|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
42,0013,001,ต. แก้เขาอย่างนี้ ถ้าพระศาสดาทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ก่อน
|
|
42,0013,002,เหตุ คือยังไม่มีภิกษุกระทำความเสียหายเป็นตัวอย่าง อาจได้รับครหา
|
|
42,0013,003,ในภายหลังว่า พระองค์ไม่ใช่พระสัพพัญญู เรื่องที่จะทรงบัญญัติ เช่น
|
|
42,0013,004,"ฝิ่น, กัญชา เป็นของเลวทรามมาก น่าจะมีบัญญัติห้าม ก็ไม่เห็นมี"
|
|
42,0013,005,ถ้าใครจะพูดเรื่องชนิดนี้ขึ้น เราก็ต้องตอบได้ทันทีว่า ในเวลานั้นไม่มี
|
|
42,0013,006,ผู้ทำ พระองค์จึงไม่ได้ทรงบัญญัติ ถ้าจะทรงบัญญัติสิกขาบทป้องกัน
|
|
42,0013,007,ความเสียหายทั้งหลาย พระวินัยเห็นจะมากมาย คงไม่มีใครบวชถือวินัย
|
|
42,0013,008,ไหว อายุพระพุทธศาสนาคงไม่ยืนยาวมา เท่าที่มีอยู่แล้วก็พอแรง. อนึ่ง
|
|
42,0013,009,ถ้าจะทรงบัญญัติก่อนผู้ทำ จะเป็นปรามาสสาวกไปก็ได้.
|
|
42,0013,010,๒๑/๘/๒๔๗๐
|
|
42,0013,011,ถ. คำว่า อาบัติ นั้น หมายความว่ากระไร ? ย่อมเกิดขึ้นโดย
|
|
42,0013,012,ทางใดบ้าง ? จงแสดงตัวอย่างมาด้วย.
|
|
42,0013,013,ต. หมายความว่า กิริยาที่ล่วงละเมิดพระบัญญัตินั้น และมีโทษ
|
|
42,0013,014,เหนือตนอยู่ ทางเกิดโดยตรงจัดเป็น ๔ คือ ทางกาย ๑ ทางวาจา ๑
|
|
42,0013,015,ทางกายกับทางจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑. ทางกาย เช่นอาบัติปาจิตตีย์
|
|
42,0013,016,เพราะดื่มน้ำเมา แม้ไม่มีความตั้งใจ เพราะไม่รู้ว่าเป็นน้ำเมา ดื่มเข้า
|
|
42,0013,017,"ไปก็เป็นอาบัติ, ทางวาจา เช่นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสอนธรรมแก่"
|
|
42,0013,018,อนุปสัมบันว่าพร้อมกัน แม้ระวังอยู่ ถ้าพลาดพลั้งว่าพร้อมกันเข้าก็
|
|
42,0013,019,"เป็นอาบัติ, ทางกายกับจิต เช่นอาบัติปาราชิก เพราะทำโจรกรรมเอง,"
|
|
42,0013,020,ทางวาจากับจิต เพราะสั่งให้เขาทำโจรด้วยวาจา แต่ในบาลีท่านถือ
|
|
42,0013,021,เอาอีก ๒ อย่าง คือ กายกับวาจาควบกันเข้าเป็น ๑ กายกับวาจานั้นเดิม
|
|
|