dhamma-scholar-book / 33 /330022.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
raw
history blame
3.16 kB
Book,Page,LineNumber,Text
33,0022,001,ถ้ากรรมไม่เป็นธรรม คือ ทำไม่ถูกวิธี ปรับได้เพียงอาบัติ
33,0022,002,ทุกกฎเท่านั้น.
33,0022,003,สิกขาบทนี้ เป็นอจิตตกะ ในกรรมเป็นธรรม เข้าใจถูกก็ดี
33,0022,004,แคลงอยู่ก็ดี เข้าใจผิดก็ดี ไม่สละ เป็นสังฆาทิเสสเหมือนกัน.
33,0022,005,<B>สิกขาบทที่ ๑๑ ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์.</B>
33,0022,006,ภิกษุผู้ประพฤติตามซึ่งภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง คือ
33,0022,007,ไม่เชื่อฟังหรือไม่เลิก สงฆ์สวดกรรมเหมือนอย่างสิกขาบทก่อน ภิกษุนั้น
33,0022,008,ต้องอาบัติต่าง ๆ อย่างเดียวกับสิกขาบทก่อน ข้อที่ควรจดจำ อันแตกต่าง
33,0022,009,ออกไป คือ :-
33,0022,010,ถ้าภิกษุผู้ประพฤติตามมีหลายรูป ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป สงฆ์จะสวด
33,0022,011,กรรมแก่ภิกษุเหล่านั้นคราวเดียวกันไม่ได้ <B>ต้องแยกออกสวดคราวละ
33,0022,012,ไม่เกิน ๓ รูป.</B>
33,0022,013,<B>สิกขาบทที่ ๑๒ ว่ายากสอนยาก.</B>
33,0022,014,ภิกษุว่ายากสอนยาก (หัวดื้อ) คือ ถูกภิกษุอื่นกล่าวเตือนโดย
33,0022,015,ถูกต้องในกรณีที่เธอทำผิด เกี่ยวกับสิกขาบทอันมาในพระปาติโมกข์ ถ้าเธอ
33,0022,016,ไม่เชื่อฟังก็จะต้องถูกสงฆ์เตือนและสวดกรรม เธอจะต้องอาบัติต่าง ๆ
33,0022,017,เหมือนสิกขาบทที่ ๑๐.
33,0022,018,<B>สิกขาบทที่ ๑๓ ประทุษร้ายสกุล.</B>
33,0022,019,ภิกษุประทุษร้ายสกุล คือ ประจบคฤหัสถ์ ได้แก่ทำงานยอมตน
33,0022,020,ให้เขาใช้สอยอย่างคฤหัสถ์ หรือด้วยอาการเอาเปรียบ ให้สิ่งของเพียงเล็ก
33,0022,021,น้อย หวังได้มาก.