dhamma-scholar-book / 41 /410025.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
raw
history blame
3.5 kB
Book,Page,LineNumber,Text
41,0025,001,วสี ซึ่งได้แก่ความชำนาญ หรือความแคล่วคล่อง มี ๕ ประการ
41,0025,002,คือ อาวัชชนวสี ชำนาญในการนึก ๑ สมาปัชชนวสี ชำนาญในการ
41,0025,003,เข้าฌาน ๑ อธิฏฐานวสี ชำนาญในการรักษาองค์ฌาน ๑ วุฏฐานวสี
41,0025,004,ชำนาญในการออกจากฌานสมาบัตินั้น ๑ ปัจจเวกขณวสี ชำนาญใน
41,0025,005,การพิจารณา ๑.
41,0025,006,ส. ป.
41,0025,007,ถ. ตามธรรมดาของใจ ย่อมนึกอารมณ์ได้คราวละอย่าง ชื่อว่า
41,0025,008,ใจมีอารมณ์อันเดียวอยู่เสมอมิใช่หรือ เมื่อเช่นนั้น เราจะสังเกตได้
41,0025,009,อย่างไรว่าใจไม่เป็นสมาธิหรือใจเป็นสมาธิ แต่ยังไม่ดิ่งลงไปแท้ ที่
41,0025,010,จัดเป็นอุปจารสมาธิ และใจเป็นสมาธิดิ่งลงไป ที่จัดเป็นอัปปนาสมาธิ
41,0025,011,จงอธิบายให้เห็นจริง ?
41,0025,012,ต. จริงอยู่ ใจมีอารมณ์เดียวทุกขณะ แต่ที่ไม่จัดเป็นสมาธิ
41,0025,013,นั้นสังเกตได้ว่า ใจไม่ตั้งมั่นเสมอในอารมณ์นั้น ๆ เป็นแต่ตั้งลงอย่าง
41,0025,014,แผ่ว ๆ ไม่อาจกำหนดจดจำ ไม่เข้าใจอารมณ์ได้ดี ดั่งผู้ที่นั่งกระหย่ง
41,0025,015,มักล้มง่ายไม่ได้ความสุขเหมือนนั่งเรียบ. ใจที่ตั้งเรียบเสมอในอารมณ์
41,0025,016,เป็นส่วนมากค่อนข้างมั่น พอเข้าใจจดจำเรื่องหยาบ ๆ ได้ คล้ายการนั่ง
41,0025,017,เรียบแต่ในท่าไม่ถนัดจัดเป็นอุปจารสมาธิ. ใจที่ดั่งมั่นเสมอในอารมณ์
41,0025,018,สงัดจากกามและอกุศล มีวิตก วิจาร ปีติ สุข หรือมีแต่ปีติ สุขเป็นต้น
41,0025,019,มีความเข้าใจจดจำอารมณ์นั้นได้ละเอียดดีขึ้น คล้ายการนั่งในที่ดีด้วยท่า
41,0025,020,ที่เหมาะเจาะ ย่อมรู้สึกสบาย ทำการได้สะดวก จัดเป็นอัปปนาสมาธิ.
41,0025,021,๒๔๗๖