายอาหาร ๙. ใบรับรองแพทย์ ของผู้ประกอบกิจการ และผู้ปรุง ออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน ๑๐. หนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมายพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้ประกอบการไม่สามารถมายื่นคำขอด้วยตนเอง) ๑๑. ใบอนุญาตการจำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร ฉบับที่ยังไม่หมดอายุ (กรณีต่อใบอนุญาต) ๑๒. สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๑๓. อื่น ๆ ตามความจำเป็น แล้วแต่กรณี ข้อ ๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องให้ความร่วมมือ และเข้าร่วมการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหาร ตามที่หน่วยงานราชการหรือท้องถิ่นจัด ทั้งหลักสูตรของผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวม ความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาต หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๒ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกแย้เท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาต จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๗ และข้อ ๘ โดยอนุโลม ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกแย้ ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดตามที่แบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีที่ใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่ มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่า ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือ สำนักทำการงานของผู้ที่ต้องรับหนังสือ และให้ถือว่าผู้นั้นได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว ตั้งแต่เวลาที่หนังสือไปถึงหรือวันปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการ ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๒ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลโคกแย้ ประกาศกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้ง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในการกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้ง ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้ง ต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๔ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามที่แบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๕ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้ โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการ โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่งยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนด ซึ่งไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๗ การแจ้งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้แจ้งหรือผู้ดำเนินการทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้ที่ต้องรับหนังสือ และให้ถือว่าผู้นั้นได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วตั้งแต่เวลา ที่หนังสือไปถึงหรือวันปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกแย้ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกแย้เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศหรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พิชัย บุญบรรดาลชัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกแย้ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารสถานที่สะสมอาหารแนบท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกแย้ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๑) ๓. คำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๒) ๔. ใบรับแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือ สถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๓) ๕. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร (แบบ สอ. ๔) ๖. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๕) ๗. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร (แบบ สอ. ๖) ๘. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๗) ๙. คำขอต่ออายุใบอนุญาตหรือขอต่ออายุหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๘) ๑๐. คำร้องขออนุญาตต่าง ๆ (แบบ สอ. ๙) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๑๖๕/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,252
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ ว่าด้วยเรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณและนายอำเภอดอกคำใต้ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ป ระกาศ ร ะเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบัญญัติหรือคำสั่งอื่นใด เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ ๖.๑ กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๒) การประกอบกิจการการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม ๖.๒ กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด (๒) การหมัก ฟอก ตากหรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๔) การเคี่ยวหนัง เอ็นหรือไขสัตว์ (๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๗) การผลิต แปรรูป สะสมหรือล้างครั่ง ๖.๓ กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่มยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหารการเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคยน้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรืสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม ผลิตภัณฑ์เนยผสม (๑๑) การผลิตไอศกรีม (๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ การผลิต การแบ่งบรรจุน้ำตาล (๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๑๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืชผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ แบะแซ (๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร ๖.๔ กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๑) การผลิต การโม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่น้ำ ยาทำ ความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ๖.๕ กิจการที่เกี่ยวกับ การเกษตร (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำ ปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืชหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕) การผลิตยาสูบ (๖) การขัด กะเทาะ การลดเมล็ดพืช (๗) การผลิต การสะสม หรือการแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๘) การผลิตใยจากพืช (๙) การตาก การสะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลังข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด ฯลฯ ๖.๖ กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖.๖ (๑) (๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ป ระสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซหรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖.๖ (๑) (๔) การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖.๖ (๑) (๕) การขัดล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมียกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๖ (๑) (๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ ๖.๗ กิจการเกี่ยวกับ ยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารป้องกันสนิมยานยนต์ (๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า ๖.๘ กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำ คิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้หวายชานอ้อย (๔) การอบไม้ (๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียนหรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๗) การผลิตกระดาษต่าง ๆ (๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน ๖.๙ กิจการที่เกี่ยวกับ การบริการ (๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน (๖.๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน ๖.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า ห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรีเต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน ๖.๙ (๑) (๑๐) การประกอบกิจการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว ๖.๑๐ กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือการทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๗) การซัก อบรีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ ๖.๑๑ กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑) การผลิตภาชนะดินเผา หรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหิน ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อย ด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖.๑๑ (๒) (๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖) การเลื่อย ตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาวดินสอพอง หรือการเผาหินปูน (๘) การผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๐) การผลิตกระดาษทรายหรือผ้าทราย (๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖.๖ (๕) ๖.๑๒ กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลี่ยมปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้กและสารเคมีต่าง ๆ (๑) การผลิต สะสม การบรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๔) การผลิต การสะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖.๗ (๑) (๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๙) การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๔) การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๕) การผลิตเชลแล็กหรือสารเคลือบเงา (๑๖) การผลิต สะสม บรรจุขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว ๖.๑๓ กิจการอื่น ๆ (๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การพิมพ์แบบพิมพ์เขียวหรือการถ่ายเอกสาร (๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดเข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี หมวด ๒ สถานที่ตั้งลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาลหรือสถานที่อื่น ๆ ไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญของประชาชน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่อนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางมีแสงสว่างเพียงพอและมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหารการปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อยปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ หมวด ๓ การชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หมวด ๔ การควบคุมของเสีย มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หมวด ๕ ใบอนุญาต ข้อ ๑๘ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตนี้ให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์ที่จะประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณประกาศกำหนด ข้อ ๒๐ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้รับใบอนุญาตประกอบการค้าซึ่งเป็นที่รังเกียจหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ให้ผู้นั้นประกอบกิจการนั้นต่อไปได้เสมือนเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัติแล้ว แต่เมื่อใบอนุญาตดังกล่าวสิ้นอายุ และผู้นั้นยังคงประสงค์จะดำเนินกิจการต่อไปผู้นั้นจะต้องมาดำเนินการขอรับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ก่อนการดำเนินการ (๒) ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตให้ประกอบการค้าตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ (๓) ใบอนุญาตฉบับหนึ่งใช้สำหรับการค้าประเภทเดียวและสำหรับสถานที่เดียว ถ้าประกอบการค้าซึ่งให้ควบคุมหลายประเภทในขณะ และสถานที่เดียวกัน ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในประเภทที่มีอัตราสูงเต็มอัตราแต่ประเภทเดียว ประเภทอื่นให้เก็บเพียงกึ่งอัตรา ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับการอนุญาตจะต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดในข้อกำหนดของท้องถิ่นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดตามเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลา แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๓ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนรับใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่อใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ ข้อ ๒๖ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงหรือข้อกำหนดของท้องถิ่นที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตนั้นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้ทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ดาบตำรวจ อุดม บานเย็น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๒) ๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๓) ๕. แบบคำขออนุญาตต่าง ๆ เกี่ยวกับการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๑๘๕/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,253
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุมโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุมและนายอำเภอวชิรบารมี จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุมตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม ๑. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม ๒. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช เพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง ๓. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนยผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๑๑) การผลิตไอศกรีม (๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภารชนะอื่นใด (๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด ๆ (๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร ๔. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ๕. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕) การผลิตยาสูบ (๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด ๖. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ ๗. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๔) การประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า ๘. กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๔) การอบไม้ (๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน ๙. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่าหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันเว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) (๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๑๖) การประกอบกิจารสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว ๑๐. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ ๑๑. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๑๑ (๒) (๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใดยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๕) ๑๒. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗ (๑) (๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว ๑๓. กิจการอื่น ๆ (๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถานโรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน สถานีอนามัย หรือหน่วยงานราชการ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุมประกาศกำหนด เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญของประชาชน ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหาร สำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๗ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุมประกาศกำหนด ข้อ ๑๙ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการอีกต่อไปให้ยื่นคำขอบอกเลิกดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุมกำหนดก่อนถึงกำหนดเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุมเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุมเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ชอบ ถาวร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 ๒. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต ๓. แบบคำขอรับใบแทน ๔. แบบคำขอรับใบอนุญาต ๕. ใบแทนใบอนุญาต ๖. ใบอนุญาต (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๑/๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
54,254
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยาง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยาง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยาง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยาง ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบันและสอดคล้องกับกฎหมายแม่บท อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับ ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลยาง โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลยางและนายอำเภอบรบือ จึงตราข้อบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยาง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยาง ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับตำบลยาง เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิด จากการประกอบกจิ การที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ ให้กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุม ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยาง ๑. กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม ๒. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๑) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด (๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ หรือขนสัตว์ (๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ ๓. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหารการเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลาหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้หรือพืชอย่างอื่น (๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้าหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากนมสัตว์ (๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนยผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๑๑) การผลิตไอศกรีม (๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอททิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๑๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร ๔. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ ยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ๕. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำ ปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืชหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕) การผลิตยาสูบ (๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ย หรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด ๖. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๒) การถลุงแร่ การหลอมหรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน ๖ (๑) (๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิลหรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน ๖ (๑) (๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน ๖ (๑) (๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือกหรือล้างแร่ ๗. กิจการเกี่ยวกับ ยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๕) การล้าง ขัด เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่า หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า ๘. กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๔) การอบไม้ (๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน ๙. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริหารในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน ๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน ๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน (๙.๑) (๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเก็ต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม (๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย (๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว ๑๐. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ ๑๑. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหิน ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุคล้ายคลึง (๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน ๑๑ (๒) (๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๕) ๑๒. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน ๗ (๑) (๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว ๑๓. กิจการอื่น ๆ (๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๙) การประกอบกิจการท่าเรือประมงสะพานปลาหรือแพปลา (๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งห่างชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามที่กฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย ข้อ ๙ สถานที่ประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงาน ต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการควบคุมความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้งและมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตราย ต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๘ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว กรณีดำเนินกิจการที่ต้องมีการควบคุมหลายประเภทในสถานที่เดียวกัน ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในทุกประเภทตามอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด กรณีเป็นนิติบุคคล (๔) หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านที่รับรองความถูกต้อง ของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ กรณีผู้ขอใบอนุญาตไม่สามารถยื่นคำขอได้ด้วยตนเอง (๕) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๖) ใบอนุญาตฉบับจริงกรณีต่ออายุใบอนุญาต (๗) อื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควร ข้อ ๒๐ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้รวมทั้งเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้โดยเฉพาะในใบอนุญาตหรือแนบท้ายใบอนุญาต (๒) หากปรากฏในภายหลังว่าการประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาตขัดต่อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ (๓) อื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดหรือเห็นสมควร ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้ง ให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๓ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลยางเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้ จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๙ และข้อ ๒๐ ด้วย ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลยาง ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยางเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บุญเพ็ง ศรัทธาคลัง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยาง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยาง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต ๓. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๑๔๐/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,255
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายและนายอำเภอหลังสวน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้และซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การมีสัตว์ไว้ในครอบครอง และดูแลเอาใจใส่บำรุงรักษาตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์ หรือปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ โดยปราศจากการควบคุม “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึง ผู้ครอบครองเลี้ยงสัตว์ด้วย “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์เลี้ยง “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๖ ให้การประกอบกิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย ข้อ ๗ ห้ามบุคคลใดประกอบกิจการหรือการค้าซึ่งกำหนดให้ควบคุม ดังระบุไว้ในข้อ ๖ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๘ ผู้ใดประกอบการค้าประเภทหนึ่งประเภทใด ซึ่งกำหนดควบคุมตามข้อ ๖ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย โดยมิได้รับอนุญาตต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี หมวด ๒ สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่ราชการอื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง แต่ทั้งนี้ ต้องไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากประชาชนในชุมชนหรือและผู้ดูแลรับผิดชอบสถานที่นั้น ๆ แต่ ทั้งนี้ ต้องไม่น้อยกว่า ๕๐ เมตร ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการ ที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเอง ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงาน ต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ หมวด ๓ การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๘ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิง อย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตราย ต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หมวด ๔ การควบคุมของเสีย มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ ข้อ ๑๙ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หมวด ๕ ใบอนุญาต ข้อ ๒๐ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๒๑ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ (๒) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ หรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือหนังสือรับรองนิติบุคคล กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขอ (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) (๔) เอกสารอื่นใดที่องค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายประกาศกำหนด หรือเห็นว่าเกี่ยวข้องและจำเป็นกับการประกอบกิจการ ข้อ ๒๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องประกอบกิจการภายในอาคาร สถานที่ หรือพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ทั้งนี้ หากจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ต่อเติม หรือเพิ่มเติมอาคาร สถานที่ หรือพื้นที่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นทุกครั้ง (๒) ต้องรักษาอาคาร สถานที่เลี้ยงสัตว์ให้เป็นตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ ถึงข้อ ๑๖ อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ หากมีความชำรุดบกพร่องเกิดขึ้น ให้รีบดำเนินการแก้ไขให้กลับสู่สภาพปกติโดยทันที (๓) ต้องดูแลรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในการประกอบกิจการ ให้อยู่ในสภาพและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานตามกฎหมาย (๔) ต้องดูแลรักษาอาคาร สถานที่ หรือพื้นที่มิให้เป็นแหล่งเพาะพันธ์แมลงวัน ยุง สัตว์นำโรคใด ๆ หรือเชื้อโรคใด ๆ ทั้งนี้ หากพบหรือสงสัยว่าจะมีปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น ต้องรีบแจ้ง ให้ทางเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข โดยทันที (๕) ต้องควบคุม ดูแลและป้องกันมิให้เกิดมลพิษใด ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในข้องบัญญัตินี้ ทั้งนี้ หากพบหรือสงสัยว่าจะมีปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น ให้รีบดำเนินการแก้ไข และให้รีบแจ้งให้ทาง เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข โดยทันที (๖) ต้องควบคุมดูแลการเลี้ยงสัตว์ มิให้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญใด ๆ แก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง หรือผู้ซึ่งต้องประสบเหตุนั้น (๗) ต้องยินยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือ ผู้ที่มอบหมายเข้าไปในอาคาร สถานที่ หรือพื้นที่ประกอบกิจการเพื่อตรวจสอบ หรือดำเนินการใด ๆ ตามข้อบัญญัตินี้ได้ทุกเวลา เมื่อทางเจ้าพนักงานแจ้งความประสงค์ให้ทราบแล้ว แต่กรณีฉุกเฉิน เร่งด่วน หรือจำเป็นอย่างยิ่ง เจ้าพนักงานสามารถเข้าไปโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๔ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวม ความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๕ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒๑ และข้อ ๒๒ ด้วย ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่ มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย หมวด ๖ บทกำหนดโทษ ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ นี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตนี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้น ก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือ สำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่ เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการ ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๗ หรือข้อ ๒๐ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ตามมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๓ ผู้ได้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตตามข้อ ๒๐ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท ตามมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๔ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไป ที่กำหนดให้ผู้ดำเนินกิจการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ดำเนินการ และมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพต่าง ๆ ตามข้อบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ตามมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับอนุญาตผู้ใดดำเนินกิจการในระหว่างที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และปรับอีกวันละไม่เกินห้าพันบาท ตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืน ตามมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๖ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพ ของประชาชนในท้องถิ่น หรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือการปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้ เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์โดยเด็ดขาด (๑.๑) วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล สถานพยาบาล และทางสาธารณะ เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ทุกประเภทโดยเด็ดขาด (๑.๒) สถานที่ราชการอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ทุกประเภทโดยเด็ดขาด เว้นแต่ จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากหน่วยงานผู้ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ และจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานผู้ดูแลรับผิดชอบพื้นที่และเจ้าพนักงานท้องถิ่น จะได้กำหนดไว้ในหนังสืออนุญาต (๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้ เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ได้ ต้องอยู่ภายใต้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (๒.๑) ที่สาธารณะที่ระบุไว้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ เป็นเขตที่สามารถเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ทุกประเภท แต่ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๒.๒) ที่สาธารณะที่เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือที่สาธารณะประเภทอื่นใด เป็นเขตที่สามารถเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ทุกประเภท แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานจะได้กำหนดไว้ในหนังสืออนุญาต ข้อ ๓๗ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะ อันเป็นการฝ่าฝืน ข้อ ๓๓ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลา อย่างน้อยสามสิบวัน และเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของสัตว์ เพื่อรับสัตว์คืน ให้สัตว์นั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือบุคคลใด หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขาย หรือขายทอดตลาด หรือจัดการตามที่เห็นสมควรแก่กรณี ก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ ส่วนเงินที่ได้จากการขาย หรือขายทอดตลาด เมื่อหักค่าใช้จ่ายใด ๆ อันเกี่ยวข้องกับสัตว์นั้นแล้ว ให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่เจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นคืนสัตว์หรือเงิน แล้วแต่กรณี ตามวรรคหนึ่ง ให้แก่เจ้าของสัตว์ ต่อเมื่อเจ้าของสัตว์ได้เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อันเกี่ยวข้องกับสัตว์นั้น และค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ (ถ้ามี) ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายครบถ้วนแล้ว ข้อ ๓๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๓๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ธเรวัชร อบแพทย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๑๒๙/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,256
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะและนายอำเภอสังขะ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า "ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูล และมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙" ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ข้อบัญญัตินี้ "สิ่งปฏิกูล" หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น "มูลฝอย" หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น "เจ้าพนักงานท้องถิ่น" หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ "เจ้าพนักงานสาธารณสุข" หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ "อาคาร" หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ "ที่หรือทางสาธารณะ" หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ ข้อ ๕ การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ข้อ ๖ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ อาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามข้อ ๕ แทนได้ ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือขยะมูลฝอยตามข้อ ๑๑ ก็ได้ ข้อ ๗ ห้ามผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ นอกจากในที่ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะจัดตั้งไว้ให้ หรือในที่รองรับปฏิกูลหรือมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะจัดไว้ให้ ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๙ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บขนและกำจัด สิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย ให้องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะมีอำนาจประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการ และระเบียบการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทน ด้วยการคิดค่าบริการตามข้อ ๑๑ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะได้ ข้อ ๑๐ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขนและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๑ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๒ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจของผู้ขอรับใบอนุญาต (๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับใบอนุญาต (๓) สำเนาใบทะเบียนนิติบุคคล (ถ้ามี) (๔) บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ (๕) ตัวอย่างหนังสือสัญญาระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ (๖) ใบยินยอมให้ทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๗) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๘) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๒ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) ซึ่งมีลักษณะดังนี้ (๑.๑.๑) ได้รับใบอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๑.๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิดสามารถ ป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้ มีฝาปิด - เปิดอยู่ด้านบน (๑.๑.๓) มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลและติดตั้งมาตราวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลด้วย (๑.๑.๔) ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพดี ไม่รั่วซึม (๑.๑.๕) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (๑.๑.๖) ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล เช่น "รถดูดส้วม" และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ ด้วยตัวอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจน ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะประกาศกำหนด (๑.๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือ รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง สำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๑.๓) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเอง ต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำ สิ่งปฏิกูล ไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอย (๒.๑) ต้องมีพาหนะเก็บ ขนมูลฝอย (รถเก็บขยะ) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ (๒.๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๒.๑.๒) ต้องมีส่วนที่ใช้บรรจุขยะมูลฝอยทั่วไปไม่แตก ไม่รั่ว ไม่ซึม ปกปิดมิดชิดป้องกันกลิ่นแมลงได้ การหกเรี่ยราด ตกหล่น และการปลิวกระจาย (๒.๑.๓) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังใส่น้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรคน้ำยาดับกลิ่น (๒.๑.๔) ต้องมีพนักงาน คนงานที่ปฏิบัติงานที่มีความรู้ด้านสาธารณสุขตามสมควรหรือมีประสบการณ์ในการทำงานลักษณะนี้มาแล้ว พนักงานต้องมีชุดปฏิบัติงาน ประกอบด้วย เสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้ายางหุ้มแข็ง มีการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง (๒.๒) สถานีขนถ่ายมูลฝอย ต้องมีลักษณะและการดำเนินการขนถ่ายที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะดังต่อไปนี้ มีอาคารขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยที่ทำการขนถ่าย การระบายอากาศดี แสงสว่างที่เพียงพอ มีการป้องกันปัญหากลิ่นจากมูลฝอย การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละออง เสียงดัง รบกวนเหตุรำคาญ สัตว์และแมลงพาหะนำโรค มีระบบระบายน้ำเสียและบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ โดยน้ำทิ้งที่ระบายออกสู่ภายนอกเป็นไปตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด มีอุปกรณ์ หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุและอัคคีภัยไว้ประจำสถานีขนถ่าย (๓) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอย (๓.๑) ผู้ประกอบการต้องระบุแหล่งที่จะนำสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยทั่วไป ที่เก็บ ขนได้ไปที่ ที่สำหรับกำจัด และต้องมีสถานที่สำหรับกำจัด สิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยเป็นของตนเอง ที่ตั้ง ของสถานที่กำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และมีมาตรการ ในการป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญของประชาชนและการร้องเรียน และต้องแสดงหลักฐานการยินยอมของเจ้าของสถานที่ที่นำไปกำจัด เว้นสถานที่นั้นเป็นของตนเอง แสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของ หรือสถานที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะกำหนดให้ แล้วแต่กรณี (๓.๒) ต้องมีระบบบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลรวม ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ระบบหมักชนิดไร้อากาศ (Anaerobic Digestion) หรือระบบตะกอนเร่ง (Activated Sludge) หรือระบบบึงประดิษฐ์แบบไหลแนวดิ่ง (Vertical - flow Constructed Wetland) หรือระบบบ่อผึ่ง หรือบ่อปรับเสถียร (Stabilization Ponds) หรือการใช้ระบบอื่นใดที่สามารถดำเนินการได้ตามหลักวิชาการ และสามารถป้องกันพิษภัย การก่อให้เกิดโรค สภาพอันน่ารังเกียจ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ และมีมาตรการในการป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญของประชาชนและผลกระทบต่อสุขภาพ (๓.๓) ต้องมีระบบกำจัดมูลฝอยทั่วไปที่เหมาะสมและถูกหลักสุขาภิบาล โดยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีดังนี้ การฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล หรือการเผาในเตาเผา หรือการหมักทำปุ๋ย หรือการแปรสภาพมูลฝอยเป็นพลังงานหรือเชื้อเพลิงทดแทน และมีมาตรการในการป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญของประชาชนและผลกระทบต่อสุขภาพ (๓.๔) ต้องมีพนักงาน คนงานที่ปฏิบัติงาน ที่มีความรู้ด้านสาธารณสุขตามสมควร หรือมีประสบการณ์ในการทำงานลักษณะนี้มาแล้ว ข้อ ๑๔ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๒ หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามข้อ ๑๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๒ และข้อ ๑๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนด ในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปอีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับอนุญาต ต้องมารับใบอนุญาตตามข้อ ๑๔ ภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยไม่มีเหตุอันสมควรถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๖ ในการดำเนินกิจการผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ ๑๔ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ขณะทำการดูดสิ่งปฏิกูล ต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้ายางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๑.๒) ทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล โดยหลังจากดูดสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้ว ให้ทำการดูดน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล และทำความสะอาดท่อ หรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๑.๓) ทำความสะอาดพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัด หรือกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่สาธารณะ (๑.๔) กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราด ให้ทำ การฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำ ยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด (๑.๕) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอย (๒.๑) ขณะทำการเก็บ ขนมูลฝอย ต้องควบคุมไม่ให้เกิดการปลิวกระจายของขยะมีน้ำสกปรกหกเลอะเทอะ และจัดวางถังขยะ หรือที่รองรับขยะให้เรียบร้อย พร้อมทั้งเก็บกวาดขยะ ณ จุดที่เก็บให้สะอาดเรียบร้อย (๒.๒) ทำความสะอาดพาหนะเก็บขนมูลฝอยอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานเก็บขนมูลฝอยแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดและกำจัดด้วยวิธีการ ที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่สาธารณะ (๒.๓) กรณีที่มีการตรวจพบว่าถังขยะ หรือที่รองรับขยะ เกิดความเสียหาย หรือชำรุดจากการปฏิบัติงานเก็บขนขยะผู้รับอนุญาตต้องชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนราคาปัจจุบัน (๒.๔) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานเก็บขนมูลฝอยอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (๓.๑) ต้องปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลของระบบที่นำมาใช้ต้องตรวจสอบ ควบคุมระบบในการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้มีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอ รวมถึง ต้องปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญของประชาชนและการร้องเรียน (๓.๒) ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยเคร่งครัดเมื่อพบว่ามีปัญหา ไม่ว่ากรณีใด ๆ ข้อ ๑๗ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลสังขะเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้อง ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ โดยอนุโลม ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ ๑๔ ต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอใบรับอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียม ที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียม ครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๙ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ใบอนุญาตสุญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาต ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสุญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต นำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่ มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้ เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบการกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๕ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๖ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ที่อยู่นอกเขตพื้นที่การให้บริการเก็บขน สิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลสังขะหรือเขตพื้นที่การให้บริการของผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการ รับทำการเก็บ ขน สิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ตามข้อ ๙ ต้องดำเนินการเก็บ ขน สิ่งปฏิกูลให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๒๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลสังขะในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ณัฐวัฒน์ สมบูรณ์เทอดธนา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต ๓. แบบคำขอรับต่ออายุใบอนุญาต/รับใบแทนใบอนุญาต (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๑๐๕/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,257
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยาง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยาง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยาง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยาง ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยาง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลยางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลยางและนายอำเภอบรบือ จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยาง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยางตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลยางเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์โดยเด็ดขาด (๑.๑) ที่สาธารณประโยชน์ประจำหมู่บ้านและตำบล เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ หมู โดยเด็ดขาด (๑.๒) วัด สำนักสงฆ์ สถานที่ราชการ เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลยาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียน ฯลฯ เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ หมู โดยเด็ดขาด ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลยาง แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับคืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลยางตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลยางในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยางรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บุญเพ็ง ศรัทธาคลัง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยาง วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๑๕๖/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,258
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยเป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะและนายอำเภอสังขะ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติตำบล เรื่องการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพพ.ศ. ๒๕๕๗ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศหรือ คำสั่ง อื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือน อันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบ หรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ (๑) กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๑.๑) การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง (๑.๒) การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอานม (๑.๓) การประกอบกิจการการเลี้ยง รวบรวมสัตว์หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ จะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาดและการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๒.๒) การฟอกหนังสัตว์ ขนสัตว์ การสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ที่ยังมิได้ฟอก (๒.๓) การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์ (๒.๕) การต้ม การตาก การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย และการขายในตลาด (๒.๖) การประดิษฐ์เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย กระดูกสัตว์เขาสัตว์ หนังสัตว์ ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ (๒.๗) การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสมหรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหาร (๒.๘) การสะสมหรือการล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม (๓.๑) การผลิตเนย เนยเทียม (๓.๒) การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว หอยดอง หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๓) การผลิต การหมัก การสะสมปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๔) การตากเนื้อสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์เค็ม การเคี่ยวมันกุ้ง ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๕) การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์พืช ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๖) การเคี่ยวน้ำมันหมู การผลิตกุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก หมูตั้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๗) การทำเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ (๓.๘) การผลิตแบะแซ (๓.๙) การผลิตอาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๐) การประกอบกิจการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ (๓.๑๑) การแกะ การล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑๒) การผลิตน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำถั่วเหลือง เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑๓) การผลิต การแบ่งบรรจุน้ำตาล (๓.๑๔) การผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำนมวัว (๓.๑๕) การผลิต การแบ่งบรรจุเอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ น้ำส้มสายชู (๓.๑๖) การคั่วกาแฟ ชา (๓.๑๗) การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร (๓.๑๘) การผลิตผงชูรส (๓.๑๙) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค (๓.๒๐) การตาก การหมัก การดองผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๒๑) การผลิต การบรรจุใบชาแห้ง ชาผงหรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๓.๒๒) การผลิตไอศกรีม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๒๓) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๒๔) การประกอบกิจการห้องเย็น แช่แข็งอาหาร (๓.๒๕) การผลิตน้ำแข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่ประกอบอาหารและเพื่อการบริโภคในครัวเรือน (๓.๒๖) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง (๔.๑) การผลิต การโม่ การบด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร (๔.๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอางต่าง ๆ (๔.๓) การผลิตสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับ การเกษตร (๕.๑) การอัด การสกัดเอาน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิตแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๕.๔) การสีข้าวด้วยเครื่องจักร (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด การกระเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร (๕.๗) การผลิต การสะสมปุ๋ย (๕.๘) การผลิตใยมะพร้าว หรือวัตถุคลายคลึงด้วยเครื่องจักร (๕.๙) การตาก การสะสมหรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตโลหะเป็นภาชนะ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ (๖.๒) การหลอม การหล่อ การถลุง แร่หรือโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด การอัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซหรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิลหรือโลหะอื่นใดยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด การล้างโลหะด้วยเครื่องจักร สารเคมีหรือวิธีอื่นใด ยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือกหรือการล้างแร่ (๗) กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่ง ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๓) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๗.๔) การล้าง การอัดฉีดยานยนต์ (๗.๕) การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่ (๗.๖) การปะ การเชื่อมยาง (๗.๗) การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้วหรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การประดิษฐ์ไม้ หวาย เป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่น การทาสารเคลือบเงาสี หรือการแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิตธูปด้วยเครื่องจักร (๘.๖) การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียนด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับ การบริการ (๙.๑) กิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการ อาบ อบ นวด ยกเว้นกิจการใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๓) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร ยกเว้นกิจการใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการโรงแรมหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๕) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า บ้านเช่า ห้องเช่า ห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๗) การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๘) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ และกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันยกเว้นกิจการใน (๙.๑) (๙.๙) การจัดให้มีการเล่นสเกตโดยมีแสงหรือเสียงประกอบหรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๑๐) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๑) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก โดยวิธีการควบคุมทางโภชนาการให้อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ การบริหารร่างกาย หรือโดยวิธีอื่นใด ยกเว้นกิจการใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๑๒) การประกอบกิจการสวนสนุก ตู้เกม (๙.๑๓) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๔) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม (๙.๑๕) การสักผิวหนัง การเจาะหูหรือเจาะอวัยวะอื่น (๙.๑๖) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้าน (๙.๑๗) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย การกรอด้าย การทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือการทอผ้าด้วยกี่กระตุกตั้งแต่ ๕ กี่ขึ้นไป (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้ายหรือนุ่น (๑๐.๓) การปั่นฝ้ายหรือนุ่นด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า หรือการพิมพ์บนสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก การอบ การรีด การอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อมผ้า การกัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตเครื่องใช้ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน ทราย หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน กระจกหรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือการเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม เช่น ผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้าเพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น (๑๑.๙) การผลิตกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้วหรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับ ปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี (๑๒.๑) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต การกลั่น การสะสม การขนส่งน้ำมันปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ (๑๒.๔) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการใน (๗.๑) (๑๒.๖) การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ การบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต การล้างฟิล์มถ่ายรูปหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ การชุบ วัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต การสะสม ก ารขนส่งดอกไม้เพลิงหรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็กหรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน เทียนไขหรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียวหรือถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว (๑๓.๘) การพิมพ์สีลงในวัตถุที่ไม่ใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การก่อสร้าง (๑๓.๑๐) กิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลาหรือแพปลา ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเอง ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะกำหนด (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหารการปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงาน ต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะกำหนด ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้งและมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตราย ต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๗ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามประเภทที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ประกาศกำหนด ข้อ ๑๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ ตามข้อ ๘ – ข้อ ๑๙ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ดำเนินกิจการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ (๒) ปฏิบัติและจัดสถานที่สำหรับประกอบกิจการนั้นให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๓) รักษาเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบกิจการทุกอย่างให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้าวัตถุหรือผลิตภัณฑ์แห่งกิจการนั้นจะใช้เป็นอาหารต้องป้องกันวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์นั้นให้พ้นจากการปนเปื้อน ฝุ่นละออง แมลงวัน สัตว์อื่น ๆ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๔) จัดให้มีการป้องกันและกำจัดแมลงวัน ยุง หรือสัตว์นำโรคอื่น ๆ ให้ถูกหลักสุขาภิบาล (๕) ปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อการรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญหรือโรคติดต่อ (๖) จัดให้มีมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน (๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ข้อ ๒๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวัน นับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๑ ในการออกใบอนุญาตตามข้อ ๒๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตตามข้อ ๒๐ ให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว หากสถานประกอบกิจการมีการประกอบกิจการมากกว่าหนึ่งกิจการตามข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายประเภทอื่นในอัตราครึ่งราคาได้ ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๓ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลสังขะเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ โดยอนุโลม ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้ จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลสังขะในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๓๓ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ณัฐวัฒน  สมบูรณ์เทอดธนา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๓. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต/รับใบแทนใบอนุญาตกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต/รับใบแทนใบอนุญาตกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๘๐/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,259
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ว่าด้วยตลาด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และ มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะและนายอำเภอสังขะ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสดประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด “สินค้า” หมายความว่า สิ่ง ของที่ซื้อขายกัน “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สีและเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “อาหารสด” หมายความว่า อาหารประเภทเนื้อ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด “อาหารสัตว์ชำแหละ” หมายความว่า อาหารสดประเภทสัตว์ที่มีการชำแหละ ณ แผงจำหน่ายอาหารซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำชำระล้างอยู่เสมอ เช่น ปลา กุ้ง ไก่ สัตว์อื่น ๆ เป็นต้น “อาหารแปรรูป” หมายความว่า อาหารสดที่แปรรูป ทำให้แห้งหรือหมักดอง หรือในรูปอื่น ๆ รวมทั้งที่ใช้สารปรุงแต่งอาหาร “อาหารสำเร็จรูป” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบ ปรุง จนสำเร็จ พร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ที่มิได้บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท “การล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาล” หมายความว่า การทำความสะอาดตัวอาคาร แผงขายของ ในตลาด พื้น ผนัง เพดาน รางระบายน้ำ ห้องน้ำ ห้องส้วม และบริเวณต่าง ๆ รอบตัวอาคารตลาดให้สะอาด ปราศจากสิ่งปฏิกูล มูลฝอย หยากไย่ ฝุ่นละออง คราบสกปรกและอื่น ๆ รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อโรคและกำจัดสัตว์พาหะนำโรค ทั้งนี้ สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามผู้ใดจัดตั้งตลาด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลง ขยาย หรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาด ภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดตามวรรคหนึ่งแล้ว จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรของรัฐ ที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาต ตามบทบัญญัติอื่นแห่งข้อบัญญัตินี้และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วย และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามวรรคนี้ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ข้อ ๖ ตลาดแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ (๑) ตลาดประเภทที่ ๑ ได้แก่ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคารและดำเนินกิจการเป็นการประจำหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๑ (๒) ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร และดำเนินกิจการ เป็นการประจำหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๒ (๓) ตลาดประเภทที่ ๓ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร และดำเนินกิจการชั่วคราวหรือ เป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๓ ข้อ ๗ ที่ตั้งตลาดต้องตั้งอยู่ห่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษของเสีย โรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก ที่กำจัดมูลฝอย อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เว้นแต่จะมีวิธีป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ส่วนที่ ๑ ตลาดประเภทที่ ๑ ข้อ ๘ ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องมีเนื้อที่ตามความเหมาะสม โดยมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง คืออาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะ ที่พักรวมมูลฝอยและที่จอดรถตามที่กำหนดในนี้ ข้อ ๙ ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องจัดให้มีอาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีถนนรอบอาคาร ตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร อย่างน้อยหนึ่งทาง (๒) ตัวอาคารตลาดทำด้วยวัสดุถาวร มั่นคง แข็งแรง (๓) หลังคาสร้างด้วยวัสดุทนไฟ และแข็งแรงทนทาน ความสูงของหลังคาต้องมี ความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น ๆ (๔) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง เรียบ ทำความสะอาดง่ายและไม่มีน้ำขัง (๕) ทางเดินภายในอาคารและประตูมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร ผนังทำด้วยวัสดุถาวรหรือเป็นตาข่ายลวดแข็งแรงสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๑.๕๐ เมตร (๖) มีการระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอ เหมาะสม (๗) ความเข้มของแสงสว่างในอาคารตลาดไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ลักซ์ ทั้งนี้ ต้องไม่ใช้แสงหรือวัสดุอื่นที่ทำให้สีของสินค้าเปลี่ยนแปลงไปจากธรรมชาติ (๘) แผงขายสินค้าทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียง ทำความสะอาดง่าย มีพื้นที่แผงไม่น้อยกว่า ๒ ตารางเมตร สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และมีทางเข้าแผงของผู้ขายของกว้างไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร มีที่นั่งสำหรับผู้ขายของไว้โดยเฉพาะอย่างเหมาะสม แยกต่างหากจากแผงและสะดวกต่อการเข้าออก (๙) จัดให้มีน้ำประปาหรือน้ำสะอาดแบบระบบท่ออย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้า หรือล้างมือ โดยต้องจัดให้มีที่ล้างสินค้าอาหารสดอย่างน้อย ๑ จุดต่อทุก ๆ ๓๐ แผง โดยเศษของ ๓๐ แผงถ้าเกิน ๑๕ แผง ให้ถือเป็น ๓๐ แผง และในแต่ละจุดจะต้องมีก๊อกน้ำไม่น้อยกว่า ๓ ก๊อก แต่สำหรับแผงขายอาหารสัตว์ชำแหละหรือแผงจำหน่ายอาหารต้องมีก๊อกน้ำประจำแผงและมีการวางท่อในลักษณะที่ปลอดภัย ไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก ไม่ติดหรือทับกับท่ออุจจาระและต้องจัดให้มี ที่เก็บสำรองน้ำให้มีปริมาณเพียงพออย่างน้อย ๕ ลูกบาศก์เมตรต่อจำนวนแผงอาหารสดทุก ๑๐๐ แผง เศษของ ๑๐๐ แผงถ้าเกิน ๕๐ แผงให้ถือเป็น ๑๐๐ แผง และสะดวกต่อการใช้ (๑๐) มีทางระบายน้ำทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ โดยทางระบายน้ำภายในตลาดต้องเป็นแบบเปิดส่วนทางระบายน้ำรอบตลาดต้องเป็นรูปแบบตัวยูและมีฝาปิดที่สามารถเปิดทำความสะอาดได้ง่าย มีความลาดเอียงระบายน้ำได้สะดวก มีบ่อดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน และระบบบำบัดน้ำเสีย โดยน้ำทิ้งต้องได้มาตรฐานน้ำทิ้งตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร เว้นแต่จะได้จัดส่งน้ำเสียไปบำบัดในระบบบำบัดน้ำเสียรวมของราชการส่วนท้องถิ่นโดยไม่เสียค่าบริการตามอัตราของราชการส่วนท้องถิ่นนั้น (๑๑) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์เครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารติดตั้งไว้ในบริเวณที่มองเห็นได้ง่าย และสะดวกต่อการใช้งาน ข้อ ๑๐ ที่ขนถ่ายสินค้าต้องจัดให้มีและอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวันและสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด ข้อ ๑๑ ส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาด หรือในกรณีที่อยู่ในอาคารต้องแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ (๒) มีระบบการขับเคลื่อนอุจจาระและปัสสาวะลงสู่ที่เก็บกัก ซึ่งจะต้องป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคได้และไม่ปนเปื้อนแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำใต้ดินทุกขั้นตอน (๓) ห้องส้วมต้องสร้างด้วยวัสดุทนทานและทำความสะอาดง่าย มีขนาดเนื้อที่ภายในไม่น้อยกว่า ๐.๙๐ ตารางเมตรต่อหนึ่งที่นั่ง และมีความกว้างภายในไม่น้อยกว่า ๐.๙๐ ตารางเมตร มีประตูเปิดเข้าออกโดยสะดวกและมีผนังกั้นเพื่อมิให้ประตูเปิดสู่บริเวณจำหน่ายอาหารโดยตรง (๔) ระยะดิ่งระหว่างพื้นถึงส่วนต่ำสุดของคานหรือเพดาน หรือสิ่งอื่นที่ติดกับคานหรือเพดาน ต้องไม่น้อยกว่า ๒.๐๐ เมตร และช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของพื้นที่ห้องหรือมีพัดลมระบายอากาศ (๕) พื้นห้องส้วมต้องเรียบ ไม่ลื่น มีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า ๑ : ๑๐๐ และไม่มีน้ำขัง มีจุดระบายน้ำทิ้งอยู่ในตำแหน่งต่ำสุดของพื้นห้อง (๖) มีท่อระบายอุจจาระลงสู่ถังเก็บกักซึ่งต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร มีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า ๑ : ๑๐ (๗) มีท่อระบายก๊าซ ณ จุดฐานของโถส้วม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๒.๕๐ เซนติเมตร สูงเหนือหลังคาส้วมหรือสูงจนกลิ่นเหม็นของก๊าซไม่รบกวนผู้อื่น (๘) ความเข้มของแสงสว่างในห้องส้วมไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ลักซ์ (๙) จัดให้มีกระดาษชำระ หรือน้ำสำหรับชำระให้เพียงพอสำหรับห้องส้วมทุกห้อง รวมทั้งจัดให้มีการทำความสะอาดและเก็บมูลฝอยเป็นประจำทุกวัน (๑๐) ห้องส้วมหญิงต้องมีภาชนะรองรับและมีวัสดุห่อผ้าอนามัยโดยเฉพาะ (๑๑) ที่ถ่ายปัสสาวะชายต้องเป็นวัสดุเคลือบหรือโลหะไม่เป็นสนิม และมีน้ำสำหรับชำระล้างตลอดเวลาที่ใช้ ข้อ ๑๒ จำนวนส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ และอ่างล้างมือ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย การควบคุมอาคาร ข้อ ๑๓ ที่พักรวมมูลฝอยต้องมีลักษณะเป็นสิ่งปลูกสร้างถาวร หรือเป็นที่พักที่มีลักษณะเป็นภาชนะรองรับมูลฝอยและมีขนาดเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวันมีการปกปิดและป้องกันสัตว์ เข้าไปคุ้ยเขี่ยได้ ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบตามความเหมาะสม กับตลาดนั้น ๆ และตั้งอยู่ภายนอกตัวอาคาร ข้อ ๑๔ ที่จอดรถต้องจัดให้มีตามความเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ส่วนที่ ๒ ตลาดประเภทที่ ๒ ข้อ ๑๕ ตลาดประเภทที่ ๒ ต้องมีเนื้อที่ตามความเหมาะสม และให้มีบริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของ ส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะและอ่างล้างมือและที่พักรวมมูลฝอยตามที่กำหนดในส่วนนี้ ข้อ ๑๖ บริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) พื้นต้องเรียบ แข็งแรง ทำความสะอาดง่ายและไม่มีน้ำขัง (๒) กรณีที่มีโครงสร้างเฉพาะเสาหลังคาหรือโครงสร้างที่ไม่ถาวร เช่น โครงเหล็ก โครงผ้าใบ เป็นต้น ต้องทำด้วยวัสดุที่มั่นคงแข็งแรง (๓) แผงขายสินค้าต้องทำด้วยวัสดุเรียบ ทำความสะอาดง่าย สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร อาจเป็นแผงที่พับเก็บได้และมีบริเวณสำหรับผู้ขายของกว้างไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร (๔) ทางเดินในตลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๕) จัดให้มีน้ำประปาหรือน้ำสะอาดอย่างเพียงพอและจัดให้มีที่ล้างสำหรับอาหารสด อาหารสัตว์ชำแหละ รวมทั้งแผงจำหน่ายอาหารด้วย (๖) จัดให้มีทางระบายน้ำเฉพาะจุดที่มีการล้างสำหรับบริเวณที่มีการจำหน่ายอาหารสด อาหารสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารในตลาดโดยทำเป็นแบบเปิดด้วยวัสดุถาวร เรียบมีความลาดเอียงระบายน้ำได้สะดวก มีบ่อดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย ก่อนระบายน้ำออกสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ ทั้งนี้ ต้องไม่ระบายน้ำสู่แหล่งน้ำสาธารณะและไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนข้างเคียง หากมีพื้นที่เกิน ๒,๕๐๐ ตารางเมตร จะต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียด้วย ข้อ ๑๗ ส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ และอ่างล้างมือ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะตามที่กำหนดในข้อ ๑๑ (๒) - (๑๑) และมีจำนวนตามกำหนดในข้อ ๑๒ และตั้งอยู่ในที่เหมาะสม นอกบริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งแผงขายสินค้า เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ ส้วมสาธารณะ ส้วมเอกชน หรือส้วมของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ต้องมีระยะห่างไม่เกิน ๑๐๐ เมตร ข้อ ๑๘ ที่พักรวมมูลฝอยต้องมีลักษณะที่เหมาะสมและมีขนาดเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวันตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ ส่วนที่ ๓ ตลาดประเภทที่ ๓ ข้อ ๑๙ ตลาดประเภทที่ ๓ ต้องมีเนื้อที่ตามความเหมาะสมและให้มีบริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะและที่รวบรวมมูลฝอยตามที่กำหนดในส่วนนี้ ข้อ ๒๐ บริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของต้องมี และเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) แผงขายสินค้าสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๒) ทางเดินระหว่างแผงสำหรับผู้ซื้อต้องกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๓) จัดให้มีน้ำประปาหรือน้ำที่สะอาดไว้ใช้ในตลาดอย่างเพียงพอ (๔) จัดให้มีตะแกรงดักมูลฝอยบริเวณท่อระบายน้ำก่อนปล่อยน้ำทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ ข้อ ๒๑ ส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะตามที่กำหนดใน ข้อ ๑๗ และมีจำนวนตามที่กำหนดในข้อ ๑๒ เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่หรือมีส้วมสาธารณะ หรือส้วมของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่ใกล้เคียงห่างไม่เกิน ๑๐๐ เมตร ข้อ ๒๒ ที่รวบรวมมูลฝอยมีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ ๑๘ ข้อ ๒๓ การจัดวางสินค้าแต่ละประเภทในตลาดต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่ไม่ปะปนกัน เพื่อความสะดวกในการดูแลรักษาความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร สำหรับกรณีที่เป็นอาหารสดหรืออาหารเนื้อสัตว์ชำแหละซึ่งอาจมีน้ำหรือของเหลวไหลหยดเลอะเทอะต้องมีการกั้นไม่ให้มีน้ำหรือของเหลวนั้นไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาดและต้องจัดให้มีท่อหรือทางสำหรับระบายน้ำหรือของเหลวนั้นลงสู่ท่อระบายน้ำ ข้อ ๒๔ กำหนดเวลาการเปิดและปิดตลาดให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๒๕ ห้องส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ ก๊อกน้ำใช้และสาธารณูปโภคอื่น ๆ ที่จัดไว้ต้องเปิดให้มีการใช้ได้ตลอดเวลาในขณะประกอบกิจการ ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) บำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ของตลาด ได้แก่ ตัวอาคาร พื้น ผนัง เพดาน ห้องส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ ก๊อกน้ำใช้ ระบบบำบัดน้ำเสีย อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ท่อน้ำประปา เป็นต้น และสาธารณูปโภคอื่น ๆ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา (๒) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาดเป็นประจำ และดูแลรักษาที่พักรวมมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ (๓) จัดให้มีการทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน และจัดให้มีการล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง (๔) จัดให้มีการดูแลรักษาความสะอาดของห้องส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ บ่อดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน และระบบบำบัดน้ำเสียมิให้มีกลิ่นเหม็นและต้องเปิดให้มีการใช้ได้ตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๗ ผู้ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ต้องจัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด เป็นประจำ และดูแลรักษาความสะอาดของห้องส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะและอ่างล้างมือ บ่อดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน และบ่อพักน้ำเสียหรือระบบบำบัดน้ำเสียให้ใช้การได้ดี รวมทั้งดูแลรักษาที่พักรวมมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอและจัดให้มีการล้างตลาดด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินกิจการประจำวัน ข้อ ๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาดประเภทที่ ๓ ต้องจัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอย ทำความสะอาดบริเวณตลาด ดูแลความสะอาดห้องน้ำ ห้องส้วม ตะแกรงดักมูลฝอย ให้ใช้การได้ดี และดูแลที่รวบรวมมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอในขณะที่เปิดทำการ ข้อ ๒๙ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดต้องไม่กระทำการและดูแลมิให้ผู้ใดกระทำอันอาจก่อเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือการระบาดของโรคติดต่อ ดังต่อไปนี้ (๑) ไม่นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย (๒) ไม่สะสมหรือหมักหมมสิ่งหนึ่งสิ่งใดไว้ในตลาดจนก่อให้เกิดความสกปรกรกรุงรังหรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์นำโรค (๓) ไม่ถ่าย เท ทิ้ง มูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใดนอกจากในที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล (๔) ไม่ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดความสกปรกจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๕) ไม่ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัย (๖) ไม่กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ ข้อ ๓๐ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับผู้ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาด เจ้าพนักงานสาธารณสุขและเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการดำเนินการที่เกี่ยวกับสุขลักษณะของตลาด ดังต่อไปนี้ (๑) การจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาด (๒) การจัดหมวดหมู่ของสินค้า (๓) การดูแลรักษาความสะอาดแผงจำหน่ายสินค้าของตน (๔) การเก็บกวาดรวบรวมมูลฝอยลงในภาชนะรองรับที่เหมาะสม (๕) การล้างตลาด (๖) การเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๓๑ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องจัดวางสินค้าบนแผงจำหน่ายสินค้าในขอบเขตที่จัดไว้ให้เท่านั้น ห้ามต่อเติมแผงจำหน่ายสินค้าอันจะเป็นการกีดขวางทางเดินในตลาดและห้ามวางสินค้าในลักษณะหรือมีความสูงจากพื้นตลาดจนอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ การวางและเก็บสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม รวมทั้งเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับอาหารต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และห้ามวางวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร ข้อ ๓๒ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องมีสุขลักษณะส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) ไม่เป็นโรคติดต่อหรือโรคที่สังคมรังเกียจ หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ อันได้แก่ วัณโรค อหิวาตกโรค ไข้ไทฟอยด์ โรคบิด ไข้สุกใส ไข้หัด โรคคางทูม โรคเรื้อน โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ และโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเอ (๒) ในระหว่างการขายของต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ข้อ ๓๓ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะในการใช้กรรมวิธีการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บ หรือสะสมอาหารหรือสินค้าอื่นและการเก็บรักษาความสะอาด ของภาชนะ น้ำใช้และของใช้ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) ลักษณะและประเภทของสินค้าที่จำหน่ายต้องสะอาด ปลอดภัย (๒) อาหารสดที่อาจเกิดการเน่าเสียได้ง่ายต้องจัดเก็บไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม (๓) ในกรณีที่เป็นแผงลอยจำหน่ายอาหารซึ่งมีการทำ ประกอบ และปรุงอาหาร ต้องจัดสถานที่ และต้องปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะด้านสุขาภิบาลอาหาร ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๔) การจำหน่ายอาหารที่ปรุงสำเร็จต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการหยิบจับ และมีการปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และรักษาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ ข้อ ๓๔ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป (๒) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะกำหนด ข้อ ๓๕ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะกำหนดแนบท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๖ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้ง ให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๗ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๓๘ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลสังขะเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่อใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อ ๒๘ และข้อ ๒๙ โดยอนุโลม ข้อ ๓๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าเสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๔๐ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ข้อ ๔๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๔๒ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาประกอบด้วย (๒) ในกรณีที่ใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต นำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๔๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๔๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๔๕ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้ที่ต้องรับหนังสือและให้ถือว่าผู้นั้นได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วตั้งแต่เวลาที่หนังสือไปถึงหรือวันปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๖ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๔๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลสังขะในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๔๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ ข้อ ๔๙ ความในข้อ ๙ (๑) (๕) (๖) (๗) (๑๒) และข้อ ๑๐ มิให้ใช้บังคับกับผู้ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ ขึ้นก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ข้อ ๕๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ ข้อกำหนด หลักเกณฑ์หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ณัฐวัฒน์ สมบูรณ์เทอดธนา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต ๓. ใบรับแจ้งการจัดตั้งตลาด ๔. ใบอนุญาตจัดตั้งตลาด ๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาต (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๑๑๕/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,260
