|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
03,045,001,"ก็ตามที. "" "
|
|
03,045,002,ในสมัยนั้น พระยามารเกรงว่า พระมหาบุรุษจะพ้นจากอำนาจ
|
|
03,045,003,"แห่งตน จึงยกพลเสนามาผจญ, แสดงฤทธิ์มีประการต่าง ๆ เพื่อ"
|
|
03,045,004,จะยังพระมหาบุรุษให้ตกพระหฤทัยกลัวแล้วจะเสด็จหนีไป. พระองค์
|
|
03,045,005,ทรงนึกถึงพระบารมี ๑๐ ทัศ ที่ได้ทรงบำเพ็ญมา ตั้งมหาปฐพีไว้ในที่
|
|
03,045,006,เป็นพยาน เสี่ยงพระบารมี ๑๐ ทัศนั้นเข้าช่วยผจญ ยังพระยามาร
|
|
03,045,007,กับเสนาให้ปราชัย แต่ในเวลาพระอาทิตย์ยังไม่ทันอัสดงคตแล้วบรรลุ
|
|
03,045,008,"บุพเพนิวาสานุสสติญาณในปฐมยาม, ได้ทิพพจักขุญาณในมัชฌิมยาม,"
|
|
03,045,009,ทรงใช้พระปัญญาพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ทั้งฝ่ายเกิดฝ่ายดับ สาว
|
|
03,045,010,"หน้าสาวกลับไปมาในปัจฉิมยาม, ก็ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ"
|
|
03,045,011,ในเวลาอรุณขึ้น.<SUP>๑</SUP>
|
|
03,045,012,ในประพฤติเหตุเหล่านี้ ข้อที่จะพึงปรารภถึง มีแต่เรื่องผจญ
|
|
03,045,013,มาร. สันนิษฐานเห็นว่า เป็นเรื่องแสดงน้ำพระหฤทัยของพระมหาบุรุษ
|
|
03,045,014,โดยบุคคลาธิฏฐาน คือกล่าวเปรียบด้วยตัวบุคคล. กิเลสกามเปรียบ
|
|
03,045,015,"ด้วยพระยามาร, กิเลสอันเป็นฝ่ายเดียวกัน เปรียบด้วยเสนามาร."
|
|
03,045,016,กิเลสเหล่านั้น เกิดขึ้นท่องเที่ยวอยู่ในจิตของพระมหาบุรุษ ให้นึกถึง
|
|
03,045,017,ความเสวยสุขสมบัติในปางหลังและทวนกลับ เปรียบด้วยพระยามาร
|
|
03,045,018,ยกพลเสนามาผจญ. พระบารมี ๑๐ ทัศนั้น คือ ทาน ๑ ศีล ๑
|
|
03,045,019,เนกขัมมะ คือความออกจากกามได้แก่บรรพชา ๑ ปัญญา ๑ วิริยะ ๑
|
|
03,045,020,ขันติ ๑ ความสัตย์ ๑ อธิฏฐาน คือความมั่นคง ๑ เมตตา ๑ อุเบกขา
|
|
|