|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
09,0013,001,อธิบาย: ความตริเป็นไปเพื่อทำใจไม่ให้ลุอำนาจแก่กิเลสกาม
|
|
09,0013,002,และไม่ติดอยู่ในวัตถุกาม จัดเป็นเนกขัมมวิตก แต่เนกขัมมศัพท์นี้
|
|
09,0013,003,ท่านหมายเอาออกบวช เพราะความมุ่งหมายของผู้บวช ย่อมเป็น
|
|
09,0013,004,ไปในทางนั้น. ความตริเป็นด้วยอำนาจเมตตาในผู้อื่น ปรารถนา
|
|
09,0013,005,ความดีความงามเพื่อเขา จัดเป็นอพยาบาทวิตก. ความตริเป็นไป
|
|
09,0013,006,ด้วยอำนาจกรุณาในผู้อื่น จะทำอะไร ๆ เนื่องด้วยผู้อื่น เป็นต้นว่า
|
|
09,0013,007,จะใช้คนหรือสัตว์ มีปรานีคิดถึงความลำบากของเขาของมัน ไม่ใช้
|
|
09,0013,008,ตรากตรำ ไม่ทำความลำบากให้แก่เขาแก่มันโดยไม่จำเป็น จัดเป็น
|
|
09,0013,009,อวิหิงสาวิตก.
|
|
09,0013,010,อัคคิ [ไฟ ๓]
|
|
09,0013,011,ราคัคคิ ไฟคือราคะ
|
|
09,0013,012,โทสัคคิ ไฟคือโทสะ
|
|
09,0013,013,โมหัคคิ ไฟคือโมหะ.
|
|
09,0013,014,ขุ. อุ. ๒๕/๓๐๑.
|
|
09,0013,015,อธิบาย: กิเลส ๓ ประเภทนี้ จัดเป็นอัคคิ เพราะเป็นสภาพ
|
|
09,0013,016,เผาลนสันดานให้ร้อน.
|
|
09,0013,017,อัตถะ หรือ ประโยชน์ ๓
|
|
09,0013,018,ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในภพนี้
|
|
09,0013,019,สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ในภพเจ้า
|
|
09,0013,020,ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยอด (คือพระนิพพาน).
|
|
|