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะและนายอำเภอสังขะ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ "สินค้า" หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน "อาหาร" หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร "ที่หรือทางสาธารณะ" หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้หรือใช้สัญจรได้ "เร่ขาย" หมายความว่า การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยมิได้จัดวางอยู่ในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ "เจ้าพนักงานท้องถิ่น" หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ "เจ้าพนักงานสาธารณสุข" หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหน้าที่ควบคุมดูแลที่หรือทางสาธารณะเพื่อประโยชน์ใช้สอยของประชาชนทั่วไป ห้ามผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะ วิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติหรือเร่ขาย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาตตามวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระบุชนิด หรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้า และสถานที่ที่จะจัดวางสินค้าเพื่อจำหน่าย ในกรณีที่จะมีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ รวมทั้งจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควรไว้ในใบอนุญาตด้วยก็ได้ การเปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้าหรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้รับใบอนุญาตได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้จดแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ในใบอนุญาตแล้ว ข้อ ๖ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายหรือผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) แต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย (๒) ให้จัดวางสินค้าที่จำหน่ายบนแผงวางสินค้าให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ยื่นล้ำบริเวณที่กำหนดร่มหรือผ้าใบบังแดด รวมทั้งตัวผู้ค้าต้องไม่ลํ้าลงมาในผิวจราจร (๓) แผงสำหรับวางขาย เช่น แคร่ แท่น โต๊ะ ต้องทำด้วยวัตถุที่แข็งแรงมีขนาดและความสูงจากพื้นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๔) รักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าอยู่เสมอ ทั้งในระหว่างทำการค้าและหลังจากเลิกทำการค้าแล้ว (๕) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอ (๖) ให้จัดวางสินค้าที่จำหน่ายบนแผงหรือจัดวางในลักษณะอื่น ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๗) ห้ามพาด ติดตั้ง วางแผงค้าเกาะเกี่ยวสายไฟฟ้า หลอดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์เกี่ยวกับการขาย รวมตลอดถึงการตอกตะปู ผูกเชือก หรือยึดสิ่งหนึ่งสิ่งใดกับคอกต้นไม้หรือต้นไม้โดยเด็ดขาด (๘) ห้ามใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้เครื่องยนต์มีเสียงดัง (๙) ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทป หรือกระทำการโดยวิธีอื่นใดที่ก่อให้เกิดเสียงดัง จนเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น (๑๐) ห้ามนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนไปจอดบนทางเท้าเพื่อจำหน่ายสินค้า (๑๑) หยุดประกอบการค้าประจำสัปดาห์หนึ่งวัน และให้หยุดกรณีมีเหตุพิเศษเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๑๒) หลังจากเลิกทำการค้า ต้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบการค้าออกจากบริเวณที่อนุญาตให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า ข้อ ๗ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะ ในลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) แผงจำหน่ายสินค้าทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดี เป็นระเบียบ อยู่สูงจากพื้น อย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๒) อาหารปรุงสุกมีการปกปิดหรือมีการป้องกันสัตว์หรือแมลงนำโรค (๓) สารปรุงแต่งอาหารต้องมีเลขสารบบอาหาร (อย.) (๔) น้ำดื่มต้องเป็นน้ำที่สะอาด ใส่ในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด มีก๊อกหรือทางเทรินน้ำ (๕) เครื่องดื่มต้องใส่ภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด และมีที่ตักที่มีด้ามยาวหรือมีก๊อกหรือทางเทรินน้ำ (๖) น้ำแข็งที่ใช้บริโภคต้องสะอาด เก็บในภาชนะที่สะอาดมีฝาปิด อยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร ที่ตักน้ำแข็งมีด้ามยาว ต้องไม่นำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่ไว้ในน้ำแข็ง (๗) ล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างภาชนะแล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ๒ ครั้ง หรือล้างด้วยน้ำไหลและอุปกรณ์การล้างต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๘) ช้อน ส้อม ตะเกียบ วางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่งสะอาดหรือวางเป็นระเบียบในภาชนะ โปร่งสะอาด และมีการปกปิด เก็บสูงอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๙) มีการรวบรวมมูลฝอยและเศษอาหารเพื่อนำไปกำจัด (๑๐) ผู้สัมผัสอาหารแต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน ผู้ปรุงต้องผูกผ้ากันเปื้อนและสวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม (๑๑) ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว (๑๒) ผู้สัมผัสอาหารที่มีบาดแผลที่มือต้องปกปิดแผลให้มิดชิด ข้อ ๘ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) แต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย (๒) ไม่ทิ้งมูลฝอยลงในที่หรือทางสาธารณะ (๓) ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น การใช้เครื่องขยายเสียง เป็นต้น (๔) หยุดการจำหน่ายสินค้าเพื่อสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะประกาศกำหนด (๕) การอื่นที่จำเป็นเพื่อการรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการเร่ขาย ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ (๒) แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีแขน และสวมผ้าที่สะอาดเรียบร้อย รวมทั้งสวมรองเท้าขณะเตรียมทำ ประกอบ ปรุงหรือจำหน่ายอาหาร (๓) ต้องตัดเล็บมือให้สั้น ถ้ามีบาดแผล มีการบาดเจ็บ การถูกลวกหรือระคายเคืองผิวหนังบริเวณมือหรือนิ้วมือต้องปิดบาดแผลให้เรียบร้อย (๔) ไม่สูบบุหรี่ ขบเคี้ยว รับประทานอาหารในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุงหรือจำหน่ายอาหาร หรือไม่ไอ จาม รดบนอาหาร (๕) ที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุงและวางแผงจำหน่ายอาหารต้องสูงอย่างน้อยหกสิบเซนติเมตร (๖) การจำหน่ายอาหารที่ต้องมีการล้างภาชนะอุปกรณ์จะต้องมีที่ล้างภาชนะอุปกรณ์และวางสูงจากพื้นที่หรือลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ (๗) รักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการจำหน่ายอาหารให้สะอาดและใช้การได้ อยู่เสมอ (๘) ให้ปกปิดอาหาร เครื่องปรุงอาหาร ภาชนะใส่อาหาร เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับประกอบอาหารด้วยอุปกรณ์ที่สามารถป้องกันฝุ่นละออง แมลงวัน และสัตว์ซึ่งเป็นพาหะนำโรค รวมทั้งดูแลรักษาให้สะอาด และใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๙) ใช้น้ำสะอาดในการทำ ประกอบ ปรุง แช่ ล้างอาหาร ภาชนะเครื่องใช้ และปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ (๑๐) ใช้วัสดุ ภาชนะอุปกรณ์ที่สะอาด ปลอดภัยสำหรับใส่หรือเตรียมทำ ประกอบ ปรุงและจำหน่ายอาหาร (๑๑) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย โดยแยกประเภทเป็นแบบแห้งและเปียก ที่ถูกสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอและไม่ถ่ายเททิ้งลงในท่อระบายน้ำ หรือทางสาธารณะ (๑๒) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย เตรียม ทำ ประกอบ ปรุงและเก็บอาหาร (๑๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ข้อ ๑๐ ห้ามผู้จำหน่าย และผู้ช่วยจำหน่าย ประกอบกิจการเมื่อมีเหตุควรเชื่อว่าตนเป็นโรคติดต่อหรือเป็นพาหนะของโรคติดต่อ ดังต่อไปนี้ (๑) วัณโรค (๒) อหิวาตกโรค (๓) ไข้ไทฟอยด์ (๔) โรคบิด (๕) ไข้สุกใส (๖) โรคคางทูม (๗) โรคเรื้อน (๘) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ (๙) โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส (๑๐) โรคอื่น ๆ ตามที่ทางราชการกำหนด ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะประกาศกำหนด ข้อ ๑๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ใบอนุญาตฉบับหนึ่งให้ใช้ได้เฉพาะผู้รับใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาตไม่เกินหนึ่งคน (๒) ปฏิบัติตามคำแนะนำในข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ ทุกประเภท ตามลักษณะที่ได้รับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๔ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะประกาศกำหนด และจะต้องติดบัตรประจำตัวที่อกเสื้อด้านซ้ายตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๖ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลสังขะเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้รับคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒ ด้วย ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มาขอรับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่อใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้หยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๘ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๕ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เป็นผู้มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ณัฐวัฒน์ สมบูรณ์เทอดธนา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ๓. คำขอต่ออายุใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ๔. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๙๖/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,261
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. 2556
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๒) และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง และนายอำเภอเกาะลันตา ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบรรดา ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ กฎ ข้อระเบียบ คำสั่งอื่นที่ได้บัญญัติไว้ก่อนแล้ว หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และความหมายรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ข้าราชการ พนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้าง ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง หรือผู้ที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางแต่งตั้งหรือมอบหมาย “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เป็นอำนาจหน้าที่ ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง แต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง อาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนก็ได้ ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ข้อ ๖ ห้ามมิให้ผู้ใด ถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ เป็นต้นว่า ถนน ตรอก ซอย แม่น้ำ คลอง คู สระน้ำ เว้นแต่ ในที่ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางจัดไว้ให้โดยเฉพาะ ข้อ ๗ ห้ามมิให้ผู้ใดนำสิ่งปฏิกูลไปในที่หรือทางสาธารณะเว้นแต่จะได้ใส่ภาชนะหรือที่เก็บมิดชิด ไม่ให้มีสิ่งปฏิกูลหรือกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก ข้อ ๘ ห้ามมิให้ผู้ใด ทำการถ่าย เท ขน หรือเคลื่อนย้ายสิ่งปฏิกูลในถังรับรถขน เรือขน สถานที่เท เก็บ หรือพักสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เว้นแต่เป็นการกระทำของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ข้อ ๙ ห้ามมิให้ผู้ใด ทำการถ่าย เท ขน หรือเคลื่อนย้ายสิ่งปฏิกูลในถังรองรับ รถขน เรือขน หรือสถานที่เท เก็บ หรือพักสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เว้นแต่เป็นการกระทำของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้ผู้ใดทำการขน ถ่าย เท คุ้ย เขี่ย หรือขุดมูลฝอยในที่รองรับ รถขน เรือขน หรือสถานที่พักมูลฝอยใด ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เว้นแต่เป็นการกระทำของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ข้อ ๑๑ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในอาคารหรือสถานที่นั้น ๆ ให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ ข้อ ๑๒ ที่รองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยต้องเป็นภาชนะมิดชิด ไม่รั่ว ไม่ซึม และไม่มีกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก และที่รองรับมูลฝอยต้องไม่รั่ว มีฝาปิดมิดชิด กันแมลงและสัตว์ได้ ตามแบบซึ่งพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบ ข้อ ๑๓ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องรักษาบริเวณอาคารหรือสถานที่นั้นไม่ให้มีการถ่าย เท หรือทิ้งสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๑๔ ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยอันอาจทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น ควัน กลิ่น หรือแก๊ส เป็นต้น เว้นแต่จะได้กระทำโดยวิธีการ ที่ถูกสุขลักษณะหรือกระทำตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๕ ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ควรทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยไปทำการกำจัดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะยิ่งขึ้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร สถานที่หรือบริเวณนั้น ๆ ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน หรือเมื่อได้ทำการปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย กำหนดบริเวณที่ต้องทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ไม่น้อยกว่า ๓ แห่ง เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน นับแต่วันประกาศแล้ว เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้วฝ่ายเดียวเท่านั้น เก็บขนสิ่งปฏิกูล และมูลฝอยจากอาคารสถานที่หรือบริเวณนั้น ๆ ซึ่งตนเป็นเจ้าของหรือครอบครองอยู่ โดยเสียค่าธรรมเนียม เก็บตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารสถานที่หรือบริเวณใด ซึ่งอยู่นอกบริเวณเก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยตามข้อ ๑๕ ต้องกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยการเผา ฝังหรือโดยวิธีอื่นใดที่ไม่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๑๗ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดว่าบริการให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ สม. ๑ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมกับหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางกำหนด ข้อ ๑๙ คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บขยะ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอและเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางกำหนด ข้อ ๒๐ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับคำขอใบอนุญาต ให้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ หากปรากฏว่าผู้ขออนุญาตปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้วและเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควร ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตตามแบบ สม. ๒ ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ ภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากมิได้มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๒ ในการให้บริการตามใบอนุญาต ผู้รับใบอนุญาตต้องทำสัญญาเป็นหนังสือกับผู้รับบริการทุกราย โดยสัญญาดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุถึงอัตราค่าบริการ ระยะเวลาในการให้บริการและความรับผิดชอบ ในกรณีผิดสัญญา โดยส่งสำเนาสัญญาและใบเสร็จรับเงินให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนด ๓๐ วัน ก่อนวันที่เริ่มการให้บริการ ทั้งนี้ อัตราคาบริการต้องไม่เกินอัตราที่เกินกำหนดไว้ในบัญชีอัตราค่าบริการขั้นสุดท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๓ เมื่อผู้รับใบอนุญาตเลิกการให้บริการแก่ผู้บริการรายใด จะต้องทำเป็นหนังสือแจ้งพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนด ๓๐ วัน ก่อนวันที่ได้เริ่มการให้บริการตามสัญญาใหม่ ข้อ ๒๔ ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) รักษาคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๙ ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการตามใบอนุญาต (๒) ปฏิบัติตามรายละเอียดที่ได้ยื่นไว้ตามข้อ ๒๒ (๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยลักษณะความปลอดภัยและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ข้อ ๒๕ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สม. ๓ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่อใบอนุญาตหากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๒๖ ใบอนุญาตให้มีอายุ ๑ ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ข้อ ๒๗ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบ สม. ๔ ข้อ ๒๘ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบ สม. ๔ ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้รับใบอนุญาต จะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สม. ๔ ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๓๐ การออกใบแทนใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ สม. ๒ โดยประทับตราสีแดง คำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วยและให้มีวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๓๑ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี่ ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๒ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ สม. ๑ (๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ สม. ๒ (๓) คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ สม. ๓ (๔) คำขออนุญาตการต่าง ๆ ให้ใช้แบบ สม. ๕ ข้อ ๓๓ กรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้คราวหนึ่งไม่เกิน ๑๕ วัน กรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตถูกพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่ ๒ ครั้งขึ้นไปและมีเหตุจะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ ข้อ ๓๔ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัติในข้อ ๑๗ มีความผิดตามมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๕ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ ในข้อ ๒๒ ข้อ ๒๓ ข้อ ๒๔ มีความผิดตามมาตรา ๗๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๖ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัติในข้อ ๒๙ หรือข้อ ๓๑ มีความผิดตามมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๗ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดดำเนินกิจการในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามข้อ ๓๓ วรรคหนึ่ง มีความผิดตามมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๘ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ ในข้อหนึ่งข้อใด มีความผิดตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เว้นแต่การฝ่าฝืนนั้นต้องความในข้อ ๓๔ ข้อ ๓๕ ข้อ ๓๖ ข้อ ๓๗ แห่งข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ เจริญ หมัดเหย่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๕๗/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,262
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๔๐ มาตรา มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางและนายอำเภอเกาะลันตา จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารรวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้นหรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะ ที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๖ ความในข้อ ๕ ไม่ใช้บังคับแก่การประกอบกิจการ ดังนี้ (๑) การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) การขายของในตลาด (๓) การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ข้อ ๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ก. สถานที่สะสมอาหาร (๑) ไม่ตั้งอยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) พื้นทำด้วยวัตถุถาวร ทำความสะอาดง่าย (๓) จัดให้มีระบบระบายน้ำอย่างเพียงพอ และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางกำหนด (๔) จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางกำหนด (๕) จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางกำหนด (๖) จัดให้มีที่รองรับขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล ที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ (๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ข. สถานที่จำหน่ายอาหาร (๑) จัดสถานที่ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ก (๑) - (๖) (๒) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรง สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ (๓) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหาร ต้องมีพื้นผิวทำความสะอาดง่าย (๔) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บ และการบริโภคอาหารไว้ให้เพียงพอ ปลอดภัย และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางกำหนด (๕) จัดให้มีบริเวณและที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะเพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ (๖) จัดให้มีที่สำหรับล้างมือ พร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ (๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๘) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักท้องถิ่นมีอำนาจผ่อนผันให้ผู้ขอรับใบอนุญาตผู้ขอรับหนังสือรับรองการแจ้งงดเว้นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ ๗ เพียงเท่าที่เห็นสมควร หรือจะเปลี่ยนแปลงอย่างใด เพื่อให้เหมาะสมแก่กิจการซึ่งให้ควบคุมนั้น ทั้งนี้ การผ่อนผันนั้นต้องไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนถึงสุขภาพอนามัยของประชาชน ข้อ ๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องดูแลรักษาสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันและการกำจัดสัตว์นำโรค (๒) ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์นำโรคได้และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๓) รักษาส้วมให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะอยู่เสมอ (๔) จัดสิ่งของเครื่องใช้ และอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย และรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาหาร กรรมวิธีการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บ รักษาอาหาร ตลอดจนสุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์น้ำใช้ และของใช้อื่น ๆ รวมทั้งสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการ ดังต่อไปนี้ (๑) วางเก็บอาหารก่อนปรุงในที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันแมลงและสัตว์นำโรคในสถานที่นั้น (๒) ใช้เครื่องปกปิดอาหาร รวมทั้งภาชนะและอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลอดจนรักษา เครื่องปกปิดนั้นให้สะอาดถูกต้องด้วยสุขลักษณะและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๓) น้ำแข็งสำหรับใช้บริโภค ต้องจัดเก็บไว้ในภาชนะที่ถูกสุขลักษณะ สามารถป้องกันสิ่งปนเปื้อนได้ และห้ามนำอาหารหรือสิ่งของอื่นใดแช่หรือเก็บรวมไว้ด้วยกัน (๔) การทุบ บดน้ำแข็ง ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ และสะอาดอยู่เสมอรวมทั้งป้องกันมิให้มีเสียงอันเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น (๕) ในกรณีที่มีผ้าเช็ดหน้าให้บริการต้องทำความสะอาดและผ่านความร้อนฆ่าเชื้อโรคหรือกรรมวิธีอื่นใดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๖) จัดให้มีน้ำสะอาดไว้ให้เพียงพอ (๗) ใช้ภาชนะหรือวัตถุที่สะอาด ปลอดภัยสำหรับปรุง ใส่ หรือห่ออาหารหรือน้ำแข็งโดยรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๘) ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการต้องแต่งกายให้สะอาดและปฏิบัติตนให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะส่วนบุคคล (๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติและคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางประกาศกำหนด ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๔ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๗ และข้อ ๘ ด้วย ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๒ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางประกาศกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๔ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๕ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่งยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๗ ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มาแจ้งและภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนวันครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๘ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ข้อ ๒๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ นรากร พิมล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๓๘/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,263
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางและนายอำเภอเกาะลันตาจึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการ “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ๑ กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่เป็นการค้า (๑) การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง (๒) การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอานม (๓) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ จะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม ๒ กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๑) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาดและการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๒) การฟอกหนังสัตว์ ขนสัตว์ การสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ที่ยังมิได้ฟอก (๓) การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๔) การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์ (๕) การต้ม การตาก การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย และการขายในตลาด (๖) การประดิษฐ์เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ หนังสัตว์ ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ (๗) การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสมหรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์ (๘) การสะสมหรือการล้างครั่ง ๓ กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม (๑) การผลิตเนย เนยเทียม (๒) การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว หอยดอง หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓) การผลิต การหมัก การสะสมปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๔) การตากเนื้อสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์เค็ม การเคี่ยวมันกุ้ง ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๕) การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์ พืชยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๖) การเคี่ยวน้ำมันหมู การผลิตกุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก หมูตั้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๗) การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ (๘) การผลิตแบะแซ (๙) การผลิตอาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๑๐) การประกอบกิจการการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ (๑๑) การแกะ การล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑๒) การผลิตน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำถั่วเหลือง เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑๓) การผลิต การแบ่งบรรจุน้ำตาล (๑๔) การผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำนมวัว (๑๕) การผลิต การแบ่งบรรจุเอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ น้ำส้มสายชู (๑๖) การคั่วกาแฟ (๑๗) การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร (๑๘) การผลิตผงชูรส (๑๙) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค (๒๐) การตาก การหมัก การดองผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๒๑) การผลิต การบรรจุใบชาแห้ง ชาผงหรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๒๒) การผลิตไอศกรีม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๒๓) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๒๔) การประกอบกิจการห้องเย็น แช่แข็งอาหาร (๒๕) การผลิตน้ำ แข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำ หน่ายอาหารและเพื่อการบริโภคในครัวเรือน (๒๖) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป ๔ กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง (๑) การผลิต การโม่ การบด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็นเครื่องสำอางต่าง ๆ (๓) การผลิตสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๕) การผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่าง ๆ ๕ กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๑) การอัด การสกัดเอาน้ำมันจากพืช (๒) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ (๓) การผลิตแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคูหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๔) การสีข้าวด้วยเครื่องจักร (๕) การผลิตยาสูบ (๖) การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร (๗) การผลิต การสะสมปุ๋ย (๘) การผลิตใยมะพร้าวหรือวัตถุคล้ายคลึงด้วยเครื่องจักร (๙) การตาก การสะสมหรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง ๖ กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๑) การผลิตโลหะเป็นภาชนะ เครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ (๒) การหลอม การหล่อ การถลุงแร่หรือโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการใน ๖ (๑) (๓) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด การอัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซหรือ ไฟฟ้า ยกเว้นกิจการใน ๖ (๑) (๔) การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิลหรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการใน ๖ (๑) (๕) การขัด การล้างโลหะด้วยเครื่องจักร สารเคมี หรือวิธีอื่นใด ยกเว้นกิจการใน ๖ (๑) (๖) การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือกหรือการล้างแร่ ๗ กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๒) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่งระบบปรับอากาศหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๓) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๔) การล้าง การอัดฉีดยานยนต์ (๕) การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่ (๖) การปะ การเชื่อมยาง (๗) การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ ๘ กิจการที่เกี่ยวกับไม้ (๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๒) การเลื่อย การซอย การตัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้วหรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๓) การประดิษฐ์ไม้ หวายเป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่น การทาสารเคลือบเงาสี หรือการแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย (๔) การอบไม้ (๕) การผลิตธูปด้วยเครื่องจักร (๖) การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียนด้วยกระดาษ (๗) การผลิตกระดาษต่าง ๆ (๘) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน ๙ กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๑) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๒) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร (๓) การประกอบกิจการโรงแรมหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๔) การประกอบการกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า ห้องแบ่งเช่าหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๕) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๖) การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะหรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๗) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๘) การจัดให้มีการเล่นสเกตโดยมีแสงหรือเสียงประกอบ หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๑๐) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก โดยวิธีการควบคุมทางโภชนาการ ให้อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ การบริหารร่างกาย หรือโดยวิธีอื่นใด เว้นแต่การให้บริการดังกล่าวในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๑๑) การประกอบกิจการสวนสนุก ตู้เกม (๑๒) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุขวิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๑๓) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ๑๐ กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑) การปั่นด้าย การกรอด้าย การทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือการทอผ้าด้วยกี่กระตุกตั้งแต่ ๕ กี่ขึ้นไป (๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้ายหรือนุ่น (๓) การปั่นฝ้ายหรือนุ่นด้วยเครื่องจักร (๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕) การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป (๖) การพิมพ์ผ้า หรือการพิมพ์บนสิ่งทออื่น ๆ (๗) การซัก การอบ การรีด การอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๘) การย้อม การกัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ ๑๑ กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๒) การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิตเครื่องใช้ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน ทราย หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน กระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖) การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ (๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือการเผาหินปูน (๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม เช่น ผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้าเพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น (๙) การผลิตกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๐) การผลิตกระดาษทราย (๑๑) การผลิตใยแก้วหรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว ๑๒ กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี (๑) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์หรือสารตัวทำละลาย (๒) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ (๓) การผลิต การกลั่น การสะสม การขนส่งน้ำมันปิโตรเลียม หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ (๔) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก (๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการใน ๗ (๑) (๖) การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๗) การโม่ การบดชัน (๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๙) การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๐) การเคลือบ การชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๔) การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิงหรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๕) การผลิตเชลแล็กหรือสารเคลือบเงา (๑๖) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๗) การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว ๑๓ กิจการอื่น ๆ (๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อุปกรณ์ไฟฟ้า (๓) การผลิตเทียน เทียนไขหรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือการถ่ายเอกสาร (๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว (๘) การพิมพ์สีลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๙) การก่อสร้าง (๑๐) กิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญของประชาชน ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเอง ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงาน ต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตราย ต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๗ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) ทะเบียนบ้านผู้ขออนุญาต ทะเบียนบ้านของสถานประกอบการ พร้อมสำเนาที่รับรองถูกต้อง (๓) สำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคารของสถานที่ขออนุญาตประกอบการค้า (กรณีที่ก่อสร้างหลังพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ใช้บังคับ) (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล) (๕) เอกสารอื่นๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางประกาศกำหนด ข้อ ๑๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ใดประสงค์ที่จะประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัติตำบลนี้ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ กอ. ๑ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมหลักฐานต่าง ๆ ตามข้อ ๑๘ (๒) เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ขอใบอนุญาตได้ปฏิบัติการครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ในข้อบัญญัตินี้ และการอนุญาตนั้นไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ก็ให้ออกใบอนุญาตให้ตามแบบ กอ. ๒ (๓) การต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบ กอ. ๓ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบ ของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ โดยอนุโลม ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่ มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ นรากร พิมล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๒๐/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,264
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคนและนายอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคนตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคนเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบ ต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน “ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานท้องถิ่นซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติการตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน ๖.๑ กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๑) การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลง (๒) การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอาน้ำนม (๓) การประกอบกิจการการเลี้ยงสัตว์ รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ จะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม ๖.๒ กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๑) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาดและการฆ่าบริโภคในครัวเรือน (๒) การฟอกหนังสัตว์ ขนสัตว์ การสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ที่ยังมิได้ฟอก (๓) การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๔) การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์ (๕) การต้ม การตาก การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขายและการขายในตลาด (๖) การประดิษฐ์เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ หนังสัตว์ ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ (๗) การผลิต การโม่ การป่น การลด การผสม การบรรจุ การสะสมหรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืชหรือส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์ (๘) การสะสมหรือล้างครั่ง ๖.๓ กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม (๑) การผลิตเนย เนยเทียม (๒) การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว หอยดอง หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓) การผลิต การหมัก การสะสมปลาร้า การเจ่า กุ้งเจ่า ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๔) การตากเนื้อสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์เค็ม การเคี่ยวมันกุ้ง ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๕) การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์ พืช ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๖) การเคี่ยวน้ำมันหมู การผลิตกุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก หมูตั้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๗) การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ (๘) การผลิตแบะแซ (๙) การผลิตอาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๑๐) การประกอบกิจการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ (๑๑) การแกะ การล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑๒) การผลิตน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำถั่วเหลือง เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑๓) การผลิต การแบ่งบรรจุน้ำตาล (๑๔) การผลิตผลิตภัณฑ์จากนมวัว (๑๕) การผลิต การแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ น้ำส้มสายชู (๑๖) การคั่วกาแฟ (๑๗) การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร (๑๘) การผลิตผงชูรส (๑๙) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค (๒๐) การตาก การหมัก การดองผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๒๑) การผลิต การบรรจุใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๒๒) การผลิตไอศครีม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๒๓) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๒๔) การประกอบกิจการห้องเย็น แช่แข็งอาหาร (๒๕) การผลิตน้ำ แข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำ หน่ายอาหารและเพื่อการบริโภคในครัวเรือน (๒๖) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป ๖.๔ กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๑) การผลิต การโม่ การลด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น เครื่องสำอางต่าง ๆ (๓) การผลิตสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๕) การผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ๖.๕ กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๑) การอัด การสกัดเอาน้ำมันจากพืช (๒) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ (๓) การผลิตแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๔) การสีข้าวด้วยเครื่องจักร (๕) การผลิตยาสูบ (๖) การขัด การกะเทาะ การลดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร (๗) การผลิต การสะสมปุ๋ย (๘) การผลิตใยมะพร้าวหรือวัตถุคล้ายคลึงด้วยเครื่องจักร (๙) การตาก การสะสม หรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง ๖.๖ กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๑) การผลิตโลหะเป็นภาชนะ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ (๒) การหลอม การหล่อ การถลุงแร่ หรือโลหะทุกชนิดยกเว้นกิจการใน ๔.๖ (๑) (๓) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด การอัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซหรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการใน ๖.๖ (๑) (๔) การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะ อื่นใด ยกเว้นกิจการใน ๖.๖ (๑) (๕) การขัดการล้างโลหะด้วยเครื่องจักรสารเคมีหรือวิธีอื่นใดยกเว้นกิจการใน ๖.๖ (๑) (๖) การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือก การล้างแร่ ๖.๗ กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารสนิมยานยนต์ (๒) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่ง ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๓) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๔) การล้าง การอัดฉีด ยานยนต์ (๕) การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่ (๖) การปะ การเชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๗) การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ ๖.๘ กิจการที่เกี่ยวกับไม้ กระดาษ (๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๒) การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้วหรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๓) การประดิษฐ์ไม้ หวาย เป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่นทาสารเคลือบเงาสี หรือการแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย (๔) การอบไม้ (๕) การผลิตธูปด้วยเครื่องจักร (๖) การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียนด้วยกระดาษ (๗) การผลิตกระดาษต่าง ๆ (๘) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน ๖.๙ กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๑) กิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด เว้นแต่เป็นการให้บริการใน ๖.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๓) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการใน ๖.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๔) การประกอบกิจการโรงแรม หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๕) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า ห้องแบ่งเช่าหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๖) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๗) การจัดให้มีการแสดงดนตรีเต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะหรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๘) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙) การจัดให้มีการเล่นสเกต โดยมีแสงหรือเสียงประกอบ หรือการเล่นอื่น ๆในทำนองเดียวกัน (๑๐) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๑๑) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก โดยวิธีการควบคุมทางโภชนาการให้อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ บริหารร่างกาย หรือโดยวิธีอื่นใด เว้นแต่การให้บริการดังกล่าวหรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๑๒) การประกอบกิจการสวนสนุก ตู้เกม เกมออนไลน์ (๑๓) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๑๔) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุขวิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๑๕) การสักผิวหนัง การเจาะหูหรือเจาะอวัยวะอื่น (๑๖) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้าน (๑๗) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงดูผู้สูงอายุที่บ้าน ๖.๑๐ กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑) การปั่นด้าย การกรอด้าย การทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือการทอผ้าด้วยกี่กระตุก ตั้งแต่ ๕ กี่ขึ้นไป (๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย หรือนุ่น (๓) การปั่นฝ้าย หรือนุ่น ด้วยเครื่องจักร (๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕) การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป (๖) การพิมพ์ผ้าหรือการพิมพ์บนสิ่งทอต่าง ๆ (๗) การซัก การอบ การรีด การอัดกลีบผ้า ด้วยเครื่องจักร (๘) การย้อม การกัดสีผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ๖.๑๑ กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑) การผลิตภาชนะดินเผา หรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๒) การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิตเครื่องใช้ด้วยซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน ทราย หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๕) การเจียระไนเพชร พลอย หินกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖) การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ (๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาวดินสอพอง หรือการเผาหินปูน (๘) การผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ หรือส่วนผสมเช่น ผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้า เพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น (๙) การผลิตกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๐) การผลิตกระดาษทราย (๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว ๖.๑๒ กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี (๑) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์หรือสารตัวทำละลาย (๒) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ (๓) การผลิต การกลั่น การสะสม การขนส่งน้ำ มันปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ (๔) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก (๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการใน ๖.๗ (๑) (๖) การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๗) การโม่ การบดชัน (๘) การผลิตสี หรือน้ำมันผสมสี (๙) การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่าย หรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๐) การเคลือบ การชุบ วัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๔) การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมี อันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๖) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืช หรือพาหะนำโรค (๑๗) การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว ๖.๑๓ กิจการอื่น ๆ (๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต การซ่อมเครื่องอีเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า (๓) การผลิตเทียน เทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การพิมพ์แบบพิมพ์เขียว หรือการถ่ายเอกสาร (๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้ว หรือเหลือใช้ (๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๗) การล้างขวด ภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว (๘) การพิมพ์สีลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๙) การก่อสร้าง หมวด ๒ หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนา โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกำหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางมีแสงสว่างเพียงพอและมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำ และห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน (๔) ต้องทำรางระบายน้ำไปสู่รางระบายน้ำสาธารณะหรือบ่อพัก ซึ่งรับน้ำเสียด้วยวัตถุถาวร มีลักษณะเรียบ ไม่ซึม ไม่รั่ว น้ำไหลได้สะดวก (๕) การระบายน้ำ และรางระบายน้ำต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเหตุรำคาญ (๖) ต้องมีการบำบัดหรือการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสีย หรือกากของเสียให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคนกำหนด ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจผ่อนผันให้ผู้รับใบอนุญาตงดเว้นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ ๘ ได้ตามที่เห็นสมควร และให้มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยส่วนรวม ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหารการปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาคารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ หมวด ๓ การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้งและมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตราย ต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หมวด ๔ การควบคุมของเสีย มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ ข้อ ๑๘ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตรายหรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำ เนินการรวบรวมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานละผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หมวด ๕ ใบอนุญาต ข้อ ๑๙ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๒๐ ผู้ใดประสงค์ที่จะประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้พร้อมเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคนกำหนด ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาต หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีมีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๓ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคนเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลือยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้ขอรับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือการปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๐ คำสั่งพักการใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้ทราบคำสั่งแล้ว ตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๓ บรรดาใบอนุญาตการค้าซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน ให้คงใช้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น และเมื่อสิ้นอายุใบอนุญาตนั้นแล้วให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ จิระ แก้วมณี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๖๔/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,265
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ .ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางและนายอำเภอเกาะลันตา จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อ บัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน “การจำหน่ายสินค้า” หมายความว่า การจำหน่ายสิ่งของหรือวัสดุทุกชนิดที่สามารถนำมาขายหรือให้เช่า หรือแลกเปลี่ยนสินค้าโดยมีราคาหรือมูลค่าในการนั้น “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆหรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารรวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหน้าที่ควบคุมดูแลที่หรือทางสาธารณะเพื่อประโยชน์ใช้สอยของประชาชนทั่วไป ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติหรือเร่ขาย เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาตตามวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระบุชนิด หรือประเภทของสินค้าลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้า และสถานที่ที่จะจัดวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกรณีที่จะมีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ รวมทั้งจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควรไว้ในใบอนุญาตด้วยก็ได้ การเปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้าหรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาต จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้รับใบอนุญาตได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้จดแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ในใบอนุญาตแล้ว ข้อ ๖ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) แต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย (๒) ให้จัดวางสินค้าที่จำหน่ายบนแผงวางสินค้าหรือจัดวางในลักษณะอื่นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๓) แผงวางสินค้าทำด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรงและมีความสูงตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๔) จัดวางสินค้าและสิ่งของใด ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ยื่นล้ำออกนอกบริเวณที่กำหนด ทั้งนี้ รวมทั้งตัวของผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าด้วย (๕) ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าในระหว่างการจำหน่ายอยู่เสมอ (๖) ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น การใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทป เป็นต้น (๗) เมื่อเสร็จสิ้นการจำหน่ายทุกครั้งต้องเก็บสินค้าและสิ่งของใด ๆ ที่เกี่ยวข้องจากบริเวณที่จำหน่ายให้เรียบร้อยโดยไม่ชักช้า (๘) หยุดการจำหน่ายสินค้าเพื่อสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางประกาศกำหนด (๙) การอื่นที่จำเป็นเพื่อการรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๗ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) แผงจำหน่ายอาหารทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดี เป็นระเบียบ อยู่สูงจากพื้นอย่างน้อง ๖๐ เซนติเมตร (๒) อาหารปรุงสุกมีการปกปิดหรือมีการป้องกันสัตว์แมลงนำโรค (๓) สารปรุงแต่งอาหารต้องมีเลขสารบบอาหาร (อย.) (๔) น้ำดื่มต้องเป็นน้ำที่สะอาด ใส่ในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด มีก๊อกหรือทางเทรินน้ำ (๕) เครื่องดื่มต้องใส่ภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด และมีที่ตักที่มีด้ามยาวหรือมีก๊อกหรือทางเท ทางรินน้ำ (๖) น้ำแข็งที่ใช้บริโภค (๖.๑) ต้องสะอาด (๖.๒) เก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิด อยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๖.๓) ที่ตักน้ำแข็งมีด้ามยาว (๖.๔) ต้องไม่นำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่ไว้ในน้ำแข็ง (๗) ล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างภาชนะ แล้งด้วยน้ำสะอาด ๒ ครั้ง หรือล้างด้วยน้ำไหลและอุปกรณ์การล้างต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๘) ช้อน ส้อม ตะเกียบ วางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่งสะอาดหรือวางเป็นระเบียบในภาชนะโปร่งสะอาด และมีการปกปิด เก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๙) มีการรวบรวมมูลฝอยและเศษอาหารเพื่อนำไปกำจัด (๑๐) ผู้สัมผัสอาหารแต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน ผู้ปรุงต้องผูกผ้ากันเปื้อนและสวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม (๑๑) ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว (๑๒) ผู้สัมผัสอาหารที่มีบาดแผลที่มือต้องปกปิดแผลให้มิดชิด ข้อ ๘ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) แต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย (๒) ไม่ทิ้งมูลฝอยลงในที่หรือทางสาธารณะ (๓) ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น การใช้เครื่องขยายเสียง เป็นต้น (๔) หยุดการจำหน่ายสินค้าเพื่อสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางประกาศกำหนด (๕) การอื่นที่จำเป็นเพื่อการรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขายผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ (๒) สวมเสื้อที่มีแขน ใช้ผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมรองเท้าหุ้มส้น มีสิ่งปกปิดป้องกันเส้นผมมิให้ตกลงในอาหาร (๓) รักษาความสะอาดมือและเล็บ ถ้ามีบาดแผลบริเวณมือต้องทำแผลให้เรียบร้อย (๔) ไม่สูบบุหรี่ในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุงหรือจำหน่ายอาหาร (๕) ไม่ไอหรือจามรดบนอาหาร (๖) ที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุง และแผงวางจำหน่ายอาหาร ต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๗) ไม่เททิ้งเศษอาหาร หรือน้ำที่มีเศษอาหารหรือไขมันลงบนพื้นหรือทางระบายน้ำสาธารณะ (๘) ใช้ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารที่สะอาด (๙) ปกปิดอาหาร เครื่องปรุงอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นละออง แมลงวันและสัตว์พาหะนำโรคอื่น ๆ (๑๐) ใช้น้ำที่สะอาดในการทำ ประกอบ ปรุง แช่หรือล้างอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหาร (๑๑) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอ และไม่เททิ้งมูลฝอยลงในท่อหรือทางระบายน้ำสาธารณะ ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าประกอบกิจการเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อหรือเป็นพาหะของโรคติดต่อ ดังต่อไปนี้ (๑) วัณโรค (๒) อหิวาตกโรค (๓) ไข้รากสาดน้อย (ไทฟอยด์) (๔) โรคบิด (๕) ไข้สุกใส (๖) โรคคางทูม (๗) โรคเรื้อน (๘) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ (๙) โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส (๑๐) โรคติดต่ออื่น ๆ ที่ทางราชการกำหนด ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางประกาศกำหนด ข้อ ๑๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้มีสัญชาติไทย (๒) ต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือพาหะของโรคติดต่อตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ (๓) เงื่อนไขอื่นตามที่ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางกำหนด ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๔ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางประกาศกำหนด และจะต้องติดบัตรประจำตัวไว้ที่อกเสื้อด้านซ้ายตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๖ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒ ด้วย ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๘ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่ มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๕ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ นรากร พิมล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๔๘/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,266
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางและนายอำเภอเกาะลันตา จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย” หมายความว่า สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะเวลาที่เกินกว่าเจ็ดวันซึ่งยุงลายสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่ในที่หรือในถังรองรับมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางจัดไว้ให้ ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ ในบริเวณอาคารหรือเคหสถาน รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้ โดยเก็บลงถังมูลฝอยที่มีฝาปิดหรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางให้บริการเก็บขนมูลฝอยเพื่อนำไปกำจัด เจ้าของอาคารหรือเคหสถานมีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัติว่าด้วยการจัดการมูลฝอยด้วย ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหสถาน ต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ ที่มีน้ำขังอย่างน้อยทุกเจ็ดวัน หรือใส่สารที่ป้องกัน การวางไข่ของยุงได้และจัดให้มีฝาปิดตุ่มน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถาน รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางได้จัดเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงในอาคาร หรือเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่นั้นจะต้องให้ความร่วมมือและอำนายความสะดวกตามสมควร ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ และข้อ ๖ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยางรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ นรากร พิมล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๓๕/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,267
