dhamma-scholar-book / 29 /290050.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
raw
history blame
2.65 kB
Book,Page,LineNumber,Text
29,0050,001,๕. กายประสาท รูปอันใส ดาษทั่วไปในร่างกาย ดุจน้ำมัน
29,0050,002,อันชุ่มอยู่ เป็นวัตถุทวารแห่งการสัมผัส เรียกว่า กายวิญญาณ
29,0050,003,<B>รูปร่างทวารทั้ง ๕</B>
29,0050,004,๑. จักขุทวาร ศูนย์การเห็นกลางตาดำ ช่องจักษุทั้ง ๒ ข้าง
29,0050,005,ซ้ายขวามีสัณฐานน้อยเท่าศีรษะเหา ประดิษฐานอยู่ในท่ามกลาง
29,0050,006,๒. โสตทวาร ศูนย์การฟัง ขดเป็นวงอยู่ในช่องหู มีสัณฐาน
29,0050,007,น้อยเท่าขนทรายจามรี
29,0050,008,๓. ฆานทวาร ศูนย์การรับกลิ่น ตั้งอยู่ท่ามกลางจมูก มี
29,0050,009,สัณฐานคล้ายเท้าแพะ
29,0050,010,๔. ชิวหาทวาร ปลายลิ้นรู้รสหวาน ตอนหน้าลิ้นรู้รสเค็ม
29,0050,011,ลิ้นครึ่งหลังรู้รสเปรี้ยว ที่โคนลิ้นรู้รสขม
29,0050,012,๕. กายทวาร ซาบซ่านอยู่ในสรีระ เฉพาะที่ริมฝีปากไว
29,0050,013,กว่าที่อื่น
29,0050,014,<B>การพิจารณา</B>
29,0050,015,๑. พิจารณาให้รู้จักตา รู้จักรูป รู้จักสัญโญชน์ ความเกี่ยวข้อง
29,0050,016,เกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูป
29,0050,017,๒. ให้รู้จักหู รู้จักเสียง รู้จักสัญโญชน์ ความเกี่ยวข้องเกิดขึ้น
29,0050,018,เพราะอาศัยหูกับเสียง
29,0050,019,๓. ให้รู้จักจมูก รู้จักกลิ่น รู้จักสัญโญชน์ ความเกี่ยวข้อง
29,0050,020,เกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกกับกลิ่น