dhamma-scholar-book / 36 /360029.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
raw
history blame
4.92 kB
Book,Page,LineNumber,Text
36,0029,001,ช. ตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์
36,0029,002,เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้วตามเวลากำหนด จะต้องปฏิบัติกรณีกิจ คือ
36,0029,003,ก. คอยล้างเท้าพระสงฆ์และเช็ดด้วย
36,0029,004,ข. ประเคนเครื่องรับรองที่จัดไว้
36,0029,005,ค. ได้เวลาแล้ว จุดเทียนธูปที่โต๊ะบูชา บูชาพระแล้วกราบนมัสการ
36,0029,006,๓ ครั้ง
36,0029,007,ฆ. อาราธนาศีล และรับศีล
36,0029,008,ง. ต่อจากศีล อาราธนาพระปริตร เสร็จแล้วไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี
36,0029,009,จ. นั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อจบแล้ว ถวายน้ำร้อน
36,0029,010,หรือเครื่องดื่มอันควรแก่สมณะ แล้วแต่จะจัด
36,0029,011,ในการปฏิบัติพิธีตามหน้าที่ที่กล่าวนี้ มีข้อที่ควรจะเข้าใจให้กว้างขวาง
36,0029,012,อยู่อีก ซึ่งจะได้ชี้แจงต่อไป คือ
36,0029,013,๑. เรื่องการอาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ นิยมไม่กำหนด
36,0029,014,จำนวนข้างมาก แต่นิยมกำหนดข้างน้อยไว้โดยเกณฑ์ คือ ไม่ต่ำกว่า ๕ รูป เกิน
36,0029,015,๕ ไปก็เป็น ๗ หรือ ๙ ข้อน่าสังเกตก็คือ ไม่นิมนต์พระสงฆ์จำนวนคู่ เพราะถือ
36,0029,016,เหมือนอย่างว่า การทำบุญครั้งนี้มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานแบบเดียวกับครั้ง
36,0029,017,พุทธกาล ซึ่งปรากฏตามบาลีว่า <B>พุทฺธปฺปมุโข ภิกฺขุสงฺโฆ</B> พระภิกษุสงฆ์มี
36,0029,018,พระพุทธเจ้าเป็นประมุขโดยตั้งพระพุทธรูปไว้ข้างหน้าแถวพระสงฆ์ นับจำนวน
36,0029,019,รวมกับพระสงฆ์เป็นคู่ เว้นแต่ในงานมงคลสมรส มักนิยมนิมนต์พระสงฆ์
36,0029,020,จำนวนคู่ จุดมุ่งหมาย คือ แบ่งให้ฝ่ายเจ้าบ่าวและฝ่ายเจ้าสาวนิมนต์พระมาจำนวน
36,0029,021,เท่า ๆ กัน เมื่อมารวมกันจึงเป็นจำนวนคู่แต่ในพิธีหลวงในปัจจุบันนี้ มักอาราธนา
36,0029,022,พระสงฆ์ เป็นจำนวนคู่ เช่น ๑๐ รูปเป็นต้น
36,0029,023,๒. เรื่องเตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา ที่ตั้งพระพุทธรูป
36,0029,024,"พร้อมทั้งเครื่องบูชาในงานพิธีต่าง ๆ นั้น นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ""โต๊ะบูชา"" สิ่งสำคัญ"
36,0029,025,ของโต๊ะบูชานี้ประกอบด้วยโต๊ะรอง ๑ เครื่องบูชา ๑ โต๊ะรองเป็นที่รองรับพระพุทธรูป
36,0029,026,และเครื่องบูชาปัจจุบันนี้นิยมใช้กันทั่วไป เป็นโต๊ะหมู่ซึ่งสร้างไว้เป็นโดยเฉพาะ เรียก
36,0029,027,"กันว่า<B> ""โต๊ะหมู่บูชา""</B> มีเป็นหมู่เป็น ๕ หมู่ ๗ และหมู่ ๙ หมายความว่า หมู่หนึ่ง ๆ"