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง ว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนากลางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนากลางและนายอำเภอสูงเนิน จึงตราข้อบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนากลางตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ ข้อ ๕ การเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนากลางให้เป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลนากลางอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลนากลางอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้ และข้อ ๙ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าวแจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลนากลางมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง และระเบียบปฏิบัติได้ตามความจำเป็น ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลนากลางมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่องค์การบริหารส่วนตำบลนากลางตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้ การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลนากลางจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ในกรณีที่ยังไม่มีกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ห้ามผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ นอกจากในที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลนากลางจัดไว้ให้ (๒) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๙ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๐ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนากลางจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนากลางประกาศกำหนด ข้อ ๑๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๙ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ (๑.๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๑.๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้ มีฝาปิด - เปิดอยู่ด้านบน (๑.๑.๓) มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลและติดตั้งมาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลด้วย (๑.๑.๔) ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่รั่วซึม (๑.๑.๕) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๑.๑.๖) ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล เช่น “รถดูดสิ่งปฏิกูล” เป็นต้น และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ ด้วยตัวอักษรไทย ซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนากลางประกาศกำหนด (๑.๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง สำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๑.๓) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเกี่ยวกับเรื่องสุขลักษณะ รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง (๓) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเกี่ยวกับเรื่องสุขลักษณะ รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง ข้อ ๑๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๔ ในการดำเนินกิจการผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ขณะทำการดูดสิ่งปฏิกูลต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๑.๒) ทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล โดยหลังจากดูดสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้วให้ทำการดูดน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล และทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๑.๓) ทำความสะอาดพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดหรือกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่สาธารณะ (๑.๔) กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราด ให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด (๑.๕) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ข้อ ๑๕ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลางเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๕ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ที่อยู่นอกเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง หรือเขตพื้นที่การให้บริการของผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการต้องดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๒๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนากลางเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ถิ่น เติบสูงเนิน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๘ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต ๓. แบบคำขอรับใบแทนใบอนุญาต (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๒๑๔/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,268
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล ว่าด้วยการจัดการมูลฝอยทั่วไปในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลและนายอำเภอท่าอุเทน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอยทั่วไป” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น แต่ไม่รวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน และสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว หรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน ของเสียจากวัตถุดิบ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ และของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน “มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่” หมายความว่า มูลฝอยทั่วไปที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ “มูลฝอยติดเชื้อ” หมายความว่า มูลฝอยติดเชื้อตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ “มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน” หมายความว่า มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชนที่เป็นวัตถุหรือปนเปื้อนสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารพิษ สารไวไฟ สารออกซิไดซ์ สารเปอร์ออกไซต์ สารระคายเคือง สารกัดกร่อน สารที่เกิดปฏิกิริยาได้ง่าย สารที่เกิดระเบิดได้ สารที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม สารหรือสิ่งอื่นใดที่อาจก่อหรือมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม แต่ไม่รวมถึงมูลฝอยทั่วไป มูลฝอยติดเชื้อ กากกัมมันตรังสี และของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน “การจัดการมูลฝอยทั่วไป” หมายความว่า กระบวนการดำเนินการตั้งแต่การเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยทั่วไป “น้ำชะมูลฝอย” หมายความว่า ของเหลวที่ไหลชะผ่านหรือของเหลวที่ออกมาจากมูลฝอยทั่วไป ซึ่งอาจประกอบด้วยสารละลายหรือสารแขวนลอยผสมอยู่ “อาคารอยู่อาศัยรวม” หมายความว่า อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับหลายครอบครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว “ผู้ซึ่งก่อให้เกิดมูลฝอย” หมายความว่า ประชาชน และเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร สถานประกอบการ สถานบริการ โรงงานอุตสาหกรรม ตลาด หรือสถานที่ใด ๆ ที่เป็นแหล่งกำเนิดมูลฝอย “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ การจัดการมูลฝอยทั่วไปในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลเป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการขนหรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลหรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการขน หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วซึ่งต้องจัดการตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วและผู้ดำเนินกิจการรับทำการขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วดังกล่าวแจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการขนมูลฝอยทั่วไปแทน หรือจะอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการขนมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการขนมูลฝอยทั่วไปแทน หรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการขนมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๗ ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะซึ่งมูลฝอยทั่วไป นอกจากถ่าย เท ทิ้ง หรือกำจัด ณ สถานที่หรือตามวิธีที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลกำหนดหรือจัดให้ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลจัดให้มีสถานที่ถ่าย เท หรือทิ้งมูลฝอยทั่วไปในที่หรือทางสาธารณะหรือกำหนดให้มีวิธีกำจัดมูลฝอยทั่วไปตามที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๘ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน และบุคคลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลมอบให้ดำเนินการขน และกำจัดมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขน และกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี ต้องดำเนินการขนและกำจัดมูลฝอยทั่วไปให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้ รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในการจัดการมูลฝอยทั่วไปต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ควบคุมกำกับในการจัดการมูลฝอยทั่วไปอย่างน้อยสองคน โดยให้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หมวด ๒ หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการเกี่ยวกับสุขลักษณะในการจัดการมูลฝอยทั่วไป ส่วนที่ ๑ การเก็บมูลฝอยทั่วไป ข้อ ๙ เพื่อประโยชน์ในการเก็บมูลฝอยทั่วไป ให้ผู้ซึ่งก่อให้เกิดมูลฝอยคัดแยกมูลฝอย อย่างน้อยเป็นมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน โดยให้คัดแยกมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ออกจากมูลฝอยทั่วไปด้วย ข้อ ๑๐ ถุงหรือภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ถุงสำหรับบรรจุมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ต้องเป็นถุงพลาสติกหรือถุงที่ทำจากวัสดุอื่นที่มีความเหนียว ทนทาน ไม่ฉีกขาดง่าย ไม่รั่วซึม ขนาดเหมาะสม และสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก (๒) ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ต้องทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่รั่วซึม มีฝาปิดมิดชิด สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคได้ ขนาดเหมาะสม สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก และง่ายต่อการถ่ายและเทมูลฝอย ถุงหรือภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ตามวรรคหนึ่ง ให้ระบุข้อความที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ โดยมีขนาดและสีของข้อความที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ข้อ ๑๑ ให้ผู้ซึ่งก่อให้เกิดมูลฝอยบรรจุมูลฝอยทั่วไปหรือมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ในถุงหรือภาชนะบรรจุ ในกรณีบรรจุในถุงต้องบรรจุในปริมาณที่เหมาะสมและมัดหรือปิดปากถุงให้แน่นเพื่อป้องกันการหกหล่นของมูลฝอยดังกล่าว กรณีบรรจุในภาชนะบรรจุต้องบรรจุในปริมาณที่เหมาะสมและมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุนั้นเป็นประจำสม่ำเสมอ ข้อ ๑๒ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารอยู่อาศัยรวม อาคารชุด หอพัก หรือโรงแรม ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่แปดสิบห้องขึ้นไป หรือมีพื้นที่ใช้สอยมากกว่าสี่พันตารางเมตรขึ้นไป หรือเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร สถานประกอบการ สถานบริการ โรงงานอุตสาหกรรม ตลาด หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีปริมาณมูลฝอยทั่วไปตั้งแต่สองลูกบาศก์เมตรต่อวัน จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยทั่วไป ภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ หรือภาชนะรองรับที่มีขนาดใหญ่ตามความเหมาะสมหรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๓ ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นอาคารหรือเป็นห้องแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะที่มีการป้องกันน้ำฝน หรือภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ที่มีขนาดใหญ่ที่สามารถบรรจุมูลฝอยได้ไม่น้อยกว่าสองวัน (๒) มีพื้นและผนังของอาคารหรือห้องแยกตาม (๑) ต้องเรียบ มีการป้องกันน้ำซึมหรือน้ำเข้าทำด้วยวัสดุที่ทนทาน ทำความสะอาดง่าย สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค และมีการระบายอากาศ (๓) มีรางหรือท่อระบายน้ำเสียหรือระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อรวบรวมน้ำเสียไปจัดการตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด (๔) มีประตูกว้างเพียงพอให้สามารถเคลื่อนย้ายมูลฝอยได้โดยสะดวก (๕) มีการกำหนดขอบเขตบริเวณที่ตั้งสถานที่พักรวมมูลฝอยทั่วไป มีข้อความที่มีขนาดเห็นได้ชัดเจนว่า “ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไป” และมีการดูแลรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปต้องตั้งอยู่ในสถานที่สะดวกต่อการเก็บรวบรวมและขนถ่ายมูลฝอยทั่วไป และอยู่ห่างจากแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและสถานที่ประกอบหรือปรุงอาหาร ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๔ ภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่รั่วซึม มีฝาปิดมิดชิด สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคได้ ขนาดเหมาะสม สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก และง่ายต่อการถ่ายและเทมูลฝอย (๒) มีข้อความว่า “มูลฝอยทั่วไป” หรือ “มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่” แล้วแต่กรณี และมีขนาดและสีของข้อความที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ข้อ ๑๕ ภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีปริมาตรตั้งแต่สองลูกบาศก์เมตรขึ้นไป ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่รั่วซึม มีลักษณะปิดมิดชิด สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคได้ สะดวกต่อการขนถ่ายมูลฝอย และสามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย มีระบบรวบรวมและป้องกันน้ำชะมูลฝอยไหลปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม (๒) มีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ที่มีขนาดใหญ่ต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม สะดวกต่อการขนย้ายและไม่กีดขวางเส้นทางจราจร แยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ พื้นฐานเรียบ มั่นคง แข็งแรง ทำความสะอาดง่าย มีรางหรือท่อระบายน้ำทิ้งหรือระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อรวบรวมน้ำเสียไปจัดการตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด ห่างจากแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและสถานที่ประกอบหรือปรุงอาหารตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๖ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลจัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ หรือภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ที่มีขนาดใหญ่ในที่หรือทางสาธารณะตามความเหมาะสม ข้อ ๑๗ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน บุคคลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลมอบให้ดำเนินการเก็บมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล และบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี ต้องจัดให้มีผู้ปฏิบัติงานซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมและคัดแยกมูลฝอยทั่วไป และจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานดังกล่าว ผู้ปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่งต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีและได้รับความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๘ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน บุคคลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลมอบให้ดำเนินการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล และบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี ที่จัดให้มีสถานที่คัดแยกมูลฝอยทั่วไปต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นพื้นที่เฉพาะ มีขนาดเพียงพอ เหมาะสม สามารถรองรับมูลฝอยทั่วไปที่จะนำเข้ามาคัดแยกได้ มีการรักษาบริเวณโดยรอบให้สะอาดและเป็นระเบียบอยู่เสมอ (๒) มีแสงสว่างเพียงพอสามารถมองเห็นวัตถุต่าง ๆ ได้ชัดเจน (๓) มีการระบายอากาศเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน (๔) จัดให้มีห้องน้ำ ห้องส้วม อ่างล้างมือที่สะอาด เพียงพอ สำหรับใช้งานและชำระล้างร่างกาย (๕) มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค (๖) มีการป้องกันฝุ่นละออง กลิ่น เสียง ความสั่นสะเทือน หรือการดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด (๗) จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย และมีการบำรุงรักษาให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา (๘) มีระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย และน้ำทิ้งที่ระบายออกสู่ภายนอกเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด ในกรณีวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มชุมชนดำเนินการคัดแยกมูลฝอยในลักษณะที่ไม่เป็นการค้าหรือแสวงหากำไรต้องแจ้งองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลที่วิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มชุมชนนั้นตั้งอยู่ และให้องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลกำกับดูแลการดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ข้อ ๑๙ ห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการหรือผู้ครอบครองโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นแหล่งกำเนิดมูลฝอยทั่วไปทิ้งสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน ของเสียจากวัตถุดิบ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ และของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานปะปนกับมูลฝอยทั่วไป ส่วนที่ ๒ การขนมูลฝอยทั่วไป ข้อ ๒๐ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลโดยองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน บุคคลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลมอบให้ดำเนินการขนมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล และบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขนมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี ต้องจัดให้มีผู้ปฏิบัติงานซึ่งทำหน้าที่ขนมูลฝอยทั่วไป และจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานดังกล่าว อุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน อุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย ตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลไว้ประจำรถขนมูลฝอยทั่วไปด้วย ผู้ปฏิบัติงานขนมูลฝอยทั่วไปตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี และผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๑ การดำเนินการขนมูลฝอยทั่วไปต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้แยกขนมูลฝอยตามประเภท หรือกำหนดวันในการขนตามประเภทของมูลฝอย หรือตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลกำหนด (๒) ใช้ยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ และต้องมีการทำความสะอาดยานพาหนะ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการขนมูลฝอยทั่วไป และบริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะเป็นประจำทุกวัน (๓) ต้องจัดให้มีสถานที่ล้างยานพาหนะ รวมทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการขนมูลฝอยทั่วไปที่มีลักษณะเป็นพื้นเรียบ แข็งแรง ทนทาน มีความลาดเอียง น้ำไม่ท่วมขัง ทำความสะอาดง่าย มีรางหรือท่อระบายน้ำเสียหรือระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อรวบรวมน้ำเสียไปจัดการตามที่กฎหมายกำหนด และมีการป้องกันเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ (๔) บริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปมีขนาดกว้างขวางเพียงพอ มีรางหรือท่อระบายน้ำเสียจากการล้างยานพาหนะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย เว้นแต่อาคารที่ไม่ถูกบังคับให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย (๕) ต้องมีมาตรการควบคุมกำกับการขนมูลฝอยทั่วไป เพื่อป้องกันการลักลอบทิ้ง ข้อ ๒๒ ยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ตัวถังบรรจุมูลฝอยทั่วไปมีความแข็งแรงทนทาน ไม่รั่วซึม มีลักษณะปกปิด เป็นแบบที่ง่ายต่อการบรรจุ ขนถ่าย และทำความสะอาด ระดับตัวถังไม่สูงเกินไปหรืออยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในขณะขนถ่ายมูลฝอยทั่วไป (๒) มีการป้องกันหรือมีการติดตั้งภาชนะรองรับน้ำจากมูลฝอย เพื่อมิให้รั่วไหลตลอดการปฏิบัติงาน และนำน้ำเสียจากมูลฝอยไปบำบัดในระบบบำบัดน้ำเสีย (๓) มีสัญลักษณ์หรือสัญญาณไฟติดไว้ประจำยานพาหนะชนิดไม่ก่อให้เกิดความรำคาญ และสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล เปิดให้สัญญาณขณะปฏิบัติงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ กรณีบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งได้รับมอบจากองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลให้เป็นผู้ดำเนินการขนหรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปแทนภายใต้การดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล ให้บุคคลหรือนิติบุคคลนั้นแสดงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลด้วยตัวหนังสือที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไป พร้อมกับแสดงแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ระบุชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลหรือนิติบุคคลนั้นไว้ที่ยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน กรณีบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งได้รับอนุญาต ให้ผู้ได้รับอนุญาตแสดงชื่อบุคคลหรือนิติบุคคล เลขที่ใบอนุญาตของบริษัทด้วยตัวหนังสือที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไป พร้อมกับแสดงแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ระบุชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลหรือนิติบุคคลนั้นไว้ที่ยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ข้อ ๒๓ ในกรณีที่มีความจำเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน บุคคลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลมอบให้ดำเนินการเก็บและขนมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล และบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บและขนมูลฝอยทั่วไป โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี อาจจัดให้มีสถานีขนถ่ายมูลฝอยทั่วไปก็ได้ สถานีขนถ่ายมูลฝอยทั่วไปตามวรรคหนึ่งต้องมีลักษณะและการขนถ่ายที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีลักษณะเป็นอาคาร มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยทั่วไปที่ต้องพักรอการขนถ่ายมีการป้องกันน้ำซึมหรือน้ำเข้า มีการระบายอากาศ และแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน (๒) มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค ฝุ่นละออง กลิ่น เสียง ความสั่นสะเทือน หรือการดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) มีระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย และน้ำทิ้งที่ระบายออกสู่ภายนอกเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่อาคารที่ไม่ถูกบังคับให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย ส่วนที่ ๓ การกำจัดมูลฝอยทั่วไป ข้อ ๒๔ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลโดยองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน บุคคลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล และบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี ต้องจัดให้มีผู้ปฏิบัติงานซึ่งทำหน้าที่กำจัดมูลฝอยทั่วไป และจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานดังกล่าว อุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน อุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย ตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลติดตั้งไว้ในบริเวณสถานที่กำจัดมูลฝอยทั่วไปด้วย ผู้ปฏิบัติหน้าที่กำจัดมูลฝอยทั่วไปตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี และผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๕ การกำจัดมูลฝอยทั่วไปต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) กำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยวิธีหนึ่งวิธีใดตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ โดยให้ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ก่อนทำการก่อสร้างระบบกำจัดมูลฝอยทั่วไป และมีมาตรการควบคุมกำกับการดำเนินงานกำจัดมูลฝอยทั่วไปในแต่ละวิธีให้เป็นไปตามสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไปเพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม (๒) ไม่นำสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน ของเสียจากวัตถุดิบ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ และของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน มูลฝอยติดเชื้อ และมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนมากำจัดร่วมกับมูลฝอยทั่วไป ข้อ ๒๖ การกำจัดมูลฝอยทั่วไปให้ดำเนินการตามวิธีหนึ่งวิธีใด ดังต่อไปนี้ (๑) การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (๒) การเผาในเตาเผา (๓) การหมักทำปุ๋ยและการหมักทำก๊าซชีวภาพ (๔) การกำจัดแบบผสมผสาน (๕) วิธีอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนด ข้อ ๒๗ การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีสถานที่ตั้งเหมาะสม มีบริเวณเพียงพอในการฝังกลบโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุรำคาญ หรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย (๒) มีพื้นที่แนวกันชนโดยรอบภายในอาณาเขตของสถานที่ฝังกลบมูลฝอยทั่วไป เพื่อจัดเป็นพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ ถนน รางระบายน้ำผิวดิน เพื่อลดปัญหาด้านทัศนียภาพจากการฝังกลบและปัญหากลิ่นรบกวน (๓) มีระบบป้องกันการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินจากน้ำชะมูลฝอย โดยมีการบดอัดก้นบ่อด้านล่างและด้านข้างให้แน่นและปูด้วยแผ่นวัสดุกันซึม (๔) มีระบบรวบรวมน้ำชะมูลฝอยจากก้นบ่อเพื่อส่งไปยังระบบบำบัดน้ำเสียที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนน้ำใต้ดิน และมีกระบวนการบำบัดน้ำชะมูลฝอยให้ได้มาตรฐานน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๕) มีการใช้ดินหรือวัสดุอื่นกลบทับทุกครั้งที่มีการนำมูลฝอยทั่วไปไปฝังกลบ และปิดการฝังกลบเมื่อบ่อฝังกลบเต็ม โดยปิดทับหน้าบ่อฝังกลบด้วยดินหนาอย่างน้อยหกสิบเซนติเมตรหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม เพื่อป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอย ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (๖) มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค ฝุ่นละออง กลิ่น เสียง ความสั่นสะเทือน หรือการดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ หรือผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๗) ต้องมีระบบรวบรวมและระบายก๊าซออกจากหลุมฝังกลบ และมีระบบเผาทำลายก๊าซ หรือมีระบบการนำก๊าซไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น (๘) มีบ่อสำหรับตรวจสอบการปนเปื้อนของน้ำใต้ดิน และในระหว่างการดำเนินการฝังกลบ ให้รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำต่อองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลด้วย ข้อ ๒๘ การเผาในเตาเผาต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีสถานที่ตั้งเหมาะสม มีขนาดพื้นที่เหมาะสมกับกระบวนการเผามูลฝอยทั่วไป มีการระบายอากาศและแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน (๒) มีที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะตามข้อบัญญัตินี้ (๓) มีพื้นที่แนวกันชนโดยรอบภายในอาณาเขตของสถานที่เผามูลฝอยทั่วไป เพื่อจัดเป็นพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ ถนน รางระบายน้ำผิวดิน เพื่อลดปัญหาด้านทัศนียภาพจากการเผาและปัญหากลิ่นรบกวน (๔) ต้องเผามูลฝอยทั่วไปที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่าแปดร้อยห้าสิบองศาเซลเซียส และมีระบบควบคุมคุณภาพอากาศที่ปล่อยออกจากปล่องเตาเผามูลฝอยทั่วไปให้ได้มาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๕) มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค ฝุ่นละออง กลิ่น เสียง ความสั่นสะเทือน หรือการดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ หรือผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๖) มีการบำบัดน้ำเสียจากระบบกำจัด และน้ำเสียใด ๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในสถานที่กำจัดให้ได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๗) มีพื้นที่สำหรับเก็บเถ้าหนักที่มีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีระบบในการนำเถ้าหนักไปกำจัดเป็นประจำ โดยใช้วิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill) ที่มีการป้องกันน้ำชะขี้เถ้าปนเปื้อนแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน หรือมีระบบการนำเถ้าหนักไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น (๘) มีพื้นที่สำหรับเก็บเถ้าลอยที่มีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีระบบในการนำเถ้าลอยออกไปกำจัดเป็นประจำ โดยใช้วิธีการฝังกลบอย่างปลอดภัย (Secured Landfill) ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือมีระบบการนำเถ้าลอยไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ข้อ ๒๙ การหมักทำปุ๋ยและการหมักทำก๊าซชีวภาพ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีสถานที่ตั้งเหมาะสม (๒) มีระบบคัดแยกมูลฝอยทั่วไปเพื่อนำมาหมักทำปุ๋ยหรือทำก๊าซชีวภาพ ซึ่งอาจมีอาคารที่มีขนาดพื้นที่เหมาะสม และมีการระบายอากาศและแสงสว่างที่เพียงพอต่อการคัดแยกดังกล่าว (๓) มีระบบบำบัดกลิ่นจากมูลฝอยทั่วไปภายในอาคารคัดแยกมูลฝอยทั่วไป (๔) มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค ฝุ่นละออง กลิ่น เสียง ความสั่นสะเทือน หรือการดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ หรือผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๕) มูลฝอยทั่วไปจากการคัดแยกส่วนที่หมักทำปุ๋ยหรือหมักทำก๊าซชีวภาพไม่ได้ต้องมีระบบกำจัด หรือส่งไปกำจัดโดยวิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลหรือการเผาในเตาเผา หรืออาจมีการนำมูลฝอยทั่วไปที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ไปใช้ประโยชน์ (๖) ต้องบำบัดน้ำชะมูลฝอยทั่วไป น้ำเสียจากสถานที่คัดแยก และสถานที่หมักทำปุ๋ยหรือทำก๊าซชีวภาพให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๗) กรณีหมักทำก๊าซชีวภาพ บ่อหมักต้องเป็นระบบปิด มีการนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ และมีระบบเผาก๊าซทิ้งกรณีระบบการใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพหยุดการทำงาน ข้อ ๓๐ การกำจัดแบบผสมผสานโดยใช้วิธีการกำจัดมูลฝอยทั่วไปมากกว่าหนึ่งวิธี ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะของแต่ละวิธีที่กำหนดตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๓ ใบอนุญาต ข้อ ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการขน หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไป โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๓๒ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการขน หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ) และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของกิจการ/ผู้ประกอบการ/ผู้ถือใบอนุญาต (๒) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ) และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จัดการ (๓) สำเนาทะเบียนบ้านของอาคารที่ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล) (๕) ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารหรือหลักฐานที่แสดงว่าที่ตั้งสถานประกอบการสามารถใช้ประกอบกิจการนั้นได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (๖) หนังสือยินยอมให้ใช้อาคารหรือสัญญาเช่าจากเจ้าของอาคาร (กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตไม่มีกรรมสิทธิ์ในอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบการ) (๗) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจกรณีเจ้าของกิจการไม่สามารถยื่นคำขอใบอนุญาตได้ด้วยตนเอง (๘) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๙) เอกสารหรือหลักฐานอื่นตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๓๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที กรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ พร้อมสำเนาแจ้ง ก.พ.ร. ทราบทุกครั้ง ข้อ ๓๔ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว ข้อ ๓๕ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๓๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๔๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หมวด ๔ ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ ข้อ ๔๒ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการขนมูลฝอยทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการขนและกำจัดมูลฝอยทั่วไปแก่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้ การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการกำจัดมูลฝอยทั่วไป องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๔๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๔๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล หมวด ๕ ค่าบริการขั้นสูง ข้อ ๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ หมวด ๖ บทกำหนดโทษ ข้อ ๔๖ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สุภวิทย์ พรรณวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ........... ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการ......... ๔. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการ......... ๕. ใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการ........ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๔๗/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,269
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงและนายอำเภอโพนพิสัย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงแล้ว ๑๕ วัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหาร หรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “อาหารสด” หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์น้ำ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ ผัก ผลไม้ ธัญพืชและของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด “อาหารประเภทปรุงสำเร็จ” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบ หรือปรุงสำเร็จ พร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ “อาหารแห้ง” หมายความว่า อาหารซึ่งผ่านกระบวนการทำแห้ง โดยการอบ รมควัน ตากแห้ง หรือวิธีการอื่นใด เพื่อลดปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในอาหารลง “เครื่องปรุงรส” หมายความว่า สิ่งที่ใช้ในกระบวนการปรุงอาหารให้มีรูปแบบ รสชาติ กลิ่นรส ชวนรับประทาน เช่น เกลือ น้ำปลา น้ำส้มสายชู ซอส ผงชูรส รวมทั้งเครื่องเทศ สมุนไพร มัสตาร์ด เป็นต้น “วัตถุเจือปนอาหาร” หมายความว่า วัตถุที่ตามปกติมิได้ใช้เป็นอาหาร หรือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร ไม่ว่าวัตถุนั้นจะมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่ก็ตาม แต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์ทางเทคโนโลยีการผลิต การแต่งสีอาหาร การปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร การบรรจุ การเก็บรักษา หรือการขนส่งซึ่งมีผลต่อคุณภาพหรือมาตรฐานหรือลักษณะของอาหาร ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงวัตถุที่มิได้เจือปนในอาหาร แต่มีภาชนะบรรจุไว้เฉพาะแล้วใส่รวมอยู่กับอาหารเพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นด้วย เช่น วัตถุกันชื้น วัตถุดูดออกซิเจน เป็นต้น ความในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงสารอาหารที่เติมเพื่อเพิ่มหรือปรับให้คงคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ “ผู้สัมผัสอาหาร” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องกับอาหารตั้งแต่กระบวนการเตรียม ปรุง ประกอบ จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร รวมถึงการล้างและเก็บภาชนะอุปกรณ์ ได้แก่ ผู้เตรียม ผู้ปรุง ผู้ประกอบ ผู้เสิร์ฟ ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ล้างและเก็บภาชนะอุปกรณ์ “ผู้ประกอบกิจการ” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและให้หมายความรวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุม กำกับ ดูแลการดำเนินการของสถานที่จำหน่ายอาหารนั้น “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร และมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๖ ความในข้อ ๕ ไม่ใช้บังคับหรือจัดสถานที่แห่งใดเพื่อดำเนินการ ต่อไปนี้ (๑) ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๘ (๒) ทำ ประกอบ ปรุง เก็บรักษาหรือสะสมอาหาร เฉพาะผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาด (๓) การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ข้อ ๗ ผู้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องจัดสถานที่ตลอดจนสิ่งอื่นที่ใช้ในการประกอบกิจการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเงื่อนไขตามลักษณะของกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่และบริเวณที่ใช้ทำ ประกอบหรือปรุงอาหารที่ใช้จำหน่ายอาหาร และที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหารต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑.๑) พื้นบริเวณที่ใช้ทำ ประกอบ ปรุงอาหารต้องทำด้วยวัสดุแข็งแรง สะอาด ไม่ชำรุด และทำความสะอาดง่าย (๑.๒) กรณีที่มีผนัง หรือเพดานต้องทำด้วยวัสดุแข็งแรง สะอาด ไม่ชำรุด (๑.๓) มีการระบายอากาศเพียงพอ และในกรณีที่สถานที่จำหน่ายอาหารเข้าข่ายสถานที่สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ (๑.๔) มีความเข้มของแสงสว่างเพียงพอตามความเหมาะสมในแต่ละบริเวณ (๑.๕) มีที่ล้างมือและอุปกรณ์สำหรับล้างมือที่ถูกสุขลักษณะ (๑.๖) โต๊ะที่ใช้เตรียม ปรุงอาหาร หรือที่จำหน่ายอาหาร สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร และทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดี (๑.๗) โต๊ะเก้าอี้ที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรง สะอาด ไม่ชำรุด (๑.๘) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๒) สถานที่และบริเวณที่ใช้ทำสะสมอาหารต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๒.๑) อาคารต้องมีความมั่นคง แข็งแรง พื้น ผนัง เพดาน มีสภาพดี ทำความสะอาดง่าย (๒.๒) จัดให้มีแสงสว่างที่เพียงพอต่อการประกอบกิจการมีระบบการระบายอากาศที่เหมาะสม ไม่อับชื้น (๒.๓) มีชั้นวางสินค้าทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดง่ายมีสภาพแข็งแรงชั้นล่างสุดมีความสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร มีลักษณะโปร่งเพื่อให้สามารถทำความสะอาดใต้ชั้นวางสินค้าได้ ยกเว้นกรณีบริเวณที่วางสินค้าที่มีน้ำหนักมากอาจใช้ชั้นที่มีลักษณะทึบ (๒.๔) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๘ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญ และการป้องกันโรคติดต่อ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องมีการระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำขัง และไม่มีเศษอาหารตกค้าง (๒) ต้องมีการแยกเศษอาหารและไขมันไปกำจัดก่อนระบายน้ำทิ้งออกสู่ระบบระบายน้ำและน้ำทิ้งต้องได้มาตรฐานตามประกาศการควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาดตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (๓) สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับมูลฝอย โดยมีถังรองรับมูลฝอยที่มีสภาพดีไม่รั่วซึม ไม่ดูดซับน้ำ มีฝาปิดมิดชิด แยกเศษอาหารจากมูลฝอยประเภทอื่น และต้องดูแลรักษาความสะอาดถังรองรับมูลฝอยและบริเวณโดยรอบตัวถังรองรับมูลฝอยอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ การจัดการเกี่ยวกับมูลฝอยและถังรองรับมูลฝอยให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร (๔) ต้องจัดให้มีหรือจัดหาห้องส้วมที่มีสภาพดีพร้อมใช้ไว้บริการและมีจำนวนเพียงพอ (๕) ห้องส้วมต้องสะอาดมีการระบายอากาศที่ดีมีแสงสว่างเพียงพอ (๖) มีอ่างล้างมือที่ถูกสุขลักษณะและมีอุปกรณ์สำหรับล้างมือจำนวนเพียงพอ (๗) ห้องส้วมต้องแยกเป็นสัดส่วน โดยประตูไม่เปิดโดยตรงสู่บริเวณที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุงอาหาร ที่เก็บ ที่จำหน่ายและที่บริโภคอาหาร ที่ล้างและที่เก็บภาชนะอุปกรณ์ เว้นแต่จะมีการจัดการห้องส้วม ให้สะอาดอยู่เสมอ และมีฉากปิดกั้นที่เหมาะสม ทั้งนี้ ประตูห้องส้วมต้องปิดตลอดเวลา (๘) สถานที่จำหน่ายอาหารต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ (๙) สถานที่จำหน่ายอาหารต้องจัดให้มีการป้องกันควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค รวมถึงสัตว์เลี้ยงตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๙ สถานที่สะสมอาหารต้องมีการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องมีการระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำขัง (๒) ห้องส้วมต้องสะอาด มีการระบายอากาศที่ดี มีแสงสว่างเพียงพอ (๓) มีอ่างล้างมือที่ถูกสุขลักษณะและมีอุปกรณ์สำหรับล้างมือจำนวนเพียงพอ (๔) ห้องส้วมต้องแยกเป็นสัดส่วน ออกจากบริเวณสะสมอาหาร (๕) สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับมูลฝอย โดยมีถังรองรับมูลฝอยที่มีสภาพดีไม่รั่วซึม ไม่ดูดซับน้ำ มีฝาปิดมิดชิด แยกเศษอาหารจากมูลฝอยประเภทอื่น และต้องดูแลรักษาความสะอาดถังรองรับมูลฝอยและบริเวณโดยรอบตัวถังรองรับมูลฝอยอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ การจัดการเกี่ยวกับมูลฝอยและถังรองรับมูลฝอยให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร (๖) สถานที่จำหน่ายอาหารต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ (๗) มีการป้องกันและการกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค (๘) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการป้องกันอัคคีภัยและอันตราย ดังต่อไปนี้ (๑) ห้ามใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงในการทำ ประกอบ ปรุงอาหารบริเวณโต๊ะรับประทานอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร (๒) กรณีที่ใช้แอลกอฮอล์เป็นเชื้อเพลิง ให้ใช้แอลกอฮอล์แข็งสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และห้ามใช้เมทิลแอลกอฮอล์หรือเมทานอล เป็นเชื้อเพลิงในการทำ ประกอบ ปรุง หรืออุ่นอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร (๓) จัดให้มีมาตรการ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอัคคีภัยจากการใช้เชื้อเพลิงในการทำ ประกอบ ปรุงอาหาร ข้อ ๑๑ สถานที่สะสมอาหารต้องจัดให้มีมาตรการ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอัคคีภัยที่อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ โดยเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับอาหารสดตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารสดที่นำมาประกอบ และปรุงอาหารต้องเป็นอาหารสดที่มีคุณภาพดี สะอาดและปลอดภัยต่อผู้บริโภค (๒) อาหารสดต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสมตามที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุขประกาศกำหนด และเก็บเป็นสัดส่วนมีการปกปิดไม่วางบนพื้นหรือบริเวณที่อาจทำให้อาหารปนเปื้อนได้ ข้อ ๑๓ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับอาหารแห้ง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เครื่องปรุงรส และวัตถุเจือปนอาหารตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารแห้งต้องสะอาด ปลอดภัย ไม่มีการปนเปื้อนและมีการเก็บอย่างเหมาะสม (๒) อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เครื่องปรุงรส และวัตถุเจือปนอาหารต้องปลอดภัยได้มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร ข้อ ๑๔ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับอาหารประเภทปรุงสำเร็จ ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องเก็บในภาชนะที่สะอาด ปลอดภัย และมีการป้องกันการปนเปื้อน วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๒) มีการควบคุมคุณภาพอาหารประเภทปรุงสำเร็จให้สะอาด ปลอดภัยสำหรับการบริโภคตามชนิดของอาหาร ตามที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๑๕ น้ำดื่มและเครื่องดื่มที่ใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีคุณภาพและมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร บรรจุในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด และป้องกันการปนเปื้อน วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร ในกรณีที่เป็นน้ำดื่มหรือเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร และต้องทำความสะอาดพื้นผิวภายนอกของภาชนะบรรจุให้สะอาดก่อนนำมาให้บริการ ข้อ ๑๖ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับน้ำแข็งตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ใช้น้ำแข็งที่สะอาด มีคุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร (๒) เก็บในภาชนะที่สะอาด สภาพดี มีฝาปิด วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร ปากขอบภาชนะสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร ไม่วางในบริเวณที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนและต้องไม่ระบายน้ำจากถังน้ำแข็งลงสู่พื้นบริเวณที่วางภาชนะ (๓) ใช้อุปกรณ์ที่สะอาด มีด้าม สำหรับคีบหรือตักน้ำแข็งโดยเฉพาะ (๔) ต้องไม่นำอาหาร หรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่รวมกับน้ำแข็งสำหรับบริโภค ข้อ ๑๗ ต้องจัดเก็บสารเคมี สารทำความสะอาด วัตถุมีพิษ หรือวัตถุอันตราย แยกบริเวณเป็นสัดส่วนต่างหากไม่ปะปนกับอาหารต้องติดฉลากและป้ายให้เห็นชัดเจนพร้อมทั้งมีคำเตือนและคำแนะนำเมื่อเกิดอุบัติภัยจากสารดังกล่าว กรณีที่มีการเปลี่ยนถ่ายสารเคมีจากภาชนะบรรจุเดิม ห้ามนำภาชนะบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุอาหาร และห้ามนำภาชนะบรรจุอาหารมาใช้บรรจุสารเคมีโดยเด็ดขาด ข้อ ๑๘ สถานที่สะสมอาหารจะต้องดำเนินการให้ต้องด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) การจัดวางสินค้าให้เป็นสัดส่วน แยกตามประเภทสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นสารเคมี เช่น น้ำยาทำความสะอาดครัวเรือน สารเคมีกำจัดแมลงสำหรับใช้ในครัวเรือน ต้องแยกเก็บเป็นสัดส่วนเฉพาะ ห้ามปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร เพื่อป้องกันการปนเปื้อนกับอาหาร (๒) แยกสินค้าที่หมดอายุหรือชำรุดหรือรอการส่งคืนในบริเวณเฉพาะและแยกส่วนจากสินค้าปกติโดยมีป้ายหรือเครื่องหมายบอกชัดเจน (๓) เก็บรักษาอาหารแห้งและอาหารในภาชนะปิดสนิทที่อุณหภูมิห้อง ส่วนสินค้าที่ต้องควบคุมอุณหภูมิต้องเก็บในตู้เย็นโดยจัดวางสินค้าอย่างเป็นระเบียบเป็นสัดส่วนไม่แน่นจนเกินไปและมีอุณหภูมิที่เหมาะสม เช่น สินค้าประเภทนม ผลิตภัณฑ์นม และเครื่องดื่มที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยระบบพาสเจอร์ไรส์ต้องอยู่ในอุณหภูมิต่ำกว่า ๕ องศาเซลเซียส ไอศกรีมและอาหารประเภทแช่แข็งต้องเก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่าลบ ๑๘ องศาเซลเซียส (๔) สินค้าประเภทอาหารที่วางจำหน่ายต้องจัดให้มีระบบหมุนเวียนตามลำดับอายุผลิตภัณฑ์ (๕) ไม่วางจำหน่ายสินค้าที่บรรจุในภาชนะที่ชำรุด เสียหายหมดอายุ หรือที่มีลักษณะผิดปกติ (๖) แยกสินค้าที่หมดอายุหรือชำรุดหรือรอการส่งคืนในบริเวณเฉพาะ และแยกส่วนจากสินค้าปกติโดยมีป้ายหรือเครื่องหมายบอกชัดเจน (๗) ดูแลรักษาบริเวณที่วางสินค้าให้สะอาดและมีสภาพดี และต้องทำความสะอาดบริเวณที่เตรียมอาหารทุกครั้งก่อนและหลังใช้งาน ข้อ ๑๙ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับภาชนะอุปกรณ์และเครื่องใช้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องปรุงรส วัตถุเจือปนอาหาร เครื่องดื่ม และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ต้องสะอาดและทำจากวัสดุที่ปลอดภัย เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท มีสภาพดี ไม่ชำรุดและมีการป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม (๒) จัดเก็บภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องใช้ไว้ในภาชนะที่สะอาด สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร หรือมีการป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม (๓) จัดให้มีช้อนกลางสำหรับอาหารที่รับประทานร่วมกัน (๔) ตู้เย็น ตู้แช่ต้องสะอาดมีสภาพดีไม่ชำรุดมีประสิทธิภาพเหมาะสมในการเก็บรักษาคุณภาพอาหาร (๕) ตู้อบ เตาอบ เตาไมโครเวฟต้องสะอาดมีประสิทธิภาพปลอดภัยสภาพดี ไม่ชำรุด ข้อ ๒๐ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับการล้างภาชนะอุปกรณ์และเครื่องใช้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องใช้ที่รอการล้าง และเศษอาหารต้องเก็บในที่ที่สามารถป้องกันสัตว์และแมลงนำโรคได้ (๒) ล้างภาชนะอุปกรณ์และเครื่องใช้ทุกประเภทให้สะอาดด้วยวิธีการและสารทำความสะอาดที่เหมาะสม ตามที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๒๑ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับน้ำใช้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) น้ำใช้เป็นน้ำประปา ยกเว้นท้องถิ่นที่ไม่มีน้ำประปาให้ใช้น้ำที่มีคุณภาพเทียบเท่าน้ำประปาหรือเป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ภาชนะบรรจุน้ำใช้ต้องสะอาดปลอดภัยและสภาพดี ข้อ ๒๒ ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ ได้แก่ อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคอื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หากเจ็บป่วยต้องหยุดปฏิบัติงานและรักษาตัวให้หายก่อนจึงกลับมาปฏิบัติงานต่อไป (๒) ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการตามที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุขประกาศกำหนด (๓) ผู้สัมผัสอาหารต้องรักษาความสะอาดของร่างกาย สวมใส่เสื้อผ้าและอุปกรณ์ป้องกันที่สะอาดและสามารถป้องกันการปนเปื้อนสู่อาหารได้ (๔) ผู้สัมผัสอาหารต้องล้างมือและปฏิบัติตนในการเตรียม ปรุง ประกอบ จำหน่ายและเสิร์ฟอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และไม่กระทำการใด ๆ ที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อนต่ออาหารหรือก่อให้เกิดโรคได้ (๕) ต้องปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๒๓ นอกจากข้อ ๒๒ ผู้ประกอบกิจการ และผู้สัมผัสอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะส่วนบุคคลตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๒๔ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการ/บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) ใบรับรองแพทย์ (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคลในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล (๕) หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่เจ้าของกิจการไม่มายื่นคำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งด้วยตนเอง (๖) สำเนาหลักฐานการอนุญาตหรือหลักฐานอื่นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ (๗) อื่น ๆ ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๖ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๗ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๗ และข้อ ๘ ด้วย ข้อ ๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๕ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) ใบรับรองแพทย์ (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคลในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล (๕) หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่เจ้าของกิจการไม่มายื่นขอรับใบอนุญาตด้วยตนเอง (๖) สำเนาหลักฐานการอนุญาต หรือหลักฐานอื่นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ (๗) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๘) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงประกาศกำหนด ข้อ ๓๖ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๗ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๓๘ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๙ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๔๐ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่ง ยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๔๑ ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มาแจ้งและภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนวันครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๔๒ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ข้อ ๔๓ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ บันจง โฮมไซส์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ๓. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๖. แบบคำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๗. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ๘. แบบคำขอต่ออายุหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ๙. คำขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๑๓/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,270
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยและนายอำเภอเมืองกระบี่ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยนับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๔๙ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดที่ได้ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหาร หรือปรุงอาหารจนสำเร็จ และจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสด หรือของแห้ง หรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำประกอบ หรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ประเภทของสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร กำหนดตามลักษณะของสถานที่ประกอบกิจการเพื่อการคิดค่าธรรมเนียมดังนี้ (๑.๑) สถานที่จำหน่ายอาหาร (๑.๑.๑) สถานที่จำหน่ายอาหารที่มีลักษณะเป็นตึกแถว หรืออาคารอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงให้คำนวณพื้นที่บริเวณที่จำหน่ายอาหารทั้งหมดในอาคารนับจากขอบผนังด้านในทุกชั้นที่ประกอบกิจการยกเว้นพื้นที่ซึ่งกั้นไว้เป็นสัดส่วนสำหรับใช้สอยเพื่อการอื่น (๑.๑.๒) สถานที่จำหน่ายอาหารที่มีบริเวณ ให้คิดพื้นที่ภายในอาคารและรวมพื้นที่รอบอาคารที่ใช้สำหรับการค้าอาหารนั้นด้วย ถ้าไม่มีขอบเขตที่แน่นอนให้คิดจากแนวเขตของพื้นที่ประกอบกิจการนั้น (๑.๑.๓) สถานที่จำหน่ายอาหารที่มีอาคารเชื่อมติดถึงกันให้คิดพื้นที่ประกอบกิจการรวมกัน และมีใบอนุญาตให้ใช้สถานที่เป็นสถานที่จำหน่ายอาหารฉบับเดียว ถ้าอาคารนั้นไม่เชื่อมติดถึงกันให้คิดพื้นที่แต่ละอาคารและแยกใบอนุญาตแห่งละฉบับ (๑.๑.๔) สถานที่จำหน่ายอาหารที่ตั้งอยู่ในอาคารใด ๆ ให้ใช้เลขที่ของอาคารนั้น การพิจารณาอนุญาตให้พิจารณาจากลักษณะพื้นที่ที่ประกอบการ ถ้าแยกเป็นสัดส่วนแต่ละแห่งไม่ว่าจะเป็นเจ้าของเดียวกันหรือไม่ให้มีใบอนุญาตประกอบกิจการแห่งละฉบับ การคิดพื้นที่ให้คิดพื้นที่ประกอบกิจการ กรณีอาคารใดที่ได้จัดห้องน้ำห้องส้วมรวมซึ่งแยกไว้ต่างหากไม่นับรวมพื้นที่ของห้องน้ำห้องส้วมนั้น (๑.๒) สถานที่สะสมอาหาร (๑.๒.๑) สถานที่สะสมอาหารที่มีลักษณะเป็นตึกแถว หรืออาคารที่มีลักษณะคล้ายคลึง (ก) กรณีตั้งวางสินค้าอาหารเต็มพื้นที่ หรือวางสินค้าอาหารทั่ว ๆ ไปหลายจุดให้คำนวณพื้นที่บริเวณตั้งวางสินค้าอาหารทั้งหมดภายในอาคาร นับจากขอบผนังด้านในทุกชั้นที่ประกอบกิจการรวมกับพื้นที่ของห้องน้ำห้องส้วม ยกเว้นพื้นที่ซึ่งกั้นไว้เป็นสัดส่วนสำหรับใช้สอยเพื่อการอื่น (ข) กรณีตั้งวางสินค้าอาหารไม่เต็มพื้นที่ หรือตั้งวางเฉพาะที่จุดใดจุดหนึ่ง อาทิ ตู้แช่ โต๊ะ ชั้นวางสินค้า หรืออื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงให้คำนวณพื้นที่บริเวณที่ตั้งวางสินค้าอาหารนั้นรวมกับพื้นที่ห้องน้ำห้องส้วมและเปรียบเทียบกับพื้นที่ของอาคารทั้งหมด หากมีพื้นที่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของพื้นที่อาคารทั้งหมดให้คิดพื้นที่เป็นกึ่งหนึ่งของอาคารทั้งหมด หากมีพื้นที่เกินกึ่งหนึ่งของพื้นที่อาคารทั้งหมดให้คิดพื้นที่ของอาคารทั้งหมด กรณีสถานที่ประกอบกิจการนั้นมีหลายห้องติดต่อกัน กึ่งหนึ่งของพื้นที่ให้หมายถึงกึ่งหนึ่งของห้องที่ตั้งวางสินค้าอาหารนั้น (๑.๒.๒) สถานที่สะสมอาหารที่เป็นอาคารโกดังเก็บสินค้า (ก) กรณีที่มีอาคารโกดังหลายหลัง แต่มีเลขที่ของอาคารโกดังเลขที่เดียว และเป็นเจ้าของเดียวกัน ให้คำนวณพื้นที่ของอาคารโกดังทั้งหมดรวมกับพื้นที่ของห้องน้ำห้องส้วมและออกใบอนุญาตสะสมอาหารฉบับเดียว (ข) กรณีที่มีอาคารโกดังหลายหลัง มีเลขที่ของอาคารโกดังเลขที่เดียว แต่มีเจ้าของหลายเจ้าของให้คำนวณพื้นที่ของอาคารโกดังของแต่ละเจ้าของรวมกับพื้นที่ของห้องน้ำห้องส้วม และออกใบอนุญาตสะสมอาหารให้แต่ละเจ้าของ (ค) กรณีที่มีอาคารโกดังหลายหลัง และมีเลขที่ของอาคารโกดังแต่ละหลัง ให้คำนวณอาคารโกดังแต่ละหลังรวมกับพื้นที่ของห้องน้ำห้องส้วม และออกใบอนุญาตสะสมอาหารแยกแต่ละโกดัง (ง) กรณีที่มีเจ้าของสินค้าอาหารหลายเจ้าของในอาคารโกดังนั้น ให้คำนวณพื้นที่ของสถานที่สะสมอาหารของแต่ละเจ้าของรวมกับพื้นที่ของห้องน้ำห้องส้วม และออกใบอนุญาตสะสมอาหารให้แต่ละเจ้าของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดประเภทของสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารตามประเภทของอาหารหรือตามวิธีการจำหน่ายเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร (๒) หลักเกณฑ์การจัดตั้ง ใช้ และดูแลรักษาสถานที่ และสุขลักษณะของบริเวณที่ใช้จำหน่ายอาหาร ที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหารที่ใช้ทำประกอบ หรือปรุงอาหาร หรือที่ใช้สะสมอาหาร (๒.๑) จัดให้มีโต๊ะเก้าอี้หรือที่นั่งอย่างอื่นให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และสะอาดอยู่เสมอ (๒.๒) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหารต้องใช้วัสดุถาวร แข็งแรง และมีผิวเรียบ ไม่ดูดซึมน้ำ และทำความสะอาดได้ง่าย การจัดตั้งถังบรรจุก๊าซต้องอยู่ในที่ปลอดภัย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒.๓) จัดให้ภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ในการประกอบ ปรุง การเก็บ และการบริโภคไว้ให้เพียงพอ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒.๔) จัดให้มีที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะ และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒.๕) จัดให้มีอ่างล้างมือที่ใช้การได้ดี และมีจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ ตลอดจนจัดให้มีสบู่ล้างมือไว้ตลอดเวลา (๒.๖) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียหรือระบบกำจัดของเสีย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒.๗) ไม่ตั้งอยู่ในที่ที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพ หรือแหล่งน่ารังเกียจ เช่น ใกล้ชิดกับที่ฝังศพ หรือที่เก็บศพ ที่ทิ้ง กำจัดสิ่งปฏิกูล ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นใด ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒.๘) พื้นต้องทำด้วยวัสดุถาวรและไม่มีน้ำขัง (๒.๙) จัดทำรางระบายน้ำด้วยวัสดุถาวร เพื่อให้น้ำไหลไปสู่รางระบายน้ำสาธารณะหรือบ่อรับน้ำได้สะดวกตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบ (๒.๑๐) จัดให้แสงสว่างภายในเพียงพอ ณ จุดที่ทำการปรุง ประกอบ และจำหน่ายอาหาร และต้องมีการระบายอากาศภายในร้านอย่างเพียงพอ โดยมีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของพื้นที่ห้อง สำหรับห้องรับประทานอาหารที่มีเครื่องปรับอากาศต้องมีเครื่องดูดอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศรวมทั้งต้องมีเครื่องหมาย “ห้ามสูบบุหรี่” ไว้ด้วย (๒.๑๑) จัดให้มีส้วมที่ได้สุขลักษณะและมีจำนวนเพียงพอตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒.๑๒) ถ้าจะขยายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ประกอบการค้า และทำให้สุขลักษณะของสถานที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยแล้วจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน (๒.๑๓) จัดให้มีเครื่องดับเพลิงประเภทที่เหมาะสมจำนวนเพียงพอ และอยู่ในสภาพที่สามารถใช้ได้สะดวกเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ตลอดจนต้องมีการตรวจสอบเครื่องดับเพลิงให้อยู่ในสภาพใช้การได้ทุกปี (๒.๑๔) ปฏิบัติการอื่น ๆ ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแนะนำ หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๓) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญ และการป้องกันโรคติดต่อ (๓.๑) มีระบบการระบายควันที่เกิดจากการปรุงอาหาร เช่น ปล่องระบายควันที่มีพัดลมดูดควัน และสูงเพียงพอที่จะไม่ก่อเหตุรำคาญ (๓.๒) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอ และต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดพื้นทุกอาทิตย์ (๓.๓) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกสุขลักษณะ (๓.๔) ต้องเก็บ ขน กำจัดมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแนะนำ หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๓.๕) รักษาส้วมให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ (๓.๖) ถ้ามีสัตว์ที่จะฆ่าเป็นอาหารต้องแยกให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม (๓.๗) จัดวางสิ่งของเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๓.๘) ปฏิบัติการอื่น ๆ ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแนะนำ หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๔) กำหนดเวลาจำหน่ายอาหาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจในการกำหนดเวลาจำหน่ายอาหารบางประเภทหรือชนิดใดในเขตที่ระบุไว้ (๕) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการต้องมีการปฏิบัติดังนี้ (๕.๑) ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการต้องแต่งกายให้สะอาดเรียบร้อย (๕.๒) ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการต้องผ่านการตรวจสุขภาพว่าไม่เป็นโรคติดต่อที่น่ารังเกียจ และต้องผ่านการทดสอบความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร (๕.๓) ห้ามผู้ได้รับใบอนุญาตทำการจำหน่าย ปรุง สะสมอาหาร เมื่อเหตุควรเชื่อว่าตนเป็นโรคติดต่อ หรือซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ตรวจสอบแล้วปรากฏว่าเป็นพาหะและได้รับแจ้งความเป็นหนังสือว่าตนเป็นพาหะของโรคติดต่อ (๖) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาหาร กรรมวิธีการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บรักษา หรือสะสมอาหาร ตลอดจนสุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์ น้ำใช้ และของใช้อื่น ๆ ต้องมีการปฏิบัติดังนี้ (๖.๑) การจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง วาง เก็บ สะสมอาหาร หรือการล้างภาชนะ อุปกรณ์ต้องทำในที่สะอาด ซึ่งสูงจากพื้นที่ไม่น้อยกว่าหกสิบเซนติเมตร และที่เก็บสะสมอาหารต้องป้องกันสัตว์นำโรคได้ (๖.๒) จัดให้มีน้ำสะอาดไว้อย่างเพียงพอ กรณีน้ำดื่ม เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ต้องสะอาดและควรเก็บไว้ในภาชนะที่มีการปกปิด มีทางรินน้ำเทออก หรือมีอุปกรณ์ที่มีด้ามสำหรับตักไว้โดยเฉพาะและตั้งไว้สูงจากพื้นอย่างน้อยหกสิบเซนติเมตร (๖.๓) การเตรียมอาหารก่อนปรุงต้องล้างให้สะอาด โดยเฉพาะผักสดและผลไม้ น้ำที่ใช้ปรุง ประกอบ แช่ ล้างอาหาร และภาชนะต้องใช้น้ำสะอาด (๖.๔) ใช้เครื่องปกปิดอาหาร ตลอดถึงภาชนะเครื่องใช้สำหรับประกอบ ปรุง เก็บรักษา หรือสะสมอาหาร ให้ป้องกันฝุ่นละออง และสัตว์นำโรค ตลอดจนรักษาเครื่องปกปิดนั้นให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๖.๕) ใช้ภาชนะที่สะอาดสำหรับใส่ และปรุงอาหาร โดยรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ ในส่วนของน้ำแข็งที่ใช้บริโภคต้องสะอาด ควรเก็บในถังหรือกระติกที่มีการปกปิด มีอุปกรณ์คีบหรือตักโดยเฉพาะไม่นำอาหารหรือสิ่งของอื่นแช่ปนกับน้ำแข็งเพื่อการบริโภค (๖.๖) ห้ามมิให้ใช้ภาชนะที่ทำด้วยโลหะ สังกะสี หรือตะกั่ว ต้มอาหารที่มีเกลือป่นอยู่ด้วย (๖.๗) ห้ามมิให้ขายอาหารอันไม่เป็นการปลอดภัยแก่ผู้บริโภค (๖.๘) ภาชนะที่บรรจุอาหารหรือใส่เครื่องปรุงรสต่าง ๆ ต้องใช้วัสดุที่มีการออกแบบที่ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร และปลอดภัย (๖.๙) ภาชนะที่ใช้แล้วต้องล้างและเก็บให้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร ส่วนภาชนะประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่อีก (๖.๑๐) ไม่ขายอาหารให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อที่มีสภาพน่ารังเกียจบริโภคในสถานที่ที่ได้รับอนุญาต (๖.๑๑) เนื้อสัตว์ที่มีไว้ขาย ทำ ประกอบ ปรุงอาหาร ต้องเก็บไว้ในภาชนะปกปิด (๖.๑๒) ห้ามมิให้นำสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข หรือแมว เข้ามาในสถานที่ประกอบการ (๖.๑๓) ปฏิบัติการอื่น ๆ ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแนะนำ หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจและสำเนาทะเบียน (๒) สำเนาทะเบียนบ้านของสถานที่ใช้ประกอบการ และสำเนาหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่หรือสำเนาสัญญาเช่าในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตมิได้เป็นเจ้าของสถานที่ที่ใช้ประกอบการ (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) แผนที่ตั้งสถานประกอบการ (๕) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยประกาศกำหนด ข้อ ๘ ผู้ขอรับใบอนุญาต และผู้ขอรับหนังสือรับรองการแจ้งจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ ก. สถานที่สะสมอาหาร (๑) ไม่ตั้งอยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) พื้นที่ทำด้วยวัตถุถาวร ทำความสะอาดง่าย (๓) จัดทำรางระบายน้ำด้วยวัสดุถาวร เพื่อให้น้ำไหลไปสู่รางระบายน้ำสาธารณะหรือบ่อรับน้ำเสีย ได้สะดวกตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบ (๔) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ (๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย ข. สถานที่จำหน่ายอาหาร (๑) จัดสถานที่ตามกาหนดไว้ในข้อ ก. (๑) – (๔) (๒) จัดให้แสงสว่างภายในเพียงพอ ณ จุดที่ทำการปรุง ประกอบ และจำหน่ายอาหาร และต้องมีการระบายอากาศภายในร้านอย่างเพียงพอ โดยมีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของพื้นที่ห้อง สำหรับห้องรับประทานอาหารที่มีเครื่องปรับอากาศต้องมีเครื่องดูดอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศ รวมทั้งต้องมีเครื่องหมาย “ห้ามสูบบุหรี่” ไว้ด้วย (๓) จัดให้มีส้วมที่ได้สุขลักษณะและมีจำนวนเพียงพอตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ (๔) จัดให้มีโต๊ะเก้าอี้ที่นั่งอย่างอื่นมีสภาพแข็งแรงสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ (๕) จัดให้มีน้ำสะอาดไว้อย่างเพียงพอ (๖) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหารต้องมีพื้นผิวที่ทำความสะอาดง่าย (๗) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บอาหารไว้ให้เพียงพอ ปลอดภัย และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด (๘) จัดให้มีบริเวณและที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอ และถูกต้องด้วยสุขลักษณะเพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ (๙) จัดให้มีที่สำหรับล้างมือพร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ (๑๐) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพรวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุงและเก็บอาหาร (๑๑) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย และหรือบ่อดักไขมันตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่ และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวเนื่องด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย ข้อ ๙ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาต หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๗ และข้อ ๘ ด้วย ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๑๗ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจและสำเนาทะเบียน (๒) สำเนาทะเบียนของสถานที่ใช้ประกอบการ และสำเนาหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ หรือสำเนาสัญญาเช่า ในกรณีที่ผู้ขอรับหนังสือรับรองการแจ้งมิได้เป็นเจ้าของสถานที่ที่ใช้ประกอบการ (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) แผนที่ตั้งสถานประกอบการ (๕) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยประกาศกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้ง ให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๒ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่งยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๔ ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มาแจ้งและภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย ข้อ ๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ หราบ หง้าฝา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ .๑) ๓. คำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ .๒) ๔. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ .๓) ๕. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ .๔) ๖. คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ .๕) ๗. คำขอชำระค่าธรรมเนียมประจำปี หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ .๖) ๘. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จาหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ .๗) ๙. ใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ .๘) ๑๐. คำขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ .๙) ๑๑. ใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ .๑๐) ๑๒. คำขอบอกเลิกกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ .๑๑) ๑๓. คำขอโอนการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ .๑๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๙๗/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,271
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย เรื่อง การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย เรื่อง การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๕๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๔๕ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยและนายอำเภอเมืองกระบี่ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย เรื่อง การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย เรื่อง การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะใส่อาหาร เถ้า มูลหรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น โดยรวมถึงเศษสินค้าจากโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นเศษวัตถุ หรือกากอุตสาหกรรม ที่เกิดจากกระบวนการผลิต หรือเศษกระดาษจากสำนักงาน “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น ข้อ ๖ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเสียก่อน ข้อ ๗ ผู้ครอบครองสถานที่ อาคาร หรือเคหสถานต้องจัดให้มีที่รองรับมูลฝอยในสถานที่ อาคาร หรือเคหสถานในครอบครองของตน และต้องรักษาบริเวณสถานที่อาคาร หรือเคหสถานในครอบครองของตน ข้อ ๘ ที่รองรับมูลฝอยต้องไม่รั่ว และมีฝาปิดมิดชิด กันแมลงวันและสัตว์ได้ตามแบบ ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบ ข้อ ๙ ห้ามผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีมูลฝอย สิ่งปฏิกูลในทางสาธารณะ หรือที่สาธารณะอื่นใดเป็นต้นว่า ถนน ซอย ตรอก แม่น้ำ ลำคลอง คู สระ บ่อน้ำ เว้นแต่ในที่ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นอนุญาตให้จัดตั้ง หรือจัดตั้งไว้ให้โดยเฉพาะ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามความในวรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท สำหรับผู้แจ้งข้อมูลผู้ฝ่าฝืนหรือผู้ไม่ปฏิบัติตามความในวรรคหนึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยอาจกำหนดเงินรางวัลเป็นจำนวนไม่เกินกึ่งหนึ่งของวงเงินค่าปรับ ข้อ ๑๐ ห้ามผู้ใดถ่าย เท ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในที่รองรับมูลฝอย และห้ามผู้ใดนำสิ่งปฏิกูลไปในทางสาธารณะหรือสถานที่สาธารณะอื่นใด เว้นแต่จะได้ใส่ภาชนะหรือที่เก็บมิดชิดไม่ให้มีสิ่งปฏิกูล หรือกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก ข้อ ๑๑ ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าสถานที่หรือบริเวณใดควรทำการเก็บขนมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลไปทำการกำจัดให้ถูกด้วยสุขลักษณะยิ่งขึ้น โดยเรียกค่าธรรมเนียมเก็บขนเมื่อได้มีหนังสือแจ้งแก่ผู้ครอบครองสถานที่ อาคาร หรือเคหสถานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน หรือเมื่อได้ปิดประกาศกำหนดบริเวณเก็บขนมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล ณ ที่เปิดเผยในบริเวณที่กำหนดไม่น้อยกว่า ๓ แห่งเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ วันนับแต่วันประกาศแล้ว ผู้ครอบครองสถานที่ อาคาร หรือเคหสถานต้องให้เจ้าหน้าที่ของพนักงานท้องถิ่นหรือบุคคลผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น เก็บขนมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลจากสถานที่ อาคาร หรือเคหสถานซึ่งตนรับรองโดยเสียค่าธรรมเนียมเก็บขนตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๒ ผู้ครอบครองอาคารสถานที่หรือเคหสถาน ซึ่งอยู่นอกบริเวณเก็บขนมูลฝอย หรือสิ่งปฏิกูลตามข้อ ๑๑ และผู้ครอบครองสถานที่ อาคาร หรือเคหสถาน ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมิให้กำหนดให้กำจัดมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลตามข้อ ๑๑ ต้องกำจัดมูลฝอย หรือสิ่งปฏิกูลตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยการเผาหรือฝังโดยวิธีอื่นใดที่ไม่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๑๓ ห้ามผู้ซึ่งมิได้เป็นเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย ทำการขน คุ้ย เขี่ย หรือขุดมูลฝอยในที่รองรับ รถขน หรือขน หรือสถานที่เทมูลฝอยใด ๆ และมิให้ทำการถ่ายเท ขน หรือเคลื่อนที่สิ่งปฏิกูลในถังรับ รถขน เรือขน สถานที่เท เก็บ หรือพักสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย ข้อ ๑๔ อัตราค่าธรรมเนียมในการจัดเก็บให้เป็นไปตามบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมแนบท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๕ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้มีความผิดตามมาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๐ (๕) แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ หราบ หง้าฝา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย เรื่อง การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๒๑๑/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,272
