dhamma-scholar-book / 27 /270035.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
raw
history blame
2.64 kB
Book,Page,LineNumber,Text
27,0035,001,๕. ในกรรมเป็นธรรม เข้าใจถูกก็ดี แคลงอยู่ก็ดี เข้าใจผิด
27,0035,002,ก็ดี ไม่สละ เป็นสังฆาทิเสสเหมือนกัน.
27,0035,003,เหตุนั้น อาบัติในสิกขาบทนี้ จึงเป็นอจิตตกะ ในกรรมไม่เป็น
27,0035,004,ธรรม ท่านว่าเป็นทุกกฏ.
27,0035,005,สิกขาบทที่ ๑๑
27,0035,006,<B>ภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง
27,0035,007,ฯ ล ฯ ต้องสังฆาทิเสส.</B>
27,0035,008,สิกขาบทนี้ลงโทษผู้พลอยประพฤติตามด้วย จึงมีวิธีลงโทษที่
27,0035,009,ต่างกัน คือ สงฆ์สวดสมนุภาสแก่ภิกษุนั้น คราวละ ๒ รูป ๓ รูปได้
27,0035,010,ห้ามมิให้สวดยิ่งกว่านั้น. มีอธิบายว่า ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปจัดว่า
27,0035,011,เป็นสงฆ์เหมือนกัน สงฆ์ฝ่ายหนึ่งจะทำกรรมแก่สงฆ์อีกฝ่ายหนึ่ง ผิด
27,0035,012,แผนพระวินัย.
27,0035,013,สิกขาบทที่ ๑๒
27,0035,014,<B>ภิกษุว่ายากสอนยาก ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง ฯ ล ฯ ต้องสังฆา-
27,0035,015,ทิเสส.</B>
27,0035,016,กิริยาว่ายากสอนยาก
27,0035,017,หมายถึงการว่ายากสอนยาก ในสิกขาบททั้งหลาย คือมักไม่
27,0035,018,เห็นโทษแห่งความประพฤติผิดในสิกขาบททั้งหลาย แม้จะมีภิกษุอื่น
27,0035,019,ว่ากล่าว ก็ไม่เชื่อฟัง กลับตัดพ้อต่อว่าอีก ภิกษุผู้เช่นนี้ มีพระ
27,0035,020,พุทธานุญาตให้ลงโทษ.