dhamma-scholar-book / 39 /390008.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
raw
history blame
3.8 kB
Book,Page,LineNumber,Text
39,0008,001,ไปด้วยประการต่าง ๆ ไม่มีใครสามารถจะช่วยแบ่งเบาบรรเทาโรคภัยเหล่านั้น
39,0008,002,ได้
39,0008,003,<B>๓. ถีนมิทธะ</B> สภาพจิตที่เกิดอาการง่วงเหงาหาวนอน เซื่อง
39,0008,004,ซึม หงอยเหงา หดหู่ ท้อถอย จนถึงกับชาเย็น และมีอาการที่เราเรียกว่า
39,0008,005,เซ็งเกิดขึ้น อาการของถีนมิทธะนั้น เป็นเหมือนกับบุคคลที่ตกเป็นทาส
39,0008,006,รับใช้บุคคลอื่น จะต้องสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง ถูกคนอื่นเขา
39,0008,007,บังคับใช้อยู่ร่ำไป โอกาสที่จะมีอิสระสุขกายสบายใจมีไม่ได้ ใจที่ถูก
39,0008,008,ครอบงำด้วยถิ่นมิทธะก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน
39,0008,009,<B>๔. อุทธัจจกุกกุจจะ</B> คือความฟุ้งซ่านความรำคาญซัดส่าย
39,0008,010,ไปของจิต ไม่มีทิศทางที่แน่นอน มีความสับสนว้าวุ่นที่ท่านเรียกว่าเป็น
39,0008,011,ความไม่สงบของใจ บางครั้งบางคราวก็ก่อให้เกิดอาการหงุดหงิดขึ้นมา
39,0008,012,ภายใน ไม่พอใจในอารมณ์ที่ตนคิดอยู่ในขณะนั้น ไม่พอใจในสิ่งแวดล้อม
39,0008,013,และบางครั้งก็แสดงออกมาในรูปของความงุ่นง่าน จนอยากที่จะระบายความ
39,0008,014,รู้สึกเหล่านั้น และอาจจะระบายไปด้วยวิธีการต่าง ๆ สภาพจิตเช่นนี้จึง
39,0008,015,เป็นเหมือนบุคคลที่ติดคุกติดตะราง ฟุ้งซ่าน ซัดส่ายไป ปรารถนาอย่างนั้น
39,0008,016,ปรารถนาอย่างนี้ ปรารถนาอย่างโน้น แต่เอาเข้าจริง แล้วก็เป็นไปไม่ได้
39,0008,017,จิตใจของบุคคลนั้นที่หงุดหงิดงุ่นง่านไปด้วยอาการต่าง ๆ ก็มีลักษณะเช่นนั้น
39,0008,018,<B>๕. วิจิกิจฉา</B> คือความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ มีความเคลือบ
39,0008,019,แคลงในสิ่งต่าง ๆ ซึ่งตามปกติแล้วจะพบว่า ความสงสัยไม่แน่ใจนั้น จะ
39,0008,020,เกิดขึ้นอยู่เสมอ และยามใดที่ยังมีความไม่แน่ใจปรากฏอยู่ภายในจิต ยาม