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแกโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก และนายอำเภอทับสะแก จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแกตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับตำบล เรื่อง การกำจัดมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๔๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ ข้อ ๕ การเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแกให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก บทบัญญัติตามข้อนี้ และข้อ ๘ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนหรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่องค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้ การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแกจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ในกรณีที่ยังไม่มีกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ห้ามมิให้ผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ นอกจากในที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก จัดไว้ให้ (๒) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสม ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของ เจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๘ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล โดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๙ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) เอกสารอื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแกประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๘ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถสูบส้วม) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ (๑.๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๑.๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลต้องไม่รั่วซึม ปกปิดมิดชิด สามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลง มีอุปกรณ์หรือฝาปิด - เปิดถังที่สนิทอยู่ด้านบน และสามารถรับแรงดันจากการสูบสิ่งปฏิกูลได้ (๑.๑.๓) ท่อหรือสายที่ใช้สูบสิ่งปฏิกูล ต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่รั่วซึม (๑.๑.๔) มีปั๊มสูบสิ่งปฏิกูลและติดตั้งมาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลด้วยซึ่งอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี (๑.๑.๕) ตัวถังรถสูบสิ่งปฏิกูลต้องมีข้อความว่า “รถสูบสิ่งปฏิกูล” ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ หมายเลขโทรศัพท์ และเลขทะเบียนใบอนุญาต ที่ด้านข้างทั้ง ๒ ด้าน ของตัวถังรถที่เห็นได้ชัดเจนและมีขนาดตัวอักษรไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแกประกาศกำหนด (๑.๒) ต้องมีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) และน้ำยาดับกลิ่น (๑.๓) ต้องมีชุดปฏิบัติงาน ประกอบด้วย เสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้ายางหุ้มแข้ง (๑.๔) ผู้ประกอบกิจการรถสูบสิ่งปฏิกูล จะต้องระบุแหล่งที่จะนำสิ่งปฏิกูล ไปบำบัดและมีหลักฐานที่แสดงว่าได้รับอนุญาตจากเจ้าของสถานที่บำบัดนั้น เว้นแต่จะมีระบบบำบัด ของตนเอง (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๑) สถานที่ดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล ต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน ศาสนสถาน สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานที่ราชการ แหล่งน้ำสาธารณะ โดยให้คำนึงถึงการป้องกันมิให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม หรือเหตุรำคาญแก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง (๒.๒) ต้องมีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลตามหลักสุขาภิบาล (๒.๒.๑) ที่ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนหรือการแพร่กระจายเชื้อโรค ไปยังพื้นดินแหล่งน้ำน้ำใต้ดิน พืชผลทางการเกษตร (๒.๒.๒) ไม่เป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงและ สัตว์พาหะนำโรค (๒.๒.๓) ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ ไม่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น สกปรกหรือก่อให้เกิดเหตุคำราญ (๒.๒.๔) อื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของ เจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๒.๓) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ผ้าปิดปาก ปิดจมูก ถุงมือยาง รองเท้ายางหุ้มแข้ง มีอุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด พลั่ว น้ำยาดับกลิ่น น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๒.๔) ผู้ได้รับอนุญาตและผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับ “สุขลักษณะของการจัดการสิ่งปฏิกูล” ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาต หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๓ ในการดำเนินกิจการผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ขณะทำการสูบสิ่งปฏิกูล ต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้ายางหุ้มแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้ายางหุ้มแข้ง หลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๑.๒) ทำความสะอาดท่อ หรือสายที่ใช้สูบสิ่งปฏิกูล โดยหลังจากสูบสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้ว ให้ทำการสูบน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายที่ใช้สูบสิ่งปฏิกูล และทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้สูบสิ่งปฏิกูลด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๑.๓) ทำความสะอาดพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดหรือกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่สาธารณะ (๑.๔) กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราด ให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด (๑.๕) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๑.๖) ห้ามนำรถไปใช้ในกิจการอื่น (๑.๗) ต้องดูแลมิให้ข้อความบนตัวถังรถลบเลือน (๑.๘) ต้องมีใบอนุญาตติดประจำรถ (๑.๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความสะอาด ปลอดภัย และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบัญญัติ ระเบียบ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๑) ต้องมีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรม และดำเนินงานระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลตามหลักสุขาภิบาลตามประเภทของระบบกำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๒) การปฏิบัติงานต้องสวมเสื้อคลุม สวมถุงมือยาง รองเท้ายางหุ้มแข้ง และสวมผ้าปิดปาก จมูก ขณะปฏิบัติงาน (๒.๓) ถ้ามีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราดให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด (๒.๔) เจ้าหน้าที่ต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๒.๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความสะอาด ปลอดภัย และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบัญญัติ ระเบียบ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก ข้อ ๑๔ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแกเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับ เสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้ จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนด การเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่ มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๒ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือ สำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๓ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้ จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๔ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแกในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๕ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแกรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ โชติ เงินแท่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๑๑/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,273
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงและนายอำเภอโพนพิสัย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้ติดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงแล้ว ๑๕ วัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่น หรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสุนัขบางชนิดโดยเด็ดขาด (๑.๑) ในที่หรือทางสาธารณะซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงเป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข (๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสุนัขต้องอยู่ภายใต้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (๒.๑) เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข (๒.๒) ให้เจ้าของสุนัขที่เลี้ยงในพื้นที่ตามความใน (๒.๑) มีหน้าที่นำสุนัขไปทำทะเบียนและขอมีบัตรประจำตัวสุนัขได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง (๒.๓) การขึ้นทะเบียนสัตว์ เจ้าของสุนัขต้องยื่นคำขอพร้อมแนบเอกสารดังนี้ (๒.๓.๑) สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของสุนัข (๒.๓.๒) ในกรณีเจ้าของสุนัขไม่ได้เป็นเจ้าของบ้านต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของบ้านพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของบ้าน (๒.๓.๓) ใบรับรองที่ระบุการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้ามาไม่เกินหนึ่งปี มีการระบุหมายเลขการผลิตวัคซีนและลงชื่อสัตวแพทย์ผู้ฉีดพร้อมเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ (๒.๓.๔) หนังสือมอบอำนาจในกรณีเจ้าของสุนัขไม่ได้มาดำเนินการเอง (๒.๔) เจ้าของสุนัขต้องปฏิบัติดังนี้ (๒.๔.๑) นำสุนัขไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครั้งแรกเมื่อสุนัข อายุ ๒-๔ เดือน และครั้งต่อไปตามที่กำหนดในใบรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (๒.๔.๒) เมื่อสัตว์ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วให้ติดเครื่องหมายประจำตัวและเก็บใบรับรองการฉีดวัคซีนไว้ การขายหรือให้สุนัขแก่ผู้อื่นต้องมอบใบรับรองให้ด้วย (๒.๕) จัดสถานที่เลี้ยงตามความเหมาะสม มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ (๒.๖) มีระบบการระบายน้ำและการกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ (๒.๗) ควบคุมดูแลสุนัขไม่ให้ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงแต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ บันจง โฮมโซส์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๙๕/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,274
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแกโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแกและนายอำเภอทับสะแก จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแกตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะ ที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้นหรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะ ที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาด ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตร ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่จำหน่ายอาหาร (๑.๑) ตั้งอยู่ห่างจากบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ที่ฝัง เผาหรือเก็บศพ ที่เททิ้งสิ่งปฏิกูล ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร เว้นแต่สามารถปรับปรุงสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๑.๒) ทำพื้นที่ด้วยวัตถุถาวรทำความสะอาดง่าย (๑.๓) จัดให้มีการระบายน้ำอย่างเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๑.๔) จัดให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๑.๕) สามารถจัดหาที่ล้างมือและส้วมที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ เว้นแต่เป็นการจำหน่ายอาหารที่ไม่มีการรับประทานอาหารนั้นในบริเวณที่จำหน่าย (๑.๖) จัดให้มีการรองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๑.๗) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บ การบริโภคอาหารไว้เพียงพอ ปลอดภัย และถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๑.๘) จัดให้มีบ่อดักไขมันหรือระบบบำบัดน้ำเสียให้เพียงพอและถูกต้องตามมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร (๑.๙) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรง สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ (๑.๑๐) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๑.๑๑) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือคำสั่ง เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมถึงระเบียบข้อบังคับและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก (๒) สถานที่สะสมอาหาร (๒.๑) ตั้งอยู่ห่างจากบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ที่ฝัง เผาหรือเก็บศพ ที่เททิ้งสิ่งปฏิกูล ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร เว้นแต่สามารถปรับปรุงสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒.๒) พื้นที่ทำด้วยวัสดุถาวรทำความสะอาดง่าย (๒.๓) จัดให้มีระบบระบายน้ำอย่างเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๒.๔) จัดให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๒.๕) จัดให้มีส้วมที่เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๒.๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๒.๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมถึงระเบียบข้อบังคับและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแกประกาศกำหนด ข้อ ๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้ขอรับหนังสือรับรองการแจ้งต้องดูแลรักษาสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ รวมทั้ง ป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและป้องกันโรคติดต่อ ดังต่อไปนี้ (๑) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมทั้ง จัดให้มีการป้องกันการกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค (๒) รักษาความสะอาดที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์นำโรคได้และต้องมีการจัดเก็บมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๓) รักษาบ่อดักไขมันหรือระบบบำบัดน้ำเสียให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา (๔) รักษาส้วมให้สะอาดด้วยสุขลักษณะอยู่เสมอ (๕) รักษา จัดสิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ (๖) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมถึงระเบียบข้อบังคับและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก ผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้ขอรับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับสุขลักษณะ กรรมวิธีการจำหน่ายประกอบ ปรุง เก็บรักษาอาหาร ตลอดจนสุขลักษณะของภาชนะอุปกรณ์ น้ำใช้และของใช้อื่น ๆ รวมทั้งสุขลักษณะของใช้อื่น ๆ รวมทั้งสุขลักษณะส่วนบุคคลผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และให้บริการดังต่อไปนี้ (๑) วางเก็บอาหารก่อนปรุงให้สะอาดถูกสุขลักษณะ รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันแมลงและสัตว์นำโรคของสถานที่นั้น (๒) ใช้เครื่องปกปิดอาหารรวมทั้งภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำประกอบ ปรุง เก็บอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลอดจนรักษาเครื่องปกปิดนั้น ให้สะอาดถูกต้องด้วยสุขลักษณะและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๓) น้ำแข็งสำหรับใช้บริโภคต้องจัดเก็บไว้ในภาชนะที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะสามารถป้องกันสิ่งปนเปื้อนได้และห้ามนำอาหารหรือสิ่งอื่นใดแช่หรือเก็บรวบรวมได้ด้วย (๔) การทุบ บดน้ำแข็ง ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอ (๕) ในกรณีที่มีผ้าเช็ดหน้าให้บริการต้องทำให้สะอาดและผ่านความร้อนฆ่าเชื้อโรคหรือกรรมวิธีอื่นใดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๖) จัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอ (๗) ใช้ภาชนะหรือวัตถุที่สะอาด ปลอดภัยสำหรับปรุง ใส่ หรือห่ออาหารหรือน้ำแข็งโดยรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๘) ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้บริการต้องแต่งกายให้สะอาดและปฏิบัติตนให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะส่วนบุคคล (๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมถึงระเบียบข้อบังคับและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก ข้อ ๙ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอรับใบอนุญาตแล้ว ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก เท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๗ และข้อ ๘ ด้วย ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดให้สาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งแล้วแต่ละกรณี ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่ มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุขพ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๑๗ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแกประกาศกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้ง ให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้ง ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๒ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้ โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการ โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่ง ยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๔ ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มาแจ้ง และภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก ข้อ ๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแกเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ โชติ เงินแท่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับสะแก เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๑/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,275
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2558
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงและนายอำเภอโพนพิสัย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้ติดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงแล้ว ๑๕ วัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย” หมายความว่า สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะเวลาที่เกินกว่าเจ็ดวันซึ่งยุงลายสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้ “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่ขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะซึ่งอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ เป็นต้น นอกจากในที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นจัดไว้ให้ ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอยที่ขังน้ำได้ซึ่งอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ เป็นต้น ในบริเวณอาคารหรือเคหสถาน รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้ โดยเก็บใส่ลงถังรองรับมูลฝอยที่มีฝาเปิดปิดหรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงเป็นผู้ให้บริการเก็บขนมูลฝอยเพื่อนำไปกำจัด เจ้าของอาคารหรือเคหสถานมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงกำหนด ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหะสถาน ต้องดูแลทำความสะอาด และเปลี่ยนน้ำในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ ที่มีน้ำขังอย่างน้อยทุกเจ็ดวัน หรือใส่สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุงได้และจัดให้มีฝาปิดตุ่มน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถาน รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงได้จัดเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงในอาคารหรือเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่นั้นจะต้องให้ความร่วมมือและอำนายความสะดวกตามสมควร ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ และข้อ ๖ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ บันจง โฮมโซส์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๘๒/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,276
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยเป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลและนายอำเภอท่าอุเทน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “ผู้ปฏิบัติงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางแสง” หมายความว่า สภาวะของแสงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางความร้อน” หมายความว่า สภาวะของความร้อนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “ของเสียอันตราย” หมายความว่า มูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มลสารหรือสิ่งอื่นใด ที่ปนเปื้อนสารพิษอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “วัตถุอันตราย” หมายความว่า วัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “การค้า” หมายความว่า การประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร การผลิต หรือการให้บริการใด ๆ เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่า “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๒ ประเภทกิจการที่ต้องควบคุม ข้อ ๖ ให้กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล (๑) กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยงและการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวข้องกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่าหรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑) การผลิต สะสมหรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๓) การผลิต สะสมหรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้หรือพืชอย่างอื่น (๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้มตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือโดยวิธีอื่นใด (๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนียเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม (๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๓.๑๓) การผลิต สะสมหรือแบ่งบรรจุใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๓.๑๔) การผลิต สะสมหรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุหรือขนส่งน้ำแข็ง (๓.๑๗) การผลิต สะสมหรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืชผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๘) การผลิต สะสมหรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๙) การผลิต สะสมหรือแบ่งบรรจุ ผงชูรสหรือสารปรุงแต่งอาหาร (๓.๒๐) การผลิต สะสมหรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๓.๒๑) การผลิต สะสมหรือแบ่งบรรจุแบะซะ (๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสมหรือบรรจุยา (๔.๒) การผลิตบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๔.๓) การผลิต บรรจุสำลีผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาดหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืชหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักรหรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด กะเทาะหรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๕.๗) การผลิต สะสมหรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๖.๒) การถลุงแร่ การหลอมหรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตไว้ใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักรหรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ (๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสีหรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสีหรืออัดฉีดยานยนต์ (๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่วย ซ่อมหรืออัดแบตเตอรี่ (๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบหรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลเก่า (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคมีเคลือบเงาหรือสีแต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่านหรือสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะหรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) (๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกตหรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่งหรือตู้เกม (๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม (๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยง หรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักรหรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่นหรือใยสังเคราะห์ (๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรมหรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑.๒) (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย ตัดหรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพองหรือเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทรายหรือผ้าทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้วหรือผลิตภัณฑ์ในแก้ว (๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัสดุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๕) (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหินหรือถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๗.๑) (๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ สะสมหรือบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่ง สารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหนะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต สะสมหรือบรรจุกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไขหรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียวหรือถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุดใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓.๑๓) การผลิต สะสมหรือขนส่งไอโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๗ ผู้ดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ต้องควบคุมภายในตำบลโนนตาลต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อบัญญัตินี้ รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ สถานประกอบกิจการที่ตั้งอยู่ในท้องที่ที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ สถานประกอบกิจการที่เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หรือสถานประกอบกิจการที่มีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี หมวด ๓ สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคารและการสุขาภิบาล ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากศาสนสถาน โรงพยาบาล สถานศึกษา สถานเลี้ยงเด็ก สถานดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยพักฟื้นหรือผู้พิการ หรือสถานที่อื่นใดที่ต้องมีการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนเป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องไม่อยู่ในระยะที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน หรือจะต้องมีระบบป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับสถานประกอบกิจการที่เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดมูลฝอยเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องดูแลมิให้มีน้ำท่วมขังบริเวณสถานประกอบกิจการ และจัดให้มีการระบายน้ำหรือการดำเนินการอย่างใด ๆ ด้วยวิธีที่เหมาะสม เพื่อไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพแก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง ในกรณีที่มีน้ำทิ้งหรือน้ำเสียเกิดขึ้นจากสถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง ซึ่งการดำเนินการของสถานประกอบกิจการดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยโรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สถานประกอบกิจการนั้นต้องดำเนินการตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนด ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร หรือการสะสมอาหารสำหรับผู้ปฏิบัติงานต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหารที่กำหนดตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วน และดูแลรักษาความสะอาดให้ถูกต้องตามสุขลักษณะและอนามัยเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีน้ำดื่มสะอาดที่มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพน้ำบริโภคของกรมอนามัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอทุกวัน รวมทั้งจัดให้มีภาชนะรองรับน้ำดื่มที่สะอาดและปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และสถานที่ตั้งน้ำดื่มและลักษณะการนำน้ำมาดื่มต้องไม่เกิดการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกหรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีน้ำใช้ที่มีปริมาณและคุณภาพเหมาะสมต่อการประกอบกิจการนั้น ๆ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต หมวด ๔ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและการป้องกันเหตุรำคาญ ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๘ สถานประกอบกิจการที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๙ สถานประกอบกิจการที่ผู้ปฏิบัติงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตราย หรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่ชำระร่างกายฉุกเฉิน และที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๐ สถานประกอบกิจการต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเครื่องจักรที่มีสภาพที่ปลอดภัยสำหรับการใช้งานในสถานประกอบกิจการ และต้องมีการติดตั้งในลักษณะที่แข็งแรง มั่นคง และปลอดภัย โดยมีระบบป้องกันอันตราย และป้ายคำเตือนหรือคำแนะนำในการป้องกันอันตรายจากอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเครื่องจักรนั้น ทั้งนี้ การจัดวางหรือการจัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเครื่องจักรต้องเป็นระเบียบไม่กีดขวางทางเดินและการปฏิบัติงาน และต้องมีการดูแล ตรวจสอบ และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีตลอดเวลา ข้อ ๒๑ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๒ สถานประกอบกิจการใดที่ประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางแสง มลพิษทางความร้อน มลพิษทางความสั่นสะเทือน ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้น หมวด ๕ ใบอนุญาต ข้อ ๒๓ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๒๔ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของกิจการ/ผู้ประกอบการ/ผู้ถือใบอนุญาต (๒) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จัดการ (๓) สำเนาทะเบียนบ้านของอาคารที่ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล) (๕) ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารหรือหลักฐานที่แสดงว่าที่ตั้งสถานประกอบการสามารถใช้ประกอบกิจการนั้นได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (๖) หนังสือยินยอมให้ใช้อาคารหรือสัญญาเช่าจากเจ้าของอาคาร (กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตไม่มีกรรมสิทธิ์ในอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบการ) (๗) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจกรณีเจ้าของกิจการไม่สามารถยื่นคำขอใบอนุญาตได้ด้วยตนเอง (๘) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๙) เอกสารหรือหลักฐานอื่นตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๒๕ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที กรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว ข้อ ๒๗ บรรดาใบอนุญาตที่ออกตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอตามแบบที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย การขอรับใบแทนใบอนุญาตให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุในใบอนุญาตเดิม ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๒ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๓ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หมวด ๖ ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ ข้อ ๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๓๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล หมวด ๗ บทกำหนดโทษ ข้อ ๓๖ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สุภวิทย์ พรรณวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต ๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๖. ใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๗. แบบคำขอหนังสือรับรองการแจ้ง ๘. ใบรับแจ้ง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๒๘/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,277
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยและนายอำเภอเมืองกระบี่ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๑ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วก่อนข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย (๑) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑.๑) การเพาะพันธุ์เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขาหนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์ หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือ ซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี้ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม (๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุเอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืชผัก ผลไม้เครื่องดื่ม ชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๘) การผลิตสะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ย หรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะ หรือแร่ (๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ (๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสีแต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) (๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยง หรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑.๒) (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๕) (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๗.๑) (๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่ หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล หมวด ๒ สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางมีแสงสว่างเพียงพอและมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจนโดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมีวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บรวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษ หรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อยปลอดภัย เป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ หมวด ๓ การชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้งและมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนด หรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หมวด ๔ การควบคุมของเสีย มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง หรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญ หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หมวด ๕ ใบอนุญาต ข้อ ๑๗ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และสำเนาทะเบียนบ้าน (๒) สำเนาทะเบียนบ้านของสถานที่ที่ใช้ประกอบกิจการ และหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ หรือสำเนาสัญญาเช่าในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตมิได้เป็นเจ้าของสถานที่ที่ใช้ประกอบกิจการ (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยประกาศกำหนด ข้อ ๑๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องประกอบกิจการภายในเขตสถานที่และตามกำหนดวัน เวลาที่ได้รับอนุญาต (๒) ถ้าจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมสถานที่ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน (๓) ต้องปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อให้ได้สุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๔) ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขเข้าตรวจสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนวิธีการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพนั้นได้ในเวลาอันสมควรเมื่อได้รับแจ้งความประสงค์ให้ทราบแล้ว ข้อ ๒๐ เมื่อได้รับคำขอใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่ต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๑ ในการออกใบอนุญาตตามข้อ ๒๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตตามข้อ ๒๐ ให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวสำหรับสถานที่แห่งเดียว ถ้าประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมหลายประเภท ให้ลักษณะและสถานที่เดียวกันให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในประเภทที่มีอัตราสูงเต็มอัตรา แต่ประเภทอื่นให้เก็บเพียงกึ่งอัตรา ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๓ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ โดยอนุโลม ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๘ หากปรากฏว่าใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหาย หรือถูกทำลาย หรือ (๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๒๙ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือแจ้งข้อเท็จจริง หรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือให้ส่งเอกสารหลักฐานใด เพื่อตรวจสอบหรือเพื่อประกอบการพิจารณา (๒) เข้าไปในอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการ เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้หรือพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในการนี้ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่นั้น (๓) แนะนำให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในใบอนุญาต หรือตามข้อบัญญัตินี้หรือตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๔) ยึดหรืออายัดสิ่งของใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพต่อประชาชน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีหรือเพื่อนำไปทำลายในกรณีจำเป็น (๕) เก็บหรือนำสินค้าหรือสิ่งของใด ๆ ที่สงสัยว่าจะไม่ถูกลักษณะหรือจะก่อเหตุให้เกิดเหตุรำคาญจากอาคารหรือสถานที่ใด ๆ เป็นปริมาณตามสมควรเพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบตามความจำเป็นได้โดยไม่ต้องใช้ราคา ข้อ ๓๐ หากผู้ดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งต้องมีการควบคุมปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการดำเนินกิจการนั้นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการนั้นต้องแก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้และถ้าผู้ดำเนินกิจการไม่แก้ไข หรือถ้าการดำเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการนั้นไว้ทันทีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งให้กำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งไว้ตามสมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีคำสั่งให้หยุดดำเนินกิจการทันที ข้อ ๓๑ เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขตรวจพบเหตุที่ไม่ถูกต้องหรือมีการกระทำการใด ๆ ที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ในอันที่จะมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน หรือจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ของประชาชนเป็นส่วนรวม ซึ่งสมควรจะดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้กระทำการไม่ถูกต้องหรือฝ่าฝืนดังกล่าวแก้ไขหรือระงับเหตุนั้นหรือดำเนินการใด ๆ เพื่อแก้ไข หรือระงับเหตุนั้นได้ตามสมควรแล้วให้แจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ ข้อ ๓๒ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๓ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๔ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้สั่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๕ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ หมวด ๖ บทกำหนดโทษ ข้อ ๓๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๘ บรรดาใบอนุญาตการค้าซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทยให้คงใช้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น และเมื่อสิ้นอายุใบอนุญาตนั้นแล้วให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ หราบ หง้าฝา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ............. ๓. แบบคำขอรับใบแทนใบอนุญาต กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๗๘/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,278
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลทุ่งหลวง ว่าด้วยตลาด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงและนายอำเภอโพนพิสัย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงแล้ว ๑๕ วัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “อาหารสด” หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด “อาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ” หมายความว่า อาหารสดประเภทเนื้อสัตว์หรือเนื้อสัตว์ที่มีการชำแหละ ณ แผงจำหน่ายสินค้า “อาหารประเภทปรุงสำเร็จ” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบหรือปรุงสำเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ “สุขาภิบาลอาหาร” หมายความว่า การจัดการและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้อาหารสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อโรค และสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค เช่น อาหาร ผู้สัมผัสอาหาร สถานที่ทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร ภาชนะ อุปกรณ์ สัตว์และแมลงที่เป็นพาหะนำโรค “การล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล” หมายความว่า การทำความสะอาดตัวอาคาร แผงจำหน่ายสินค้าในตลาด พื้น ผนัง เพดาน ทางระบายน้ำ ตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสียที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และบริเวณตลาดให้สะอาด ไม่มีสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หยากไย่ ฝุ่นละอองและคราบสกปรก รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อ ทั้งนี้ สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งตลาด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลง ขยายหรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดตามวรรคหนึ่งแล้วจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรของรัฐที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่ แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามบทบัญญัติอื่นแห่งข้อบัญญัตินี้และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วย และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามวรรคนี้ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ข้อ ๖ ตลาดแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้ (๑) ตลาดประเภทที่ ๑ ได้แก่ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ ถึงข้อ ๑๓ (๒) ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๔ ถึงข้อ ๑๙ ข้อ ๗ ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษของเสีย โรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก ที่กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เว้นแต่จะมีวิธีการป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ข้อ ๘ ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง คือ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย และที่จอดยานพาหนะ ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๙ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ถนนรอบอาคารตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร อย่างน้อยหนึ่งทาง (๒) ตัวอาคารตลาดทำด้วยวัสดุถาวร มั่นคง และแข็งแรง (๓) หลังคาสร้างด้วยวัสดุทนไฟ และแข็งแรงทนทาน ความสูงของหลังคาต้องมีความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น (๔) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง ไม่ดูดซึมน้ำ เรียบ ล้างทำความสะอาดง่าย ไม่มีน้ำขังและไม่ลื่น (๕) ทางเดินภายในอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๖) เครื่องกั้นหรือสิ่งกีดขวางทำด้วยวัสดุถาวร และแข็งแรง สามารถป้องกันสัตว์ เช่น สุนัข มิให้เข้าไปในตลาด (๗) การระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอ เหมาะสม และไม่มีกลิ่นเหม็นอับ (๘) ความเข้มของแสงสว่างในอาคารตลาดไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ลักซ์ (๙) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียง และทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑.๕ ตารางเมตร และมีทางเข้าออกสะดวก โดยมีที่นั่งสำหรับผู้ขายของแยกต่างหากจากแผง (๑๐) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดแบบระบบท่ออย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้าหรือล้างมือ ทั้งนี้ ต้องวางท่อในลักษณะที่ปลอดภัย ไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก ไม่ติดหรือทับกับท่อระบายน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูล โดย (๑๐.๑) มีที่ล้างอาหารสดอย่างน้อย ๑ จุด และในแต่ละจุดจะต้องมีก๊อกน้ำ ไม่น้อยกว่า ๓ ก๊อก กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๓๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีที่ล้างอาหารสด ๑ จุด ต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๓๐ แผง เศษของ ๓๐ แผง ถ้าเกิน ๑๕ แผง ให้ถือเป็น ๓๐ แผง (๑๐.๒) มีก๊อกน้ำประจำแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (๑๐.๓) มีที่เก็บสำรองน้ำในปริมาณเพียงพอและสะดวกต่อการใช้ กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๕๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีน้ำสำรองอย่างน้อย ๕ ลูกบาศก์เมตรต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๑๐๐ แผง เศษของ ๑๐๐ แผง ถ้าเกิน ๕๐ แผง ให้ถือเป็น ๑๐๐ แผง (๑๑) ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ทั้งนี้ ให้มีตะแกรงดักมูลฝอยและบ่อดักไขมันด้วย (๑๒) การติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัยตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ความใน (๑) และ (๕) มิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีถนนรอบอาคารตลาด ทางเข้าออกบริเวณตลาด และทางเดินภายในอาคารตามที่กำหนดได้ ข้อ ๑๐ ต้องจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตั้งอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะ มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวัน และสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตามที่กำหนดได้ ข้อ ๑๑ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาด หรือในกรณีที่อยู่ในอาคารตลาดต้องแยกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ มีผนังกั้นโดยไม่ให้มีประตูเปิดสู่บริเวณจำหน่ายอาหารโดยตรง ข้อ ๑๒ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ตั้งอยู่นอกตัวอาคารตลาดและอยู่ในพื้นที่ที่รถเก็บขนมูลฝอยเข้าออกได้สะดวก มีการปกปิดและป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ย ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น ข้อ ๑๓ ต้องจัดให้มีที่จอดยานพาหนะอย่างเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๔ ตลาดประเภทที่ ๒ ต้องจัดให้มีสถานที่สำหรับผู้ขายของ ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๑๕ สถานที่สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ทางเดินภายในตลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๒) บริเวณสำหรับผู้ขายของประเภทอาหารสดต้องจัดให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ โดยมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ แข็งแรง ไม่ลื่น สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่ายและไม่มีน้ำขัง เช่น พื้นคอนกรีต พื้นที่ปูด้วยคอนกรีตสำเร็จ หรือพื้นลาดด้วยยางแอสฟัลต์ (๓) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรงที่มีผิวเรียบ ทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และอาจเป็นแบบพับเก็บได้ (๔) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และจัดให้มีที่ล้างทำความสะอาดอาหารและภาชนะในบริเวณแผงจำหน่ายอาหารสด แผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (๕) ทางระบายน้ำจากจุดที่มีที่ล้าง โดยเป็นรางแบบเปิด ทำด้วยวัสดุที่มีผิวเรียบ มีความลาดเอียงให้สามารถระบายน้ำได้สะดวก มีตะแกรงดักมูลฝอยก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะ และไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนข้างเคียง ในกรณีจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจกำหนดให้จัดให้มีบ่อดักไขมัน หรือบ่อพักน้ำเสีย ก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะก็ได้ (๖) กรณีที่มีโครงสร้างเฉพาะเสาและหลังคา โครงเหล็กคลุมผ้าใบ เต็นท์ ร่มหรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกันต้องอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง ข้อ ๑๖ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามจำนวนและหลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสมนอกสถานที่ขายของ เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ ส้วมสาธารณะ ส้วมเอกชนหรือส้วมของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ให้มีระยะห่างจากตลาดไม่เกิน ๕๐ เมตร ข้อ ๑๗ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยอย่างเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวัน และมีลักษณะเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๘ เมื่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าตลาดประเภทที่ ๒ นั้น มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นตลาดประเภทที่ ๑ ได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้รับใบอนุญาตร่วมกันพิจารณากำหนดแผนการพัฒนาปรับปรุงตลาดประเภทที่ ๒ ให้เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ตามกฎกระทรวงนี้ ตามระยะเวลาและขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๙ การจัดวางสินค้าในตลาดแต่ละประเภทต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่และไม่ปะปนกัน เพื่อสะดวกในการดูแลความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร ข้อ ๒๐ กำหนดเวลาการเปิดและปิดตลาดตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ น. ถึงเวลา ๑๘.๐๐ น. ข้อ ๒๑ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) บำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ของตลาด ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา เช่น ตัวอาคาร พื้น ฝ้าเพดาน แผงจำหน่ายสินค้า ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ก๊อกน้ำ ท่อน้ำประปา และสาธารณูปโภคอื่น (๒) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาดและดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๓) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๔) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวันโดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสด และแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และมีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจแจ้งให้มีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลมากกว่าเดือนละหนึ่งครั้งก็ได้ (๕) จัดให้มีการกำจัดสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรคภายในบริเวณตลาดอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง (๖) ดูแลแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละมิให้ปล่อยน้ำหรือของเหลวไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาด และจัดให้มีทางระบายน้ำหรือของเหลวลงสู่ทางระบายน้ำหลักของตลาด ข้อ ๒๒ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย รวมทั้งกรณีที่มีบ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๒) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือ ให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๓) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสด และแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อ ให้ดำเนินการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขแจ้งให้ปฏิบัติ (๔) จัดให้มีการป้องกันไม่ให้น้ำหรือของเหลวไหลจากแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละลงสู่พื้นตลาด ข้อ ๒๓ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาดของโรคติดต่อ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ หรือตลาดประเภทที่ ๒ ต้องไม่กระทำการและต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่ปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยอาหารในตลาด (๒) นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย (๓) ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ แพะ แกะหรือสุกร ในตลาด รวมทั้งฆ่าหรือชำแหละสัตว์ปีกในกรณีที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ในเขตท้องที่นั้น (๔) สะสมหรือหมักหมมสิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาด จนทำให้สถานที่สกปรก รกรุงรัง เป็นเหตุรำคาญ เกิดมลพิษที่เป็นอันตราย หรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ถ่ายเทหรือทิ้งมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใดนอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล (๖) ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดความสกปรกจนเป็นเหตุให้เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๗) ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งอาจเป็นที่เดือดร้อนหรือเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น (๘) ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัยหรือเป็นที่พักค้างคืน (๙) กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาดของโรคติดต่อ เช่น เสียงดัง แสงกระพริบ ความสั่นสะเทือน หรือมีกลิ่นเหม็น ข้อ ๒๔ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาด เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุขในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑) การจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาด (๒) การจัดหมวดหมู่สินค้า (๓) การดูแลความสะอาดแผงจำหน่ายสินค้าของตน (๔) การรวบรวมมูลฝอยลงในภาชนะรองรับที่เหมาะสม (๕) การล้างตลาด (๖) การเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๗) การตรวจสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๕ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าและแผงจำหน่ายสินค้า ดังต่อไปนี้ (๑) ให้วางสินค้าบนแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด โดยห้ามวางสินค้าล้ำแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด และห้ามวางสินค้าสูงจนอาจเกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อระบบการระบายอากาศและแสงสว่าง ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ห้ามวางสินค้าประเภทวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร (๓) ให้วางสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และภาชนะอุปกรณ์ในขอบเขตที่กำหนด โดยสูงจากพื้นตลาดไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๔) ห้ามเก็บสินค้าประเภทอาหารไว้ใต้แผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร หรืออาหารที่มีการป้องกันการเน่าเสียและปกปิดมิดชิด ทั้งนี้ ต้องมีการรักษาความสะอาดและป้องกันสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ไม่ใช้แสงหรือวัสดุอื่นใดที่ทำให้ผู้บริโภคมองเห็นอาหารต่างไปจากสภาพที่เป็นจริง (๖) ห้ามต่อเติมแผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๖ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ในระหว่างขายสินค้าต้องแต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย หรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๓) ในระหว่างขายสินค้าประเภทอาหารต้องปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น ไม่ไอหรือจามรดอาหาร ไม่ใช้มือหยิบจับอาหารที่พร้อมรับประทานโดยตรง ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบหรือจับอาหาร ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๗ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะในการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บหรือสะสมอาหาร และการรักษาความสะอาดของภาชนะ น้ำใช้และของใช้ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารที่ขายต้องสะอาด และปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาหาร (๒) อาหารสดเฉพาะสัตว์ เนื้อสัตว์ และอาหารทะเลต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส ในตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งตลอดระยะเวลาการเก็บ (๓) การจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องใช้เครื่องใช้ ภาชนะที่สะอาด และต้องมีอุปกรณ์ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และรักษาอุปกรณ์ปกปิดอาหารนั้นให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๔) ในกรณีที่เป็นแผงจำหน่ายอาหาร ซึ่งมีการทำ ประกอบ และปรุงอาหารต้องจัดสถานที่ไว้ให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะเพื่อการนั้นและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร (๕) เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เขียง เครื่องขูดมะพร้าว จาน ชาม ช้อนและส้อม ตะเกียบ และแก้วน้ำ ต้องสะอาดและปลอดภัย มีการล้างทำความสะอาดและจัดเก็บที่ถูกต้อง ข้อ ๒๘ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจของผู้ขอรับใบอนุญาต (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน/หนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล) ของผู้ขอรับใบอนุญาต (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารของอาคารตลาด (๔) แผนผัง แบบก่อสร้าง และรายการปลูกสร้างของตลาด (๕) รูปถ่าย ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป (๖) ใบอนุญาตฉบับเดิม กรณีต่ออายุใบอนุญาต (๗) ใบมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ (๘) อื่น ๆ ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๒๙ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๓๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๓๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๓๓ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ข้อ ๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๕ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๖ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๗ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๘ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๙ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๔๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ บันจง โฮมโซส์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียม ท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด ๓. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด ๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๙๙/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,279
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลและนายอำเภอท่าอุเทน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะของคน หรือสิ่งอื่นใดที่ปนเปื้อนอุจจาระหรือปัสสาวะ “การจัดการสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า กระบวนการดำเนินการตั้งแต่การรองรับ การขนและการกำจัดสิ่งปฏิกูล “ส้วม” หมายความว่า สถานที่ที่จัดไว้สำหรับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ และให้หมายความรวมถึงระบบรองรับสิ่งปฏิกูล “ส้วมส่วนรวม” หมายความว่า ส้วมที่จัดไว้เพื่อให้บริการเป็นการทั่วไปภายในหน่วยงานของรัฐ เอกชน หรือสถานที่ต่าง ๆ และให้หมายความรวมถึงส้วมสาธารณะ ไม่ว่าจะมีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายหรือไม่ “ส้วมเคลื่อนที่” หมายความว่า ส้วมที่ติดตั้งในยานพาหนะหรือแพ “ส้วมชั่วคราว” หมายความว่า ส้วมที่ไม่ได้สร้างเป็นการถาวร และให้หมายความรวมถึงส้วมประกอบสำเร็จรูป “ถังเก็บกักสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า ถังหรือบ่อที่มีลักษณะที่มิดชิด น้ำซึมผ่านไม่ได้เพื่อใช้เป็นที่รองรับสิ่งปฏิกูลจากส้วมก่อนขนไปกำจัด “การขนสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า การสูบสิ่งปฏิกูลจากถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลแล้วนำไปยังระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลรวม “การกำจัดสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า การปรับปรุงหรือแปรสภาพสิ่งปฏิกูลให้ปราศจากมลภาวะสภาพอันน่ารังเกียจ หรือการก่อให้เกิดโรค เพื่อนำไปใช้ประโยชน์หรือทำลาย “กากตะกอน” หมายความว่า ส่วนที่เป็นของแข็งซึ่งเหลือจากการกำจัดสิ่งปฏิกูล “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๖ การจัดการสิ่งปฏิกูลในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลเป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรราชการส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลหรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ ข้อ ๗ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการขนสิ่งปฏิกูลแทน หรือจะอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการขนสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการขนสิ่งปฏิกูลแทน หรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการขนสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๘ ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะซึ่งสิ่งปฏิกูล นอกจากถ่าย เท ทิ้ง หรือกำจัด ณ สถานที่หรือตามวิธีที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลกำหนดหรือจัดให้ ข้อ ๙ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน และบุคคลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลมอบให้ดำเนินการขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขนและกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี ต้องดำเนินการขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้ รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีการจัดงานมหรสพ งานเทศกาล งานแสดงสินค้า การชุมนุม การชุมนุมสาธารณะหรือกิจกรรมอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้เวลาในการดำเนินการตั้งแต่สามชั่วโมงขึ้นไป ผู้จัดหรือผู้รับผิดชอบการดำเนินการดังกล่าวต้องจัดให้มีส้วม ส้วมส่วนรวม ส้วมเคลื่อนที่ หรือส้วมชั่วคราวที่ถูกสุขลักษณะสำหรับให้บริการอย่างเพียงพอ เมื่อการดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้น ในกรณีที่มีการติดตั้งส้วมเคลื่อนที่หรือส้วมชั่วคราวให้ผู้จัดหรือผู้รับผิดชอบรื้อถอนและปรับสภาพพื้นที่บริเวณดังกล่าวให้เรียบร้อยและถูกสุขลักษณะ ในการนี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจตรวจสอบความเรียบร้อยในการรื้อถอนและปรับสภาพพื้นที่ดังกล่าว ข้อ ๑๑ ในกรณีที่เกิดสาธารณภัยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหรือเกิดเหตุฉุกเฉิน ให้องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลหรือหน่วยงานของรัฐจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่หรือส้วมชั่วคราวที่ถูกสุขลักษณะสำหรับให้บริการตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ หมวด ๒ หลักเกณฑ วืธีการ และมาตรการเกี่ยวกับสุขลักษณะในการจัดการสิ่งปฏิกูล ส่วนที่ ๑ สุขลักษณะของห้องส้วม ข้อ ๑๒ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือสถานที่ที่ให้บริการส้วมส่วนรวมต้องดำเนินการให้ส้วมดังกล่าวถูกสุขลักษณะตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปที่ถูกสุขลักษณะ สะอาด มีฝาปิดมิดชิด และอยู่ในสภาพดีไม่รั่วซึม ตั้งอยู่ในบริเวณอ่างล้างมือหรือบริเวณใกล้เคียง (๒) จัดให้มีสบู่สำหรับล้างมือซึ่งพร้อมใช้งานได้ (๓) ดูแลพื้น ผนัง เพดาน โถส้วม โถปัสสาวะ และที่กดเปิดปิดน้ำของโถส้วมและโถปัสสาวะให้สะอาด รวมทั้งต้องบำรุงรักษาให้พร้อมใช้งานได้ (๔) จัดให้มีถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลที่มีสภาพดี ไม่ชำรุด ไม่แตก หรือรั่วซึม สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค เมื่อถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลเต็มหรือเลิกใช้งานต้องขนสิ่งปฏิกูลไปกำจัดให้ได้มาตรฐาน ข้อ ๑๓ ยานพาหนะหรือแพที่มีส้วมเคลื่อนที่ ให้เจ้าของยานพาหนะหรือแพต้องดำเนินการให้ส้วมดังกล่าวถูกสุขลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ข้อ ๑๔ ผู้ที่จัดให้มีส้วมชั่วคราวต้องดำเนินการให้ส้วมดังกล่าวถูกสุขลักษณะตลอดเวลาที่เปิดให้บริการตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ส่วนที่ ๒ สุขลักษณะในการขนสิ่งปฏิกูล ข้อ ๑๕ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน และบุคคลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลมอบให้ดำเนินการขนสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขน สิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี ต้องขนสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มียานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลและอุปกรณ์ที่จำเป็นตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ที่มีจำนวนเพียงพอกับการให้บริการ (๒) ดำเนินการสูบสิ่งปฏิกูลในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยต้องมีมาตรการป้องกันกลิ่นในขณะที่ทำการสูบสิ่งปฏิกูล เพื่อไม่ให้รบกวนอาคารสถานที่ใกล้เคียงจนเป็นเหตุรำคาญ (๓) ทำความสะอาดท่อสำหรับใช้สูบสิ่งปฏิกูลหลังจากสูบสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้ว โดยการสูบน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายสูบ และทำความสะอาดท่อหรือสายสูบด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ (๔) ในกรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกหล่น ให้ทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำ (๕) จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม และมีสภาพพร้อมใช้งานสำหรับผู้ปฏิบัติงานสูบและขนสิ่งปฏิกูล รวมทั้งจัดให้มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้ประจำยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูล และตรวจตราควบคุมให้มีการใส่อุปกรณ์หรือเครื่องมือดังกล่าว (๖) ผู้ปฏิบัติงานสูบและขนสิ่งปฏิกูลต้องสวมเสื้อผ้ามิดชิด ถุงมือยางหนา ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และสวมรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง และต้องทำความสะอาด ถุงมือยางหนา และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้งทุกครั้งหลังการปฏิบัติงาน (๗) ต้องทำความสะอาดยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลหลังจากที่ออกปฏิบัติงานอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง และน้ำเสียที่เกิดจากการทำความสะอาดต้องเข้าสู่ระบบบำบัดหรือกำจัดน้ำเสีย หรือบ่อซึมโดยบ่อซึมต้องอยู่ห่างจากแม่น้ำ คู คลอง หรือแหล่งน้ำธรรมชาติไม่น้อยกว่าสิบเมตร (๘) ต้องจัดให้มีสถานที่เฉพาะที่มีขนาดกว้างขวางเพียงพอสำหรับจอดเก็บยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูล (๙) ห้ามนำยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลไปใช้กิจการอื่น และห้ามนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งในที่สาธารณะ ข้อ ๑๖ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลร่วมกับหน่วยงานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน และบุคคลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลมอบให้ดำเนินการขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลรวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขนและกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี ต้องจัดให้ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่สูบและขนสิ่งปฏิกูลได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี และได้รับการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูล ข้อ ๑๗ ยานพาหนะสำหรับขนสิ่งปฏิกูลต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งทางบก (๒) ถังที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลต้องมีฝาเปิดและปิดอยู่ด้านบน โดยสามารถปิดได้มิดชิด ไม่รั่วซึม และป้องกันกลิ่นสัตว์ และแมลงพาหะนำโรคได้ (๓) ท่อหรือสายที่ใช้สูบสิ่งปฏิกูลต้องไม่รั่วซึม (๔) มีปั๊มสูบสิ่งปฏิกูลที่สามารถสูบตะกอนหนักได้ และมีมาตรวัดสิ่งปฏิกูลซึ่งอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี (๕) มีช่องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำยานพาหนะสูบสิ่งปฏิกูล เช่น ถังใส่น้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น (๖) บนตัวถังที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลต้องมีข้อความว่า “ใช้เฉพาะขนสิ่งปฏิกูล” โดยสามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก ในกรณีที่การขนสิ่งปฏิกูลดำเนินการโดยราชการส่วนท้องถิ่น ให้ราชการส่วนท้องถิ่นนั้นแสดงชื่อของราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ในกรณีที่การขนสิ่งปฏิกูลดำเนินการโดยผู้ที่ได้รับมอบให้เป็นผู้ขนสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น ให้ผู้ที่รับมอบนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูล พร้อมกับแสดงแผ่นป้ายระบุชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่ได้รับมอบในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ในกรณีที่การขนสิ่งปฏิกูลดำเนินการโดยผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตแสดงรหัสหรือหมายเลขทะเบียนใบอนุญาต ในกรณีที่ได้รับใบอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลหลายแห่งให้แสดงเฉพาะเลขทะเบียนใบอนุญาตใบแรก และให้เก็บสำเนาหลักฐานใบอนุญาตใบอื่นไว้ที่ยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลเพื่อการตรวจสอบ โดยทุกกรณีต้องแสดงแผ่นป้ายระบุชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทหรือเจ้าของกิจการขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจนโดยตัวอักษรต้องมีความสูงไม่น้อยกว่าสิบเซนติเมตร ข้อ ๑๘ ในการขนสิ่งปฏิกูลให้องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลกำหนดเส้นทางและออกเอกสารกำกับการขนส่งเพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งสิ่งปฏิกูล ส่วนที่ ๓ สุขลักษณะในการกำจัดสิ่งปฏิกูล ข้อ ๑๙ การกำจัดสิ่งปฏิกูลไม่ว่าจะใช้วิธีการใด การนำน้ำทิ้งและกากตะกอนที่ผ่านการกำจัดสิ่งปฏิกูลแล้วไปใช้ประโยชน์หรือปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมต้องได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องได้มาตรฐานปริมาณไข่หนอนพยาธิและแบคทีเรียอีโคไล ดังต่อไปนี้ด้วย ประเภท ไข่หนอนพยาธิ จำนวน/กรัม หรือลิตร แบคทีเรียอีโคไล (Escherichia Coli Bacteria) (จำนวน/๑๐๐กรัม หรือ เอ็ม.พี.เอ็น/๑๐๐ มล.) ๑. กากตะกอน < ๑ < ๑๐๓ ๒. น้ำทิ้ง < ๑ < ๑๐๓ วิธีการเก็บตัวอย่างและวิธีการตรวจหาไข่หนอนพยาธิและแบคทีเรียอีโคไลในกากตะกอนและน้ำทิ้งที่ผ่านการกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องเป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนด ข้อ ๒๐ ผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี ข้อ ๒๑ ในสถานที่กำจัดสิ่งปฏิกูลต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูล และมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้นติดตั้งไว้ ข้อ ๒๒ ผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องสวมเสื้อคลุม ถุงมือยางหนา ผ้ายางกันเปื้อน ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และสวมรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง และต้องทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยางหนา ผ้ายางกันเปื้อน และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้งทุกครั้งหลังการปฏิบัติงาน หมวด ๓ ใบอนุญาต ข้อ ๒๓ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๒๔ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และสำเนาทะเบียนบ้านผู้ประกอบกิจการ/ผู้ถือใบอนุญาต (๒) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จัดการ (๓) สำเนาทะเบียนบ้านของสถานที่ที่ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกอบกิจการ (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล) (๕) หลักฐานแสดงว่าอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบกิจการสามารถใช้ประกอบกิจการนั้นได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (๖) หนังสือยินยอมให้ใช้อาคารหรือสัญญาเช่าจากเจ้าของอาคาร (กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตไม่มีกรรมสิทธิ์ในอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบกิจการ) (๗) สำเนาทะเบียนรถยนต์บรรทุกที่ใช้ประกอบกิจการ (๘) สำเนาแสดงสิทธิการครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ใช้ในการดำเนินการกำจัดสิ่งปฏิกูล (๙) หนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของไม่สามารถมายื่นคำขอด้วยตนเอง) (๑๐) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๑๑) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๒๕ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที กรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว ข้อ ๒๗ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๒ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๓ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หมวด ๔ ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ ข้อ ๓๔ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการขนสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการขนและกำจัดสิ่งปฏิกูลแก่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้ การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการกำจัดสิ่งปฏิกูลองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาลจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๓๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล หมวด ๕ อัตราค่าบริการขั้นสูง ข้อ ๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ หมวด ๖ บทกำหนดโทษ ข้อ ๓๘ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สุภวิทย์ พรรณวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. บัญชีอัตราค่าบริการขั้นสูงท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๕๙ ๓. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ.......... ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการ......... ๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการ.......... ๖. ใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการ........ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๖๖/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,280
