|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
49,0042,001,<B>สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา</B>
|
|
49,0042,002,สติปรารถนาในที่ทั้งปวง
|
|
49,0042,003,อธิบายว่า สติ แปลว่าความระลึกได้ เป็นคู่กับสัมปชัญญะความ
|
|
49,0042,004,รู้สึกตัว เป็นธรรมมีอุปการมากในการทำธุระ ไม่ว่าจะทำอะไร เมื่อ
|
|
49,0042,005,นึกได้ก่อนว่า ตนจะทำสิ่งนั้น ก็อาจทำได้ถูกต้อง แม้การพูดก็เหมือน
|
|
49,0042,006,กัน เมื่อนึกได้ก่อนว่าตนจะพูดเรื่องนั้น ก็อาจพูดได้ถูกต้อง ตรงกับที่
|
|
49,0042,007,นึกไว้ การจะเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ยืน เอน นั่ง นอนเป็นต้น ถ้ามีสติ
|
|
49,0042,008,ควบคุมแล้วก็ไม่ผิดพลาด. อนึ่ง กิจที่ทำคำที่พูดแม้ล่วงไปนาน ผู้มีสติ
|
|
49,0042,009,ย่อมจำได้แม่นยำไม่เลอะเลือน การปฏิบัติธรรม ถ้าผู้ปฏิบัติมีสติกำกับ
|
|
49,0042,010,ก็สามารถปฏิบัติถูกต้อง ดำเนินขึ้นสู่ภูมิธรรมชั้นสูงได้. บัณฑิตผู้มี
|
|
49,0042,011,ปัญญาย่อมสรรเสริญสติโดยอเนกปริยาย เช่นว่า <B> สติ เตสํ นิวารณํ </B> สติ
|
|
49,0042,012,เป็นเครื่องกันกระแสคือตัณหา <B>สติ โลกสฺมิ ชาคโร</B> สติเป็นเครื่องตื่น
|
|
49,0042,013,ในโลก ดังนี้เป็น ด้วยเหตุนี้ สติจึงเป็นธรรมที่ปรารถนาให้มีในที่
|
|
49,0042,014,ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้.
|
|
49,0042,015,สรุปใจความแห่งสุภาษิตทั้ง ๓ ข้อ คงได้ใจความย่อ ๆ ว่าข้อต้น
|
|
49,0042,016,ที่ท่านกล่าวว่าทุกข์เกิดในลำดับแห่งสุขนั้น ท่านเพ่งสามิสสุข คือสุขที่เจือ
|
|
49,0042,017,ด้วยอามิสอันเป็นเหตุให้หลงติด ดังมังสะอันเกี่ยวอยู่ที่เบ็ด ว่าเป็นสุขไม่
|
|
49,0042,018,แท้อาจกลับกลายเป็นทุกข์ได้ สุขชนิดนี้ไม่ควรยินดีพอใจ ควรปรารถนา
|
|
49,0042,019,สุขอันตรงกันข้าม คือนิรามิสสุข ซึ่งไม่มีทุกข์เจือปน ไม่อาจให้
|
|
49,0042,020,เกิดทุกข์ในลำดับ เมื่อปรารถนานิรามิสสุขเช่นนี้ ท่านจึงสอนให้รีบทำ
|
|
49,0042,021,ความเพียรเสียในวันนี้ เพราะพรุ่งนี้อาจเป็นเหยื่อของมัจจุโดยไม่รู้สึกตัว
|
|
|