|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
33,0003,001,<B>วิธีบวชเป็นภิกษุ</B> มี ๓ วิธี แต่ครั้นทรงอนุญาตให้ใช้วิธีที่ ๓ แล้ว
|
|
33,0003,002,ทรงยกเลิกวิธีที่ ๑ และที่ ๒ เสีย
|
|
33,0003,003,<B>ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา</B> ต้องถึงพร้อมด้วยสมบัติ ๕ คือ :-
|
|
33,0003,004,๑. วัตถุสมบัติ.
|
|
33,0003,005,๒. ปริสสมบัติ.
|
|
33,0003,006,๓. สีมาสมบัติ.
|
|
33,0003,007,๔. บุรพกิจ (สมบัติ)
|
|
33,0003,008,๕. กรรมวาจาสมบัติ.
|
|
33,0003,009,๑. <B>วัตถุสมบัติ</B> ในที่นี้วัตถุหมายถึงตัวผู้อปสมบทนั่นเอง
|
|
33,0003,010,๑. ต้องเป็นมนุษย์ผู้ชาย.
|
|
33,0003,011,๒. มีอายุครบ ๒๐ ปี.
|
|
33,0003,012,๓. ไม่เป็นมนุษย์วิบัติ คือถูกตอนเป็นต้น.
|
|
33,0003,013,๔. ไม่เป็นคนทำผิดอย่างร้ายแรง เช่นฆ่ามารดาหรือบิดาเป็นต้น.
|
|
33,0003,014,๕. ไม่เคยเป็นคนทำความเสียหายร้ายแรงในพระพุทธศาสนา เช่นต้อง
|
|
33,0003,015,ปาราชิก.
|
|
33,0003,016,๒. <B>ปริสสมบัติ</B> คือ สมบูรณ์ด้วยบริษัท หมายความว่า ต้องมีภิกษุ
|
|
33,0003,017,สงฆ์เข้าองค์ประชุมครบกำหนด ในมัชฌิมชนบท ๑๐ รูปขึ้นไป ใน
|
|
33,0003,018,ปัจจันตชนบท ๕ รูปขึ้นไป. (ในประเทศไทย ๑๐ รูปขึ้นไป)
|
|
33,0003,019,๓. <B>สีมาสมบัติ</B> สมบูรณ์โดยสีมา คือภิกษุอยู่ในสีมาเดียวกัน ต้องเข้า
|
|
33,0003,020,ประชุมหมด หากมีเหตุขัดข้องต้องมอบฉันทะ.
|
|
|