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงและนายอำเภอโพนพิสัย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้ติดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงแล้ว ๑๕ วัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สีและเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหน้าที่ควบคุมดูแลที่หรือทางสาธารณะเพื่อประโยชน์ใช้สอยของประชาชนทั่วไป ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติหรือเร่ขาย เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาตตามวรรคสองให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระบุชนิด หรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้า และสถานที่ที่จะจัดวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกรณีที่จะมีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ รวมทั้งจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควรไว้ในใบอนุญาตด้วยก็ได้ การเปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้า หรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้รับใบอนุญาตได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้จดแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ในใบอนุญาตแล้ว ข้อ ๖ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) แต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย (๒) จัดวางสิ่งของอุปกรณ์ประกอบการค้าและทรัพย์สินใด ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ยื่นล้ำบริเวณที่กำหนด รวมทั้งตัวผู้ค้าต้องไม่ล้ำลงมาในผิวจราจร (๓) แผงวางสินค้าทำด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรงและมีความสูงตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๔) ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าในระหว่างการจำหน่ายอยู่เสมอ (๕) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอ (๖) ห้ามกระทำการใด ๆ กับต้นไม้หรือคอกต้นไม้ เช่น พาด ติดตั้ง วางแผงค้าหรือเกาะเกี่ยวสายไฟฟ้า หลอดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ประกอบการค้ารวมตลอดถึงการตอกตะปู ผูกเชือกหรือยึดสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยเด็ดขาด (๗) ห้ามกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น การใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทป เป็นต้น (๘) เมื่อเสร็จสิ้นการจำหน่ายทุกครั้งต้องเก็บสินค้าและสิ่งของใด ๆ ที่เกี่ยวข้องจากบริเวณที่จำหน่ายให้เรียบร้อยโดยไม่ชักช้า (๙) หยุดการจำหน่ายสินค้าเพื่อสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ประกาศกำหนด (๑๐) การอื่นที่จำเป็นเพื่อการรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๗ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) แผงจำหน่ายอาหารทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดี เป็นระเบียบ อยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๒) อาหารปรุงสุกมีการปกปิดหรือมีการป้องกันสัตว์แมลงนำโรค (๓) สารปรุงแต่งอาหารต้องมีเลขสารบบอาหาร (อย.) (๔) น้ำดื่มต้องเป็นน้ำที่สะอาด ใส่ในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด มีก๊อกหรือทางเทรินน้ำ (๕) เครื่องดื่มต้องใส่ภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด และมีที่ตักที่มีด้ามยาวหรือมีก๊อกหรือทางเทรินน้ำ (๖) น้ำแข็งที่ใช้บริโภค (๖.๑) ต้องสะอาด (๖.๒) เก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิด อยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๖.๓) ที่ตักน้ำแข็งมีด้ามยาว (๖.๔) ต้องไม่นำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่ไว้ในน้ำแข็ง (๗) ล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างภาชนะ ล้างด้วยน้ำสะอาด ๒ ครั้ง หรือล้างด้วยน้ำไหล และอุปกรณ์การล้างต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๘) ช้อน ส้อม ตะเกียบ วางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่งสะอาดหรือวางเป็นระเบียบในภาชนะโปร่งสะอาด และมีการปกปิด เก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๙) มีการรวบรวมมูลฝอยและเศษอาหารเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกต้องไม่ถ่ายเททิ้งลงในบ่อ หรือทางระบายน้ำ หรือทางสาธารณะ (๑๐) ผู้สัมผัสอาหารแต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน ผู้ปรุงต้องผูกผ้ากันเปื้อนและสวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม (๑๑) ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว (๑๒) รักษาความสะอาดมือและเล็บ ถ้ามีบาดแผล หรือถูกลวก หรือระคายเคืองผิวหนังบริเวณมือหรือนิ้วมือต้องทำแผลให้เรียบร้อย (๑๓) ไม่สูบบุหรี่ ขบเคี้ยว รับประทานอาหารในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุงหรือจำหน่ายอาหาร หรือไม่ไอจามรดบนอาหาร ข้อ ๘ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายสินค้าในบริเวณที่ได้รับอนุญาต (๒) แต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย (๓) ไม่ทิ้งมูลฝอยลงในที่หรือทางสาธารณะ (๔) ห้ามกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น การใช้เครื่องขยายเสียง หรือเปิดวิทยุเทปหรือส่งเสียงต้องไม่ดังจนเกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น เป็นต้น (๕) หยุดการจำหน่ายสินค้าเพื่อสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงประกาศกำหนด (๖) การอื่นที่จำเป็นเพื่อการรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ (๒) สวมเสื้อที่มีแขน ใช้ผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมรองเท้าหุ้มส้น มีสิ่งปกปิดป้องกันเส้นผมมิให้ตกลงในอาหาร (๓) รักษาความสะอาดมือและเล็บ ถ้ามีบาดแผลบริเวณมือต้องทำแผลให้เรียบร้อย (๔) ไม่สูบบุหรี่ในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุงหรือจำหน่ายอาหาร (๕) ไม่ไอหรือจามรดบนอาหาร (๖) ที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุง และแผงวางจำหน่ายอาหาร ต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๗) ไม่เททิ้งเศษอาหาร หรือน้ำที่มีเศษอาหารหรือไขมันลงบนพื้นหรือทางระบายน้ำสาธารณะ (๘) ใช้ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารที่สะอาด (๙) ปกปิดอาหาร เครื่องปรุงอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารเพื่อป้องกันฝุ่นละออง แมลงวันและสัตว์พาหะนำโรคอื่น ๆ (๑๐) ใช้น้ำที่สะอาดในการทำ ประกอบ ปรุง แช่หรือล้างอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหาร (๑๑) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอ และไม่เททิ้งมูลฝอยลงในท่อหรือทางระบายน้ำสาธารณะ ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าประกอบกิจการเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อหรือเป็นพาหะของโรคติดต่อ ดังต่อไปนี้ (๑) วัณโรค (๒) อหิวาตกโรค (๓) ไข้รากสาดน้อย (ไทฟอยด์) (๔) โรคบิด (๕) ไข้สุกใส (๖) โรคคางทูม (๗) โรคเรื้อน (๘) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ (๙) โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส (๑๐) โรคติดต่ออื่น ๆ ที่ทางราชการกำหนด ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/อื่น ๆ) (๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับใบอนุญาต (๓) ใบรับรองแพทย์ของผู้รับใบอนุญาต และผู้ช่วยจำหน่าย (กรณีจำหน่ายอาหารและ/หรือเครื่องดื่ม) (๔) รูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัว ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด ๑x๑ นิ้ว ของผู้รับใบอนุญาต และผู้ช่วยจำหน่าย คนละ ๓ รูป เพื่อติดไว้ในทะเบียน ๑ รูป ในใบอนุญาต ๑ รูป และบัตรสุขลักษณะประจำตัวอีก ๑ รูป (๕) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๖) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงประกาศกำหนด ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงประกาศกำหนดและจะต้องติดบัตรประจำตัวไว้ที่อกเสื้อด้านซ้ายตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๕ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒ ด้วย ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๒ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๓ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๔ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ บันจง โฮมโซส์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียม ท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ๓. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๘๕/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,281
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2558
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ว่าด้วยการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงและนายอำเภอโพนพิสัย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้ติดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงแล้ว ๑๕ วัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอยติดเชื้อ” หมายความว่า มูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในปริมาณหรือมีความเข้มข้นซึ่งถ้ามีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับมูลฝอยนั้นแล้วสามารถทำให้เกิดโรคได้ กรณีมูลฝอยดังต่อไปนี้ ที่เกิดขึ้นหรือใช้ในกระบวนการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์และการรักษาพยาบาล การให้ภูมิคุ้มกันโรคและการทดลองเกี่ยวกับโรค และการตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์ รวมทั้งในการศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นมูลฝอยติดเชื้อ (๑) ซากหรือชิ้นส่วนของมนุษย์หรือสัตว์ที่เป็นผลมาจากการผ่าตัด การตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์ และการใช้สัตว์ทดลอง (๒) วัสดุของมีคม เช่น เข็ม ใบมีด กระบอกฉีดยา หลอดแก้ว ภาชนะที่ทำด้วยแก้ว สไลด์ และแผ่นกระจกปิดสไลด์ (๓) วัสดุซึ่งสัมผัสหรือสงสัยว่าจะสัมผัสกับเลือด ส่วนประกอบของเลือด ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเลือด สารน้ำจากร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ หรือวัคซีนที่ทำจากเชื้อโรคที่มีชีวิต เช่น สำลี ผ้าก๊อซ ผ้าต่าง ๆ และท่อยาง (๔) มูลฝอยทุกชนิดที่มาจากห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “ห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อร้ายแรง” หมายความว่า ห้องรักษาผู้ป่วยซึ่งติดเชื้อร้ายแรงตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด “สถานบริการการสาธารณสุข” หมายความว่า (๑) สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และหมายความรวมถึงสถานพยาบาลของทางราชการ (๒) สถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ และหมายความรวมถึงสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ “สถานพยาบาลของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลของหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด “สถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลสัตว์ของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลสัตว์ของหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด “ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย” หมายความว่า ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่มิได้ตั้งอยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุข ซึ่งได้แก่ ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สารเคมีและจุลินทรีย์ในวัตถุตัวอย่างจากร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ที่อาจก่อให้เกิดเชื้ออันตราย และห้องปฏิบัติการทดสอบด้านสาธารณสุขที่ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ส่วนประกอบ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อาจก่อให้เกิดเชื้ออันตราย ทั้งนี้ ตามลักษณะและเงื่อนไขที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด “ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุข” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และผู้ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ และหมายความรวมถึงราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย และหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดตั้งสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ “ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ และหมายความรวมถึงผู้อำนวยการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ “ผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย” หมายความว่า เจ้าของหรือผู้ครอบครองห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย “ผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย” หมายความว่า ผู้จัดการหรือเจ้าหน้าที่ที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ การเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อในเขตราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ราชการส่วนท้องถิ่นอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรราชการส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นหรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนหรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าวแจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขนหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ หรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน หรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๗ ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขนหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของราชการส่วนท้องถิ่นหรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้ การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อ ๘ ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะซึ่งมูลฝอยติดเชื้อ นอกจากในที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นจัดไว้ให้ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดให้มีสถานที่ถ่าย เท หรือทิ้งมูลฝอยติดเชื้อในที่หรือทางสาธารณะ หรือกำหนดให้มีวิธีกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ถ่าย เท หรือทิ้งโดยวิธีอื่นตามมาตรฐานหรือตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด แล้วแต่กรณี ข้อ ๙ ข้อบัญญัติในส่วนที่ว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้ใช้บังคับแก่ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองด้วย และให้สถานบริการการสาธารณสุขหรือห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายนั้นแจ้งให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการตรวจสอบระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และเมื่อราชการส่วนท้องถิ่นได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายดังกล่าวจึงจะดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองได้ ในการตรวจสอบระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง ราชการส่วนท้องถิ่นอาจร้องขอให้อธิบดีกรมอนามัยหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมอนามัยมอบหมายจัดส่งเจ้าหน้าที่กรมอนามัยไปร่วมตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นได้ ข้อ ๑๐ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุข ผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย และราชการส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นและบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ในการเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บและหรือขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยหนึ่งคน โดยเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ในด้านสาธารณสุข สุขาภิบาล ชีววิทยา และวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้านใดด้านหนึ่ง (๒) ในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสองคน โดยคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดใน (๑) ส่วนอีกคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ในด้านสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และวิศวกรรมเครื่องกล ด้านใดด้านหนึ่ง (๓) ในกรณีที่มีการดำเนินการทั้ง (๑) และ (๒) จะจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสองคน ซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๒) ก็ได้ ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การเก็บ การขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองของราชการส่วนท้องถิ่น หรือสถานพยาบาลของทางราชการ หรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ แต่ราชการส่วนท้องถิ่น หรือสถานพยาบาลของทางราชการ หรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการนั้น จะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๒) ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ด้านใดด้านหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการเก็บ การขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อนั้น หรืออาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งต้องผ่านการอบรมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ราชการส่วนท้องถิ่นและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกันอาจดำเนินกิจการร่วมกันในการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ โดยแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคน ซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๒) ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ด้านใดด้านหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บ ขน และหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อร่วมกันก็ได้ หรืออาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งต้องผ่านการอบรมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ การขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม อาจแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกซึ่งมีคุณสมบัติดังกล่าวก็ได้ ข้อ ๑๑ ในการเก็บและการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายในสถานบริการการสาธารณสุขซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ หรือภายในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายของเอกชน ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายควบคุมดูแลให้ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ และดำเนินการเก็บและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๒ ในการเก็บ การขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของราชการส่วนท้องถิ่น หรือสถานพยาบาลของทางราชการ หรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ ให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่จัดตั้งสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ แล้วแต่กรณี ควบคุมดูแลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ดำเนินการสถานพยาบาลของทางราชการหรือผู้ดำเนินการสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการนั้นแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ในการเก็บ การขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น และของบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ควบคุมดูแลให้บุคคลดังกล่าวจัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในการมอบให้บุคคลใดดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ หรือการออกใบอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดระยะเวลาและเส้นทางขน ตลอดจนเงื่อนไขหรือข้อปฏิบัติอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ให้บุคคลดังกล่าวถือปฏิบัติไว้ด้วย ข้อ ๑๓ บุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น และบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ การขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ และดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๔ ให้ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข ผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย และเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีหน้าที่ควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ การขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของตน และดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ ให้เก็บบรรจุมูลฝอยติดเชื้อในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อดังนี้ (๑) มูลฝอยติดเชื้อประเภทวัสดุของมีคม ให้เก็บบรรจุในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นกล่องหรือถัง (๒) มูลฝอยติดเชื้ออื่นซึ่งมิใช่ประเภทวัสดุของมีคม ให้เก็บบรรจุในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นถุง ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่งต้องใช้เพียงครั้งเดียวและต้องทำลายพร้อมกับการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อนั้น ข้อ ๑๖ ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อต้องมีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นกล่องหรือถังต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรงทนทานต่อการแทงทะลุและการกัดกร่อนของสารเคมี เช่น พลาสติกแข็งหรือโลหะ มีฝาปิดมิดชิดและป้องกันการรั่วไหลของของเหลวภายในได้ และสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกโดยผู้ขนย้ายไม่มีการสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ (๒) ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นถุงต้องทำจากพลาสติกหรือวัสดุอื่นที่มีความเหนียวไม่ฉีกขาดง่าย ทนทานต่อสารเคมีและการรับน้ำหนัก กันน้ำได้ ไม่รั่วซึมและไม่ดูดซึม ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่งต้องมีสีแดง ทึบแสง และมีข้อความสีดำที่มีขนาดสามารถอ่านได้ชัดเจนว่า “มูลฝอยติดเชื้อ” อยู่ภายใต้รูปหัวกะโหลกไขว้ คู่กับตราหรือสัญลักษณ์ที่ใช้ระหว่างประเทศตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาและต้องมีข้อความว่า “ห้ามนำกลับมาใช้อีก” และ “ห้ามเปิด” ในกรณีที่สถานบริการการสาธารณสุขมิได้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเอง สถานบริการการสาธารณสุขดังกล่าวจะต้องระบุชื่อของตนไว้ที่ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ และในกรณีที่ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อนั้นใช้สำหรับเก็บมูลฝอยติดเชื้อไว้เพื่อรอการขนไปกำจัดเกินกว่าเจ็ดวันนับแต่วันที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อนั้น ให้ระบุวันที่ที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อดังกล่าวไว้ที่ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อด้วย ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง มีได้หลายขนาดตามความเหมาะสมของการเก็บ การขน และการกำจัด แต่ในกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขเห็นสมควร เพื่อความสะดวกในการเก็บ การขน และการกำจัดจะกำหนดขนาดของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อสำหรับใช้ในสถานบริการการสาธารณสุขใด หรือสำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายใดก็ได้ ข้อ ๑๗ การเก็บมูลฝอยติดเชื้อในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามที่กำหนดในข้อ ๑๕ อาจจะจัดให้มีภาชนะรองรับภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อก็ได้ โดยภาชนะรองรับนั้นจะต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง ทนทานต่อสารเคมี ไม่รั่วซึม ทำความสะอาดได้ง่าย และต้องมีฝาปิดเปิดมิดชิด เว้นแต่ในห้องที่มีการป้องกันสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค และจำเป็นต้องใช้งานตลอดเวลาจะไม่มีฝาปิดเปิดก็ได้ ภาชนะรองรับตามวรรคหนึ่งให้ใช้ได้หลายครั้งแต่ต้องดูแลรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๘ การเก็บมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเก็บมูลฝอยติดเชื้อตรงแหล่งเกิดมูลฝอยติดเชื้อนั้น และต้องเก็บลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ โดยไม่ปนกับมูลฝอยอื่น และในกรณีที่ไม่สามารถเก็บลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อจะต้องเก็บมูลฝอยติดเชื้อนั้นลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อโดยเร็วที่สุดเมื่อมีโอกาสที่สามารถจะทำได้ (๒) ต้องบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไม่เกินสามในสี่ส่วนของความจุของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ แล้วปิดฝาให้แน่น หรือไม่เกินสองในสามส่วนของความจุของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นถุง แล้วผูกมัดปากถุงด้วยเชือกหรือวัสดุอื่นให้แน่น (๓) กรณีการเก็บมูลฝอยติดเชื้อภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่มีปริมาณมาก หากยังไม่เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อนั้นออกไปทันทีจะต้องจัดให้มีที่หรือมุมหนึ่งของห้องสำหรับเป็นที่รวมภาชนะที่ได้บรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้วเพื่อรอการเคลื่อนย้ายไปเก็บกักในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ แต่ห้ามเก็บไว้เกินหนึ่งวัน (๔) จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามข้อ ๒๐ เพื่อรอการขนไปกำจัด และต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ข้อ ๑๙ ในการเก็บมูลฝอยติดเชื้อจะต้องจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นห้องหรือเป็นอาคารเฉพาะแยกจากอาคารอื่นโดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ สำหรับใช้เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการขนไปกำจัด (๑) มีลักษณะไม่แพร่เชื้อ และอยู่ในที่ที่สะดวกต่อการขนมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัด (๒) มีขนาดกว้างเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อได้อย่างน้อยสองวัน (๓) พื้นและผนังต้องเรียบ ทำความสะอาดได้ง่าย (๔) มีรางหรือท่อระบายน้ำทิ้งเชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสีย (๕) มีลักษณะโปร่ง ไม่อับชื้น (๖) มีการป้องกันสัตว์แมลงเข้าไปมีประตูกว้างพอสมควรตามขนาดของห้องหรืออาคารเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงาน และปิดด้วยกุญแจหรือปิดด้วยวิธีอื่นที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถที่จะเข้าไปได้ (๗) มีข้อความเป็นคำเตือนที่มีขนาดสามารถเห็นได้ชัดเจนว่า “ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ” ไว้ที่หน้าห้องหรือหน้าอาคาร (๘) มีลานสำหรับล้างรถเข็นอยู่ใกล้ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ และลานนั้นต้องมีรางหรือท่อรวบรวมน้ำเสียจากการล้างรถเข็นเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย ในกรณีที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้เกินเจ็ดวัน ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่งต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ ๑๐ องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้นได้ ข้อ ๒๐ การเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไปเก็บกักในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการขนไปกำจัดต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) ต้องมีผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ โดยบุคคลดังกล่าวต้องผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อ ตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (๒) ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ ถุงมือยางหนา ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน และถ้าในการปฏิบัติงานร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ ให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความสะอาดร่างกายหรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อโดยทันที (๓) ต้องกระทำทุกวันตามตารางเวลาที่กำหนด เว้นแต่มีเหตุจำเป็น (๔) ต้องเคลื่อนย้ายโดยใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ ๒๑ เว้นแต่มูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นมีปริมาณน้อยที่ไม่จำเป็นต้องใช้รถเข็นจะเคลื่อนย้ายโดยผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๒๐ (๑) ก็ได้ (๕) ต้องมีเส้นทางเคลื่อนย้ายที่แน่นอน และในระหว่างการเคลื่อนย้ายไปที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อห้ามแวะหรือหยุดพัก ณ ที่ใด (๖) ต้องกระทำโดยระมัดระวัง ห้ามโยน หรือลากภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ (๗) กรณีที่มีมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นหรือภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกระหว่างทางห้ามหยิบด้วยมือเปล่า ต้องใช้คีมคีบหรือหยิบด้วยถุงมือยางหนา หากเป็นของเหลวให้ซับด้วยกระดาษแล้วเก็บมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้นในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่ แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่บริเวณพื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ (๘) ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรถเข็นและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างน้อยวันละครั้ง และห้ามนำรถเข็นมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น ข้อ ๒๑ รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยต้องมีลักษณะและเงื่อนไขดังนี้ (๑) ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย ไม่มีแง่มุมอันจะเป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรค และสามารถทำความสะอาดด้วยน้ำได้ (๒) มีพื้นและผนังทึบ เมื่อจัดวางภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้วต้องปิดฝาให้แน่นเพื่อป้องกันสัตว์และแมลงเข้าไป (๓) มีข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นชัดเจนอย่างน้อยสองด้านว่า “รถเข็นมูลฝอยติดเชื้อ ห้ามนำไปใช้ในกิจการอื่น” (๔) ต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้เก็บมูลฝอยติดเชื้อที่ตกหล่นระหว่างการเคลื่อนย้าย และอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณที่มูลฝอยติดเชื้อตกหล่นตลอดเวลาที่ทำการเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ข้อ ๒๒ สถานบริการการสาธารณสุขดังต่อไปนี้จะไม่จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ ๑๙ ก็ได้ แต่ต้องจัดให้มีบริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้เป็นการเฉพาะ (๑) สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน (๒) สถานพยาบาลสัตว์ประเภทที่ไม่มีที่พักสัตว์ป่วยไว้ค้างคืน หรือประเภทที่มีที่พักสัตว์ป่วยไว้ค้างคืนตามชนิดและจำนวนไม่เกินที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (๓) สถานที่ที่อาจมีมูลฝอยติดเชื้อตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด บริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง ให้มีลักษณะตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ข้อ ๒๓ ราชการส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น และบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ซึ่งรับทำการขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุขหรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายเพื่อนำไปกำจัดภายนอกสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายนอกบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายต้องจัดให้มี (๑) ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อบัญญัติโดยให้มีจำนวนที่เพียงพอกับการประกอบการหรือการให้บริการ (๒) ผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อโดยผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (๓) ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการกำจัดซึ่งมีคุณลักษณะเช่นเดียวกับที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ โดยมีขนาดกว้างขวางเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ได้จนกว่าจะขนไปกำจัด และให้มีข้อความเป็นคำเตือนว่า “ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ” ด้วยสีแดง และมีขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนแสดงไว้ในสภาพถาวรด้วย (๔) บริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นสถานที่เฉพาะ มีขนาดกว้างขวางเพียงพอ มีรางหรือท่อระบายน้ำเสียจากการล้างยานพาหนะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียและต้องทำความสะอาดบริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ ข้อ ๒๔ การขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุขหรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายเพื่อนำไปกำจัดภายนอกสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายนอกบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องขนโดยยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อเท่านั้น (๒) ต้องขนอย่างสม่ำเสมอตามวันและเวลาที่กำหนด โดยคำนึงถึงปริมาณของมูลฝอยติดเชื้อและสถานที่จัดเก็บ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็น (๓) ผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องถือปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะดังนี้ ก. ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ ถุงมือยางหนา ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้งตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน และถ้าในการปฏิบัติงานร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ ให้ผู้ปฏิบัติงานทำความสะอาดร่างกายหรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อโดยทันที ข. ต้องกระทำโดยระมัดระวัง ห้ามโยน หรือลากภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ค. กรณีที่มูลฝอยติดเชื้อตกหล่นหรือภาชนะบรรจุมูลฝอยตกลงแตกระหว่างทาง ห้ามหยิบด้วยมือเปล่า ต้องใช้คีมคีบหรือหยิบด้วยถุงมือยางหนา หากเป็นของเหลวให้ซับด้วยกระดาษแล้วเก็บมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้นในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่ แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่บริเวณพื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ (๔) ผู้ขับขี่ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อและผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องระมัดระวังมิให้มูลฝอยติดเชื้อและภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นในระหว่างการขน ห้ามนำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น และให้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เว้นแต่กรณีภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกหรือมีการรั่วไหลต้องทำความสะอาดในโอกาสแรกที่สามารถจะทำได้ ข้อ ๒๕ ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องมีลักษณะและเงื่อนไขดังนี้ (๑) ตัวถังปิดทึบ ผนังด้านในต้องบุด้วยวัสดุที่ทนทาน ทำความสะอาดได้ง่ายไม่รั่วซึม (๒) ในกรณีที่เป็นยานพาหนะสำหรับใช้ขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่เก็บกักภาชนะมูลฝอยติดเชื้อไว้เกิน ๗ วัน ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อดังกล่าวต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ ๑๐ องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้น ภายในตัวถังของยานพาหนะนั้นต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ ๑๐ องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่านั้นได้ และจะต้องติดเครื่องเทอร์โมมิเตอร์ที่สามารถอ่านค่าอุณหภูมิภายในตัวถังไว้ด้วย (๓) ข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนปิดไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านว่า “ใช้เฉพาะขนมูลฝอยติดเชื้อ” (๔) กรณีราชการส่วนท้องถิ่นทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นแสดงชื่อของราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ กรณีบุคคลซึ่งได้รับมอบจากราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ ให้บุคคลนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ พร้อมกับแสดงแผ่นป้ายขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนระบุวิธีการที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลนั้นดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อและชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้นไว้ในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นให้อย่างชัดเจนด้วย กรณีบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากราชการส่วนท้องถิ่น ให้เป็นผู้ดำเนินการรับทำการขนมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ ให้บุคคลนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนพร้อมกับแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ระบุรหัสหรือหมายเลขใบอนุญาต ชื่อ สถานที่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้นไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ (๕) ต้องมีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ อุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการตกหล่นหรือการรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อ อุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย และอุปกรณ์หรือเครื่องมือสื่อสารสำหรับใช้ติดต่อแจ้งเหตุอยู่ในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อตลอดเวลาที่ทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใช้รถเข็น สำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัดยังสถานที่กำจัด ที่อยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายในบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายแทนยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยต้องมีลักษณะดังนี้ (๑) ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย ไม่มีแง่มุมอันจะเป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรค และสามารถทำความสะอาดด้วยน้ำได้ (๒) มีพื้นและผนังทึบ เมื่อจัดวางภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้วต้องปิดฝาให้แน่นเพื่อป้องกันสัตว์และแมลงเข้าไป (๓) มีข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นชัดเจนอย่างน้อยสองด้านว่า “รถเข็นมูลฝอยติดเชื้อห้ามนำไปใช้ในกิจการอื่น” (๔) ต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้เก็บมูลฝอยติดเชื้อที่ตกหล่นระหว่างการเคลื่อนย้าย และอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้ทำความสะอาด ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัดยังสถานที่กำจัด ที่อยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายในบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายแทนยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการให้มีลักษณะดังนี้ (๑) ต้องมีผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ โดยบุคคลดังกล่าวต้องผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้ออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (๒) ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ ถุงมืออย่างหนา ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปาก ปิดจมูกและรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้งตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน และถ้าในการปฏิบัติงานร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความสะอาดร่างกายหรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อโดยทันที (๓) ต้องกระทำทุกวันตามตารางเวลาที่กำหนด เว้นแต่มีเหตุจำเป็น (๔) ต้องเคลื่อนย้ายโดยใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ ๒๑ เว้นแต่มูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นมีปริมาณน้อยไม่จำเป็นต้องใช้รถเข็น จะเคลื่อนย้ายโดยผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๑) ก็ได้ (๕) ต้องมีเส้นทางเคลื่อนย้ายที่แน่นอน และในระหว่างการเคลื่อนย้ายไปที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อห้ามแวะหรือหยุดพัก ณ ที่ใด (๖) ต้องกระทำโดยระมัดระวัง ห้ามโยน หรือลากภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ (๗) กรณีที่มีมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นหรือภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกระหว่างทาง ห้ามหยิบด้วยมือเปล่า ต้องใช้คีมคีบหรือหยิบด้วยถุงมืออย่างหนา หากเป็นของเหลวให้ซับด้วยกระดาษแล้วเก็บมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้นในภาชนะบรรจุสำหรับมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่ แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่บริเวณพื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ (๘) ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรถเข็นและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างน้อยวันละครั้งและห้ามนำรถเข็นมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น ข้อ ๒๘ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยวิธีใดวิธีหนึ่งตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ (๒) ต้องกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามระยะเวลาที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดแต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ขนจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุขหรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย (๓) ในระหว่างรอกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ในที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะเช่นเดียวกับที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามข้อบัญญัตินี้โดยมีขนาดกว้างขวางเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ได้จนกว่าจะทำการกำจัด รวมทั้งจัดให้มีข้อความเป็นคำเตือนว่า “ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ” ด้วยสีแดงและมีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนแสดงไว้ด้วย (๔) จัดให้มีผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อโดยผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (๕) จัดให้มีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการตกหล่นหรือการรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อและอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอัคคีภัยไว้ประจำบริเวณที่ตั้งระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ (๖) กรณีที่สถานบริการการสาธารณสุข ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตใช้วิธีกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการอื่นที่มิใช่วิธีเผาในเตาเผา ให้สถานบริการการสาธารณสุข ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตนั้นตรวจวิเคราะห์ เพื่อตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อเป็นประจำทุกเดือน และให้รายงานผลการตรวจวิเคราะห์นั้นให้ราชการส่วนท้องถิ่นทราบเป็นประจำภายในวันที่ห้าของทุกเดือน ข้อ ๒๙ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ มีวิธีการดังนี้ (๑) เผาในเตาเผา (๒) ทำลายเชื้อด้วยไอน้ำ (๓) ทำลายเชื้อด้วยความร้อน (๔) วิธีอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ข้อ ๓๐ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยการเผาในเตาเผา ให้ใช้เตาเผาที่มีห้องเผามูลฝอยติดเชื้อและห้องเผาควัน การเผามูลฝอยติดเชื้อให้เผาที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๗๖๐ องศาเซลเซียส และในการเผาควันให้เผาด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ องศาเซลเซียส ทั้งนี้ ตามแบบเตาเผาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดหรือเห็นชอบ และในการเผาต้องมีการควบคุมมาตรฐานอากาศเสียที่ปล่อยออกจากเตาเผาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ข้อ ๓๑ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการทำลายเชื้อด้วยไอนํ้าหรือวิธีทำลายเชื้อด้วยความร้อนหรือวิธีอื่นจะต้องดำเนินการให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพ โดยมีประสิทธิภาพที่สามารถทำลายเชื้อบัคเตรี เชื้อรา ไวรัส และปาราสิต ในมูลฝอยติดเชื้อได้หมด ภายหลังการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีดังกล่าวตามวรรคหนึ่งแล้วต้องมีการตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพโดยวิธีการตรวจวิเคราะห์เชื้อบะซิลลัสสะเทียโรเธอร์โมฟิลลัสหรือบะซิลลัสซับทิลิส แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ข้อ ๓๒ เศษของมูลฝอยติดเชื้อที่เหลือหลังจากการเผาในเตาเผา หรือที่ผ่านการกำจัดเชื้อแล้วให้ดำเนินการกำจัดตามวิธีกำจัดมูลฝอยทั่วไป เว้นแต่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นอย่างอื่น ข้อ ๓๓ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๓๔ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/อื่น ๆ ระบุ) (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๓๕ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที กรณีไม่ถูกต้องครบถ้วนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานอื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง ข้อ ๓๖ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว ข้อ ๓๗ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๓๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๓๙ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น ข้อ ๔๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๔๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๔๒ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๔๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๔๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๔๕ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๖ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๔๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่น ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๔๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ บันจง โฮมไซส์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งมูลฝอยติดเชื้อ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๖๑/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,282
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวและนายอำเภอลาดยาว จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว ตั้งแต่วันที่ได้ติดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว (๑) กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๑.๑) การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลง (๑.๒) การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอาน้ำนม (๑.๓) การประกอบกิจการการเลี้ยงสัตว์ รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ จะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการฆ่าบริโภคในครัวเรือน (๒.๒) การฟอกหนังสัตว์ ขนสัตว์ การสะสมหนังสัตว์ขนสัตว์ที่ยังมิได้ฟอก (๒.๓) การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์ (๒.๕) การต้ม การตาก การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย และการขายในตลาด (๒.๖) การประดิษฐ์เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ หนังสัตว์ ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ (๒.๗) การผลิต การโม่ การป่น การลด การผสม การบรรจุ การสะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์ (๒.๘) การสะสมหรือล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม (๓.๑) การผลิตเนย เนยเทียม (๓.๒) การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว หอยดอง หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๓) การผลิต การหมัก การสะสมปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๔) การตากเนื้อสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์เค็ม การเคี่ยวมันกุ้ง ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๕) การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์ พืช ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๖) การเคี่ยวน้ำมันหมู การผลิตกุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก หมูตั้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๗) การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ (๓.๘) การผลิตแบะแซ (๓.๙) การผลิตอาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๐) การประกอบกิจการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ (๓.๑๑) การแกะ การล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑๒) การผลิตน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำถั่วเหลือง เครื่องดื่มชนิดต่างๆ บรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑๓) การผลิต การแบ่งบรรจุน้ำตาล (๓.๑๔) การผลิตผลิตภัณฑ์จากนมวัว (๓.๑๕) การผลิต การแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ น้ำส้มสายชู (๓.๑๖) การคั่วกาแฟ (๓.๑๗) การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร (๓.๑๘) การผลิตผงชูรส (๓.๑๙) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค (๓.๒๐) การตาก การหมัก การดองผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๒๑) การผลิต การบรรจุใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๓.๒๒) การผลิตไอศกรีม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๒๓) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๒๔) การประกอบกิจการห้องเย็น แช่แข็งอาหาร (๓.๒๕) การผลิตน้ำแข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหารและเพื่อการบริโภคในครัวเรือน (๓.๒๖) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง (๔.๑) การผลิต การโม่ การบด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร (๔.๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น เครื่องสำอางต่าง ๆ (๔.๓) การผลิตสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การอัด การสกัดเอาน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิตแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๕.๔) การสีข้าวด้วยเครื่องจักร (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด การกะเทาะ การลดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร (๕.๗) การผลิต การสะสมปุ๋ย (๕.๘) การผลิตใยมะพร้าวหรือวัตถุคล้ายคลึงด้วยเครื่องจักร (๕.๙) การตาก การสะสม หรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตโลหะเป็นภาชนะ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ (๖.๒) การหลอม การหล่อ การถลุงแร่ หรือโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด การอัดโลหะ ด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซหรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการใน ๖.๑ (๖.๔) การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิลหรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๕) การขัดการล้างโลหะด้วยเครื่องจักรสารเคมีหรือวิธีอื่นใดยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือก การล้างแร่ (๗) กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารสนิมยานยนต์ (๗.๒) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่ง ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๓) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๗.๔) การล้าง การอัดฉีด ยานยนต์ (๗.๕) การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่ (๗.๖) การปะ การเชื่อมยาง (๗.๗) การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การประดิษฐ์ไม้ หวาย เป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่น ทาสารเคลือบเงาสี หรือการแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิตธูปด้วยเครื่องจักร (๘.๖) การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียนด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) กิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด ยกเว้นกิจการใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๓) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร ยกเว้นกิจการใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการโรงแรมหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๕) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า ห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๗) การจัดให้มีการแสดงดนตรีเต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน และการให้เช่า ขายวัสดุโทรทัศน์ แผ่นเสียง แผ่นซีดี (๙.๘) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๙) การจัดให้มีการเล่นสเกต โดยมีแสงหรือเสียงประกอบหรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๑๐) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๑) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก โดยวิธีการควบคุมทางโภชนาการให้อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ บริหารร่างกาย หรือโดยวิธีอื่นใด ยกเว้นกิจการใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๑๒) การประกอบกิจการสวนสนุก ตู้เกม (๙.๑๓) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๔) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม (สถานรักษาพยาบาล สถานทันตกรรม สถานที่เอ็กซ์เรย์ ฯลฯ) (๙.๑๕) การสักผิวหนัง การเจาะหูหรือเจาะอวัยวะอื่น (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย การกรอด้าย การทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือการทอผ้าด้วยกี่กระตุก ตั้งแต่ ๕ กี่ ขึ้นไป (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย หรือนุ่น (๑๐.๓) การปั่นฝ้าย หรือนุ่น ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า หรือการพิมพ์บนสิ่งทอต่าง ๆ (๑๐.๗) การซัก การอบ การรีด การอัดกลีบผ้า ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม การกัดสีผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผา หรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตเครื่องใช้ด้วยซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน ทราย หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หินกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาวดินสอพอง หรือการเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ หรือส่วนผสม เช่น ผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้า เพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น (๑๑.๙) การผลิตกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี (๑๒.๑) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต การกลั่น การสะสม การขนส่งน้ำมันปิโตรเลียม หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ (๑๒.๔) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการใน ๗.๑ (๑๒.๖) การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ การบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสี หรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่าย หรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ การชุบ วัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมี อันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืช หรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน เทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบพิมพ์เขียว หรือการถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้ว หรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว (๑๓.๘) การพิมพ์สีลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การก่อสร้าง (๑๓.๑๐) กิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องตั้งให้ห่างไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายควบคุมอาคารกำหนด ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญของประชาชน ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตราย หรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บรวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเอง ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงาน ต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตราย ต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญ หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๗ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) ทะเบียนบ้าน, ทะเบียนบ้านของสถานประกอบการ พร้อมสำเนาที่รับรองถูกต้อง (๓) สำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคารของสถานที่ขออนุญาตประกอบกิจการการค้า (กรณีที่ก่อสร้างหลังพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ใช้บังคับ) (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล) (๕) หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้รับรอง (๖) เอกสารหรือหลักฐานอื่น ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวประกาศกำหนด ข้อ ๑๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบการค้ากิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตาม ข้อ ๕ ต้องนำเอกสารตาม ข้อ ๑๘ มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมคำขอรับใบอนุญาตอย่างละ ๑ ชุด ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่ต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสามสิบวันก่อนสิ้นอายุใบอนุญาต เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปไดจนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่อใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มาขอรับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว ข้อ ๒๕ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่ มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย การขอรับใบแทนใบอนุญาต ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิม ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับอนุญาตสำหรับกิจการใดไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้ขอรับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุขพ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือการปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๙ คำสั่งพักการใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้ทราบคำสั่งแล้ว ตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศหรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สุทิน พึ่งโพธิ์สภ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองวัว [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๑) ๓. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๖) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๒๒/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,283
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวและนายอำเภอลาดยาว จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวตั้งแต่วันที่ได้ติดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่บริเวณใด ๆ ที่มิใช่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จ และจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะ ที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำ ประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร และมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนจัดตั้ง ข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่สะสมอาหาร (๑.๑) ไม่ตั้งอยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๑.๒) พื้นที่ทำด้วยวัตถุถาวร ทำความสะอาดง่าย (๑.๓) จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอ และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑.๔) จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑.๕) จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑.๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ (๑.๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานสาธารณสุข (๒) สถานที่จำหน่ายอาหาร (๒.๑) จัดสถานที่ตามที่กำหนดไว้ตามความใน (๑.๑) – (๔.๖) (๒.๒) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรง สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ (๒.๓) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหารต้องมีพื้นที่ทำความสะอาดง่าย (๒.๔) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บ และการบริโภคอาหารไว้ให้เพียงพอ ปลอดภัย และถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานสาธารณสุข (๒.๕) จัดให้มีบริเวณและที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ เพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ (๒.๖) จัดให้มีที่สำหรับล้างมืออุปกรณ์จำนวนเพียงพอ (๒.๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๒.๘) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒.๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำ หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร และมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป (๒) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) ใบรับรองแพทย์ของผู้ประกอบการ (๕) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวกำหนด ข้อ ๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันและกำจัดสัตว์นำโรค (๒) ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์นำโรคได้ และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่กำหนดด้วยสุขลักษณะ (๓) รักษาส้วมให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะอยู่เสมอ (๔) จัดสิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๙ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่อใบอายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต พร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ ใบอนุญาตมีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุภายในสามสิบวัน เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่อใบอนุญาต การขอต่อใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่อใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๗ และข้อ ๘ ด้วย ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมและการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่อใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้น ก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตภายในระยะเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของประชาชน ข้อ ๑๗ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้ จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะขอตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตร และมิใช่เป็นการขายของในตลาด จะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป (๒) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) ใบรับรองแพทย์ของผู้ประกอบการ (๕) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้ง ให้ออกใบรับแจ้งแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการได้ชั่วคราว ในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่ที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้ง ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๒ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินการให้บุคคลอื่นให้แจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้ โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแสดงครั้งหนึ่ง ยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการจนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๔ ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มาแจ้งและภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนวันครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว ข้อ ๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สุทิน พึ่งโพธิ์สภ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ.๑) ๓. คำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ.๒) ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาต/หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ.๕) ๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๖. คำขอรับหนังสือรับรองการแจ้ง (แทน) จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๓/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,284
