|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
49,0039,001,<B>ปมาโท มจฺจุโน ปทํ</B>
|
|
49,0039,002,ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย.
|
|
49,0039,003,จริงอยู่ ความประมาท ย่อมทำให้บุคคลตายจากคุณงามความดี
|
|
49,0039,004,ตายจากความสุขสำราญอันควรได้ควรถึง เพราะฉะนั้น ผู้ปรารถนาความ
|
|
49,0039,005,สุขอันแท้จริง จึงไม่ควรประมาท ควรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท มีความ
|
|
49,0039,006,เพียรไม่ขาดสาย ความเพียรนี้เป็นอุปกรณ์อันสำคัญยิ่ง ในการที่จะ
|
|
49,0039,007,ช่วยบุคคลให้เดินไปสู่แดนอมตธรรมอันเกษมสุข ผู้ไม่มีความเพียร
|
|
49,0039,008,จะบรรลุอมตธรรมไม่ได้ เช่นเดียวกับเรือกลไฟที่ปราศจากเครื่อง จะ
|
|
49,0039,009,แล่นออกไปสู่มหาสมุทรไม่ได้ฉะนั้น อมตธรรมเป็นสิ่งควรปรารถนา
|
|
49,0039,010,อย่างยิ่ง เพราะอมตธรรมเป็นธรรมไม่ตาย เป็นธรรมดับทุกข์สิ้นเชิง
|
|
49,0039,011,เป็นธรรมเกษมจากโยคะ เป็นบรมสุข จึงควรรีบเพียรพยายามให้ได้
|
|
49,0039,012,แม้ในเร็ววัน เหตุนั้น จึงมีพระพุทธภาษิตบาทที่ ๒ รับรองว่า
|
|
49,0039,013,<B> อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ</B>
|
|
49,0039,014,ควรรีบทำความเพียรเสียในวันนี้.
|
|
49,0039,015,ความเพียรในที่นี้จำแนกออกโดยประเภทเป็น ๔ อย่างคือ สังวร-
|
|
49,0039,016,ปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น ๑ ปหานธาน เพียรละบาปที
|
|
49,0039,017,เกิดขึ้นแล้ว ๑ ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน ๑ อนุรัก-
|
|
49,0039,018,ขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม ๑. จะอธิบายแต่โดย
|
|
49,0039,019,ย่อ ๆ ข้อต้นให้สำรวมระวังมิให้อกุศลทุจริตเกิดในสันดาน แม้สำรวม
|
|
49,0039,020,เช่นนั้น อกุศลอาจเกิดขึ้นได้ด้วยความเผลอ ฉะนั้นจึงต้องเพียรละอกุศล
|
|
49,0039,021,ที่เกิดขึ้นแล้วด้วย แต่นั้นควรพยายามปลูกกุศลคือบุญขึ้นในสันดาน
|
|
49,0039,022,เช่นเดียวกับคนที่ไม่เดินในทางรกแล้ว หันมาเดินทางอันดีเรียบร้อย
|
|
|