dhamma-scholar-book / 16 /160008.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
raw
history blame
3.13 kB
Book,Page,LineNumber,Text
16,0008,001,กรรมวาจามีอนุสาวนา ทิ้งอนุสาวนาเสีย หรือสวดในกาลไม่ควร
16,0008,002,เช่นนี้เป็นกรรมวิบัติโดยกรรมวาจา.
16,0008,003,เป็นธรรมเนียมแห่งการสวดกรรมวาจา ต้องตั้งญัตติเผดียงสงฆ์
16,0008,004,ให้รู้เรื่องก่อนแล้ว สวดอนุสาวนาประกาศความปรึกษาและความตก
16,0008,005,ลงของสงฆ์ในลำดับ ถ้าสวดอนุสาวนาก่อนแล้วตั้งญัตติทีหลังเป็น
16,0008,006,กรรมวิบัติโดยกรรมวาจา.
16,0008,007,ในคำว่า ทิ้งอนุสาวนาเสียนั้น แม้สวดแต่ไม่ครบกำหนดแห่ง
16,0008,008,กรรมวาจามีอนุสาวนา ๓ หน หรือทำให้ตกหล่น เช่นขาดความบาง
16,0008,009,พากย์ หรือขาดบางบท หรือว่าผิด เช่นจะว่าบทหรืออักขระหนึ่ง
16,0008,010,ว่าพลาดเป็นบทหรืออักขระอื่นไป ก็นับเข้าด้วย.
16,0008,011,สงฆ์ผู้ทำสังฆกรรม ๔ ประเภทนี้ พึงทำหลีกจากวิบัติ ๔ ประการ
16,0008,012,นี้ กรรมที่ทำผู้ทำจะได้สำเร็จด้วยดี.
16,0008,013,อักขรวิธี
16,0008,014,ภิกษุผู้สวดกรรมวาจา ควรรู้จักประเภทและฐานกรณ์ของ
16,0008,015,อักขระและว่าเป็น จึงจะสามารถสวดกรรมวาจาแม่นยำและสละสลวย.
16,0008,016,อักขรวิธีนั้น เป็นส่วนหนึ่งแห่งไวยากรณ์ มีอยู่แล้ว ผู้ต้องการจงดูใน
16,0008,017,หนังสือนั้น ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะประการอันเนื่องตรงด้วยกรรมวาจา
16,0008,018,พระอรรถกถาจารย์แนะนำภิกษุผู้สวดกรรมวาจา ให้สนใจในประเภท
16,0008,019,"แห่งพยัญชนะ ๑๐ คือ สิถิล ธนิต, ทีฆะ รัสสะ, ครุ ลหุ, นิคคหิต"
16,0008,020,"วิมุต, สัมพันธ์ ววัตถิตะ."