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางและนายอำเภอโขงเจียม จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดา ข้อบัญญัติ หรือข้อบังคับ กฎ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางที่ตราไว้แล้วขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน “อาหาร” หมายความว่า ของกิน หรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่กิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษะใด ๆ แต่ไม่รวมถึง ยา วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึง วัตถุเจือปนอาหารและเครื่องปรุงแต่ง กลิ่น รส “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “มูลฝอย” เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) แต่งกายสะอาดและสุภาพ เรียบร้อย (๒) ให้จัดวางสินค้าที่จำหน่ายบนแผงวางสินค้าหรือจัดวางในลักษณะอื่นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๓) แผงวางสินค้าทำด้วยวัตถุที่มีความแข็งแรงและมีความสูงตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๔) การจัดวางสินค้าและวัตถุใด ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ยื่นล้ำออกนอกบริเวณที่กำหนด ทั้งนี้ รวมทั้งตัวผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายด้วย (๕) ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าในระหว่างการจำหน่ายอยู่เสมอ (๖) ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น การใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องขยายเสียง หรือเปิดวิทยุเทป เป็นต้น (๗) เมื่อเสร็จสิ้นการจำหน่ายสินค้าทุกครั้งต้องเก็บสินค้าและสิ่งของใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากบริเวณที่จำหน่ายให้เรียบร้อยโดยไม่ชักช้า (๘) หยุดการจำหน่ายสินค้าเพื่อสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางประกาศกำหนด (๙) การอื่นที่จำเป็นเพื่อการรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งเป็นการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๗ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ตามข้อ ๖ (๒) สวมเสื้อที่มีแขน ใช้ผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมรองเท้าหุ้มส้น มีสิ่งปกปิดป้องกันเส้นผมมิให้ตกลงในอาหาร (๓) รักษาความสะอาดมือและเล็บ ถ้ามีบาดแผลบริเวณมือต้องทำแผลให้เรียบร้อย (๔) ไม่สูบบุหรี่ขณะทำ ประกอบ ปรุง หรือจำหน่ายอาหาร (๕) ไม่ไอหรือจามรดบนอาหาร (๖) ที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุง และวางแผงจำหน่ายอาหารต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๗) ไม่เท ทิ้ง เศษอาหาร หรือที่มีเศษอาหาร หรือไขมันลงบนพื้นหรือทางระบายสาธารณะ (๘) ใช้ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารที่สะอาด (๙) ปกปิดอาหาร เครื่องปรุงอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารเพื่อป้องกันฝุ่นละออง แมลงวัน และสัตว์พาหะนำโรคอื่น ๆ (๑๐) ใช้น้ำที่สะอาดในการทำ ประกอบ ปรุง แช่หรือล้างอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหาร (๑๑) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอ และไม่เททิ้งมูลฝอยลงในท่อหรือทางระบายน้ำสาธารณะ ข้อ ๘ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขายผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่าย ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) แต่งกายสะอาดและสุภาพ เรียบร้อย (๒) ไม่ทิ้งมูลฝอยลงในที่หรือทางสาธารณะ (๓) ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น การใช้เครื่องขยายเสียง (๔) หยุดการจำหน่ายสินค้าเพื่อสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางประกาศกำหนด (๕) การอื่นที่จำเป็นเพื่อการรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อตามที่เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ (๒) สวมเสื้อที่มีแขน ใช้ผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมรองเท้าหุ้มส้น มีสิ่งปกปิดป้องกันเส้นผมมิให้ตกลงในอาหาร (๓) รักษาความสะอาดมือและเล็บ ถ้ามีบาดแผลบริเวณมือต้องทำแผลให้เรียบร้อย (๔) ไม่สูบบุหรี่ขณะทำ ประกอบ ปรุง หรือจำหน่ายอาหาร (๕) ไม่ไอหรือจามรดบนอาหาร (๖) ที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุง และวางแผงจำหน่ายอาหารต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๗) ไม่เททิ้งเศษอาหาร หรือน้ำที่มีเศษอาหารหรือไขมันลงบนพื้นหรือทางระบายน้ำสาธารณะ (๘) ใช้ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารที่สะอาด (๙) ปกปิดอาหาร เครื่องปรุงอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารเพื่อป้องกันฝุ่นละออง แมลงวัน และสัตว์พาหะนำโรคอื่น ๆ (๑๐) ใช้น้ำที่สะอาดในการทำ ประกอบ ปรุง แช่หรือล้างอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหาร (๑๑) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและไม่เททิ้งมูลฝอยลงในท่อหรือทางระบายน้ำสาธารณะ ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยผู้จำหน่ายสินค้าประกอบกิจการเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อหรือเป็นพาหะของโรคติดต่อ ดังต่อไปนี้ (๑) วัณโรค (๒) อหิวาตกโรค (๓) ไข้รากสาดน้อย (ไทฟอยด์) (๔) โรคบิด (๕) ไข้สุกใส (๖) โรคคางทูม (๗) โรคเรื้อน (๘) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ (๙) โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส (๑๐) โรคอื่น ๆ ที่ทางราชการกำหนด ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ อันเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางประกาศและกำหนด ข้อ ๑๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุให้ผู้ขออนุญาตทราบภายใน ๓๐ วันนับแต่วันได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน ๒ ครั้ง ครั้งละไม่เกิน ๑๕ วัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ในการออกใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระบุชนิดหรือประเภทของสินค้า ลักษณะและวิธีการจำหน่ายสินค้าและสถานที่ที่จะจัดวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกรณีที่จะมีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ รวมทั้งจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควรไว้ในใบอนุญาตด้วยก็ได้ การเปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภทสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้าหรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตจะกระทำการได้ต่อเมื่อผู้รับใบอนุญาตได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้จดแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ในใบอนุญาต ข้อ ๑๔ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายใน ๑๕ วันนับแต่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๕ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุ ๑ ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่อใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแต่ละประเภทลักษณะกิจการ ข้อ ๑๖ ผู้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีเป็นการขอใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ ๒๐ ของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่า ๒ ครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีที่ใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบังคับนี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกิน ๑๕ วัน ข้อ ๒๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่ ๒ ครั้งขึ้นไป และมีเหตุที่ต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ได้ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๒ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือปิดคำสั่งไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันที่ปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๓ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๔ เมื่อผู้ได้รับอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไปให้ยื่นคำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ข้อ ๒๕ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ คำแดง เกษชาติ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ๓. คำขอต่ออายุใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ๔. ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๔๖/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,285
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางและนายอำเภอโขงเจียม จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผยที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นและหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน โรงเรือน ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรืออาจใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ ข้อ ๔ การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางแต่เพียงฝ่ายเดียว ข้อ ๕ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางอาจมอบอำนาจให้บุคคลใดดำเนินการหรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการ เก็บ ขน และหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ตามข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ข้อ ๖ ห้ามมิให้ผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูล และหรือมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ เป็นต้นว่า ถนน ตรอก ซอก ซอย แม่น้ำ คลอง คู สระน้ำ บ่อน้ำ เว้นแต่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางได้จัดไว้ให้ หรือในที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางจัดแยกประเภทไว้โดยเฉพาะ ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะอย่างพอเพียงและเหมาะสมเป็นภาชนะที่ปกปิดมิดชิดไม่รั่วซึมและไม่มีกลิ่นเหม็นออกมาภายนอกตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๘ ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอยอันอาจทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น ควัน กลิ่น หรือแก๊ส เป็นต้น เว้นแต่จะได้กระทำโดยวิธีที่ถูกสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๙ ห้ามมิให้มีการคุ้ย เขี่ย ขุด ขน มูลฝอย ในที่รองรับมูลฝอย รถ หรือเรือเก็บ ขนมูลฝอย หรือสถานที่เทมูลฝอยใด ๆ เว้นแต่เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางที่มีหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ ขนและกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยให้องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางมีอำนาจในการกำหนดเขตพื้นที่ให้บริการและระเบียบการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการตามข้อบัญญัตินี้ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางได้ ข้อ ๑๑ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือสถานที่ใด ๆ ที่อยู่นอกเขตพื้นที่การให้บริการเก็บขน และหรือกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง หรือนอกเขตพื้นที่การให้บริการของผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน และหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ต้องดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ถูกต้องตามสุขลักษณะตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๑๒ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการ เก็บ ขน แก่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางหรือผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๓ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการ เก็บ ขน และหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๔ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน และหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต พร้อมกับเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางประกาศและกำหนด ข้อ ๑๕ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๔ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ ก. ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการ รับทำการ เก็บ ขน สิ่งปฏิกูล (๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ (๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันกลิ่นและแมลงพาหะนำโรคได้มีฝาปิด - เปิดอยู่ด้านบน (๑.๓) มีปั๊มดูด สิ่งปฏิกูล (๑.๔) ท่อ หรือสายยางที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพที่ดีไม่รั่วซึม (๑.๕) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (ไลโซน ๕ เปอร์เซ็นต์) (๑.๖) ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความ ที่ตัวพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล เช่น “รถดูดสิ่งปฏิกูล” เป็นต้น และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัทเจ้าของกิจการ ด้วยตัวอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ประกาศ (๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้งสำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๓) ต้องมีหลักสุขลักษณะในการปฏิบัติงานในด้านความสะอาดเพื่อสุขภาพและอนามัย ข. ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล ต้องมีหลักเกณฑ์ในการกำจัดดังนี้ (๑) มีหลักการกำจัดที่ถูกหลักสุขาภิบาล (๒) มีเอกสารรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (๓) ไม่ก่อเหตุรำคาญให้เกิดกับประชาชนผู้อาศัยในบริเวณใกล้เคียง (๔) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลด้วยตนเองต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำสิ่งปฏิกูลไป ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด ค. ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน มูลฝอย (๑) รถเก็บขนมูลฝอยต้องออกแบบถูกต้อง ตามกฎหมายขนส่งทางบก สามารถป้องกันการปลิว ตก หล่น ของมูลฝอยและอื่น ๆ ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ (๒) ต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัทเจ้าของกิจการด้วยตัวอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจน ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางประกาศกำหนด (๓) ต้องมีหลักสุขลักษณะในการปฏิบัติงานในด้านความสะอาด เพื่อสุขภาพและอนามัย ง. ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัด มูลฝอย ต้องมีหลักเกณฑ์ในการกำจัดดังนี้ (๑) มีหลักการกำจัดที่ถูกหลักสุขาภิบาล (๒) มีเอกสารรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (๓) ไม่ก่อเหตุรำคาญให้เกิดกับประชาชนผู้อาศัยในบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๖ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๔ หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามข้อ ๒๐ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น รวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายใน ๓๐ วันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน ๒ ครั้ง ครั้งละไม่เกิน ๑๕ วัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้ง ให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายใน ๑๕ วันนับแต่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๘ การดำเนินกิจการผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ ๑๗ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามข้อ ๒๐ และข้อ ๒๑ ข้อ ๑๙ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุ ๑ ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตการขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ และข้อ ๑๗ โดยอนุโลม ข้อ ๒๐ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อ ๑๗ ต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีเป็นการขอใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ ๒๐ ของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่า ๒ ครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๑ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการตามข้อนี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๔ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒) ในกรณีที่ใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้อ ๒๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัติ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกิน ๑๕ วัน ข้อ ๒๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่ ๒ ครั้งขึ้นไป (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ได้ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๗ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือปิดคำสั่งไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันที่ปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๙ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไปให้ยื่นคำขอเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๓๐ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศหรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ คำแดง เกษชาติ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๓๘/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,286
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2558
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงและนายอำเภอโพนพิสัย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงแล้ว ๑๕ วัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากท้องถนนตลอดที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “โถส้วมแบบนั่งยอง” หมายความว่า โถส้วมที่ผู้ใช้จะต้องวางเท้าบนที่วางเท้าของโถส้วมแล้วนั่งยอง “ส้วมเคลื่อนที่” หมายความว่า ส้วมบนยานพาหนะทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และหมายความรวมถึงห้องส้วมบนแพ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทาง ซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือใช้สอยได้ ข้อ ๕ การเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงให้เป็นอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่มีเหตุอันควร องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงอาจมอบอำนาจให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนก็ได้ ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ข้อ ๖ ห้ามผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีสิ่งปฏิกูลมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ เป็นต้นว่า ถนน ตรอก ซอย แม่น้ำ คลอง คู สระน้ำ บ่อน้ำ เว้นแต่ในที่ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงจัดตั้งไว้ไห้โดยเฉพาะ ข้อ ๗ ห้ามผู้ใดนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่จะได้ใส่ภาชนะหรือที่เก็บมิดชิดไม่ให้มีสิ่งปฏิกูลหรือกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก ข้อ ๘ ห้ามผู้ใดถ่าย เท ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในที่รองรับมูลฝอย ข้อ ๙ ห้ามผู้ใด ทำการถ่ายเท ขน หรือเคลื่อนย้ายสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในถังรองรับ รถขน เรือขน สถานที่เท เก็บ หรือพักสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ข้อ ๑๐ ห้ามผู้ใดกระทำการขน ถ่ายเท คุ้ย เขี่ยหรือขุดมูลฝอยในที่รับรอง รถขน เรือขน หรือสถานที่พักมูลฝอยใด ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เว้นการกระทำของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ข้อ ๑๑ เจ้าของหรือผู้คุ้มครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่ทิ้งสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในอาคารหรือสถานที่นั้น ๆ ให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ ข้อ ๑๒ ที่รองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยต้องเป็นภาชนะที่ปิดมิดชิด ไม่รั่ว ไม่ซึม และไม่มีกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก และที่รองรับมูลฝอยต้องไม่รั่วมีฝาปิดมิดชิดกันแมลงและสัตว์ได้ตามแบบซึ่งพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบด้วย ข้อ ๑๓ เจ้าของหรือผู้ควบคุมอาคารใด ๆ ต้องรักษาบริเวณอาคารหรือสถานที่นั้นไม่ให้มีการถ่ายเทหรือทิ้งสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๑๔ ห้ามเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยอันอาจทำให้เกิดมลภาวะเป็นพิษ เช่น ควัน กลิ่น หรือแก๊ส เป็นต้น เว้นแต่จะทำการโดยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะ หรือกระทำการตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณะสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๕ ถ้าเจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นเห็นว่าอาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ทำการขนเก็บสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยไปทำการกำจัดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะยิ่งขึ้น เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นจะแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร สถานที่หรือบริเวณนั้น ๆ ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันหรือเมื่อได้ทำการปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย กำหนดบริเวณที่ต้องทำการเก็บสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยไม่น้อยกว่าสามแห่งเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันประกาศแล้ว เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของเจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น เก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจากอาคาร สถานที่ หรือบริเวณนั้น ๆ ซึ่งตนเป็นเจ้าของหรือครอบครองอยู่ โดยเสียค่าธรรมเนียมเก็บขนตามมาตราที่ได้กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ซึ่งอยู่นอกบริเวณเก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยตามข้อ ๑๕ ต้องกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยการเผา ฝัง หรือโดยวิธีอื่นใดที่ไม่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๑๗ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นจากได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ให้ยื่นคำรับขอใบอนุญาตตามแบบ สม. ๑ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงกำหนด ข้อ ๑๙ คุณสมบัติของผู้อนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ตลอดจนหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด ข้อ ๒๐ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับคำขอใบอนุญาตให้ตรวจความถูกต้องและสมบูรณ์ของคำขอ หากปรากฏว่าผู้ขออนุญาตปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้วและเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควรให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตตามแบบ สม. ๒ ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมิได้รับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๒ ในการให้บริการตามใบอนุญาตผู้รับใบอนุญาตต้องทำสัญญาเป็นหนังสือกับผู้รับบริการทุกราย โดยสัญญาดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุถึงอัตราค่าบริการ ระยะเวลาในการให้บริการและความรับผิดชอบในกรณีผิดสัญญา โดยส่งสำเนาสัญญาและใบเสร็จรับเงินให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนดสามสิบวันก่อนวันที่เริ่มให้บริการ ทั้งนี้ อัตราค่าบริการต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราค่าบริการชั้นสูงท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๓ เมื่อผู้รับใบอนุญาตเลิกกิจการให้บริการแก่ผู้รับบริการรายใดจะต้องทำเป็นหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นภายในกำหนดสามสิบวันก่อนวันที่ได้เริ่มการให้บริการตามสัญญาใหม่ ข้อ ๒๔ ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) รักษาคุณสมบัติที่บัญญัติในข้อ ๑๙ ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการตามใบอนุญาต (๒) ปฏิบัติตามรายละเอียดที่ได้ยื่นไว้ตามข้อ ๒๒ (๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความปลอดภัย และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามคำแนะนำหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบข้อบังคับและประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ข้อ ๒๕ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอรับต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สม. ๓ ก่อนใบอนุญาตหมดอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอรับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการได้จนกว่าพนักงานท้องถิ่นสั่งไม่ให้ต่ออายุใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๒๖ ใบอนุญาตมีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ข้อ ๒๗ เมื่อผู้ได้รับอนุญาตไม่ประสงค์จะให้ยื่นคำขอเลิกกิจการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สม. ๔ ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้รับใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สม. ๔ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบวันถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารแจ้งความจากสถานีตำรวจ กรณีสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๓๐ การออกใบแทนใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ สม. ๒ โดยประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มี วัน เดือนปี ที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุในอนุญาตเดิมนั้น (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วในอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลงเลขที่ เล่มที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๓๑ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๒ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริหารให้ใช้แบบ สม. ๑ (๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ สม. ๒ (๓) คำขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ สม. ๓ (๔) คำขออนุญาตการต่าง ๆ ให้ใช้แบบ สม. ๔ ข้อ ๓๓ กรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้คราวหนึ่งไม่เกินสิบห้าวัน กรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป และมีเหตุต้องถูกพักใช้ใบอนุญาตอีก เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ ข้อ ๓๔ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๗ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๕ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๒๒ ข้อ ๒๓ หรือข้อ ๒๔ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๖ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๒๙ หรือข้อ ๓๑ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๗ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อหนึ่งข้อใดต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เว้นแต่การฝ่าฝืนนั้นต้องด้วยความในข้อ ๓๔ ข้อ ๓๕ และข้อ ๓๖ ข้อ ๓๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวงเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ บันจง โฮมไซส์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๘ ๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ (แบบ สม. ๑) ๓. ใบอนุญาตใบประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม. ๒) ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตให้รับทำการ เก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย (แบบ สม. ๓) ๕. คำขออนุญาตการต่าง ๆ (แบบ สม. ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๕๕/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,287
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่าโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่าและนายอำเภอบ้านหมี่ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้ เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่าตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “การค้า” หมายความว่า การประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร การผลิต หรือให้บริการใด ๆ เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่า “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า (๑) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขายหรือขายในตลาด (๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๒.๗) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์ หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๒.๘) การผลิต แปรรูป สะสมหรือล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหารการเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้หรือพืชอย่างอื่น (๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลังกัน (๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม (๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำ ยาทำ ความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ (๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่าหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันเว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) (๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเก็ต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุขวิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม (๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยง หรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑.๒) (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๕) (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๗.๑) (๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ สะสมหรือบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนต์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหนะนำโรค (๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี หมวด ๒ สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นต้องไม่ตั้งอยู่ใกล้สถานที่ดังกล่าวข้างต้นในระยะที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนหรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อยู่อาศัยในสถานที่นั้น ๆ หรือจะต้องมีระบบป้องกันผลกระทบที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของสถานประกอบกิจการ ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉินตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภท มูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุ หรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำ หรับคนงานต้องมีการดำ เนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๗ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจของผู้ขอ (๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอ (๓) หนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล) (๔) หลักฐานที่แสดงการเป็นผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล) (๕) ใบมอบอำนาจ (ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ) (๖) สำเนาเอกสารสิทธิ์หรือสัญญาเช่าหรือสิทธิอื่นใดตามกฎหมายในการใช้ประโยชน์สถานที่ที่ใช้ประกอบกิจการในแต่ละประเภทกิจการ ในกรณีที่มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือที่ดินที่ใช้ประกอบกิจการจะต้องมีหนังสือแสดงความยินยอมของเจ้าของอาคารหรือที่ดินให้ประกอบกิจการตามที่ขอรับใบอนุญาต (๗) สำเนาหลักฐานการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่แสดงว่าอาคารดังกล่าวสามารถใช้ประกอบกิจการตามที่ขออนุญาตได้ (กรณีอยู่ในเขตควบคุมอาคาร) (๘) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเภทกิจการ (๙) สำเนาเอกสารหรือหลักฐานเฉพาะกิจการที่กฎหมายกำหนดให้มีการประเมินผลกระทบเช่น รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) รายงานการประเมินผลกระทบ ต่อสุขภาพ (HIA) (๑๐) ผลการตรวจวัดคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม (กรณีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมี) (๑๑) ใบรับรองแพทย์และหลักฐานแสดงว่าผ่านการอบรม เรื่อง สุขาภิบาลอาหาร (กรณียื่นขออนุญาตกิจการที่เกี่ยวข้องกับอาหาร) (๑๒) แผนผัง หรือแผนที่แสดงที่ตั้ง ข้อ ๑๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่ประกอบกิจการจะต้องตั้งอยู่ในทำเลที่จะทำรางระบายน้ำโสโครกไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ หรือระบบบำบัดน้ำเสียได้โดยสะดวก และการระบายน้ำโสโครกจะต้องไม่ทำให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้อาศัยบริเวณใกล้เคียง (๒) กรณีที่จำเป็นต้องมีบ่อน้ำพักน้ำโสโครกหรือบ่อดักไขมัน เครื่องป้องกันกลิ่น เสียง ความสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า ควัน เถ้า หรือสิ่งใดอันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อยู่ใกล้เคียงผู้ประกอบกิจการจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ต้องจัดให้มีที่รองรับขยะมูลฝอย และสิ่งเปรอะเปื้อนที่ถูกสุขลักษณะให้เพียงพอ (๔) ต้องจัดให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอและต้องจัดสถานที่ให้สะอาดมิให้สกปรกรกรุงรัง อันอาจจะเป็นที่อาศัยของสัตว์นำโรค (๕) จะต้องประกอบกิจการภายในเขตสถานที่ตามที่ขออนุญาตและตามกำหนดวันและเวลาที่ขออนุญาต (๖) ถ้ามีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมสถานที่ประกอบกิจการจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน (๗) จะต้องปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อให้ถูกต้องตามสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาต คำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลากำหนด โดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย หากผู้ขอใบอนุญาตไม่แก้ไขคำขอหรือไม่ส่งเอกสารเพิ่มเติมให้ครบถ้วนตามที่กำหนดใบแบบบันทึกความบกพร่องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นส่งคืนคำขอและเอกสาร พร้อมแจ้งเป็นหนังสือถึงเหตุแห่งการคืนด้วย และแจ้งสิทธิในการอุทธรณ์ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ตามกำหนดเวลาตามวรรคสองนับแต่วันที่เอกสารถูกต้องและครบถ้วน ให้ขยายเวลาออกไปอีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้นและแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ พร้อมสำเนาแจ้งคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง ข้อ ๒๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่าเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำ หรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๓ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๕ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ พร้อมเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจของผู้ขอ (๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอ (๓) สำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (กรณีสูญหาย/ถูกทำลายทั้งฉบับ) (๔) ใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่ (กรณีถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญ) (๕) เอกสารและหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ใบแทนใบอนุญาตมีอายุเท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่ของอายุใบอนุญาตเดิม ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๗ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๘ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำ สั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๙ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่าเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สังเวียน ลักษณะพล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียม ท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๗๒/๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,288
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกอบกับมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเกษมโดยได้รับความเห็นชอบจากองค์การบริหารส่วนตำบลเกษมและนายอำเภอตระการพืชผล จึงตราออกข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในองค์การบริหารส่วนตำบลเกษมตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือ ในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยาวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสดประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตามและหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่าเจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงาน ส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเกษม “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นและหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ ข้อ ๔ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งตามมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๕ ความในข้อ ๔ ไม่ใช้บังคับแก่การประกอบกิจการดังนี้ (๑) การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) การขายของในตลาด (๓) การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่จำหน่ายอาหาร ก. ไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือที่อื่นใด ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ข. พื้นทำด้วยวัสดุถาวรทำความสะอาดง่าย ค. จัดให้มีน้ำใช้อย่างพอเพียงโดยมีคุณภาพน้ำเทียบเท่าน้ำประปา ง. ต้องมีอ่างล้างมือใช้การได้ดีเพียงพอตามจำนวนเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๔ จ. ต้องมีรางระบายน้ำเสียที่ถูกหลักสุขาภิบาล ผ่านบ่อดักเศษมูลฝอย บ่อดักไขมัน ก่อนระบายลงสู่ท่อสาธารณะ ฉ. จัดให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำ ช. จัดให้มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะและจำนวนเพียงพอ ซ. จัดให้มีอุปกรณ์ดับเพลิง ติดตั้งในที่ที่สามารถหยิบใช้ได้ง่าย และต้องมีการตรวจสอบทุกปี ฌ. สถานที่รับประทานอาหาร/ที่ปรุงอาหารสะอาดเป็นระเบียบอยู่เสมอ ญ. จัดให้มีภาชนะอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ถูกสุขลักษณะและเพียงพอตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ฎ. จัดให้มีที่สำหรับทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ถูกสุขลักษณะ และเพียงพอตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ฏ. ปฏิบัติการอื่น ๆ ให้ถูกต้องตามสุขลักษณะที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำหรือตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒) สถานที่สะสมอาหาร ก. ไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือที่อื่นใด ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเป็นอันตรายแก่สุขภาพ ข. พื้นทำด้วยวัสดุถาวร ทำความสะอาดง่าย ค. จัดให้มีแสงสว่าง และการระบายอากาศเพียงพอ ง. ต้องมีรางระบายน้ำถูกสุขลักษณะมีความลาดเอียงน้ำไหลสู่ท่อสาธารณะได้สะดวก จ. สถานที่สะสมอาหารสะอาดมีความเป็นระเบียบอยู่เสมอ ฉ. ปฏิบัติการอื่น ๆ ให้ถูกต้องตามสุขลักษณะที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำหรือตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๓) สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้จำหน่ายอาหารหรือผู้ช่วย ก. ต้องไม่ป่วยเป็นโรคติดต่อหรือเป็นพาหะนำโรคติดต่อที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ รวมถึงโรคพยาธิ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ข. ต้องแต่งกายให้สะอาดถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร และมีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดีในขณะสัมผัสอาหาร ค. ผู้ประกอบการค้าอาหารทุกคนมีใบรับรองแพทย์ตามหลักเกณฑ์การตรวจสุขภาพประจำปี และผ่านการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารที่เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัด ง. ปฏิบัติการอื่น ๆ ให้ถูกต้องตามสุขลักษณะที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำหรือตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกษมประกาศกำหนด ข้อ ๘ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๙ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๐ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเกษมเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๘ และข้อ ๙ โดยอนุโลม ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระเว้นแต่ ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๒ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกษม ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึก การแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๗ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุขพ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๑๘ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๙ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๐ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกษมประกาศกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผย และเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๒ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหายให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรอง การแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๓ เมื่อผู้แจ้งตามมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๔ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่งยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น มีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๕ การแจ้งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้แจ้งหรือผู้ดำเนินการทราบในกรณีที่ไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับหนังสือให้ส่งหนังสือการแจ้งหรือคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้ที่ต้องรับหนังสือและให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบหนังสือดังกล่าวและตั้งเวลาที่หนังสือไปถึงหรือวันปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๘ ให้นายกองค์การบริหารงานส่วนตำบลเกษมเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ วิกาล หนองแคน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต ๓. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต ๔. แบบคำขอหนังสือรับรองการแจ้ง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑๓๙/๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,289
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรและนายอำเภอประทาย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๕ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร (๑) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดู หรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหารสถานที่สะสมอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุอาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๓) การผลิตสะสม หรือแบ่งบรรจุอาหารหมักดอง แช่อิ่มจากผัก ผลไม้หรือพืชอย่างอื่น (๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุอาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๗) การผลิตบะหมี่มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม (๓.๑๒) การค่วั สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุอาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาด (๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพูผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอางรวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๔.๓) การผลิต บรรจุสำลีผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคูแป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมืออุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๖.๒) การถลุงแร่การหลอมหรือหล่อโลหะทุกชนิดยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตีตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักรหรือสารเคมียกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่สะสม แยก คัดเลือกหรือล้างแร่ (๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุพ่นสีหรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การผลิตยานยนต์เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์เครื่องจักรหรือเครื่องกล ดังกล่าวด้วย (๗.๕) การล้าง ขัดสีเคลือบสีหรืออัดฉีดยานยนต์ (๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสีแต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้หวาย ชานอ้อย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราว สำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรีเต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) (๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์การสาธารณสุขวิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑.๒) (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๕) (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๗.๑) (๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่สะสม หรือบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์เบเกอร์ไลท์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๑๓.๘) การพิมพ์เขียน พ่นสีหรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลาหรือแพปลา (๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องตั้งอยู่ห่างจาก ชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ไม่น้อยกว่า ๕๐๐ เมตร ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญของประชาชน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ หมวด ๒ การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หมวด ๓ การควบคุมของเสีย มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หมวด ๔ ใบอนุญาต ข้อ ๑๘ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรประกาศกำหนด ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๙ ด้วย ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สุวิชญ์ ห้อยไธสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต ๓. แบบคำขอรับใบแทนใบอนุญาตกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑๐๐/๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,290
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม ว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเกษมโดยได้รับความเห็นชอบจากองค์การบริหารส่วนตำบลเกษมและนายอำเภอตระการพืชผล จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกษมตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติประกาศ ระเบียบ คำสั่งอื่น ๆ ในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วหรือซึ่งขัดแย้ง หรือขัดแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ตรวจดูแลและรับผิดชอบในการดำเนินงานการสาธารณสุขในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกษมตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พุทธศักราช ๒๕๓๕ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติกภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น ข้อ ๕ ผู้ครอบครองสถานที่ อาคาร หรือเคหสถาน ต้องจัดให้มีที่รองรับมูลฝอยในสถานที่ อาคาร หรือเคหสถานในครอบครองของตน ข้อ ๖ ที่รองรับมูลฝอยต้องไม่รั่วมีฝาปิดมิดชิดกันแมลงวันและสัตว์ได้ตามแบบ ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบ ข้อ ๗ ผู้ครอบครองสถานที่ อาคารหรือเคหสถานต้องรักษาบริเวณสถานที่ อาคาร หรือเคหสถานที่ครอบครองของตนไม่ให้มีขยะมูลฝอย หรือสิ่งเปรอะเปื้อนในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๘ ห้ามผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มูลฝอย สิ่งปฏิกูล หรือสิ่งเปรอะเปื้อนในทางสาธารณะ หรือสาธารณะอื่นใด เป็นต้นว่า ถนน ซอย ตรอก แม่น้ำ คลอง คู สระว่ายน้ำ บ่อน้ำ เว้นแต่ในที่ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นอนุญาตให้จัดตั้งให้ไว้โดยเฉพาะ ข้อ ๙ ห้ามผู้ใดนำสิ่งปฏิกูลไปในทางสาธารณะหรือสถานที่อื่นใด เว้นแต่จะได้ใส่ภาชนะ หรือที่เก็บมิดชิดไม่ให้สิ่งปฏิกูลหรือกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก ข้อ ๑๐ ห้ามผู้ใด ถ่าย เท ทิ้ง สิ่งปฏิกูลลงในที่รองรับขยะมูลฝอย ข้อ ๑๑ ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าสถานที่ หรือบริเวณใดควรทำการเก็บขนมูลฝอย หรือสิ่งปฏิกูลไปทำการกำจัดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะยิ่งขึ้นโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเก็บขนเมื่อได้มีหนังสือแจ้งแก่ผู้ครอบครองสถานที่ อาคาร หรือเคหสถานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน หรือเมื่อได้ปิดประกาศกำหนดบริเวณเก็บขนมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล ณ ที่เปิดเผยในบริเวณที่กำหนด ไม่น้อยกว่า ๓ แห่ง เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ วันนับแต่วันประกาศแล้ว ผู้ครอบครองสถานที่ อาคาร หรือเคหสถานจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือบุคคลผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้นเก็บขนมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลจากสถานที่ อาคาร หรือเคหสถานซึ่งตนครอบครอง โดยเสียค่าธรรมเนียม เก็บขนตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๒ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับจ้างเก็บขนมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลจากสถานที่อาคาร หรือเคหสถานซึ่งอยู่ในเขตเก็บขยะมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ประกาศแล้วตามข้อ ๑๑ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามเงื่อนไขและวิธีการที่กำหนดไว้ในสัญญา ข้อ ๑๓ ผู้ครอบครองสถานที่ อาคาร หรือเคหสถานซึ่งอยู่นอกบริเวณที่เก็บขนมูลฝอย หรือสิ่งปฏิกูลตามข้อ ๑๑ ผู้ครอบครองสถานที่ อาคาร หรือเคหสถานซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น มิได้กำหนดให้กำจัดมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลตามข้อ ๑๑ ต้องกำจัดมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลตามคำแนะนำ ของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยการเผาหรือการฝังหรือโดยวิธีอื่นที่ไม่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๑๔ ห้ามผู้ซึ่งมิได้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกษม ทำการขน คุ้ย เขี่ย หรือมูลฝอยในที่รองรับรถขน เรือขน หรือสถานที่เทมูลฝอยใด ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกษม เว้นแต่ได้รับอนุญาตตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๕ ห้ามผู้ซึ่งมิได้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกษม ทำการขน คุ้ย เขี่ย หรือเคลื่อนที่สิ่งปฏิกูลในที่ถังรับเรือขน สถานที่เท เก็บ หรือสถานที่เทมูลฝอยใด ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกษม เว้นแต่ได้รับอนุญาตตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๖ ผู้ใดจะประสงค์ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกษมให้ยื่นคำขอตามแบบเงื่อนไขพร้อมด้วยหลักฐาน ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกษมกำหนดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๗ ใบอนุญาตที่ออกตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเกษมที่เป็นผู้ออกใบอนุญาตนั้น การต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปจนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๑๘ เมื่อได้รับคำขอต่อใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของคำขอถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดตามวรรคสองให้ขยายเวลาไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต ผู้แทนหรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้ได้รับใบอนุญาต ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิก การดำเนินกิจการนั้น ก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไปตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ค้างชำระธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๐ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๑ ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้รับใบอนุญาต ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณีพร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ การขอรับใบแทนใบอนุญาตให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ ๑๖ โดยอนุโลมและให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้นโดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการดังนี้ (๒.๑) ใบแทนใบอนุญาตให้ประทับตราสีแดง คำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ และให้มีวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒.๒) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และเล่มที่ เลขที่ ปี พ.ศ. ของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับอนุญาตนั้นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๓ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุจะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาตและการไม่ปฏิบัติ หรือการปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้น ก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๔ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผย เห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้ทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๕ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๖ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไปให้ยื่นคำขอบอกเลิกดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนเลิกดำเนินกิจการ ข้อ ๒๗ เมื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุขและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังนี้ (๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือแจ้งข้อเท็จจริงหรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือหรือให้ส่งเอกสารหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อประกอบพิจารณา (๒) เข้าไปในอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้หรือตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในการนี้ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือหลักฐานเกี่ยวข้องจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่นั้น (๓) แนะนำให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ หรือตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๔) ยึดหรืออายัดสิ่งของใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดี หรือเพื่อนำไปทำลายในกรณีจำเป็น (๕) เก็บหรือนำสินค้าหรือสิ่งของใด ๆ ที่สงสัยว่าจะไม่ถูกสุขลักษณะหรือจะก่อให้เกิดเหตุรำคาญจากอาคารหรือสถานที่ใด ๆ เป็นปริมาณตามสมควรเพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบตามความจำเป็นได้โดยไม่ต้องใช้ราคา ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการดำเนินกิจการนั้น ให้เจ้าพนักงานมีท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการนั้นแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องได้และถ้าผู้ดำเนินกิจการไม่แก้ไข หรือถ้าการดำเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิดหรือมีเหตุอันสมควรสงสัยว่าจะเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้ทันทีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งให้กำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งไว้ตามสมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่กรณีที่มีคำสั่งให้หยุดดำเนินกิจการทันทีและต้องทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ดำเนินกิจการซึ่งจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้ดำเนินการทราบหรือผู้ดำเนินการไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือปิดคำสั่งนั้นไว้ที่เปิดเผย เห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าได้ทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๙ ในกรณีที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขตรวจพบเหตุที่ไม่ถูกต้องหรือมีการกระทำใด ๆ ที่ฝ่าฝืนต่อบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไปโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเหตุตามวรรคหนึ่งจะมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนหรือจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน เป็นส่วนรวมซึ่งสมควรจะดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจออกคำสั่ง ให้ผู้ถูกกระทำการไม่ถูกต้องหรือฝ่าฝืนดังกล่าว แก้ไขหรือระงับเหตุนั้น หรือดำเนินการใด ๆ เพื่อแก้ไขหรือระงับเหตุนั้นได้ตามสมควรแล้วให้แจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ ข้อ ๓๐ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งในเรื่องการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ หรือกรณีที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีคำสั่งตามข้อ ๒๙ วรรคสอง ผู้ที่ได้รับคำสั่งไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นเหตุทุเลาการบังคับตามคำสั่ง เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจะเห็นสมควรให้มีการทุเลาการบังคับตามคำสั่งนั้นไว้ชั่วคราว คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นที่สุด ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๑๒ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๑ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เว้นแต่การฝ่าฝืนนั้นต้องด้วยความในข้อ ๑๖ แห่งข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกษมเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ วิกาล หนองแคน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑๒๙/๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,291
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง ว่าด้วยตลาดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วงและนายอำเภอเดชอุดม จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วงตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบ หรือปรุงแล้วหรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดตั้งไว้สำ หรับผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุม เพื่อจำ หน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึง วัตถุเจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “อาหารสด” หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด “อาหารสัตว์ชำแหละ” หมายความว่า อาหารสดประเภทเนื้อสัตว์หรือเนื้อสัตว์ที่มี การชำแหละ ณ แผงจำหน่ายสินค้า “อาหารแปรรูป” หมายความว่า อาหารสดที่แปรรูป ทำให้แห้งหรือหมัก ดอง หรือในรูปอื่น ๆ รวมทั้งสารปรุงแต่งอาหาร เช่น พริกแห้ง กุ้งแห้ง กะปิ น้ำปลา ซอส เป็นต้น “อาหารประเภทปรุงสำเร็จ” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบ หรือปรุงสำเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ที่มิได้บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท “แผงจำหน่ายอาหาร” หมายความว่า แผงหรือสถานที่ที่มีการปรุง ประกอบ อาหารจนสำเร็จ ที่ผู้บริโภคสามารถซื้อบริโภคได้ โดยจะมีการล้างทำความสะอาดอาหารและภาชนะอุปกรณ์ด้วย “การล้างตลาดตามหลักวิชาการสุขาภิบาล” หมายความว่า การทำความสะอาดตัวอาคาร แผงขายของตลาด พื้น ผนัง เพดาน รางระบายน้ำ ห้องน้ำ ห้องส้วมและบริเวณต่าง ๆ รอบอาคารตลาดให้สะอาดปราศจากสิ่งปฏิกูล มูลฝอย หยากไย่ ฝุ่นละออง คราบสกปรกและอื่น ๆ รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อโรค และกำจัดสัตว์พาหนะนำโรค ทั้งนี้ สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งตลาด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลง ขยายและลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาด ภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดตามวรรคหนึ่ง แล้วจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตเป็นหนังสือจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่น ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์การรัฐที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่ แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามความในข้ออื่นแห่งข้อบัญญัตินี้ และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามวรรคนี้ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ข้อ ๖ ตลาดแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทดังนี้ (๑) ตลาดประเภทที่ ๑ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคารและดำเนินกิจการเป็นการประจำหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๑ (๒) ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคารและดำเนินกิจการเป็นการประจำหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๒ (๓) ตลาดประเภทที่ ๓ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคารและดำเนินกิจการชั่วคราว หรือครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๓ ข้อ ๗ ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่าร้อยเมตรจากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ ของเสีย โรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก ที่กำจัดมูลฝอย อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เว้นแต่จะมีวิธีการป้องกัน ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ส่วนที่ ๑ ตลาดประเภทที่ ๑ ข้อ ๘ ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องมีเนื้อที่ตามความเหมาะสม โดยมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้างคืออาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ส้วม และที่ถ่ายปัสสาวะ ที่รวบรวมมูลฝอยและที่จอดรถตามที่กำหนดในส่วนนี้ ข้อ ๙ ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องจัดให้มีอาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ตัวอาคาร ต้องทำด้วยวัสดุถาวร มั่นคง แข็งแรง (๒) มีถนนรอบอาคารตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตรอย่างน้อยหนึ่งทางสำหรับตลาดที่มีอยู่ก่อนที่ข้อบัญญัตินี้ มีผลให้ใช้บังคับให้ปรับปรุงตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๓) หลังคาต้องสร้างด้วยวัสดุทนไฟ และแข็งแรงทนทาน ความสูงของหลังคาต้องมีความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น ๆ (๔) พื้นต้องทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง เรียบ ทำความสะอาดง่าย และต้องไม่มีน้ำขังอยู่ได้ (๕) ทางเดินภายในอาคารสำหรับผู้ซื้อและประตูต้องกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร ผนังทำด้วยวัสดุถาวรหรือเป็นตาข่ายลวด แข็งแรง สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๑.๕๐ เมตร (๖) ต้องมีการระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอเหมาะสม (๗) ภายในอาคารตลาดต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ลักซ์ ทั้งนี้ ต้องไม่ใช้แสงหรือวัตถุอื่นที่ทำให้สีของสินค้าเปลี่ยนไปจากธรรมชาติ (๘) แผงขายสินค้าต้องทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียง ทำความสะอาดง่ายมีพื้นที่แผงไม่น้อยกว่า ๒ ตารางเมตร สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และต้องมีทางเข้าแผงของผู้ขายของกว้างไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร มีที่นั่งสำหรับผู้ขายของไว้โดยเฉพาะอย่างเหมาะสมแยกต่างหากจากแผงและสะดวกต่อการเข้าออก (๙) น้ำใช้ในตลาดต้องเป็นน้ำประปา และจัดให้เพียงพอสำหรับล้างสินค้า หรือล้างมือโดยระบบท่อ โดยต้องจัดให้มีที่ล้างสินค้าอาหารสดอย่างน้อย ๑ จุดต่อทุก ๆ ๓๐ แผง โดยเศษของ ๓๐ แผงถ้าเกิน ๑๕ แผงให้ถือเป็น ๓๐ แผง และในแต่ละจุดจะต้องมีก๊อกน้ำไม่น้อยกว่า ๓ ก๊อก และการวางท่อให้มีลักษณะปลอดภัย ไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก ไม่ติดหรือทับกับ ท่ออุจจาระ และต้องจัดให้มีที่เก็บสำรองน้ำให้มีปริมาณเพียงพอ และสะดวกต่อการใช้ (๑๐) ทางระบายน้ำต้องทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ โดยทางระบายน้ำภายในตลาดต้องเป็นทางระบายน้ำแบบเปิด ส่วนทางระบายน้ำรอบตลาดต้องเป็นแบบรูปตัวยู และมีฝาปิดที่สามารถเปิดทำความสะอาดได้ง่าย มีความลาดเอียง ระบายน้ำได้สะดวก (๑๑) ให้มีบ่อดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน และบ่อบำบัดน้ำเสีย โดยน้ำทิ้งต้องได้มาตรฐานน้ำทิ้งตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (๑๒) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์เครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารการติดตั้งไว้ในบริเวณที่มองเห็นได้ง่าย และสะดวกต่อการใช้งาน ข้อ ๑๐ ที่ขนถ่ายสินค้าต้องจัดให้มีและอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะมีพื้นที่ เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวัน และสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด ข้อ ๑๑ ส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาด หรือในกรณีที่อยู่ในอาคารต้องแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ (๒) ต้องมีระบบขับเคลื่อนอุจจาระ ปัสสาวะลงสู่ที่เก็บกัก ซึ่งจะต้องป้องกันสัตว์แมลงพาหนะนำโรคได้ และไม่ปนเปื้อนแหล่งน้ำธรรมชาติและน้ำใต้ดินทุกขั้นตอน (๓) สร้างด้วยวัสดุถาวร ทำความสะอาดง่าย ห้องส้วมมีเนื้อที่ภายในไม่น้อยกว่า ๑ ตารางเมตรต่อ ๑ ที่นั่ง และมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๑ เมตรมีประตูเปิดเข้าออกโดยสะดวก และมีผนังกั้นเพื่อมิให้ประตูเปิดสู่บริเวณจำหน่ายอาหารโดยตรง (๔) ระยะดิ่งระหว่างพื้นถึงส่วนต่ำสุดของคาน หรือเพดาน หรือสิ่งอื่นที่ติดกับคานหรือเพดานต้องไม่น้อยกว่า ๒ เมตร และต้องมีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ ของพื้นที่ห้อง หรือมีพัดลมระบายอากาศ (๕) มีแสงสว่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ลักซ์ (๖) พื้นห้องส้วมต้องเรียบ ไม่ลื่น มีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า ๑ : ๑๐๐ และมีจุดระบายน้ำทิ้งอยู่ในตำแหน่งต่ำสุดของพื้นห้อง (๗) ต้องจัดให้มีกระดาษชำระ หรือน้ำสำหรับชำระให้เพียงพอทุกห้องรวมทั้งจัดให้มีการจัดทำความสะอาดทุกวัน (๘) มีท่อระบายอุจจาระลงสู่ถังเก็บกัก ซึ่งต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตรมีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า ๑ : ๑๐ (๙) มีท่อระบายอากาศขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๒ เซนติเมตรครึ่ง สูงเหนือหลังคาส้วมหรือสูงจนกลิ่นเหม็นของก๊าซไม่รบกวนผู้อื่น (๑๐) ที่ถ่ายปัสสาวะชายต้องเป็นวัสดุเคลือบหรือโลหะไม่เป็นสนิม และมีน้ำสำหรับชำระล้างตลอดเวลาที่ใช้ ข้อ ๑๒ จำนวนส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ และอ่างล้างมือ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย การควบคุมอาคาร ข้อ ๑๓ ที่รวบรวมมูลฝอยต้องมีลักษณะเป็นสิ่งปลูกสร้างถาวร หรือเป็นที่พักมูลฝอยที่มีลักษณะเป็นภาชนะรองรับมูลฝอยเข้ามีขนาดเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวัน มีการปกปิดสามารถป้องกันสัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ยได้ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยคำแนะนำของพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น ๆ ตั้งอยู่นอกตัวอาคารตลาด และอยู่ในพื้นที่ที่รถเข้าออก ได้สะดวก ข้อ ๑๔ ที่จอดรถต้องจัดให้มีตามความเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ส่วนที่ ๒ ตลาดประเภทที่ ๒ ข้อ ๑๕ ต้องมีเนื้อที่ตามความเหมาะสม ให้มีบริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของ ส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ อ่างล้างมือ และที่รวบรวมมูลฝอยตามที่กำหนดในส่วนนี้ ข้อ ๑๖ บริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) พื้นต้องเรียบแข็งแรง ทำความสะอาดง่ายและต้องไม่มีน้ำขัง (๒) แผงขายสินค้าต้องทำด้วยวัสดุเรียบ ทำความสะอาดง่าย สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และต้องมีทางเข้าแผงสำหรับผู้ขายของไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร (๓) ทางเดินในตลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๔) จัดให้มีน้ำประปาหรือน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และจัดให้มีที่ล้างสำหรับอาหารสดอาหารสัตว์ชำแหละรวมทั้งแผงจำหน่ายอาหารด้วย (๕) ต้องมีทางระบายน้ำรอบตลาดแบบเปิด ทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียงระบายน้ำสะดวก และมีบ่อดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน ก่อนระบายน้ำออกจากตลาด ข้อ ๑๗ ส้วมที่ถ่ายปัสสาวะและอ่างล้างมือต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะตามที่กำหนดในข้อ ๑๑ (๑) - (๑๐) ข้อ ๑๒ และต้องอยู่ในที่เหมาะสมนอกบริเวณแผงขายสินค้า เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ ส้วมสาธารณะ ส้วมเอกชน หรือส้วมของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้อยู่ในบริเวณใกล้เคียงมีระยะห่างไม่เกิน ๑๐๐ เมตร ข้อ ๑๘ ที่พักรวมมูลฝอยต้องมีลักษณะที่เหมาะสมและมีขนาดเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวันตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ ส่วนที่ ๓ ตลาดประเภทที่ ๓ ข้อ ๑๙ ต้องมีเนื้อที่ตามความเหมาะสม โดยให้มีบริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของ ส้วม และที่ถ่ายปัสสาวะและที่รวบรวมมูลฝอย ข้อ ๒๐ บริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะกำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) แผงขายสินค้าสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๒) ทางเดินระหว่างแผงสำหรับผู้ซื้อต้องกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๓) น้ำใช้ในตลาดต้องเป็นน้ำประปา หรือน้ำที่สะอาดจัดให้มีปริมาณเพียงพอ (๔) จัดให้มีตะแกรงดักมูลฝอยบริเวณท่อระบายน้ำ ก่อนปล่อยน้ำทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ ข้อ ๒๑ ต้องจัดให้มีส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะเช่นเดียวกับข้อ ๑๗ เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ตามจำนวนในข้อ ๑๒ หรือส้วมสาธารณะหรือส้วมหน่วยราชการที่ได้รับใบอนุญาตให้ใช้ใกล้เคียงห่างไม่เกิน ๑๐๐ เมตร ตามจำนวนในข้อ ๑๒ ข้อ ๒๒ ที่รวบรวมมูลฝอย มีลักษณะเป็นที่พักมูลฝอยที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น ๆ มีขนาดเพียงพอที่จะรองรับมูลฝอยในแต่ละวัน มีการปกปิดสามารถป้องกันสัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ยได้ตั้งอยู่นอกบริเวณแผงขายของ และอยู่ในพื้นที่ที่รถเข้าออกได้สะดวก ข้อ ๒๓ การจัดวางสินค้าในตลาดต้องจัดวางผังการจำหน่ายให้เป็นหมวดหมู่ไม่ปะปนกัน แยกเป็นอาหารสดชนิดต่าง ๆ อาหารแปรรูป อาหารปรุงสำเร็จ และประเภทสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร เพื่อสะดวกในการดูแลความสะอาด และป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร ในกรณีที่เป็นอาหารสดซึ่งอาจมีน้ำหรือของเหลวไหลหยดเลอะเทอะจะต้องมีการกั้นไม่ให้ไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาด และจัดให้มีท่อหรือทางสำหรับการระบายของน้ำหรือของเหลวนั้นลงสู่ท่อระบายน้ำโดยไม่ให้เปื้อนพื้นตลาด ข้อ ๒๔ กำหนดเวลาการเปิดและปิดตลาดให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๒๕ ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษา ความสะอาดเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องบำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ภายในตลาด ได้แก่ ตัวอาคาร อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ท่อน้ำประปา ฯลฯ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา (๒) ต้องจัดให้มีที่รองรับมูลฝอยที่ไม่รั่วซึม และมีฝาปิดประจำทุกแผง ให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาดเป็นประจำและดูแลที่รวบรวมมูลฝอยรวมให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๓) ต้องจัดให้มีการทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน และล้างตลาด ตามหลักการสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง (๔) ต้องจัดให้มีการดูแลความสะอาดของห้องน้ำ ห้องส้วมอย่างเพียงพอ และดูแลบ่อดักมูลฝอยบ่อดักไขมัน และระบบบำบัดน้ำเสีย ให้ใช้การได้ดีตลอดเวลา ข้อ ๒๖ ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ต้องจัดให้มีการเก็บกวาดขยะมูลฝอย ดูแลความสะอาดห้องน้ำ ห้องส้วม บ่อดักมูลฝอย และบ่อดักไขมัน ให้ใช้การได้ดี ดูแลที่รวบรวมมูลฝอยได้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอและจัดให้มีการล้างตลาดด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินกิจการประจำวัน ข้อ ๒๗ ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาดประเภทที่ ๓ ต้องจัดให้มีการเก็บกวาดขยะมูลฝอยดูแลความสะอาดห้องน้ำ ห้องส้วม บ่อดักมูลฝอย ให้ใช้การได้ดี ดูแลที่รวบรวมมูลฝอย ได้ถูกสุขลักษณะ อยู่เสมอ ข้อ ๒๘ ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาดต้องไม่ทำการและดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการอันอาจจะทำให้เกิดเหตุรำคาญ หรือการระบาดโรคติดต่อ ดังต่อไปนี้ (๑) นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย (๒) สะสม หมักหมม สิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาดทำให้สถานที่สกปรกรกรุงรังเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์นำโรค (๓) ถ่ายเท ทิ้ง มูลฝอย หรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใด นอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรับรองมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล (๔) ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดสกปรกขึ้นจนเป็นสาเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตราย ต่อสุขภาพ (๕) ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งเป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้อื่น หรือน่าจะเกิดอันตราย (๖) ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัยหลับนอน (๗) การกระทำอื่นใดที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น ข้อ ๒๙ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องให้ความร่วมมือกับผู้รับใบอนุญาต จัดตั้งตลาด เจ้าพนักงานสาธารณสุข และเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับสุขลักษณะของตลาด ดังต่อไปนี้ (๑) การจัดระเบียบ กฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาด (๒) การจัดหมวดหมู่ของสินค้า (๓) การดูแลรักษาความสะอาดแผงจำหน่ายสินค้าของตน (๔) การเก็บกวาดรวบรวมมูลฝอยลงในภาชนะรองรับที่เหมาะสม (๕) การล้างตลาด (๖) การเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๓๐ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องวางสินค้าบนแผง หรือในขอบเขต ที่วางขายของที่จัดให้ไว้ ห้ามวางล้ำแผงหรือขอบเขต หรือต่อเติมแผงขายของออกมา อันจะเป็นการกีดขวางทางเดินในตลาด และห้ามวางสินค้าสูงจากพื้นตลาดเกินกว่า ๑๕๐ เซนติเมตร การวาง และเก็บสะสมสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม รวมทั้งเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับอาหารต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และห้ามวางวัตถุอันตรายปนกับสินค้าประเภทอาหาร ข้อ ๓๑ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องมีสุขลักษณะส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคติดต่อ หรือโรคที่สังคมรังเกียจหรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ อันได้แก่ วัณโรค อหิวาตกโรค ไข้ไทฟอยด์ โรคบิด ไข้สุกไส ไข้หัด โรคคางทูม โรคเรื้อน โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ และโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี (๒) อาหารสดที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดการเน่าเสียได้ง่ายต้องจัดเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๓) การจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ปกปิดอาหาร เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและรักษาอุปกรณ์ปกปิดให้สะอาดใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๔) ในกรณีที่มีการทำ ประกอบ ปรุง ต้องจัดไว้ให้เป็นสัดส่วน และต้องปฏิบัติ ให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร (๕) เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ต้องสะอาดและปลอดภัย มีการล้างและเก็บที่ถูกต้องทั้งก่อนและหลังการใช้งาน ข้อ ๓๒ ถ้าปรากฏว่าผู้ขายของหรือผู้ช่วยขายของคนใดเป็นโรคติดต่อหรือโรคที่สังคมรังเกียจ หรือเป็นพาหะนำโรคติดต่อ ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าอนุญาตให้ขายของต่อไป จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ขายของ หรือผู้ช่วยขายของผู้นั้น หยุดการปฏิบัติงานไว้ทันทีจนกว่าจะปราศจากเหตุที่เป็นอยู่นั้น ข้อ ๓๓ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดจำหน่ายสินค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน ๒ ชุด (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน ๒ ชุด (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๒ ชุด (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล) (๕) หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่เจ้าของกิจการไม่มายื่นขอรับใบอนุญาตด้วยตนเอง (๖) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วงประกาศกำหนด ข้อ ๓๔ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวม ความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้ง แจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๓๖ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วงเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับ เสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปจนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๓๒ และข้อ ๓๓ โดยอนุโลม ข้อ ๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระเว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับปรุงจนครบจำนวน ข้อ ๓๘ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง ข้อ ๓๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๔๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๔๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบังคับนี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบังคับนี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๔๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๔๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลา ที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๔ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๔๕ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน ข้อ ๔๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วงเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ อนงค์ การุณรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด (แบบ ตล. ๒) ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๓) ๕. คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑๘๐/๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,292
