|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
19,0019,001,เรียกว่าบริกรรมภาวนา. บริกรรมนี้เป็นชั้นที่ ๑ ครั้นทำในชั้นนี้ชำนาญ
|
|
19,0019,002,แล้ว พึงตั้งใจจากสิญนั้นให้ติดตา ลองหลับตาดูในระหว่าง ๆ ถ้ายัง
|
|
19,0019,003,ไม่ติดตาลืมดูใหม่ ในสมัยใดจำได้ติดตา หลับตาลง ดวงกสิณปรากฏ
|
|
19,0019,004,ในใจ เหมือนแลเห็น ในสมัยนั้น นิมิตที่ปรากฏในใจนั้น เรียกอุคคห-
|
|
19,0019,005,นิมิต แปลว่านิมิตที่จิตจำได้ หรือว่ามิมิตติดตา กิริยาที่นึกนั้น เรียก
|
|
19,0019,006,บริกรรมสมาธิ แปลว่าสมาธิในบริกรรม. นิมิตอันติดตา ที่กล่าวว่า
|
|
19,0019,007,ปรากฏในใจนั้น เช่นกับคนขลาดได้พบสิ่งที่น่ากลัวอันให้ตกใจ หรือ
|
|
19,0019,008,คนที่ผูกพันอยู่ในสิ่งหนึ่งหลับตาลง ย่อมแลเห็นสิ่งนั้นติดตา แต่ท่านไม่
|
|
19,0019,009,จัดว่าเป็นอารมณ์ของกัมมัฏฐาน เพราะเป็นเหตุตกในหรือเป็นเหตุติด
|
|
19,0019,010,ข้อง. บริกรรมสมาธินี้เป็นชั้นที่ ๒. ครั้นทำในชั้นนี้ช่ำชองแล้ว พึง
|
|
19,0019,011,ลองหลับตานึกถึงนิมิตนั้นขยายให้ใหญ่บ้างเล็กน้อย แต่อย่าให้เสียส่วน
|
|
19,0019,012,ตามสัณฐาน. ตัวอย่างเช่นรูปถ่ายมีขนาดต่างกัน แต่ส่วนแห่งอวัยวะ
|
|
19,0019,013,นั้น ๆ ของรูปทั้งปวงทุกชนิดคงสมกันกับกาย เหมือนคนผู้เป็นเจ้า
|
|
19,0019,014,ของรูปนั้น. ในสมัยใด จิตจำนิมิตนั้นได้จนขยายออกหรือย่นเข้าได้
|
|
19,0019,015,ในสมัยนั้น นิมิตนั้นเรียกว่า ปฏิภาคนิมิต แปลว่านิมิตเทียบเคียง
|
|
19,0019,016,ภาวนานั้นเรียกว่า อุปจารภาวนา แปลว่าภาวนาใกล้อัปปนาสมาธิ
|
|
19,0019,017,อุปจารสมาธินี้เป็นชั้นที่ ๓. ผู้ที่ได้แม่นยำจนถึงชั้นนี้แล้ว บำเพ็ญ
|
|
19,0019,018,ภาวนาต่อไปจนเข้าองค์กำหนดชั้นต้น จัดได้ว่าบรรลุปฐมฌาน เป็น
|
|
19,0019,019,สมาธิชั้นสูง เรียกอัปปนาสมาธิ แปลว่าสมาธิแน่นแฟ้น. อัปปนาสมาธิ
|
|
19,0019,020,นี้เป็นชั้นที่ ๔. นี้อธิบายตามมติของพระคันถรจนาจารย์ ฝ่ายข้าพเจ้าเอง
|
|
19,0019,021,ปรารถนาจะเข้าใจว่าชั้นที่ ๒ เป็นอุปจารภาวนา หรืออุปจารสมาธิ
|
|
|