|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
16,0010,001,"เป็นสิถิล. บทอันจะพึงว่าเปิดปากว่า "" สุณาตุ เม "" ว่าหุบปากเสียง "
|
|
16,0010,002,"ขึ้นจมูก เป็น "" สุณนฺตุ เม "" ก็ดี บทอันจะพึงว่า "" เอสา ตฺติ """
|
|
16,0010,003,"ว่าเป็น "" เอสํ ตฺติ "" ก็ดี ชื่อว่า ว่า วิมุตเป็นนิคคหิต. คำอันจะ"
|
|
16,0010,004,"พึงหุบปากให้เสียงขึ้นจมูกว่า "" ปตฺตกลฺลํ "" ว่าเปิดปาก ไม่ทำเสียง"
|
|
16,0010,005,"ขึ้นจมูกว่า "" ปตฺตกลฺลา "" ชื่อว่า ว่า นิคคหิตเป็นวิมุต. ว่าผิด "
|
|
16,0010,006,ว่าพลาด ๔ สถานนี้ ท่านว่าทำกรรมให้เสียเพราะกรรมวาจา. อีก ๖
|
|
16,0010,007,สถาน ว่าทีฆะและรัสสะ ครุและลหุ กลับกัน ว่าสัมพันธ์หรือววัตถิตะ
|
|
16,0010,008,แผกกัน ท่านว่ากรรมวาจาไม่เสีย แต่ภิกษุผู้สวดกรรมวาจาควร
|
|
16,0010,009,ว่าอักขระนั้น ๆ ให้ถูกต้องตามฐานะ รักษาประเพณีอันมาแล้วโดย
|
|
16,0010,010,ลำดับไม่ให้สูญเสีย.
|
|
16,0010,011,สรุปใจความแห่งอรรุกถาตอนนี้ ว่าบทหรืออักขระผิดพลาด
|
|
16,0010,012,จนเสียความ ใช้ไม่ได้ ผิดพลาดไม่ถึงเสียความ ใช้ได้. แต่คำนี้
|
|
16,0010,013,เป็นเหตุยังภิกษุต่างนิกายให้กล่าวหาภิกษุในนิกายอื่น ผู้ว่าอักขระไม่
|
|
16,0010,014,เหมือนพวกตนว่าอุปสมบทด้วยกรรมวาจาวิบัติ ไม่เป็นอุปสัมบันโดย
|
|
16,0010,015,ถูกต้องด้วยพระบัญญัติ. อันที่จริง ภาษาของชาติหนึ่ง อันคนอีกชาติ
|
|
16,0010,016,หนึ่งพูด สำเนียงย่อมไม่เหมือนของชาติผู้เป็นเจ้าของ อุทาหรณ์
|
|
16,0010,017,จีน ฝรั่ง แขก พูดภาษาของเราเป็นอย่างไรบ้าง ได้ยินแต่เสีย ไม่
|
|
16,0010,018,เห็นตัว ก็รู้ได้ว่าผู้พูดเป็นชาติอะไร โดยที่สุดในภาษาของเราเอง พวก
|
|
16,0010,019,เรายังพูดแปร่งกันไปเหมือนกัน มีสำเนียงของพวกชาวกรุงเทพ ฯ กับ
|
|
16,0010,020,ของพวกชาวนครศรีธรรมราชเป็นตัวอย่าง ไม่เฉพาะภาษาของเรา
|
|
16,0010,021,ภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ย่อมมีคติเป็นอย่างนี้เหมือนกัน การพูด
|
|
|