|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
06,0033,001,ในวินีตวัตถุแห่งสิกขาบทนี้ แสดงอทินนาทานเข้าในประเภทนี้
|
|
06,0033,002,อีก ๒ อย่าง คือ :-
|
|
06,0033,003,๔. คนถือของตก ภิกษุมีไถยจิตเข้าแย่งเอา พอหยิบขึ้นจากที่
|
|
06,0033,004,ก็ต้องอาบัติ. เพื่อจำง่าย ควรเรียกว่า แย่ง.
|
|
06,0033,005,๕. เวลาแจกของ ภิกษุมีไถยจิตสับฉลากชื่อตนกับชื่อภิกษุอื่น
|
|
06,0033,006,ในกองของ ด้วยหมายจะเอาลาภของภิกษุอื่นที่มีราคากว่า พอสับ
|
|
06,0033,007,เสร็จก็ต้องอาบัติ. เอาของปลอมสับเอาของดี จัดเข้าในบทนี้เหมือน
|
|
06,0033,008,กัน. เพื่อจำง่าย ควรเรียกว่า ลักลับ.
|
|
06,0033,009,การถือเอาทรัพย์เป็นอสังหาริมะกำหนดว่า ถึงที่สุด ด้วยขาด
|
|
06,0033,010,กรรมสิทธิ์แห่งเจ้าของ ตัวอย่าง เช่น ภิกษุกล่าวตู่เพื่อจะเอาที่ดิน
|
|
06,0033,011,ของผู้ใดผู้หนึ่ง เจ้าของเป็นผู้มีวาสนาน้อย เถียงไม่ขึ้น ทอด
|
|
06,0033,012,กรรมสิทธิ์ของตนเสีย ภิกษุต้องอาบัติถึงที่สุดในขณะนั้น ถ้าเจ้าของ
|
|
06,0033,013,ยังไม่ปล่อยกรรมสิทธิ์ ฟ้องภิกษุในศาล เพื่อเรียกที่ดินคืน ต่าง
|
|
06,0033,014,เป็นความแก้คดีกัน ถ้าเจ้าของแพ้ ภิกษุต้องอาบัติถึงที่สุด. ภิกษุเป็น
|
|
06,0033,015,โจทก์ฟ้องความเอง เพื่อจะตู่เอาที่ดินก็เหมือนกัน. แต่คำที่ว่า เจ้าของ
|
|
06,0033,016,แพ้ความนั้น พึงเข้าใจว่า แพ้ในศาลสูงสุดที่คดีเป็นจบลงเท่านั้น.
|
|
06,0033,017,เพื่อจำง่าย ควรเรียกว่า ตู่. ภิกษุปักเขตรุกเอาที่ดินของเขา ท่านว่า
|
|
06,0033,018,ต้องอาบัติถึงที่สุดในขณะทำสำเร็จ แต่น่าจะเห็นว่าเจ้าของไม่รู้ เป็น
|
|
06,0033,019,อันตู่กรรมสิทธิ์ด้วยทีเดียว. ข้อนี้พระวินัยธรพึงพิจารณาดูเถิด ถ้า
|
|
06,0033,020,รื้อถอนทรัพย์เป็นอสังหาริมะโดยอ้อออกจากที่ เช่นฟังต้นไม้ หรือ
|
|
|