|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
26,0006,001,ความพะรุงพะรัง เป็นไปเพื่อสะสมกิเลสและทุกข์ ยั่วให้เกิดราคะ
|
|
26,0006,002,ความกำหนัดมากขึ้น ทำให้หลงไม่รู้จริงตามธรรมดาของสังขาร ปิด
|
|
26,0006,003,ช่องทางแห่งความดี อันจะให้ไหลหลั่งเข้ามาเสียหมด โดยประการ
|
|
26,0006,004,ทั้งปวง เมื่อภิกษุประพฤติล่วงเข้า ก็เท่ากับคนที่ถูกตัดศีรษะเสียแล้ว
|
|
26,0006,005,จะกลับพื้นมีชีวิตไม่ได้ฉะนั้น เพราะฉะนั้น การเสพเมถุน จึงเป็นกิจ
|
|
26,0006,006,ที่ภิกษุไม่ควรทำประการหนึ่ง.
|
|
26,0006,007,๒. อทินนาทาน ถ้าภิกษุล่วงเข้าแล้ว ต้องได้รับโทษดังที่ได้
|
|
26,0006,008,กล่าวมาแล้วในข้อเสพเมถุนเหมือนกัน เพราะการที่ประพฤติโจรกรรม
|
|
26,0006,009,ได้ชื่อว่ายังชีวิตของตนให้เป็นอยู่ โดยแสวงหาในทางผิด ๆ เห็นแต่
|
|
26,0006,010,ความสุขเฉพาะตนถ่ายเดียว ไม่แลเหลียวถึงความทุกข์ของผู้อื่นบ้างเลย
|
|
26,0006,011,เป็นการเลี้ยงชีพไม่ชอบธรรม ภิกษุใดประพฤติเช่นนี้ ได้ชื่อว่า
|
|
26,0006,012,ทำลายความดีของตนเสียเอง ย่อมจะต้องได้รับโทษ คือขาดจากความ
|
|
26,0006,013,เป็นภิกษุ ไม่เป็นภิกษุได้อีกจนตลอดชีวิต เพราะล่วงกรรมสิทธิ์
|
|
26,0006,014,ในทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ได้ราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป ท่านเปรียบ
|
|
26,0006,015,ไว้ว่าเหมือนกับใบไม้ที่หล่นหลุดออกแล้วจากหัวขั้ว มีแต่จะแห้งเหี่ยว
|
|
26,0006,016,ไปโดยถ่ายเดียว ไม่มีเวลาที่จะกลับสดขึ้นได้อีกฉะนั้น เพราะฉะนั้น
|
|
26,0006,017,การประพฤติโจรกรรม จึงเป็นกิจที่ภิกษุไม่ควรกระทำประการหนึ่ง.
|
|
26,0006,018,๓. การทำปาณาติบาต คือฆ่าสัตว์ การฆ่าสัตว์ย่อมเป็นการ
|
|
26,0006,019,ปราศจากเมตตาจิต ทำให้สัตว์อื่นต้องเสียชีวิต อันพึงสงวนและ
|
|
26,0006,020,รักใคร่ โดยไม่ใช่เหตุจำเป็น เพราะฉะนั้น ในฝ่ายพระศาสนา ท่าน
|
|
26,0006,021,จึงปรับโทษภิกษุผู้กระทำผิดเพราะฆ่าชีวิตมนุษย์ ไว้เป็นอย่างแรงถึง
|
|
|