File size: 3,328 Bytes
c5b6280 |
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 |
Book,Page,LineNumber,Text
42,0025,001,เป็นผู้สำนอง คือรับใช้ในเมื่อของหาย เหตุดังนั้น ในการรับฝาก
42,0025,002,ท่านจึงกำหนดเป็นอาบัติ ด้วยขาดกรรมสิทธิ์แห่งเจ้าของ ที่ภิกษุนั้น
42,0025,003,พ้นจากการสำนองไป.
42,0025,004,๒๔๗๖
42,0025,005,ถ. ภิกษุถูกคนร้ายลักโคมลานไป วิ่งไล่ตามทันชิงคืนมาได้
42,0025,006,ภิกษุอื่นรู้เรื่องนั้นตั้งรังเกียจเธอดังนี้ นักวินัยจะพึงปรับเธอด้วยอวหาร
42,0025,007,อะไร ? หรือจะพึงเปลื้องความรังเกียจด้วยชี้แจงอย่างไร ?
42,0025,008,ต. ไม่ควรปรับด้วยอวหารอะไร เพราะภิกษุนั้นยังถือกรรมสิทธิ์
42,0025,009,ในของนั้นอยู่ด้วยอาการที่เธอวิ่งไล่ไปนั้น ส่อให้เห็นว่าเธอยังไม่ละ
42,0025,010,สิทธิในของนั้น ถึงแย่งชิงคืนมาได้ ก็คือเอาของของตนนั้นเอง
42,0025,011,ไม่ใช่ของผู้ร้าย เช่นนี้จะปรับด้วยอวหารอะไรแก่เธอเล่า แม้ของ
42,0025,012,อันผู้ร้ายลักไปเป็นสิทธิ์แล้ว แต่ภิกษุยังถือกรรมสิทธิ์ในของนั้นอยู่
42,0025,013,ขออารักขาทางบ้านเมือง ได้คืนมาด้วยอาการนั้นยังไม่เป็นไร แม้
42,0025,014,ภิกษุยักยอกของที่เขาฝากไว้ในมือ เจ้าของยังถือกรรมสิทธิ์อยู่เพียงใด
42,0025,015,ท่านยังไม่จัดเป็นอวหารเพียงนั้น นี้ก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ไม่ควร
42,0025,016,รังเกียจแก่เธอ.
42,0025,017,๒๔๗๗
42,0025,018,ถ. ภิกษุล่วงอวหาร เอกภัณฑะ กับ นานาภัณฑะ ต่างกัน
42,0025,019,อย่างไร ?
42,0025,020,ต. ภิกษุลักทรัพย์สิ่งเดียวมีราคาเป็นวัตถุแห่งปาราชิก เรียกว่า
42,0025,021,เอกภัณฑะ ภิกษุลักทรัพย์หลายสิ่ง แต่สิ่งหนึ่ง ๆ มีราคาไม่ถึงวัตถุ
|