dhamma-scholar-book / 31 /310047.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
raw
history blame
2.92 kB
Book,Page,LineNumber,Text
31,0047,001,มอบให้ภิกษุเก็บรักษาไว้ก่อน ภิกษุเลยโกงไม่ให้โจร โจรก็ทอดธุระ
31,0047,002,ดังนี้ ภิกษุจะต้องอาบัติอะไร ? ในเวลาไหน ?
31,0047,003,ต. ต้องอาบัติปาราชิก. ในเวลาที่โจรลักได้.
31,0047,004,๓/๙/๗๔
31,0047,005,ถ. ภิกษุเดินทาง พบพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ที่ปูชนียสถานโบราณ
31,0047,006,มีความเลื่อมใสอยากได้ไว้บูชา จึงนำเอามาเสียเฉย ๆ เช่นนี้จะควรปรับ
31,0047,007,ภิกษุนั้นด้วยอาบัติอะไร ? เพราะเหตุไร ?
31,0047,008,ต. ปรับไม่ได้. เพราะไม่มีเถยยจิต.
31,0047,009,๒๔๗๗
31,0047,010,ถ. ในสิกขาบทที่ ๒ แห่งปาราชิก ถ้าพูดรวมว่า อาการขโมย
31,0047,011,มีได้ทั้งในทรัพย์ของตนและทั้งของผู้อื่น ดังนี้ เป็นการพูดผิดมิใช่หรือ
31,0047,012,เพราะอาการขโมยทั่วไป ต้องเกิดจากทรัพย์ของผู้อื่นทั้งนั้น จงอธิบาย
31,0047,013,ให้มีหลัก ?
31,0047,014,ต. พูดเช่นนั้นถูกแล้ว เพราะทรัพย์ของตนเอง ท่านก็จัดเข้า
31,0047,015,เป็นบทอวหารได้ ที่เรียกว่าสุงกฆาตะ คือภิกษุนำของควรแก่ค่า
31,0047,016,ภาษี เมื่อผ่านที่เก็บภาษีซ่อนของเหล่านั้นเสีย หรือของมากซ่อนให้
31,0047,017,เห็นแต่น้อย ดังนี้ ต้องอาบัติถึงที่สุด ขณะนำนั้นของนั้นล่วงพ้นเขตภาษี
31,0047,018,ท่านเรียกอาการเช่นนี้ว่าตระบัด.
31,0047,019,๑๒/๑๐/๗๘
31,0047,020,ถ. ภิกษุ ง. ลักทรัพย์ได้คราวละ ๑ มาสก จนถึง ๕ ครั้ง จะ
31,0047,021,ปรับอาบัติอะไรแก่เธอ ?