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเกษมโดยได้รับความเห็นชอบจากองค์การบริหารส่วนตำบลเกษมและนายอำเภอตระการพืชผล จึงตราออกข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกษมนับแต่วันถัดจากวันประกาศราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “การค้า” หมายความว่า การประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร การผลิต หรือให้บริการใด ๆ เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่า “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกษมหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกษมให้ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม (๑) กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๑.๑) การเพาะพันธ์ เลี้ยง และอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๑.๒) การประกอบกิจการการเลี้ยงสัตว์ รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่าสัตว์ หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการฆ่าบริโภคในครัวเรือน (๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หนังสัตว์ หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๒.๓) การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์ (๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์ หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑) การผลิต สะสม หรือบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้หรือพืชอย่างอื่น (๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๗) การผลิตเส้นหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุเนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม (๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่ม ชนิดผงอื่น ๆ (๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืชผัก ผลไม้เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำ ยาทำ ความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ (๗) กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสีหรืออัดฉีดยานยนต์ (๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงาหรือสีแต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) (๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝาก (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้าและสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผา หรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร การขุด การตักดินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑.๒) (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใดยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๕) (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๗.๑) (๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิตสะสมขนส่งดอกไม้เพลิงหรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ นับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการตามประเภทที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการออกใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๘ ผู้ประกอบกิจการตามประเภทที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ ทั้งที่เป็นการค้าและไม่เป็นการค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่ประกอบกิจการจะต้องตั้งอยู่ในทำเลที่จะทำรางระบายน้ำโสโครกไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ หรือระบบบำบัดน้ำเสียได้โดยสะดวก และการระบายน้ำโสโครกจะต้องไม่ทำให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้อาศัยบริเวณใกล้เคียง (๒) เมื่อเจ้าพนักงานเห็นว่าควรจะต้องมีบ่อน้ำ พักน้ำ โสโครกหรือบ่อดักไขมัน เครื่องป้องกันกลิ่น เสียง ความสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า ควัน เถ้า หรือสิ่งใดอันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อยู่ใกล้เคียงผู้ประกอบกิจการจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ (๓) ต้องจัดให้มีที่รองรับขยะมูลฝอย และสิ่งเปรอะเปื้อนที่ถูกสุขลักษณะให้เพียงพอ (๔) ต้องจัดให้มีแสงสว่าง และการระบายอากาศที่เพียงพอ และต้องจัดสถานที่ให้สะอาดมิให้สกปรกรกรุงรังอันอาจจะเป็นที่อาศัยของสัตว์นำโรค (๕) จะต้องประกอบกิจการภายในเขตสถานที่ตามที่ขออนุญาตและตามกำหนดวันและเวลาที่ขออนุญาต (๖) ถ้ามีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลง แก้ไขเพิ่มเติมสถานที่ประกอบกิจการจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน (๗) จะต้องปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อให้ถูกต้องตามสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ ๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการการค้าตามข้อ ๕ จะต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบประกาศที่กำหนด ข้อ ๑๐ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการการค้าตามข้อ ๕ จะต้องนำหลักฐาน ดังต่อไปนี้แสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๑) บัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือที่ดินที่ใช้ประกอบกิจการในกรณีที่มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือที่ดินที่ใช้ประกอบกิจการจะต้องมีหนังสือแสดงความยินยอมของเจ้าของอาคารหรือที่ดินให้ประกอบกิจการตามที่ขอรับใบอนุญาตได้ (๔) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๕) หลักฐานสำคัญอื่น ๆ ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียกให้นำมาแสดง ข้อ ๑๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะดำเนินการออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าตามข้อ ๗ ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอตามข้อ ๙ และหลักฐานตามข้อ ๑๐ ถูกต้องครบถ้วนแล้ว ในกรณีที่มีเหตุอันจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่อาจดำเนินการได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งสามารถขยายเวลาออกไปได้อีกสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันโดยจะมีหนังสือแจ้งขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้นผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเกษมเท่านั้น ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าประเภทใดที่ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการค้านั้นต่อไปจะต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามแบบที่ประกาศกำหนดภายในกำหนดสามสิบวันก่อนสิ้นอายุใบอนุญาต ข้อ ๑๔ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อ ๑๒ และผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตตามข้อ ๑๓ จะต้องชำระค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตหรือวันที่มายื่นคำขอต่อใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ผู้ประกอบกิจการค้ารายใดไม่ชำระค่าธรรมเนียมตามกำหนดเวลาในวรรคหนึ่งจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่จะได้บอกเลิกการดำเนินการก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๕ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าจะต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๖ กรณีใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด การขอรับใบแทนใบอนุญาตให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ ๙ และข้อ ๑๐ โดยอนุโลมและให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น ข้อ ๑๗ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าใดไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้หรือตามบทแห่งพระราชบัญญัติ หรือกฎกระทรวงที่ออกตามความแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้แก้ไข หรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้และถ้าผู้ได้รับคำสั่งไม่แก้ไขหรือปรับปรุงภายในเวลาที่กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้ารายใดถูกพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีกหรือต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามวรรคหนึ่งก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๘ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๙ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกษมเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ วิกาล หนองแคน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑๑๖/๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,293
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวและนายอำเภอลาดยาว จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวตั้งแต่วันที่ได้ติดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหน้าที่ควบคุมดูแลที่หรือทางสาธารณะเพื่อประโยชน์ใช้สอยของประชาชนทั่วไป ห้ามผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะ วิธีการจัดวางสินค้า ในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติหรือเร่ขาย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาตตามวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระบุชนิด หรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้า และสถานที่ที่จะจัดวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกรณีที่จะมีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ รวมทั้งจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควรไว้ในใบอนุญาตด้วยก็ได้ การเปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้าหรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้รับใบอนุญาตได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้จดแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ในใบอนุญาตแล้ว ข้อ ๖ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) แต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย (๒) ให้จัดวางสินค้าที่จำหน่ายบนแผงหรือจัดวางในลักษณะอื่นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๓) แผงวางสินค้าทำด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรงและมีความสูงตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๔) จัดวางสินค้าและสิ่งของใด ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ยื่นล้ำออกนอกบริเวณที่กำหนด ทั้งนี้ รวมทั้งตัวของผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าด้วย (๕) ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าในระหว่างการจำหน่ายอยู่เสมอ (๖) ห้ามกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น การใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทป เป็นต้น (๗) เมื่อเสร็จสิ้นการจำหน่ายทุกครั้งต้องเก็บสินค้าและสิ่งของใด ๆ ที่เกี่ยวข้องจากบริเวณที่จำหน่ายให้เรียบร้อยโดยไม่ชักช้า (๘) หยุดการจำหน่ายสินค้าเพื่อสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวประกาศกำหนด (๙) การอื่นที่จำเป็นเพื่อการรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญ และการป้องกันโรคติดต่อตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๗ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) แผงจำหน่ายอาหารทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดี เป็นระเบียบ อยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๒) อาหารปรุงสุกมีการปกปิดหรือมีการป้องกันสัตว์แมลงนำโรค (๓) สารปรุงแต่งอาหารต้องมีเลขสารบบอาหาร (อย.) (๔) น้ำดื่มต้องเป็นน้ำที่สะอาด ใส่ในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด มีก๊อก หรือทางเทรินน้ำ (๕) เครื่องดื่มต้องใส่ภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด และมีที่ตักที่มีด้ามยาวหรือมีก๊อก หรือทางเทรินน้ำ (๖) น้ำแข็งที่ใช้บริโภค (๖.๑) ต้องสะอาด (๖.๒) เก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิด อยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๖.๓) ที่ตักน้ำแข็งมีด้ามยาว (๖.๔) ต้องไม่นำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่ไว้ในน้ำแข็ง (๗) ล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างภาชนะ ล้างด้วยน้ำสะอาด ๒ ครั้ง หรือล้างด้วยน้ำไหล และอุปกรณ์การล้างต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๘) ช้อน ส้อม ตะเกียบ วางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่งสะอาดหรือวางเป็นระเบียบในภาชนะโปร่งสะอาด และมีการปกปิด เก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๙) มีการรวบรวมมูลฝอยและเศษอาหารเพื่อนำไปกำจัด (๑๐) ผู้สัมผัสอาหารแต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน ผู้ปรุงต้องผูกผ้ากันเปื้อน และสวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม (๑๑) ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว (๑๒) ผู้สัมผัสอาหารที่มีบาดแผลที่มือต้องปกปิดแผลให้มิดชิด ฯลฯ ข้อ ๘ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) แต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย (๒) ไม่ทิ้งมูลฝอยลงในที่หรือทางสาธารณะ (๓) ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น การใช้เครื่องขยายเสียง เป็นต้น (๔) หยุดการจำหน่ายสินค้าเพื่อสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวประกาศกำหนด (๕) การอื่นที่จำเป็นเพื่อการรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ (๒) สวมเสื้อมีแขน ใช้ผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมรองเท้าหุ้มส้น มีสิ่งปกปิดป้องกันเส้นผมมิให้ตกลงในอาหาร (๓) รักษาความสะอาดมือและเล็บ ถ้ามีบาดแผลบริเวณมือต้องทำแผลให้เรียบร้อย (๔) ไม่สูบบุหรี่ในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุงหรือจำหน่ายอาหาร (๕) ไม่ไอหรือจามรดบนอาหาร (๖) ที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุงและแผงวางจำหน่ายอาหาร ต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๗) ไม่เททิ้งเศษอาหาร หรือน้ำที่มีเศษอาหารหรือไขมันลงบนพื้นหรือทางระบายน้ำสาธารณะ (๘) ใช้ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารที่สะอาด (๙) ปกปิดอาหาร เครื่องปรุงอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารเพื่อป้องกันฝุ่นละออง แมลงวันและสัตว์พาหะนำโรคอื่น ๆ (๑๐) ใช้น้ำที่สะอาดในการทำ ประกอบ ปรุง แช่หรือล้างอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหาร (๑๑) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอ และไม่เททิ้งมูลฝอยลงในท่อหรือทางระบายน้ำสาธารณะ ฯลฯ ข้อ ๑๐ ห้ามผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าประกอบกิจการเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อหรือเป็นพาหะของโรคติดต่อ ดังต่อไปนี้ (๑) วัณโรค (๒) อหิวาตกโรค (๓) ไข้รากสาดน้อย (ไทฟอยด์) (๔) โรคบิด (๕) ไข้สุกใส (๖) โรคคางทูม (๗) โรคเรื้อน (๘) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ (๙) โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส (๑๐) โรคอื่น ๆ ตามที่ทางราชการกำหนด ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกันเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) บัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจพร้อมสำเนาที่รับรองถูกต้อง (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนาที่รับรองถูกต้อง (๔) เอกสารหรือหลักฐานอื่น ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวประกาศกำหนด ข้อ ๑๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องนำเอกสารตามข้อ ๑๑ มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พร้อมคำขอรับใบอนุญาตอย่างละ ๑ ชุด ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๔ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวประกาศกำหนดและจะต้องติดบัตรประจำตัวไว้ที่อกเสื้อด้านซ้ายตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๖ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒ ด้วย ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๘ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๑ ในกรณีปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดพลาดตามพระราชบัญญัติการสาธารณะสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๓ คำสั่งพักการใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้ทราบคำสั่งแล้ว ตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๕ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัวเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สุทิน พึ่งโพธิ์สภ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๑) ๓. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๔/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,294
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรและนายอำเภอประทาย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๕ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ ข้อ ๕ การเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรให้เป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้ และข้อ ๙ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนหรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร และระเบียบปฏิบัติได้ตามความจำเป็น ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้ การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ในกรณีที่ยังไม่มีกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ห้ามผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ นอกจากในที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรจัดไว้ให้ (๒) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๙ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๐ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เก่ยี วข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรประกาศกำหนด ข้อ ๑๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๙ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ (๑.๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๑.๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้ มีฝาปิด - เปิดอยู่ด้านบน (๑.๑.๓) มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลและติดตั้งมาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลด้วย (๑.๑.๔) ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่รั่วซึม (๑.๑.๕) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๑.๑.๖) ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล เช่น “รถดูดสิ่งปฏิกูล” เป็นต้น และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ ด้วยตัวอักษรไทย ซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรประกาศกำหนด (๑.๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง สำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๑.๓) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๑) ต้องมีสถานที่กำจัดสิ่งปฏิกูลที่เหมาะสม และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด (๒.๒) ต้องชี้แจงรายละเอียดและขั้นตอนในการกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ชัดเจน (๒.๓) ต้องมีระบบตรวจสอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (๒.๔) ต้องแสดงแผนผัง แบบแปลน สถานที่กำจัดสิ่งปฏิกูลให้ชัดเจน (๓) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอย (๓.๑) ต้องมีพาหนะเก็บ ขนมูลฝอย (รถเก็บ ขนขยะ) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ (๓.๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๓.๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้เก็บ ขนมูลฝอยต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันการตกหล่นของมูลฝอย และป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้ (๓.๑.๓) มีอุปกรณ์รองรับน้ำเสียที่ไหลจากขยะเปียกไม่ให้หกเรี่ยราด (๓.๑.๔) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๓.๑.๕) ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะเก็บ ขนมูลฝอยให้รู้ว่าเป็นพาหนะเก็บ ขนมูลฝอย เช่น “รถเก็บ ขนขยะ” เป็นต้น และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ ด้วยตัวอักษรไทย ซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรประกาศกำหนด (๔) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย (๔.๑) ต้องมีสถานที่กำจัดมูลฝอยที่เหมาะสม และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด (๔.๒) ต้องชี้แจงรายละเอียดและขั้นตอนในการกำจัดมูลฝอยให้ชัดเจน (๔.๓) ต้องมีระบบตรวจสอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (๔.๔) ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้มูลฝอยฟุ้งกระจาย (๔.๕) ต้องมีบ่อฝังกลบมูลฝอย หรือเตาเผาขยะที่ได้มาตรฐานที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล หรือหลักวิศวกรรมที่ดี ข้อ ๑๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๔ ในการดำเนินกิจการผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ขณะทำการดูดสิ่งปฏิกูลต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๑.๒) ทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล โดยหลังจากดูดสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้ว ให้ทำการดูดน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล และทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๑.๓) ทำความสะอาดพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัด หรือกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่สาธารณะ (๑.๔) กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราด ให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด (๑.๕) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๑) ขณะทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๒.๒) ต้องควบคุมให้มีการทำความสะอาดอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในการกำจัดสิ่งปฏิกูลหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานในวันนั้น ๆ (๒.๓) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอย (๓.๑) ขณะทำการเก็บ ขนมูลฝอยต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๓.๒) ทำความสะอาดพาหนะเก็บ ขนมูลฝอยอย่างน้อยอาทิตย์ละ ๒ ครั้ง (๓.๓) กรณีที่มีมูลฝอย หรือน้ำเสียที่เกิดจากขยะเปียกหกเรี่ยราด ให้ทำการเก็บกวาดและทำการล้างด้วยน้ำสะอาดให้เรียบร้อย (๓.๔) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๔) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย (๔.๑) ขณะทำการกำจัดมูลฝอยต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๔.๒) ต้องควบคุมให้มีการทำความสะอาดอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในการกำจัดมูลฝอย หลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานในวันนั้น ๆ (๔.๓) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ข้อ ๑๕ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระเว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๕ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ที่อยู่นอกเขตพื้นที่การให้บริการเก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร หรือเขตพื้นที่การให้บริการของผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการต้องดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๒๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแหง่ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทรเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สุวิชญ ห้อยไธสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. บัญชีอัตราค่าบริการขั้นสูงท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไทร เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ ๓. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต ๔. แบบคำขอรับใบแทนใบอนุญาตรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ๕. ใบอนุญาตรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๙๐/๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,295
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะ เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะ เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะ ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) ประกอบกับมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะและนายอำเภอไทรโยค จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะ เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะนับแต่วันที่ได้ติดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย” หมายความว่า สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะเวลาที่เกินกว่าเจ็ดวันซึ่งยุงลายสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่ในที่หรือในถังรองรับมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะจัดไว้ให้ ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในบริเวณอาคารหรือเคหสถาน รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้ โดยเก็บลงถังมูลฝอยที่มีฝาปิดหรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะให้บริการเก็บขนมูลฝอยเพื่อนำไปกำจัด เจ้าของอาคารหรือเคหสถานมีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัติว่าด้วยการจัดการมูลฝอยด้วย ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน ต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ ที่มีน้ำขังอย่างน้อยทุกเจ็ดวัน หรือใส่สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุงได้ และกรณีตุ่มน้ำต้องจัดให้มีฝาปิด ตาข่าย หรือวัสดุที่สามารถป้องกันยุงลงไปวางไข่ในตุ่มน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถานรวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะได้จัดเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงในอาคาร หรือเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่นั้น จะต้องให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกตามสมควรตามความเห็นของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ และข้อ ๖ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ มั่น จี้อุ่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะ ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,296
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกอบกับมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเกษมโดยได้รับความเห็นชอบจากองค์การบริหารส่วนตำบลเกษมและนายอำเภอตระการพืชผล จึงตราออกข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม” เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกษมตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การมีสัตว์ไว้ในครอบครองและดูแลเอาใจใส่บำรุงรักษาตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์ หรือปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม “เจ้าของสัตว์” หมายความว่า รวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเกษมเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภท วัว ควาย โดยเด็ดขาด (๑) สถานประกอบกิจการ (๒) วัด (๓) สถานที่ราชการ ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลเกษมแต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควรเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลเกษมตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเกษม ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกษมเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ วิกาล หนองแคน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกษม ปริยานุช/จัดทำ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑๓๖/๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,297
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าซางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลป่าซางและนายอำเภอดอกคำใต้ จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับได้ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลป่าซางตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ ให้ยกเลิก ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเก็บกวาดจากถนนตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะและหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกและมีกลิ่นเหม็น ข้อ ๖ การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลป่าซางเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าซางเท่านั้นจะบริการเก็บให้กับทุกครัวเรือนโดยไม่คิดค่าบริการ ข้อ ๗ ให้ตลาด – ร้านค้า หรือโรงงานที่นอกเหนือจากครัวเรือนทำการกำจัดขยะด้วยตนเองหากให้องค์การบริหารส่วนตำบลป่าซางดำเนินการจัดเก็บจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติ ข้อ ๘ ที่รองรับมูลฝอยต้องไม่รั่วและมีฝาปิดมิดชิดกันแมลงวันและสัตว์ได้ตามแบบ ซึ่งพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบ ข้อ ๙ ผู้ครอบครองสถานที่ อาคารหรือเคหสถานต้องรักษาบริเวณสถานที่อาคารหรือเคหสถานในครอบครองของตนไม่ให้มีมูลฝอย สิ่งปฏิกูลหรือสิ่งเปรอะเปื้อนหรือมีการถ่ายเทหรือทิ้งมูลฝอยสิ่งปฏิกูลหรือสิ่งเปรอะเปื้อนในประการที่ขัดต่อสุขภาพ ข้อ ๑๐ ห้ามผู้ใดถ่ายเททิ้งปล่อยหรือทำ ให้มีสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในทางสาธารณสุขหรือที่สาธารณะอื่นใด เป็นต้นว่า ถนน ซอย ตรอก แม่น้ำ คลอง คู สระน้ำ บ่อน้ำ เว้นแต่ในที่ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นอนุญาตให้จัดตั้งไว้ให้โดยเฉพาะ ข้อ ๑๑ ห้ามผู้ใดนำสิ่งปฏิกูลไปในทางสาธารณะหรือสถานที่อื่นใด เว้นแต่จะได้รับใส่ภาชนะหรือที่เก็บมิดชิดไม่ให้สิ่งปฏิกูลหรือกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก ข้อ ๑๒ ห้ามผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง สิ่งปฏิกูลลงในที่รองรับมูลฝอย ข้อ ๑๓ ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าสถานที่หรือบริเวณใดควรทำการเก็บขยะมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลไปทำการกำจัดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะยิ่งขึ้น โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเก็บขน เมื่อได้มีหนังสือแจ้งแก่ผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วันนับแต่วันประกาศแล้วผู้ครอบครองสถานที่อาคารเคหสถานจะต้องให้เจ้าหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือบุคคลผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้นเก็บขนมูลฝอย หรือสิ่งปฏิกูลจากสถานที่อาคารหรือเคหสถาน ซึ่งตนครอบครอง โดยเสียค่าธรรมเนียมเก็บขนตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๔ ห้ามผู้ใดรับจ้างเก็บขนมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลจากสถานที่ อาคารหรือเคหสถานซึ่งอยู่ในเขตเก็บขนมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ประกาศแล้วตามข้อ ๑๑ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามเงื่อนไขและวิธีการที่กำหนดไว้ในสัญญา ข้อ ๑๕ ผู้ครอบครองสถานที่ อาคารหรือเคหสถานซึ่งอยู่นอกบริเวณเก็บขนมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลตามข้อ ๑๒ และผู้ครอบครองสถานที่ อาคารหรือเคหสถานซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมิได้กำหนดให้กำจัดมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลตามข้อ ๑๒ ต้องกำจัดมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยการเผาหรือผังหรือโดยวิธีอื่นใดที่ไม่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๑๖ ห้ามผู้ซึ่งมิได้เป็นเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง ทำการคุ้ยเขี่ยหรือขุดมูลฝอยในที่รองรับ รถขน เรือขน สถานที่ที่เทมูลฝอยใด ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าซางเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว ข้อ ๑๗ ห้ามผู้ซึ่งมิได้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง ทำการถ่ายเทขนหรือเคลื่อนที่สิ่งปฏิกูลในถังรองรับ รถขน เรือขน สถานที่เท เก็บ หรือพักสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง ข้อ ๑๘ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่าซางนี้มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าซางรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ชนะพล เครือนวล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑๔๘/๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,298
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง และนายอำเภอเดชอุดม จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วงตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำ ประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานสาธารณสุขซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในการดำเนินการด้านการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใด ซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร และมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารซึ่งได้รับใบอนุญาต หรือหนังสือรับรอง และผู้จำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บ หรือสะสมอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง (๒) หลักเกณฑ์สุขลักษณะที่เกี่ยวกับสถานที่และขั้นตอนการรับสินค้าให้เป็นดังต่อไปนี้ (๒.๑) พื้นบริเวณที่รับสินค้ามีพื้นผิวเรียบ ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดี แข็งแรง และสะอาด (๒.๒) ให้มีการแยกบริเวณการรับสินค้าที่เป็นอาหารสดออกจากสินค้าประเภทอื่นหรือหากเป็นพื้นที่หรือบริเวณเดียวกันกับการรับสินค้าที่เป็นอาหารสดให้กระทำต่างเวลากับสินค้าประเภทอื่น (๒.๓) ไม่วางสินค้าประเภทอาหารโดยตรงกับพื้นต้องมีวัสดุรองรับ (๒.๔) ทำความสะอาดรถเข็น ตะกร้า ภาชนะใส่อาหารด้วยวิธีการที่ ถูกสุขลักษณะทุกครั้งที่ใช้ขนส่งอาหาร และจัดให้มีการตรวจหาเชื้อจุลินทรีย์โดยวิธีการป้ายด้วยไม้พันสำลีเก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ (Swat) ภาชนะที่บรรจุอาหารและรถเข็นอาหารอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง (๒.๕) ทำความสะอาดบริเวณรับสินค้าทุกครั้งภายหลังขนอาหารเสร็จ (๒.๖) ไม่ใช้บริเวณรับสินค้าเป็นทางเก็บขยะมูลฝอย หากจำเป็นต้องกำหนดเวลาใช้งานแตกต่างกัน และทำความสะอาดภายหลังใช้งาน (๒.๗) อาหารสดต้องนำเข้าเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภทตามข้อ ๒ โดยเร็วที่สุดภายในระยะเวลาไม่เกิน ๓๐ นาที หลังจากรับสินค้า (๒.๘) รถเข็นที่ใช้ขนส่งอาหารต้องไม่ใช้ปะปนกับรถเก็บขยะมูลฝอย (๓) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อให้เป็น ดังต่อไปนี้ (๓.๑) ทิ้งขยะในภาชนะที่ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ (๓.๒) มีระบบการระบายควันที่เกิดจากการปรุงอาหาร เช่น ปล่องระบายควันที่มีพัดลมดูดควันและสูงเพียงพอที่จะก่อเหตุรำคาญ (๓.๓) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอและต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดพื้น ทุกอาทิตย์ (๓.๔) จัดให้มีที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกสุขลักษณะ (๓.๕) ถ้ามีสัตว์ที่จะฆ่าเป็นอาหารต้องแยกให้อยู่ในที่เหมาะสม (๓.๖) ปฏิบัติการอื่น ๆ ให้ถูกสุขลักษณะตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแนะนำหรือตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (๔) กำหนดเวลาจำหน่ายอาหารให้เปิดจำหน่ายอาหารตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ น. และปิดสถานที่จำหน่ายอาหารเมื่อถึงเวลา ๑๙.๐๐ น. เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๕) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคล ดังนี้ (๕.๑) ผู้สัมผัสอาหารต้องมีสุขภาพแข็งแรงโดยต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่เป็นโรคติดต่อหรือโรคที่สังคมรังเกียจ หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ อันได้แก่ อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย โรคบิด ไข้อีสุกอีใส ไข้หัด โรคคางทูม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจต่อสังคม โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจต่อสังคม โรคไวรัสตับอักเสบชนิดเอ โรคไข้หวัดใหญ่ซึ่งรวมถึงโรคไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ (๕.๒) ผู้สัมผัสอาหารต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี เช่น ใช้วัสดุอุปกรณ์ช่วยในการหยิบจับอาหารปรุงสุก ไม่ใช้มือหยิบจับอาหารโดยตรง ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง ก่อนปฏิบัติงานภายหลังการใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม และภายหลังสัมผัสสิ่งสกปรก (๕.๓) ขณะเตรียมปรุงอาหารและเครื่องดื่มต้องแต่งกายให้สะอาด สวมเสื้อ มีแขนใส่ผ้ากันเปื้อนและสวมหมวกตาข่ายคลุมผม (๕.๔) เจ้าของหรือผู้ดูแลหรือผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหาร (๖) หลักเกณฑ์สุขลักษณะและขั้นตอนการวางจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารให้เป็น ดังต่อไปนี้ (๖.๑) การวางจำหน่ายอาหารต้องแยกตามประเภทตามความเหมาะสมกับชนิดอาหารบริเวณที่จำหน่ายอาหารต้องมีพื้น ผนัง เพดานสภาพดี แข็งแรง สะอาดมีการระบายอากาศ และแสงสว่างเพียงพอ (๖.๒) อาหารทุกชนิดต้องมีฉลากแสดงชื่อ ชนิดอาหาร วันที่ผลิต/บรรจุ วันหมดอายุ และสถานที่ผลิต/บรรจุ (๖.๓) อาหารหรือสินค้าที่รับมาวางจำหน่ายต้องได้มาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย สามารถระบุแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ หรือได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์กรต่าง ๆ หน่วยงานราชการ เช่น กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมวิชาการการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นต้น (๗) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์ น้ำใช้ และของใช้อื่น ๆ ให้เป็นไปดังนี้ (๗.๑) วัสดุอุปกรณ์/ภาชนะที่ใช้ในการตัดแต่งอาหารทุกชนิด เช่น มีด เขียงเครื่องบด/หั่น เป็นต้น ต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร มีสภาพดี สะอาด ต้องแยกใช้ระหว่างเนื้อสัตว์ดิบ เนื้อสัตว์สุก และผัก ผลไม้ ให้ล้างทำความสะอาดภาชนะอุปกรณ์ทุกครั้งก่อน/หลังการใช้งาน จัดเก็บให้ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งมีการป้องกันอันตรายจากเครื่องบด/หั่นขณะใช้งาน (๗.๒) จัดให้มีภาชนะอุปกรณ์หยิบจับอาหาร/บรรจุอาหารที่ทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร สภาพดี สะอาด และเพียงพอในการหยิบจับอาหารสำหรับผู้บริโภคในบริเวณที่จัดสำหรับผู้บริโภคเลือกซื้ออาหารได้เอง เช่น อาหารประเภทสลัด ขนมอบ เป็นต้น และมีการล้างอย่างน้อยทุก ๔ ชั่วโมงและจัดให้มีคำเตือนสำหรับผู้บริโภคเพื่อป้องกันการหยิบจับอาหารด้วยมือวางไว้ในบริเวณที่เห็นได้ชัดเจนรวมทั้งให้มีพนักงานดูแลรับผิดชอบในการจำหน่ายและช่วยเหลือลูกค้าในบริเวณนั้นด้วย (๗.๓) จัดให้มีอ่างล้างมือในบริเวณที่ผู้บริโภคเลือกซื้ออาหารได้เองสูงจากพื้น ไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร พร้อมสบู่เหลวหรือสบู่ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อโรค กระดาษเช็ดมือ และต้องล้างทำความสะอาดทุกครั้ง ก่อนและหลังใช้งาน (๗.๔) คุณภาพน้ำดื่มหรือน้ำใช้หรือน้ำแข็ง ให้เป็นดังนี้ ก. ในกรณีที่จัดน้ำดื่มไว้บริการต้องเป็นน้ำดื่มที่สะอาดมีภาชนะที่ใช้ดื่มน้ำที่เป็นแบบใช้ครั้งเดียว ข. มีน้ำใช้ที่สะอาดสำหรับล้างอาหารและอุปกรณ์ ค. น้ำแข็งที่ใช้แช่อาหารต้องสะอาดมีคุณภาพเทียบเท่าน้ำแข็งสำหรับบริโภค (๗.๕) ต้องจัดให้มีระบบการสุขาภิบาลดังนี้ ก. ระบบระบายน้ำทิ้งต้องมีสภาพดีมีตะแกรงดักเศษอาหาร และรางหรือท่อระบายน้ำไม่มีการอุดตันไม่มีน้ำขัง ข. มีบ่อดักไขมันที่ใช้การได้ดีมีการดักไขมัน และทำความสะอาดเป็นประจำ ค. ห้องน้ำห้องส้วมสำหรับผู้บริโภคและพนักงานต้องแยกจากกันมีสภาพดีสะอาด มีอ่างล้างมือที่ใช้การได้ดี และมีสบู่ใช้ตลอดเวลา ง. มีการจัดการมูลฝอยโดยต้องมีถังแยกเก็บประเภทมูลฝอยสด หรือมูลฝอยที่ย่อยสลายได้และมูลฝอยแห้ง หรือมูลฝอยที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ และมีป้ายบอกอย่างชัดเจนถังเก็บรวบรวมมูลฝอยต้องมีสภาพดี ไม่รั่วซึม และมีฝาปิดต้องใช้ถุงพลาสติกรองรับด้านในถัง และมีรถเก็บ ขน มูลฝอยโดยเฉพาะไม่ใช้ร่วมกับรถขนอาหาร จ. มีระบบการควบคุม ป้องกัน และกำจัดสัตว์ แมลงนำโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) บัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ พร้อมสำเนาที่รับรองถูกต้อง (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนบ้านของสถานประกอบการ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (๓) สำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคารของสถานที่ขออนุญาตประกอบกิจการค้า (กรณีที่ก่อสร้างหลังพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ใช้บังคับ) (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล) (๕) หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้รับรอง (๖) เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าสมควรเรียกเพิ่มเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต ข้อ ๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) วาง เก็บอาหารก่อนปรุงในที่สะอาดถูกสุขลักษณะรวมทั้งจัดให้มีการป้องกัน สัตว์นำโรคในสถานที่นั้น (๒) ใช้อุปกรณ์ปกปิดอาหารรวมทั้งภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำประกอบ ปรุง เก็บอาหารเพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลอดจนรักษาอุปกรณ์ปกปิดนั้นให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๓) น้ำแข็งสำหรับใช้บริโภคต้องจัดเก็บไว้ในภาชนะที่ถูกสุขลักษณะสามารถป้องกัน สิ่งเปรอะเปื้อนได้ และห้ามนำอาหารหรือสิ่งของอื่นใดแช่หรือเก็บรวมกันไว้ด้วยกัน (๔) การทุบ บดน้ำแข็ง ต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งป้องกันมิให้เสียงอันเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น (๕) ในกรณีที่มีผ้าเช็ดหน้าให้บริการต้องทำให้สะอาดและผ่านความร้อนฆ่าเชื้อโรค หรือกรรมวิธีอื่นใดให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ (๖) จัดให้มีน้ำสะอาดไว้ให้เพียงพอ (๗) ใช้ภาชนะหรือวัตถุที่สะอาดปลอดภัยสำหรับปรุงใส่หรือห่ออาหารหรือน้ำแข็ง โดยรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๘) ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหารและผู้ให้บริการต้องแต่งกายให้สะอาดและปฏิบัติตน ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของพนักงานสาธารณสุขพนักงานเจ้าหน้าที่และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง ข้อ ๙ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืน คำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายใน สิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วงเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดตามข้อ ๗ และข้อ ๘ ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่รับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระเว้นแต่ ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบท แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๑๗ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วงประกาศกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังไม่ได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ตามวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการ นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้ง เป็นอันสิ้นผลแต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผย และเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรอง การแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๒๒ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้ โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการ โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่ง ยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๔ ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มาแจ้งและภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่า จะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง ข้อ ๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๒๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วงเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ อนงค์ การุณรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๑) ๓. คำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๒) ๔. ใบรับแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๓) ๕. ใบอนุญาตให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร (แบบ สอ. ๔) ๖. ใบอนุญาตให้จัดตั้งสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๕) ๗. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร (แบบ สอ. ๖) ๘. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๗) ๙. คำขอต่ออายุใบอนุญาตหรือขอต่อหนังสือรับรองการแจ้งเพื่อจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๘) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑๖๘/๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,299
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง พ.ศ. ๒๕๕๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วงและนายอำเภอเดชอุดม จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วงตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เร่ขาย” หมายความว่า การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยมิได้จัดวางอยู่ในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้า ในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติหรือเร่ขาย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายในที่หรือทางสาธารณะ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้ (๑) ต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือพาหะของโรคติดต่อตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๗ (๒) เงื่อนไขอื่นตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วงกำหนด ข้อ ๗ ผู้ใดจะขอรับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ หรือลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้าให้ยื่นคำขอตามแบบ สณ. ๑ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พร้อมกับหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วงกำหนด และรูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัวไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด ๑ นิ้ว ของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่าย คนละ ๓ รูป เพื่อติดไว้ในทะเบียน ๑ รูป ในใบอนุญาต ๑ รูป และบัตรสุขลักษณะประจำตัวอีก ๑ รูป ข้อ ๘ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของคำขออนุญาตแล้วปรากฏว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้ออกใบอนุญาตตามแบบ สณ. ๒ หรือ สณ. ๓ แล้วแต่กรณี พร้อมบัตรประจำตัวผู้รับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายตามแบบ สณ.๔ หรือ สณ. ๕ แล้วแต่กรณี ข้อ ๙ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาต พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมิได้มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๐ การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ผู้จำหน่ายหรือผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) แต่งกายสะอาด สุภาพเรียบร้อย (๒) จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ยื่นล้ำบริเวณที่กำหนด ร่มหรือผ้าใบบังแดดรวมทั้งตัวผู้ค้าต้องไม่ล้ำลงในผิวจราจร (๓) แผงสำหรับวางขาย เช่น แคร่ แท่น โต๊ะ ต้องทำด้วยวัตถุที่แข็งแรงมีขนาดและความสูงจากพื้นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๔) รักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าอยู่เสมอ ทั้งในระหว่างทำการค้าและหลังจากเลิกทำการค้าแล้ว (๕) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอ (๖) ให้จัดวางสินค้าที่จำหน่ายบนแผงหรือจัดวางในลักษณะอื่น ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๗) ห้ามพาด ติดตั้งวางแผงค้าเกาะเกี่ยวสายไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า หรืออุปกรณ์เกี่ยวกับการขายรวมตลอดถึงการตอกตะปู ผูกเชือกหรือยึดสิ่งหนึ่งสิ่งใดกับคอกต้นไม้หรือต้นไม้โดยเด็ดขาด (๘) ห้ามใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้เครื่องยนต์มีเสียงดัง (๙) ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทป หรือกระทำการโดยวิธีอื่นใดที่ก่อให้เกิดเสียงดัง จนเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๑๐) ห้ามนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อน ไปจอดบนทางเท้าเพื่อจำหน่ายสินค้า (๑๑) หยุดประกอบการค้าประจำสัปดาห์หนึ่งวัน และให้หยุดกรณีมีเหตุพิเศษเพื่อประโยชน์ของทางราชการตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๑๒) หลังจากเลิกทำการค้าต้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบการค้าออกจากบริเวณที่อนุญาตให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า (๑๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง ข้อ ๑๑ การจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ (๒) - (๑๒) (๒) แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีแขน และสวมเสื้อผ้าที่สะอาดเรียบร้อยรวมทั้งสวมรองเท้าขณะเตรียมทำ ประกอบ ปรุง หรือจำหน่ายอาหาร (๓) ต้องตัดเล็บมือให้สั้น ถ้ามีบาดแผล มีการบาดเจ็บ การถูกลวก หรือระคายเคืองผิวหนังบริเวณมือ หรือนิ้วมือต้องปิดบาดแผลให้เรียบร้อย (๔) ไม่สูบบุหรี่ ขบเคี้ยว รับประทานอาหาร ในขณะเตรียมทำ ประกอบ ปรุง หรือจำหน่ายอาหาร หรือไม่ไอจามรดบนอาหาร (๕) ที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุง และวางแผงจำหน่ายอาหารต้องสูงอย่างน้อยหกสิบเซนติเมตร (๖) การจำหน่ายอาหารที่ต้องมีการล้างภาชนะอุปกรณ์จะต้องมีที่ล้างภาชนะอุปกรณ์และวางสูงจากพื้นหรือลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ (๗) รักษาเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการจำหน่ายอาหารให้สะอาดและใช้การได้อยู่เสมอ (๘) ให้ปกปิดอาหาร เครื่องปรุงอาหาร ภาชนะใส่อาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้สำหรับประกอบอาหารด้วยอุปกรณ์ที่สามารถป้องกันฝุ่นละออง แมลงวัน และสัตว์ ซึ่งเป็นพาหะนำโรค รวมทั้งดูแลรักษาให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๙) ใช้น้ำสะอาดในการทำ ประกอบ ปรุง แช่ ล้างอาหาร ภาชนะ เครื่องใช้และปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ (๑๐) ใช้วัสดุ ภาชนะอุปกรณ์ที่สะอาด ปลอดภัย สำหรับใส่หรือเตรียมทำ ประกอบปรุงและจำหน่ายอาหาร (๑๑) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยโดยแยกประเภทเป็นแบบแห้งและเปียกที่ถูกสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอและไม่ถ่ายเททิ้งลงในท่อระบายน้ำ หรือทางสาธารณะ (๑๒) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญ เนื่องจากการจำหน่ายเตรียมทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๑๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง ข้อ ๑๒ การจำหน่ายสินค้า ประเภท สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า หรือสัตว์น้ำ ในที่หรือทางสาธารณะผู้จำหน่าย และผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ ๑๑ (๑) - (๑๒) (๒) จัดการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคหัดสุนัข โรคแอนแทรกซ์ เป็นต้น แก่สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า ทุกตัวก่อนจำหน่ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน (๓) ห้ามจำหน่ายสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง (๔) ใช้กรงหรือคอกหรือภาชนะใช้เลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมกับชนิดของสัตว์และสะอาดปลอดภัย (๕) รักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการจำหน่ายสัตว์ให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและมูลฝอยติดเชื้อ โดยแยกประเภทที่ถูกสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอและไม่ถ่ายเททิ้งลงในท่อระบายน้ำหรือทางสาธารณะ (๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย การกักขังและการรักษาความสะอาด (๘) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง ข้อ ๑๓ การเร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ผู้จำหน่ายหรือผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายสินค้าในบริเวณที่อนุญาตให้จำหน่ายได้ (๒) ต้องแต่งกายสะอาด สุภาพเรียบร้อย (๓) มูลฝอยจากการเร่ขาย ห้ามทิ้งลงในที่หรือทางสาธารณะ (๔) ในขณะที่เร่ขายสินค้า ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทปหรือส่งเสียงดังจนเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๕) ห้ามนำรถยนต์รถจักรยานยนต์หรือล้อเลื่อนไปจอดบนทางเท้าเพื่อขายสินค้า (๖) หยุดประกอบการค้าประจำสัปดาห์หนึ่งวันและให้หยุดกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง ข้อ ๑๔ การเร่ขายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓ (๑) - (๖) (๒) อาหารที่เร่ขายต้องสะอาด ปลอดภัย (๓) ใช้วัสดุ ภาชนะหีบห่อที่สะอาด ปลอดภัยสำหรับใส่อาหาร (๔) ดูแลรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเร่ขายอาหารให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๕) จัดอาหารแยกตามประเภทของสินค้าให้เป็นระเบียบ (๖) แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีแขน สะอาดเรียบร้อยและสวมรองเท้าขณะทำการเร่ขายอาหาร (๗) ตัดเล็บมือให้สั้น ถ้ามีบาดแผลบริเวณมือต้องปิดบาดแผลให้เรียบร้อย (๘) ไม่สูบบุหรี่ หรือไอจามรดบนอาหารในขณะขาย (๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง ข้อ ๑๕ การเร่ขายสินค้าประเภทอาหารทางน้ำ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยผู้จำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓ (๑) (๒) (๔) (๖) และข้อ ๑๔ (๒) (๓) (๔) (๕) (๗) (๘) (๒) ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยลงในแม่น้ำลำคลอง (๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง ข้อ ๑๖ การเร่ขายสินค้าประเภทสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าหรือสัตว์น้ำในที่หรือทางสาธารณะผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓ (๑) - (๖) (๒) สัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าที่เร่ขายต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคหัดสุนัข โรคแอนแทรกซ์ เป็นต้นแก่สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่าทุกตัวก่อนจำหน่ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน (๓) ห้ามจำหน่ายสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง (๔) ใช้กรงหรือภาชนะใช้เลี้ยงสัตว์ที่สะอาดปลอดภัย (๕) รักษา เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเร่ขายสัตว์ให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๖) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง ข้อ ๑๗ ห้ามผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายประกอบกิจการเมื่อมีเหตุควรเชื่อว่าตนเป็นโรคติดต่อที่ระบุไว้ หรือเมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ตรวจปรากฏว่าตนเป็นพาหะของโรคและได้รับแจ้งความเป็นหนังสือแจ้งว่าตนเป็นพาหะของโรคติดต่อ ซึ่งระบุไว้ดังต่อไปนี้คือ (๑) วัณโรค (๒) อหิวาตกโรค (๓) ไข้ไทฟอยด์ (๔) โรคบิด (๕) ไข้อีสุกอีใส (๖) โรคคางทูม (๗) โรคเรื้อน (๘) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ (๙) โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส (๑๐) โรคอื่น ๆ ตามที่ทางราชการกำหนด ข้อ ๑๘ ในขณะทำการจำหน่ายสินค้าหรือเร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตของตนไว้เสมอ และทำการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะตามประเภทสินค้าและลักษณะการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะที่ได้กำหนดไว้ในใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ช่วยจำหน่ายในที่หรือทางสาธารณะต้องติดบัตรสุขลักษณะประจำตัวไว้ที่หน้าอกเสื้อด้านซ้ายตลอดเวลาที่จำหน่ายสินค้า ข้อ ๑๙ ใบอนุญาตฉบับหนึ่งให้ใช้ได้เฉพาะผู้รับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาตไม่เกินหนึ่งคน ข้อ ๒๐ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าในที่ หรือทางสาธารณะ ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สณ. ๖ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตหากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๒๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง ข้อ ๒๒ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป ให้ยื่นคำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สณ. ๗ ก่อนการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ข้อ ๒๓ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะเปลี่ยนแปลงชนิด หรือประเภทสินค้า หรือลักษณะ วิธีการจำหน่าย หรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือรายการอื่นใดให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สณ. ๗ ข้อ ๒๔ ในกรณีที่ใบอนุญาต หรือบัตรสุขลักษณะประจำตัวสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือขอรับบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่ แล้วแต่กรณี ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สณ. ๗ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตหรือบัตรสุขลักษณะประจำตัวเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ (๓) รูปถ่ายของผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ช่วยจำหน่าย ขนาด ๑ นิ้ว จำนวนคนละ ๓ รูป ข้อ ๒๕ การออกใบแทนใบอนุญาตหรือการออกบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ สณ. ๒ หรือแบบ สณ. ๓ แล้วแต่กรณี โดยประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วยและให้มี วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิม (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมแล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทน (๔) กรณีบัตรสุขลักษณะประจำ ตัว ได้ออกบัตรสุขลักษณะประจำ ตัวใหม่ตามแบบ สณ. ๔ หรือแบบ สณ. ๕ แล้วแต่กรณี โดยประทับตราสีแดงว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย ข้อ ๒๖ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติให้ใช้แบบ สณ. ๑ (๒) ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการวางขายสินค้าที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติให้ใช้แบบ สณ. ๒ (๓) ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้า ให้ใช้แบบ สณ. ๓ (๔) บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติให้ใช้แบบ สณ. ๔ (๕) บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้าให้ใช้แบบ สณ. ๕ (๖) คำขอต่ออายุใบอนุญาตให้ใช้แบบ สณ. ๖ (๗) คำขออนุญาตดำเนินการต่าง ๆ ให้ใช้แบบ สณ. ๗ ข้อ ๒๗ ผู้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตไว้คราวหนึ่งไม่เกินสิบห้าวัน กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง และมีเหตุที่ต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีกเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้ ข้อ ๒๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๒๙ บรรดาใบอนุญาตที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ให้คงใช้ได้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น ข้อ ๓๐ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยความเห็นชอบของเจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกประกาศ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดบริเวณที่หรือทางสาธารณะ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วงเป็นเขตหวงห้ามจำหน่ายหรือซื้อสินค้าโดยเด็ดขาด (๒) กำหนดบริเวณที่หรือทางสาธารณะ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วงเป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้าบางชนิดหรือบางประเภท หรือเป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้าตามกำหนดเวลาหรือเป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้าโดยวิธีการจำหน่ายในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจำหน่ายสินค้าในบริเวณนั้น ข้อ ๓๑ ห้ามมิให้โอนใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๓๒ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อนวันหมดอายุของใบอนุญาตนั้นได้ ข้อ ๓๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วงมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ อนงค การุณรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาส่วง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๑) ๓. ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ (แบบ สณ. ๒) ๔. ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้า (แบบ สณ. ๓) ๕. บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยวิธีการวางสินค้าในที่หรือทางใดเป็นปกติ (แบบ สณ. ๔) ๖. บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยวิธีการเร่ขายสินค้า (แบบ สณ. ๕) ๗. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต (แบบ สณ. ๖) ๘. คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๗) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑๕๘/๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,300
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขและปรับปรุงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์ ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์และนายอำเภอเมืองนครปฐม จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัติอื่นซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์เป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ต้องควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม (๑) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์ หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม (๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำ ยาทำ ความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ (๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ดังกล่าวด้วย (๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำอบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) (๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุขวิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑.๒) (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือ วัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๕) (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๗.๑) (๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติกเซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่ หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี หมวด ๒ สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องมีการควบคุม ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น กำหนดไว้ตามความเหมาะสมและต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานอื่น ๆ ตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงงานหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขโดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางมีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำ และห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน (๔) ต้องทำรางระบายน้ำไปสู่รางระบายน้ำสาธารณะหรือบ่อพัก ซึ่งรับน้ำเสียด้วยวัตถุถาวรมีลักษณะเรียบ ไม่ซึม ไม่รั่ว น้ำไหลได้สะดวก (๕) การระบายน้ำ และรางระบายน้ำต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน หรือเหตุรำคาญ (๖) ต้องมีการบำบัดหรือการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียหรือกากของเสียให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่องค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์กำหนด (๗) สถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องมีที่ขังหรือปล่อยสัตว์กว้างพอและจัดสถานที่ให้อยู่ในสภาพที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนและไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความทุกข์ทรมานแก่สัตว์และให้มีการเก็บรวบรวมกำจัดมูลสัตว์ เศษอาหาร ซากสัตว์ ให้ได้สุขลักษณะ ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจผ่อนผันให้ผู้รับใบอนุญาตงดเว้นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ ๘ ได้ตามที่เห็นสมควรและให้มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยส่วนรวม ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติ ว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อยปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ หมวด ๓ การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หมวด ๔ การควบคุมของเสีย มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ ข้อ ๑๘ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำ เนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หมวด ๕ ใบอนุญาต ข้อ ๑๙ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๒๐ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์ประกาศกำหนด ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วน ตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๓ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์เท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวน ค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์ ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๓ บรรดาใบอนุญาตการค้าซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์ให้คงใช้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น และเมื่อสิ้นอายุใบอนุญาตนั้นแล้วให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สมพร ไทยอ่อน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๕๒/๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,301
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพระบาทนาสิงห์ เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพระบาทนาสิงห์ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพระบาทนาสิงห์ เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพระบาทนาสิงห์ ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพระบาทนาสิงห์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลพระบาทนาสิงห์โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพระบาทนาสิงห์และนายอำเภอรัตนวาปี จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้ เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพระบาทนาสิงห์ เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพระบาทนาสิงห์ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย” หมายความว่า สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะเวลาที่เกินกว่าเจ็ดวันซึ่งยุงลายสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้ “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลพระบาทนาสิงห์ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพระบาทนาสิงห์ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่ขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะซึ่งอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ เป็นต้น นอกจากในที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นจัดไว้ให้ ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอยที่ขังน้ำได้ซึ่งอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ เป็นต้น ในบริเวณอาคารหรือเคหสถาน รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้ โดยเก็บใส่ลงถังรองรับมูลฝอยที่มีฝาเปิดปิดหรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ในกรณีที่ราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ให้บริการเก็บขนมูลฝอยเพื่อนำไปกำจัด เจ้าของอาคาร หรือเคหสถานมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัติท้องถิ่น ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน ต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ ที่มีน้ำขังอย่างน้อยทุกเจ็ดวัน หรือใส่สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุงได้และจัดให้มีฝาปิดตุ่มน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถาน รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลพระบาทนาสิงห์ประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลพระบาทนาสิงห์ได้จัดเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงในอาคาร หรือเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่นั้น จะต้องให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกตามสมควร ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ และข้อ ๖ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพระบาทนาสิงห์เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สกล ดวงคำจันทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพระบาทนาสิงห์ ปริยานุช/จัดทำ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๔ ง/หน้า ๑๙๓/๒ มีนาคม ๒๕๖๐
54,302
