|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
31,0031,001,เพราะว่าสิกขาบทบางข้อ ในเมื่อภิกษุประพฤติล่วงเข้า แม้จะมี
|
|
31,0031,002,เจตนาหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นโทษอยู่แล้ว และประโยชน์แห่งการปรับ
|
|
31,0031,003,เช่นนี้ก็ยังมีอีก คือการลืมสตินี้ ย่อมเกิดแก่ความไม่เอาใจใส่ระวังรักษา
|
|
31,0031,004,เมื่อจะทำอะไรด้วยความไม่เอาใจใส่แล้ว ผลที่ได้ย่อมมีเสียมากกว่าดี
|
|
31,0031,005,ถ้าพระองค์ทรงยกเว้นโทษภิกษุผู้ลืมสติด้วยประการทั้งปวง ก็เท่ากับ
|
|
31,0031,006,พระองค์ทรงอุดหนุนให้ภิกษุมีความเลินเล่อ ไม่เอาใจใส่ระวังรักษา
|
|
31,0031,007,ในกิจอันเป็นหน้าที่ของตน การปรับโทษภิกษุผู้ลืมสติ ย่อมมีผลดัง
|
|
31,0031,008,กล่าวมานี้ เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงไม่ทรงยกเว้นโทษให้แก่ภิกษุผู้ลืม
|
|
31,0031,009,สติเลย.
|
|
31,0031,010,๒๔๕๗-๒๔๕๘
|
|
31,0031,011,ถ. อาบัติจำพวกอะไร ต้องลืมด้วยสติก็มี ?
|
|
31,0031,012,ต. อาบัติจำพวกอจิตตกะ โดยมากต้องเพราะให้ล่วงกำหนดกาล
|
|
31,0031,013,ด้วยความหลงลืม แต่อย่างอื่นก็มี เช่นลืมทำพินทุ วิกัป.
|
|
31,0031,014,๒๔๖๐
|
|
31,0031,015,ถ. ในการที่ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่าง ถ้าภิกษุมีความละอายอยู่
|
|
31,0031,016,โดยปกติแล้ว ยังจะต้องอาบัติด้วยอาการข้อไหนบ้าง ? ไฉนจึงว่า
|
|
31,0031,017,อย่างนั้น ?
|
|
31,0031,018,ต. ยังจะต้องด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ด้วยไม่รู้ว่าสิ่งนี้จะเป็น
|
|
31,0031,019,"อาบัติบ้าง, ด้วยสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควรบ้าง, ด้วยลืมสติบ้าง."
|
|
31,0031,020,เพราะภิกษุผู้มีความละอายย่อมไม่มีเจตนาที่จะล่วงสิกขาบทก็จริง ถึง
|
|
31,0031,021,อย่างนั้น ก็ยังมีทางจะต้องอาบัติในส่วนที่เป็นอจิตตกะได้อยู่ เพราะ
|
|
|