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร ว่าด้วยการควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรโดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรและนายอำเภอบางเลน จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ นับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “กิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ” หมายถึง สถานที่ทำการผลิตน้ำบริโภคบรรจุขวด หรือใส่ภาชนะต่าง ๆ โดยมีการจ่ายเงินเป็นค่าน้ำบริโภค ณ สถานที่ผลิตน้ำ “ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ” หมายถึง บุคคล นิติบุคคล หรือกลุ่มบุคคลซึ่งประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายถึง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายถึง เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๕ ให้กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเป็นกิจการที่ต้องควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร ข้อ ๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ต้องปฏิบัติและจัดสถานที่สำหรับประกอบกิจการนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขอันเกี่ยวกับสุขลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญรายใดประกอบกิจการอยู่ก่อนข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ข้อ ๗ สถานที่ตั้งตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องอยู่ในที่ที่จะไม่ทำให้น้ำดื่มเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย ดังนี้ (๑) ต้องอยู่ห่างไกลจากบริเวณที่มีฝุ่นมาก แหล่งระบายน้ำเสียและแหล่งขยะมูลฝอย (๒) ต้องเป็นสถานที่ที่ไม่มีแหล่งแมลงและสัตว์พาหนะนำโรค (๓) บริเวณพื้นที่ตั้งตู้น้ำไม่เฉอะแฉะ สกปรก และมีการระบายน้ำที่ถูกสุขลักษณะ (๔) การติดตั้งตู้น้ำต้องยกระดับสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๐ เซนติเมตร (๕) จัดให้มีอุปกรณ์เพียงพอและมีความสูงตามความเหมาะสมสำหรับวางภาชนะบรรจุน้ำ ข้อ ๘ ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องมีคุณลักษณะดังนี้ (๑) ตู้น้ำและอุปกรณ์ต้องทำจากวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) ตู้น้ำจะต้องมีความสะอาดอย่างสม่ำเสมอและไม่รั่วซึม รวมทั้งสามารถทำความสะอาด และเคลื่อนย้ายได้ง่าย (๓) หัวจ่ายน้ำและส่วนที่สัมผัสน้ำต้องทำจากวัสดุที่ใช้กับอาหารเท่านั้น (Food Grade) และหัวจ่ายน้ำต้องสูงจากพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร ข้อ ๙ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับแหล่งน้ำและการปรับปรุงคุณภาพน้ำดังนี้ (๑) แหล่งน้ำที่นำมาใช้ต้องมีคุณภาพดี เช่น น้ำประปา น้ำจากบ่อบาดาล (๒) กรณีที่ผู้ประกอบกิจการผลิตน้ำเพื่อใช้ในการประกอบกิจการเองต้องมีระบบ การตรวจสอบ การควบคุม และการปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ผลิตให้มีคุณภาพดี (๓) มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามความจำเป็นของคุณภาพแหล่งน้ำ เพื่อให้ได้น้ำบริโภคที่มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (๔) มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำเป็นไปตามมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องมีการเก็บตัวอย่างน้ำส่งตรวจ ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำบริโภคทางด้านกายภาพ เคมี และแบคทีเรียอย่างน้อย ๑ ครั้งต่อปี ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องมีการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางด้านแบคทีเรียโดยใช้ชุดตรวจวัดอย่างง่ายในภาคสนามอย่างน้อย ๑ ครั้งต่อเดือน ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องมีการบำรุงรักษา และทำความสะอาดดังนี้ (๑) มีการทำความสะอาดสถานที่ บริเวณที่ตั้งน้ำเป็นประจำทุกวัน (๒) มีการทำความสะอาดพื้นผิวตู้ ช่องระบายน้ำ และหัวจ่ายน้ำเป็นประจำวัน (๓) ล้างทำความสะอาดถังเก็บน้ำภายในตู้อย่างน้อย ๑ ครั้งต่อเดือน (๔) ล้างทำความสะอาดและเปลี่ยนวัสดุกรองตามระยะเวลาข้อแนะนำของผลิตภัณฑ์ที่กำหนด หรือเมื่อพบผลการตรวจผิดปกติเกินมาตรฐาน ข้อ ๑๓ ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องจัดทำระบบข้อมูลและการรายงานอย่างน้อยดังนี้ (๑) บันทึกการปฏิบัติงานการตรวจสอบคุณภาพน้ำและการดูแลบำรุงรักษาตามตารางแผนการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ (๒) รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (๓) จัดให้มีสัญลักษณ์แสดงคุณภาพน้ำบริโภคได้มาตรฐานหรือปรับปรุงต่อผู้บริโภคอย่างเปิดเผยเป็นประจำวัน ข้อ ๑๔ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรประกาศกำหนด ข้อ ๑๕ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีทีมีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลา และเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ในการออกใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไข โดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๗ ใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้ เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรเท่านั้น การต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นขอก่อนใบอนุญาตครบกำหนดพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมและปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ข้อ ๑๙ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป ให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๒๐ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๒๑ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผย ณ สถานที่ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญและสังเกตเห็นได้ง่าย ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีสูญหาย (๒) ใบอนุญาตฉบับเดิมที่เหลืออยู่ กรณีชำรุดในสาระสำคัญ หรือถูกทำลาย ข้อ ๒๔ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ได้รับมอบหมาย จากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของใบอนุญาตเดิมนั้น (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลง เล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๒๕ ในกรณีปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้ ข้อ ๒๖ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใช้ใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๘ ผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๒๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ จรัณ วงศ์วาร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑๖/๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,303
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร ว่าด้วยตลาดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรและนายอำเภอบางเลน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้า ประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบ หรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดตั้งไว้สำหรับผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุม เพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำ หรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปน อาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่น รส “อาหารสด” หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด “อาหารสัตว์ชำแหละ” หมายความว่า อาหารสดประเภทเนื้อสัตว์หรือเนื้อสัตว์ที่มีการชำแหละ ณ แผงจำหน่ายสินค้า “อาหารแปรรูป” หมายความว่า อาหารสดที่แปรรูปทำให้แห้งหรือหมัก ดอง หรือในรูปอื่น ๆ รวมทั้งสารปรุงแต่งอาหาร เช่น พริกแห้ง กุ้งแห้ง กะปิ น้ำปลา ซอส เป็นต้น “อาหารประเภทปรุงสำเร็จ” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบ หรือปรุงสำเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ “แผงจำหน่ายอาหาร” หมายความว่า แผงหรือสถานที่ที่มีการปรุง ประกอบอาหารจนสำเร็จที่ผู้บริโภคสามารถซื้อบริโภคได้ โดยจะมีการล้างทำความสะอาดอาหารและภาชนะอุปกรณ์ด้วย “สุขาภิบาลอาหาร” หมายความว่า การจัดการและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้อาหารสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อโรค และสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อนามัยของผู้บริโภค เช่น อาหาร ผู้สัมผัสอาหาร สถานที่ทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร ภาชนะ อุปกรณ์ สัตว์ และแมลงที่เป็นพาหะนำโรค “การล้างตลาดตามหลักวิชาการสุขาภิบาล” หมายความว่า การทำความสะอาดตัวอาคารแผงขายของตลาด พื้น ผนัง เพดาน รางระบายน้ำ ห้องน้ำ ห้องส้วมและบริเวณต่าง ๆ รอบอาคารตลาดให้สะอาดปราศจากสิ่งปฏิกูล มูลฝอย หยากไย่ ฝุ่นละออง คราบสกปรก และอื่น ๆ รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อโรค และกำจัดสัตว์พาหนะนำโรค ทั้งนี้ สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งตลาด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลง ขยาย และลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาด ภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดตามวรรคหนึ่งแล้ว จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย ความในข้อนี้ มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์การรัฐที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่ แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามความในข้ออื่นแห่งข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรนี้และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วย และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามวรรคนี้ ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ข้อ ๖ ตลาดแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทดังนี้ (๑) ตลาดประเภทที่ ๑ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคารและดำเนินกิจการเป็นการประจำหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ - ข้อ ๑๔ (๒) ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคารและดำเนินกิจการเป็นการประจำหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๕ - ข้อ ๑๙ (๓) ตลาดประเภทที่ ๓ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคารและดำเนินกิจการชั่วคราว หรือครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๐ - ข้อ ๒๔ ข้อ ๗ ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่าร้อยเมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ ของเสียโรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก ที่กำจัดมูลฝอย อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เว้นแต่จะมีวิธีการป้องกัน ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ข้อ ๘ ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องมีเนื้อที่ตามความเหมาะสม โดยมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้างคืออาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ส้วม และที่ถ่ายปัสสาวะ อ่างล้างมือที่รวบรวมมูลฝอย และที่จอดยานพาหนะตามที่กำหนดในส่วนนี้ ข้อ ๙ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของจะต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ตัวอาคารต้องทำด้วยวัสดุถาวร มั่นคง แข็งแรง (๒) มีถนนรอบอาคารตลาด กว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร อย่างน้อยหนึ่งทาง สำหรับตลาดที่มีอยู่ก่อนที่ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้มีผลให้ใช้บังคับ ให้ปรับปรุงตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๓) หลังคาต้องสร้างด้วยวัสดุทนไฟ และแข็งแรงทนทาน ความสูงของหลังคาต้องมีความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น ๆ (๔) พื้นต้องทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง เรียบ ไม่ดูดซึมน้ำ ทำความสะอาดง่าย ไม่มีน้ำขังและไม่ลื่น (๕) ทางเดินภายในอาคารต้องกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๖) เครื่องกั้นหรือสิ่งกีดขวางทำด้วยวัสดุถาวรและแข็งแรงสามารถป้องกันสัตว์ เช่น สุนัข มิให้เข้าไปในตลาด (๗) ต้องมีการระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอเหมาะสม (๘) ภายในอาคารตลาดต้องมีความเข้มของแสงสว่าง ไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ลักซ์ (๙) แผงขายสินค้าต้องทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียง ทำความสะอาดง่ายมีพื้นที่แผงไม่น้อยกว่า ๒ ตารางเมตร สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และต้องมีทางเข้าแผงของผู้ขายของกว้างไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร มีที่นั่งสำหรับผู้ขายของไว้โดยเฉพาะอย่างเหมาะสมแยกต่างหากจากแผงและสะดวกต่อการเข้าออก (๑๐) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดแบบระบบท่ออย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้าหรือล้างมือ ทั้งนี้ ต้องวางท่อในลักษณะที่ปลอดภัย ไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก ไม่ติดหรือทับกับท่อระบายน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูลโดย (ก) มีที่ล้างอาหารสดอย่างน้อย ๑ จุด และในแต่ละจุดจะต้องมีก๊อกน้ำไม่น้อยกว่า ๓ ก๊อก กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๓๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีที่ล้างอาหารสด ๑ จุด ต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๓๐ แผง เศษของ ๓๐ แผง ถ้าเกิน ๑๕ แผง ให้ถือเป็น ๓๐ แผง (ข) มีก๊อกน้ำประจำแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (ค) มีที่เก็บสำรองน้ำในปริมาณเพียงพอและสะดวกต่อการใช้ กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๕๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีน้ำสำรองอย่างน้อย ๕ ลูกบาศก์เมตรต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๑๐๐ แผง เศษของ ๑๐๐ แผง ถ้าเกิน ๕๐ แผง ให้ถือเป็น ๑๐๐ แผง (๑๑) ทางระบายนํ้าต้องทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ โดยทางระบายน้ำภายในตลาดต้องเป็นทางระบายน้ำแบบเปิด ส่วนทางระบายน้ำรอบตลาดต้องเป็นแบบรูปตัวยู และมีฝาปิดที่สามารถเปิดทำความสะอาดได้ง่าย มีความลาดเอียง ระบายน้ำได้สะดวก (๑๒) ให้มีบ่อดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน และบ่อบำบัดน้ำเสีย โดยน้ำทิ้งต้องได้มาตรฐานน้ำทิ้งตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (๑๓) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์เครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร การติดตั้งไว้ในบริเวณที่มองเห็นได้ง่าย และสะดวกต่อการใช้งาน ข้อ ๑๐ ที่ขนถ่ายสินค้าต้องจัดให้มีและอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะ มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวัน และสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด ข้อ ๑๑ ส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาด หรือในกรณีที่อยู่ในอาคารต้องแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ (๒) ต้องมีระบบขับเคลื่อนอุจจาระ ปัสสาวะลงสู่ที่เก็บกัก ซึ่งจะต้องป้องกันสัตว์แมลงพาหนะนำโรคได้ และไม่ปนเปื้อนแหล่งน้ำธรรมชาติและน้ำใต้ดินทุกขั้นตอน (๓) สร้างด้วยวัสดุถาวรทำความสะอาดง่าย ห้องส้วมมีเนื้อที่ภายในไม่น้อยกว่า ๑ ตารางเมตรต่อ ๑ ที่นั่ง และมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๑ เมตร มีประตูเปิดเข้าออกโดยสะดวก และมีผนังกั้นเพื่อมิให้ประตูเปิดสู่บริเวณจำหน่ายอาหารโดยตรง (๔) ระยะดิ่งระหว่างพื้นถึงส่วนต่ำสุดของคาน หรือเพดาน หรือสิ่งอื่นที่ติดกับคาน หรือเพดานต้องไม่น้อยกว่า ๒ เมตร และต้องมีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ ของพื้นที่ห้อง หรือมีพัดลมระบายอากาศ (๕) มีแสงสว่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ลักซ์ (๖) พื้นห้องส้วมต้องเรียบ ไม่ลื่น มีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า ๑ : ๑๐๐ และ มีจุดระบายน้ำทิ้งอยู่ในตำแหน่งต่ำสุดของพื้นห้อง (๗) ต้องจัดให้มีกระดาษชำระ หรือน้ำสำหรับชำระให้เพียงพอทุกห้องรวมทั้งจัดให้มีการจัดทำความสะอาดทุกวัน (๘) มีท่อระบายอุจจาระลงสู่ถังเก็บกัก ซึ่งต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร มีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า ๑ : ๑๐ (๙) มีท่อระบายอากาศขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๒ เซนติเมตรครึ่งสูงเหนือหลังคาส้วมหรือสูงจนกลิ่นเหม็นของก๊าซไม่รบกวนผู้อื่น (๑๐) ที่ถ่ายปัสสาวะชาย ต้องเป็นวัสดุเคลือบหรือโลหะไม่เป็นสนิม และมีน้ำสำหรับชำระล้างตลอดเวลาที่ใช้ ข้อ ๑๒ จำนวนส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ และอ่างล้างมือ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ข้อ ๑๓ ที่รวบรวมมูลฝอยต้องมีลักษณะเป็นสิ่งปลูกสร้างถาวรหรือเป็นที่พักมูลฝอยที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น ๆ ก็ได้ มีขนาดเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวันมีการปกปิดสามารถป้องกันสัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ยได้ ตั้งอยู่นอกตัวอาคารตลาด และอยู่ในพื้นที่ที่รถเข้าออกได้สะดวก ข้อ ๑๔ ที่จอดรถต้องจัดให้มีตามความเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๕ ตลาดประเภทที่ ๒ ต้องมีเนื้อที่ตามความเหมาะสม ให้มีบริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ อ่างล้างมือ และที่รวบรวมมูลฝอยตามที่กำหนดในส่วนนี้ ข้อ ๑๖ บริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) บริเวณสำหรับผู้ขายของ โดยมีลักษณะเป็นพื้นที่เรียบ แข็งแรง ไม่ลื่นสามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย และไม่มีน้ำขัง เช่น พื้นคอนกรีต พื้นที่ปูด้วยคอนกรีตสำเร็จหรือพื้นลาดด้วยยางแอสฟัลต์ติกคอนกรีต (๒) แผงขายสินค้าต้องทำด้วยวัสดุเรียบ ทำความสะอาดง่าย สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และต้องมีทางเข้าแผงสำหรับผู้ขายของไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร (๓) ทางเดินในตลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๔) จัดให้มีน้ำประปาหรือน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และจัดให้มีที่ล้างสำหรับอาหารสดอาหารสัตว์ชำแหละ รวมทั้งแผงจำหน่ายอาหารด้วย (๕) ต้องมีทางระบายน้ำรอบตลาดแบบเปิด ทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียง ระบายน้ำสะดวก และมีบ่อดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน ก่อนระบายน้ำออกจากตลาด (๖) กรณีที่มีโครงสร้างเฉพาะเสาและหลังคา โครงเหล็ก เต็นท์ หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกันต้องอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง ข้อ ๑๗ ส้วมที่ถ่ายปัสสาวะและอ่างล้างมือต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะตามที่กำหนดในข้อ ๑๑ (๑) - (๑๐) ข้อ ๑๒ และต้องอยู่ในที่เหมาะสมนอกบริเวณแผงขายสินค้าเว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ ส้วมสาธารณะ ส้วมเอกชน หรือส้วมของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้อยู่ในบริเวณใกล้เคียงมีระยะห่างไม่เกิน ๕๐ เมตร ข้อ ๑๘ ที่รวบรวมมูลฝอย มีลักษณะเป็นที่พักมูลฝอยที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น ๆ มีขนาดเพียงพอที่จะรองรับมูลฝอยในแต่ละวัน มีการปกปิดสามารถป้องกันสัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ยได้ ตั้งอยู่นอกบริเวณแผงขายของ และอยู่ในพื้นที่รถเข้าออกได้สะดวก ข้อ ๑๙ เมื่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าตลาดประเภทที่ ๒ นั้นมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นตลาดประเภทที่ ๑ ได้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้รับใบอนุญาตร่วมกันพิจารณากำหนดแผนการพัฒนาปรับปรุงตลาดประเภทที่ ๒ ให้เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ตามกฎกระทรวง ตามระยะเวลาและขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๒๐ ต้องมีเนื้อที่ตามความเหมาะสม โดยให้มีบริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของ ส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะ และที่รวบรวมมูลฝอย ข้อ ๒๑ บริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะกำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) แผงขายสินค้าสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๒) ทางเดินระหว่างแผงสำหรับผู้ซื้อต้องกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๓) น้ำใช้ในตลาดต้องเป็นน้ำประปา หรือน้ำที่สะอาดจัดให้มีปริมาณเพียงพอ (๔) จัดให้มีตะแกรงดักมูลฝอยบริเวณท่อระบายน้ำ ก่อนปล่อยน้ำทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ ข้อ ๒๒ ต้องจัดให้มีส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะเช่นเดียวกับข้อ ๑๗ เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ตามจำนวนในข้อ ๑๒ หรือส้วมสาธารณะ หรือส้วมหน่วยราชการที่ได้รับใบอนุญาตให้ใช้ใกล้เคียงห่างไม่เกิน ๕๐ เมตร ตามจำนวนในข้อ ๑๒ ข้อ ๒๓ ที่รวบรวมมูลฝอยมีลักษณะเป็นที่พักมูลฝอยที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น ๆ มีขนาดเพียงพอที่จะรองรับมูลฝอยในแต่ละวันมีการปกปิดสามารถป้องกันสัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ยได้ตั้งอยู่นอกบริเวณแผงขายของ และอยู่ในพื้นที่ที่รถเข้าออกได้สะดวก ข้อ ๒๔ การจัดวางสินค้าในตลาดต้องจัดวางผังการจำหน่ายให้เป็นหมวดหมู่ไม่ปะปนกันแยกเป็นอาหารสดชนิดต่าง ๆ อาหารแปรรูป อาหารปรุงสำเร็จ และประเภทสินค้าที่ไม่ใช่อาหารเพื่อสะดวกในการดูแลความสะอาด และป้องกันการปนเปื้อนในอาหารในกรณีที่เป็นอาหารสด ซึ่งอาจมีน้ำหรือของเหลวไหลหยดเลอะเทอะจะต้องมีการกั้นไม่ให้ไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาด และจัดให้มีท่อหรือทางสำหรับการระบายของน้ำหรือของเหลวนั้นลงสู่ท่อระบายน้ำโดยไม่ให้เปื้อนพื้นตลาด ข้อ ๒๕ กำหนดเวลาการเปิดและปิดตลาดให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๒๖ เมื่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๓ ได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าตลาดประเภทที่ ๓ นั้นมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นตลาดประเภทที่ ๒ ได้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้รับใบอนุญาตร่วมกันพิจารณากำหนดแผนการพัฒนาปรับปรุงตลาดประเภทที่ ๓ ให้เป็นตลาดประเภทที่ ๒ ตามกฎกระทรวง ตามระยะเวลาและขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๒๗ ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องบำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ภายในตลาด ได้แก่ ตัวอาคาร อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ท่อน้ำประปา ฯลฯ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา (๒) ต้องจัดให้มีที่รองรับมูลฝอยที่ไม่รั่วซึม และมีฝาปิดประจำทุกแผง ให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาดเป็นประจำและดูแลที่รวบรวมมูลฝอยรวมให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๓) ต้องจัดให้มีการทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน และล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง (๔) ต้องจัดให้มีการดูแลความสะอาดของห้องน้ำ ห้องส้วมอย่างเพียงพอ และดูแลบ่อดักมูลฝอยบ่อดักไขมัน และระบบบำบัดน้ำเสีย ให้ใช้การได้ดีตลอดเวลา ข้อ ๒๘ ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ต้องจัดให้มีการเก็บกวาดขยะมูลฝอยดูแลความสะอาดห้องน้ำ ห้องส้วม บ่อดักมูลฝอย และบ่อดักไขมันให้ใช้การได้ดี ดูแลที่รวบรวมมูลฝอยได้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอและจัดให้มีการล้างตลาดด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินกิจการประจำวัน ข้อ ๒๙ ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาดประเภทที่ ๓ ต้องจัดให้มีการเก็บกวาดขยะมูลฝอยดูแลความสะอาดห้องน้ำ ห้องส้วม บ่อดักมูลฝอย ให้ใช้การได้ดี ดูแลที่รวบรวมมูลฝอย ได้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ ข้อ ๓๐ ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาดต้องไม่ทำการและดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการอันอาจจะทำให้เกิดเหตุรำคาญ หรือการระบาดโรคติดต่อ ดังต่อไปนี้ (๑) นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย (๒) สะสม หมักหมม สิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาด ทำให้สถานที่สกปรก รกรุงรังเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์นำโรค (๓) ถ่ายเท ทิ้ง มูลฝอย หรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใด นอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรับรองมูลฝอย หรือสิ่งปฏิกูล (๔) ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดสกปรกขึ้น จนเป็นสาเหตุให้เสื่อม หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๕) ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งเป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้อื่น หรือน่าจะเกิดอันตราย (๖) ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัยหลับนอน (๗) การกระทำอื่นใดที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น ข้อ ๓๑ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องให้ความร่วมมือกับผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาดเจ้าพนักงานสาธารณสุข และเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับสุขลักษณะของตลาด ดังต่อไปนี้ (๑) การจัดระเบียบ กฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาด (๒) การจัดหมวดหมู่ของสินค้า (๓) การดูแลรักษาความสะอาดแผงจำหน่ายสินค้าของตน (๔) การเก็บกวาดรวบรวมมูลฝอยลงในภาชนะรองรับที่เหมาะสม (๕) การล้างตลาด (๖) การเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๓๒ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าและแผงจำหน่ายสินค้า ดังต่อไปนี้ (๑) ให้วางสินค้าบนแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด โดยห้ามวางสินค้าล้ำแผงจำหน่ายหรือขอบเขตที่กำหนด และห้ามวางสินค้าสูงจนอาจเกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อระบบระบายอากาศและแสงสว่าง ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ห้ามวางสินค้าประเภทวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร (๓) ให้วางสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และภาชนะอุปกรณ์ในขอบเขตที่กำหนดโดยสูงจากพื้นตลาดไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๔) ห้ามเก็บสินค้าประเภทอาหารไว้ใต้แผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร หรืออาหารที่มีการป้องกันการเน่าเสียและปกปิดมิดชิด ทั้งนี้ ต้องมีการรักษาความสะอาดและป้องกันสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ไม่ใช้แสงหรือวัสดุอื่นใดที่ทำให้ผู้บริโภคมองเห็นอาหารต่างไปจากสภาพที่เป็นจริง (๖) ห้ามต่อเติมแผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๓๓ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องมีสุขลักษณะส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคติดต่อ หรือโรคที่สังคมรังเกียจ หรือไม่เป็น พาหะนำโรคติดต่อ อันได้แก่ วัณโรค อหิวาตกโรค ไข้ไทฟอยด์ โรคบิด ไข้สุกไส ไข้หัด โรคคางทูม โรคเรื้อน โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ และโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี (๒) อาหารสดที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดการเน่าเสียได้ง่ายต้องจัดเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๓) การจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และรักษาอุปกรณ์ปกปิดให้สะอาดใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๔) ในกรณีที่มีการทำ ประกอบ ปรุงต้องจัดไว้ให้เป็นสัดส่วนและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร (๕) เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ต้องสะอาดและปลอดภัยมีการล้างและเก็บที่ถูกต้อง ทั้งก่อนและหลังการใช้งาน ข้อ ๓๔ ถ้าปรากฏว่าผู้ขายของหรือผู้ช่วยขายของคนใดเป็นโรคติดต่อหรือโรคที่สังคมรังเกียจหรือเป็นพาหะนำโรคติดต่อ ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าอนุญาตให้ขายของต่อไปจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ขายของ หรือผู้ช่วยขายของผู้นั้นหยุดการปฏิบัติงานไว้ทันทีจนกว่าจะปราศจากเหตุที่เป็นอยู่นั้น ข้อ ๓๕ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะในการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บ หรือสะสมอาหาร และการรักษาความสะอาดของภาชนะ น้ำใช้ และของใช้ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารที่ขายต้องสะอาด และปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาหาร (๒) อาหารสดเฉพาะสัตว์ เนื้อสัตว์ และอาหารทะเลต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส ในตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งตลอดระยะเวลาการเก็บ (๓) การจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องใช้เครื่องใช้ ภาชนะที่สะอาดและต้องมีอุปกรณ์ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และรักษาอุปกรณ์ปกปิดอาหารนั้นให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๔) ในกรณีที่เป็นแผงจำหน่ายอาหารซึ่งมีการทำ ประกอบ และปรุงอาหารต้องจัดสถานที่ไว้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะเพื่อการนั้น และต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร (๕) เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เขียง เครื่องขูดมะพร้าว จาน ชาม ช้อนและส้อม ตะเกียบ และแก้วน้ำ ต้องสะอาดและปลอดภัย มีการล้างทำความสะอาดและจัดเก็บที่ถูกต้อง ข้อ ๓๖ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดจำหน่ายสินค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน ๒ ชุด (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน ๒ ชุด (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๒ ชุด (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล) (๕) หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่เจ้าของกิจการไม่มายื่นขอรับใบอนุญาตด้วยตนเอง (๖) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรประกาศกำหนด ข้อ ๓๗ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาต หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๘ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๓๙ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปจนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๓๖ และข้อ ๓๗ โดยอนุโลม ข้อ ๔๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๔๑ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร ข้อ ๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๔๓ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๔๔ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๔๕ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๔๖ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๗ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๔๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ จรัณ วงศ์วาร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด (แบบ ตล. ๒) ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๓) ๕. คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๒๒/๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,304
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรและนายอำเภอบางเลน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า ของที่กินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อมหรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยาวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นแล้วแต่กรณี (๒) วัตถุมุ่งหมายสำ หรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารรวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สีและเครื่องปรุงแต่งกลิ่น สี “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่ไม่ใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยการจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้นหรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตามรวมทั้งสถานที่จำหน่ายเครื่องดื่มทุกชนิด “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่ไม่ใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อเก็บอาหารที่มีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำการประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลังรวมทั้งสถานที่จำหน่ายเครื่องดื่มทุกชนิด “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร “หนังสือรับรองการแจ้ง” หมายความว่า หนังสือรับรองการแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามผู้ใดจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใด ซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นห้ามผู้ใดจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาด เว้นแต่จะได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้ง ข้อ ๖ ความในข้อ ๕ ไม่ใช้บังคับหรือจัดสถานที่แห่งใดเพื่อดำเนินการต่อไปนี้ (๑) ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ (๒) ทำ ประกอบ ปรุง เก็บรักษาหรือสะสมอาหารเฉพาะผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดผู้ได้รับใบอนุญาตที่จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ข้อ ๗ สถานที่จำหน่ายอาหารกำหนดตามลักษณะของสถานที่ประกอบกิจการเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่จำหน่ายอาหารมีลักษณะเป็นตึกแถวหรืออาคารอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันให้คำนวณพื้นที่บริเวณที่จำหน่ายอาหารทั้งหมดในอาคารนับจากขอบเขตผนังด้านในทุกชั้นที่ประกอบกิจการยกเว้นพื้นที่ซึ่งกั้นไว้เป็นสัดส่วนสำหรับใช้สอยเพื่อการอื่น (๒) สถานที่จำหน่ายอาหารที่มีบริเวณให้คำนวณพื้นที่บริเวณภายในตัวอาคารและรวมพื้นที่รอบอาคารที่ใช้สำหรับการค้าอาหารนั้นด้วย ถ้าไม่มีขอบเขตที่แน่นอนให้คำนวณจากแนวเขตของพื้นที่ประกอบกิจการนั้น (๓) สถานที่จำหน่ายอาหารที่มีอาคารเชื่อมติดถึงกันให้คำนวณพื้นที่ประกอบกิจการรวมกันและให้มีใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งฉบับเดียว แล้วแต่กรณี ถ้าอาคารนั้นไม่เชื่อมติดถึงกันให้คำนวณพื้นที่แต่ละอาคารและแยกใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งแห่งละฉบับ แล้วแต่กรณี (๔) สถานที่จำหน่ายอาหารที่ตั้งอยู่ในอาคารใด ๆ ให้ใช้เลขที่ของอาคารนั้นโดยให้พิจารณาจากลักษณะพื้นที่ที่ประกอบการ ถ้าแยกเป็นสัดส่วนแต่ละแห่งไม่ว่าจะเป็นเจ้าของเดียวกันหรือไม่ให้มีใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งแห่งละฉบับ แล้วแต่กรณี การคำนวณพื้นที่ให้คำนวณพื้นที่ประกอบกิจการกรณีอาคารใดซึ่งจัดห้องน้ำ ห้องส้วมแยกไว้ต่างหากจะไม่นับรวมพื้นที่ของห้องน้ำ ห้องส้วมนั้น ข้อ ๘ สถานที่สะสมอาหารกำหนดตามลักษณะของสถานที่ประกอบกิจการ เพื่อคำนวณค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่สะสมอาหารที่มีลักษณะเป็นตึกแถวหรืออาคารที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันที่มีการตั้งวางสินค้าอาหารเต็มพื้นที่ หรือวางสินค้าอาหารทั่ว ๆ ไปหลายจุด ให้คำนวณพื้นที่บริเวณตั้งวางสินค้าอาหารทั้งหมดภายในอาคารนับจากขอบผนังด้านในทุกชั้นที่ประกอบกิจการรวมกับพื้นที่ของห้องน้ำ ห้องส้วม ยกเว้นพื้นที่ซึ่งกั้นไว้เป็นสัดส่วนสำหรับใช้สอยเพื่อการอื่น กรณีตั้งวางสินค้าอาหารไม่เต็มพื้นที่หรือตั้งวางที่จุดใดจุดหนึ่ง อาทิ ตู้แช่ โต๊ะ ชั้นวางสินค้าอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงให้คำนวณพื้นที่บริเวณที่ตั้งวางสินค้าอาหารนั้นรวมกับพื้นที่ห้องน้ำ ห้องส้วม และเปรียบเทียบกับพื้นที่ของอาคารทั้งหมดหากมีพื้นที่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของพื้นที่อาคารทั้งหมดให้คำนวณพื้นที่ของอาคารทั้งหมด กรณีสถานที่ประกอบกิจการนั้นมีหลายห้องติดต่อกันกึ่งหนึ่งของพื้นที่ให้หมายถึงกึ่งหนึ่งของห้องที่วางสินค้าอาหารนั้น (๒) สถานที่สะสมอาหารที่เป็นอาคาร โกดังเก็บสินค้าที่มีอาคารโกดังหลายหลังแต่มีเลขที่ของอาคารโกดังเลขที่เดียวและมีเจ้าของคนเดียวกัน ให้คำนวณพื้นที่ของอาคารโกดังทั้งหมดรวมกับพื้นที่ของห้องน้ำ ห้องส้วม และออกใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งฉบับเดียว แล้วแต่กรณี กรณีที่มีอาคารโกดังหลายหลังมีเลขที่ของอาคารโกดังเลขที่เดียวแต่มีเจ้าของหลายเจ้าของให้คำนวณพื้นที่ของอาคารโกดังของแต่ละเจ้าของรวมกับพื้นที่ของห้องน้ำ ห้องส้วม และออกใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง แล้วแต่กรณี ให้แต่ละเจ้าของ กรณีที่มีอาคารโกดังหลายห้อง และมีเลขที่ของอาคารโกดังแต่ละหลังให้คำนวณพื้นที่ของอาคารโกดังแต่ละหลังรวมกับพื้นที่ของห้องน้ำ ห้องส้วม และออกใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง แล้วแต่กรณี แยกแต่ละโกดัง กรณีที่มีเจ้าของสินค้าอาหารหลายเจ้าของในอาคารโกดังนั้น ให้คำนวณพื้นที่ของสถานที่สะสมอาหารของแต่ละเจ้าของรวมกับพื้นที่ของห้องน้ำ ห้องส้วม และออกใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง แล้วแต่กรณี ให้แต่ละเจ้าของ ข้อ ๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดประเภทของสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารตามประเภทของอาหารหรือตามวิธีการจำหน่ายเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๑๐ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้งใช้ และดูแลรักษาสถานที่และสุขลักษณะของบริเวณที่ใช้จำหน่ายอาหาร ที่จัดไว้สำหรับอาหารบริโภค ที่ใช้ทำ ประกอบ หรือปรุงอาหาร หรือที่สะสมอาหารให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและสะอาดอยู่เสมอ (๒) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหารต้องใช้วัตถุถาวร แข็งแรง และมีผิวเรียบไม่ดูดซึมน้ำและทำความสะอาดได้ง่าย การจัดตั้งถังบรรจุก๊าซต้องตั้งอยู่ในที่ปลอดภัย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๓) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ในการประกอบ ปรุง การเก็บและบริโภคไว้ให้เพียงพอ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๔) จัดให้มีที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะ และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๕) จัดให้มีอ่างล้างมือที่ใช้การได้ดีและมีจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ ตลอดจนให้มีสบู่ล้างมือได้ตลอดเวลา (๖) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียหรือระบบกำจัดของเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๗) ไม่ตั้งอยู่ในที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพ หรือแหล่งที่น่ารังเกียจ เช่น ใกล้ชิดกับที่ฝังศพ ที่เก็บศพ ที่เผาศพ ที่ทิ้งหรือกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๘) พื้นทำด้วยวัตถุถาวรและไม่มีน้ำขัง (๙) จัดให้มีทางระบายน้ำด้วยวัตถุถาวรเพื่อให้น้ำไหลลงสู่ทางระบายน้ำสาธารณะหรือบ่อรับน้ำเสียได้อย่างสะดวกตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือพนักงานเจ้าหน้าที่หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๑๐) จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ ณ จุดที่ทำการปรุง ประกอบและจำหน่ายอาหารและต้องมีการระบายอากาศภายในร้านเพียงพอโดยมีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของพื้นที่ห้อง (๑๑) จัดให้มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะและมีจำนวนเพียงพอตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ (๑๒) ถ้าจะขยายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ประกอบการค้าและทำให้สุขลักษณะเปลี่ยนแปลงไปด้วยแล้วจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน (๑๓) จัดให้มีเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสมจำนวนเพียงพอและอยู่ในสภาพใช้ได้สะดวกเมื่อเกิดเพลิงไหม้ตลอดจนต้องมีการตรวจสอบเครื่องดับเพลิงให้อยู่ในสภาพใช้การได้ทุกป (๑๔) ปฏิบัติการอื่น ๆ ให้ถูกสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๑ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและป้องกันโรคติดต่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) มีระบบการระบายควันที่เกิดจากการปรุงอาหาร เช่น ปล่องระบายควันที่มีพัดลมดูดควันและสูงเพียงพอที่จะไม่ก่อเหตุรำคาญ (๒) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอและต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดพื้นทุกอาทิตย์ (๓) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะต้องเก็บ ขน กำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๔) รักษาส้วมให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ (๕) ถ้ามีสัตว์ที่จะฆ่าเป็นอาหารต้องแยกให้อยู่ในที่เหมาะสม (๖) จัดวางสิ่งของเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๗) ปฏิบัติการอื่น ๆ ให้ถูกสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๒ กำหนดเวลาจำหน่ายอาหาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเวลาจำหน่ายอาหารบางประเภทหรือชนิดใดโดยที่ระบุไว้ได้ ข้อ ๑๓ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหารและผู้ให้บริการต้องมีการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้จำหน่าย ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการต้องแต่งกายให้เรียบร้อย (๒) ผู้จำหน่าย ปรุง และให้บริการอาหารต้องผ่านการตรวจสุขภาพว่าไม่เป็นโรคติดต่อที่น่ารังเกียจ และต้องผ่านการทดสอบความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร (๓) ห้ามผู้ได้รับใบอนุญาตหรือใบรับรองการแจ้ง แล้วแต่กรณี ทำการจำหน่าย ปรุงสะสมอาหาร เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าตนเป็นโรคติดต่อ หรือซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ตรวจสอบแล้วปรากฏว่าเป็นพาหะและได้รับแจ้งความเป็นหนังสือว่าตนเป็นพาหะของโรคติดต่อ ข้อ ๑๔ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาหาร ทำ ประกอบ ปรุง เก็บรักษา หรือสะสมอาหาร ตลอดจนสุขลักษณะของภาชนะอุปกรณ์ น้ำใช้ และของใช้อื่น ๆ ต้องมีการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) การจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง วาง เก็บ สะสมอาหาร หรือการล้างภาชนะอุปกรณ์ต้องทำในที่สะอาด ซึ่งสูงกว่าพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และที่เก็บสะสมอาหารต้องป้องกันสัตว์นำโรคได้ (๒) จัดให้มีน้ำสะอาดไว้ใช้อย่างเพียงพอและคุณภาพเทียบเท่าน้ำประปา กรณีน้ำดื่มเครื่องดื่ม น้ำผลไม้ต้องสะอาดและควรเก็บไว้ในภาชนะที่มีการปกปิด มีทางรินน้ำเทออก หรือมีอุปกรณ์ที่มีด้ามตักโดยเฉพาะผักสดและตั้งไว้สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๓) การเตรียมอาหารก่อนปรุงต้องล้างให้สะอาดโดยเฉพาะผักสดและผลไม้น้ำที่ใช้ปรุงประกอบ แช่ล้างอาหารและภาชนะต้องใช้น้ำสะอาด (๔) ใช้เครื่องปกปิดอาหารตลอดจนภาชนะที่ใช้สำหรับ ประกอบ ปรุง เก็บรักษาหรือสะสมอาหาร ให้ป้องกันฝุ่นละอองและสัตว์นำโรคได้โดยปกปิดให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๕) ใช้ภาชนะที่สะอาดสำหรับใส่และปรุงอาหารโดยรักษาให้สะอาดอยู่เสมอในส่วนของน้ำแข็งที่ใช้บริโภคต้องสะอาดควรเก็บในถังหรือกระติกที่มีการปกปิดมีอุปกรณ์คีบหรือตักโดยเฉพาะไม่นำอาหารหรือสิ่งของอื่นแช่ปนกับน้ำแข็งเพื่อการบริโภค (๖) ห้ามใช้ภาชนะที่ทำด้วยสังกะสีหรือตะกั่วต้มอาหารที่มีเกลือปนอยู่ด้วย (๗) ห้ามขายอาหารอันเป็นการไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค (๘) ภาชนะที่บรรจุอาหารหรือใส่เครื่องปรุงรสต่าง ๆ ต้องใช้วัสดุที่ออกแบบที่ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร และปลอดภัย (๙) ภาชนะที่ใช้แล้วต้องล้างและเก็บให้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร ส่วนภาชนะประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ห้ามนำกลับมาใช้อีก (๑๐) ไม่ขายอาหารให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อที่มีสภาพน่ารังเกียจบริโภคในสถานที่ได้รับอนุญาต (๑๑) เนื้อสัตว์ที่มีไว้ขาย ทำ ประกอบ ปรุงอาหาร ต้องผ่านการตรวจจากสัตวแพทย์และเก็บในภาชนะปกปิด (๑๒) ห้ามนำสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข หรือแมว เข้ามาในสถานที่ประกอบอาหาร (๑๓) ปฏิบัติการอื่น ๆ ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๕ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจผ่อนผันให้ผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้ขอรับหนังสือรับรองการแจ้งงดเว้นหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ เพียงเท่าที่เห็นสมควรหรือจะเปลี่ยนแปลงอย่างใดเพื่อให้เหมาะสมแก่สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารนั้น ทั้งนี้ การงดเว้นหรือผ่อนผันจะต้องไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่ ข้อ ๑๖ ผู้ใดประสงค์ขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดให้ยื่นคำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สอ. ๒ ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการ/บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) ใบรับรองแพทย์ (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคลในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล (๕) หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่เจ้าของกิจการไม่มายื่นคำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งด้วยตนเอง (๖) สำเนาหลักฐานการอนุญาตหรือหลักฐานอื่นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ (๗) สำเนาหลักฐานอื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแจ้งแก่ผู้แจ้งเพื่อเป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งตามแบบ สอ. ๔ ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผลแต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้ง ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มาแจ้งและภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินการนั้น โดยยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียมประจำปีตามแบบ สอ. ๖ ท้ายข้อบัญญัตินี้ ถ้าผู้แจ้งมิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหกค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผย และเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการนั้น ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องจัดสถานที่และปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ ข้อ ๑๘ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบ สอ. ๙ ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง ให้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบันทึกประจำวันของสถานีตำรวจในพื้นที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย หรือถูกทำลาย กรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) หนังสือรับรองการแจ้งเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ (๓) หลักฐานอื่น ๆ ตามข้อ ๑๖ ใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้ใช้ตามแบบ สอ. ๑๐ ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๙ ผู้แจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารประสงค์ที่จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นต้องแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสิบห้าวันก่อนการเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการตามแบบ สอ. ๑๑ หรือแบบ สอ. ๑๒ ท้ายข้อบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้ โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๑๖ และเคยได้รับโทษตามข้อบัญญัตินี้ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่งยังฝ่าฝืนดำเนินการต่อไปโดยมิได้แจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๑๖ ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้น ตามเวลาที่กำหนด ซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๑ การแจ้งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้แจ้งหรือผู้ดำเนินกิจการทราบ ในกรณีที่ไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับหนังสือให้ส่งหนังสือการแจ้งหรือคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือปิดหนังสือนั้นไว้ที่เปิดเผยเห็นง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้ที่ต้องรับหนังสือและให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบหนังสือดังกล่าวแล้วตั้งแต่เวลาที่หนังสือไปถึงหรือวันปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ผู้ใดประสงค์ขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สอ. ๑ ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการ/บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) ใบรับรองแพทย์ (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคลในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล (๕) หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่เจ้าของกิจการไม่มายื่นขอรับใบอนุญาตด้วยตนเอง (๖) สำเนาหลักฐานการอนุญาตหรือหลักฐานอื่นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ (๗) สำเนาหลักฐานอื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรกำหนด ข้อ ๒๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่ต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาต หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตได้หรืออาจยังไม่มีคำสั่งไม่อนุญาตได้ตามกำหนดเวลาในวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปอีกได้ไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไปแล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๔ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรตามแบบ สอ. ๓ ท้ายข้อบัญญัตินี้ การต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุตามแบบ สอ. ๕ ท้ายข้อบัญญัตินี้เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตการขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารประสงค์ที่จะเลิกกิจการ หรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นต้องแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสิบห้าวันก่อนการเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการตามแบบ สอ. ๑๑ หรือแบบ สอ. ๑๒ ท้ายข้อบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกและก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินการนั้น ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตมิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดสถานที่และปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหายถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบ สอ. ๗ ท้ายข้อบัญญัตินี้การขอรับใบแทนใบอนุญาตให้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบันทึกประจำวันของสถานีตำรวจในพื้นที่ใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลาย กรณีใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ (๓) หลักฐานอื่น ๆ ตามข้อ ๒๒ ใบแทนใบอนุญาตให้ใช้ตามแบบ สอ.๘ ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ขอรับอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหารไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้ขอรับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุต้องสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและใบเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้ทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๒ ใบอนุญาตประกอบกิจการที่ออกก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับและจะต้องได้รับใบอนุญาตหรือต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ได้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้นและเมื่อใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุหากผู้ได้รับใบอนุญาตยังประสงค์จะดำเนินกิจการต่อไปให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินการแจ้งเพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้งหรือขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนการดำเนินกิจการ แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๓ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกโดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยไม่มีเหตุอันสมควรต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร ข้อ ๓๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชรเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ จรัณ วงศ์วาร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๑) ๓. คำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๒) ๔. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๓) ๕. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๔) ๖. คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๕) ๗. คำขอชำระค่าธรรมเนียมประจำปี ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๖) ๘. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๗) ๙. ใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๘) ๑๐. คำขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๙) ๑๑. ใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๑๐) ๑๒. คำขอบอกเลิกกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๑๑) ๑๓. คำขอโอนการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๑๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๓๗/๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,305
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดินโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดินและนายอำเภอสว่างแดนดิน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดินตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาดที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชน “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติการตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดินเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดินแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร องค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดินอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนก็ได้ ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน ข้อ ๖ ห้ามผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะเป็นต้นว่า ถนน ตรอก ซอย แม่น้ำ คลอง คู สระน้ำ บ่อน้ำ เว้นแต่ในที่ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดินจัดตั้งไว้ให้เฉพาะ ข้อ ๗ ห้ามผู้ใดนำสิ่งปฏิกูลไปในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่ได้ใส่ภาชนะหรือที่เก็บมิดชิดไม่ให้มีสิ่งปฏิกูลหรือกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก ข้อ ๘ ห้ามผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงนอกที่รองรับมูลฝอย ข้อ ๙ ห้ามผู้ใดทำการถ่าย เท ขน หรือเคลื่อนย้าย สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในถังรับ รถขน เรือขน สถานที่เท เก็บ หรือพักสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน เว้นแต่เป็นการกระทำของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน ข้อ ๑๐ ห้ามผู้ใดทำการขน ถ่าย เท คุ้ย เขี่ย หรือขุดมูลฝอยในที่รองรับ รถขน เรือขนหรือสถานที่พักมูลฝอยใด ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน เว้นแต่เป็นการกระทำของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน ข้อ ๑๑ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รับรองสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในอาคารหรือสถานที่นั้น ๆ ให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ ข้อ ๑๒ ที่รับรองสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยต้องเป็นภาชนะปิดมิดชิด ไม่รั่ว ไม่ซึม และไม่มีกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก และที่รองรับมูลฝอยต้องไม่รั่วมีฝาปิดมิดชิดกันแมลงและสัตว์ได้ตามแบบ ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบ ข้อ ๑๓ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องรักษาบริเวณอาคารหรือสถานที่นั้นไม่ให้มีการถ่าย เท หรือทิ้งสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๑๔ ห้ามเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยอันอาจทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น ควัน กลิ่น หรือแก๊ส เป็นต้น เว้นแต่จะได้ทำการโดยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะ หรือกระทำตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๕ อัตราค่าเก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย และอัตราค่าธรรมเนียมในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ให้เป็นไปตามบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๖ ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ควรทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ไปทำการกำจัดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะยิ่งขึ้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร สถานที่ หรือบริเวณนั้น ๆ ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน หรือเมื่อได้ทำการปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย กำหนดบริเวณที่ต้องทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล และมูลฝอยไม่น้อยกว่า ๓ แห่ง เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ วันนับแต่วันประกาศแล้ว เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น เก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจากอาคาร สถานที่ หรือบริเวณนั้น ๆ ซึ่งตนเป็นเจ้าของหรือครอบครองอยู่ โดยเสียค่าธรรมเนียมเก็บขนตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ซึ่งอยู่นอกบริเวณเก็บ ขน สิ่งปฏิกูลและมูลฝอยตามข้อ ๑๖ ต้องจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยการเผา ฝัง หรือโดยวิธีอื่นใดที่ไม่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๑๘ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับขนทำการเก็บ ขน หรือจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ สม.๑ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พร้อมกับหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดินกำหนด ข้อ ๒๐ คุณสมบัติของผู้อนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดินกำหนด ข้อ ๒๑ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับคำขอรับใบอนุญาต ให้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ หากปรากฏว่าผู้ขออนุญาตปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้ว และเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควร ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตตามแบบ สม. ๒ ถ้าปรากฏว่าคำขอไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์นั้น แจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน ในกรณีจำเป็นจะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่มีคำสั่งไม่อนุญาตภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน ๒ ครั้ง ครั้งละไม่เกิน ๑๕ วัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือตามที่ได้ขยายเวลาแล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ผู้ที่ได้รับอนุญาต ต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ ภายในกำหนด ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากมิได้มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๓ ในการให้บริการตามใบอนุญาต ผู้รับใบอนุญาตต้องทำสัญญาเป็นหนังสือกับผู้รับบริการทุกราย โดยสัญญาดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุถึงอัตราค่าบริการ ระยะเวลาในการให้บริการและความรับผิดชอบในกรณีผิดสัญญา โดยส่งสำเนาสัญญาและใบเสร็จรับเงินให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนด ๓๐ วัน ก่อนวันที่เริ่มการให้บริการ ทั้งนี้ อัตราค่าบริการต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราค่าบริการขั้นสูงท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๔ ผู้รับใบอนุญาตเลิกการให้บริการแก่ผู้รับบริการรายใดจะต้องทำเป็นหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนด ๓๐ วัน ก่อนวันที่ได้เริ่มการให้บริการตามสัญญาใหม่ ข้อ ๒๕ ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) รักษาคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๙ ตลอดเวลาที่ยังดำเนินการตามใบอนุญาต (๒) ปฏิบัติตามรายละเอียดที่ได้ยื่นไว้ตามข้อ ๒๒ (๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความปลอดภัย และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน ข้อ ๒๖ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่อใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สม. ๓ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำ ขอพร้อมกับชำ ระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการได้จนกว่า เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่อใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๒๗ ใบอนุญาตให้มีอายุ ๑ ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน ข้อ ๒๘ เมื่อผู้รับใบอนุญาต ไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไปให้ยื่นคำขอเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สม. ๔ ข้อ ๒๙ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตให้ยื่นคำขอแก้ไขรายการในใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สม. ๔ ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้รับใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สม. ๔ ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๓๑ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ สม. ๒ โดยประทับตราสีแดง คำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๓๒ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๓ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ หรือได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ สม. ๑ (๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ หรือได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ สม. ๒ (๓) คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ สม. ๓ (๔) คำขออนุญาตต่าง ๆ ให้ใช้แบบ สม. ๔ ข้อ ๓๔ กรณีที่ปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้คราวหนึ่งไม่เกิน ๑๕ วัน กรณีที่ปรากฏว่า ผู้รับใบอนุญาตถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่ ๒ ครั้งขึ้นไป และมีเหตุจะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ ข้อ ๓๕ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๘ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๖ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๒๓ ข้อ ๒๔ หรือข้อ ๒๕ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๗ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๓๐ หรือข้อ ๓๒ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๘ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อหนึ่งข้อใดนอกจากข้อ ๓๕ ข้อ ๓๖ หรือข้อ ๓๗ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดินเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เรืองยศ อินทรธรรม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสว่างแดนดิน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม. ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม. ๒) ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม. ๓) ๕. คำขออนุญาตต่าง ๆ เกี่ยวกับการประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม. ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๔ ง/หน้า ๑๙๖/๒ มีนาคม ๒๕๖๐
54,306
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฉลอง เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฉลอง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฉลอง เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฉลอง ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลฉลองโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลฉลองและนายอำเภอสิชล จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฉลอง เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลฉลองตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฉลอง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลฉลอง (๑) กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๑.๑) การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลง (๑.๒) การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอาน้ำนม (๑.๓) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใด อันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ จะมีการเรียกเก็บค่าดู หรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์หรือผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาดและการฆ่าเพื่อการบริโภคในครัวเรือน (๒.๒) การฟอกหนังสัตว์ ขนสัตว์ การสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ที่ยังมิได้ฟอก (๒.๓) การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์ (๒.๕) การต้ม การตาก การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย และการขายในตลาด (๒.๖) การประดิษฐ์เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ หนังสัตว์ ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ (๒.๗) การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์ (๒.๘) การสะสมหรือการล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม (๓.๑) การผลิตเนย เนยเทียม (๓.๒) การผลิตกะปิ เครื่องแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว หอยดอง หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๓) การผลิต การหมัก การสะสมปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๔) การตากเนื้อสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์เค็ม การเคี่ยวมันกุ้ง ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๕) การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก หรือวิธีการอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์ พืช ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๖) การเคี่ยวน้ำมันหมู การผลิตกุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก หมูตั้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๗) การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ (๓.๘) การผลิตแบะแซ (๓.๙) การผลิตอาหารกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๐) การประกอบกิจการการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ (๓.๑๑) การแกะ การล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ยกเว้นการผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือน (๓.๑๒) การผลิตน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำ โซดา น้ำถั่วเหลือง เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋องขวดหรือภาชนะอื่นใด ยกเว้นการผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือน (๓.๑๓) การผลิต การแบ่งบรรจุน้ำตาล (๓.๑๔) การผลิต ผลิตภัณฑ์จากน้ำนมวัว (๓.๑๕) การผลิต การแบ่งบรรจุเอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ น้ำส้มสายชู (๓.๑๖) การคั่ว กาแฟ (๓.๑๗) การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร (๓.๑๘) การผลิตผงชูรส (๓.๑๙) การผลิตน้ำกลั่นน้ำบริโภค (๓.๒๐) การตาก การหมัก การดองผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น ยกเว้นการบริโภคในครัวเรือน (๓.๒๑) การตาก การบรรจุใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ (๓.๒๒) การผลิตไอศกรีม ยกเว้นการผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือน (๓.๒๓) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๒๔) การประกอบกิจการห้องเย็น แช่แข็งอาหาร (๓.๒๕) การผลิตน้ำ แข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหารและเพื่อการบริโภคในครัวเรือน (๓.๒๖) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง (๔.๑) การผลิต การโม่ การบด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร (๔.๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเช็ดเครื่องสำอางต่าง ๆ (๔.๓) การผลิตสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การอัด การสกัดเอาน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิตแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคูหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๕.๔) การสีข้าวด้วยเครื่องจักร (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร (๕.๗) การผลิต การสะสมปุ๋ย (๕.๘) การผลิตใยมะพร้าว หรือวัตถุคล้ายคลึงด้วยเครื่องจักร (๕.๙) การตาก การสะสม หรือขนถ่ายมันสำปะหลัง (๖) กิจการเกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตโลหะที่เป็นภาชนะ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ (๖.๒) การหลอม การหล่อ การถลุงแร่หรือโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การประสาน การรีด การอัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซหรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิลหรือโลหะอื่นใดยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด การล้างโลหะด้วยเครื่องจักร สารเคมี หรือวิธีอื่นใด ยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือก หรือการล้างแร่ (๗) กิจการที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่ง ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๓) การปรับปรุงธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๗.๔) การล้าง การอัดฉีดยานยนต์ (๗.๕) การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอร์รี่ (๗.๖) การปะ การเชื่อมยาง (๗.๗) การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้วหรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การประดิษฐ์ไม้ หวาย เป็นสิ่งของเครื่องจักร หรือการพ่น การทาสารเคลือบเงาสีหรือการแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิตธูปด้วยเครื่องจักร (๘.๖) การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียนด้วยกระดาษ (๘.๗) การประดิษฐ์กระดาษต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) กิจการสปาเพื่อสุขภาพเว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการ อาบ อบ นวด เว้นแต่เป็นการให้บริการใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๓) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการโรงแรม หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๕) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า ห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๗) การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๘) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันเว้นแต่เป็นการให้บริการใน (๙.๑) (๙.๙) การจัดให้มีการเล่นสเกต โดยมีแสงหรือเสียงประกอบ หรือการเล่นอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๑๐) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๑) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก โดยวิธีการควบคุมทางโภชนาการให้อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ การบริหารร่างกาย หรือโดยวิธีอื่นใด เว้นแต่การให้บริการดังกล่าวในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๑๒) การประกอบการสวนสนุก ตู้เกม เกมออนไลน์ (๙.๑๓) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม (๙.๑๔) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๕) การสักผิวหนัง การเจาะหู หรือเจาะอวัยวะอื่น (๙.๑๖) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้าน (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย การกรอด้าย การทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือการทอผ้าด้วยกี่กระตุกตั้งแต่ ๕ กี่ขึ้นไป (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย หรือนุ่น (๑๐.๓) การปั่นฝ้าย หรือนุ่นด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บหรือปักผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า หรือการพิมพ์บนสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก การอบ การรีด การอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม การกัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการเกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตเครื่องใช้ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม การผสมซีเมนต์ หินทรายหรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน กระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือการเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิต ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม เช่น ผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้าเพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น (๑๑.๙) การผลิตกระจก หรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้วหรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี (๑๒.๑) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่ง กรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต การกลั่น การสะสม การขนส่งน้ำมันปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ (๑๒.๔) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการ (๗.๑) (๑๒.๖) การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ การบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสี หรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่าย หรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ การชุบ วัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน เทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือการถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุ หรือสิ่งของชำรุดใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว (๑๓.๘) การพิมพ์สีลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การก่อสร้าง ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือหน่วยงานราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือหน่วยงานราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญของประชาชน ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม อาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๗ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลฉลองประกาศกำหนด ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลฉลองเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ ด้วย ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๓ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลฉลอง ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๕ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๗ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๘ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๙ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฉลองเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สุนทร ใจห้าว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฉลอง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียม ท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฉลอง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑/๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,307