|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
49,0050,001,ตัวอย่างที่ ๗
|
|
49,0050,002,<B>๑. ตํ คณฺเหยฺย ยทปณฺณกํ</B>
|
|
49,0050,003,สิ่งใดไม่ผิด พึงถือเอาสิ่งนั้น ฯ
|
|
49,0050,004,<B> ๒. ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา</B>
|
|
49,0050,005,ขันติคือความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง ฯ
|
|
49,0050,006,<B>๓. เตสํ วูปสโม สุโข</B>
|
|
49,0050,007,ความสงบระงับแห่งสังขารเป็นสุข<SUP>๑</SUP> ฯ
|
|
49,0050,008,บัดนี้ จักอธิบายความแห่งสุภาษิตทั้ง ๓ ข้อนี้ โดยเอกเทศและ
|
|
49,0050,009,โดยอรรถสัมพันธ์ เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติเป็น
|
|
49,0050,010,ลำดับไป ฯ
|
|
49,0050,011,ธรรมดาสภาวธรรมในโลกนี้มีคู่กัน เช่น มีกลางวันก็มีกลาง
|
|
49,0050,012,คืน มีมือก็มีสว่าง มีร้อนก็มีเย็น มีเป็นก็มีตาย มีผิดก็มีถูก ดังนี้
|
|
49,0050,013,เป็นต้น ผู้มีปัญญาอาศัยสภาวธรรมซึ่งเป็นคู่กันนี้ คิดเทียบเคียง
|
|
49,0050,014,ปรับเข้ากับธรรมสำหรับประพฤติปฏิบัติ ส่วนผู้มีปัญญาทราม ย่อม
|
|
49,0050,015,ไม่คำนึงถึงสภาวธรรมดังกล่าวแล้ว ฯ ความจริง พาลกับบัณฑิต
|
|
49,0050,016,ย่อมมีขันธ์ ธาตุ อายตนะ เท่ากับ อาจจะได้ผ่านพบรู้เห็นสิ่งต่าง ๆ
|
|
49,0050,017,ในโลกเท่า ๆ กัน แต่บัณฑิตย่อมได้สารัตถะในสิ่งที่ตนพบเห็นเป็นต้น
|
|
49,0050,018,นั้นมากกว่าพาล หรือบัณฑิตได้รับคุณ ส่วนพาลได้รับโทษ ทั้งนี้
|
|
49,0050,019,ย่อมเกิดจากความพินิจพิจารณารู้เท่าทันต่อสิ่งนั้น ๆ หรือไม่รู้และถือผิด
|
|
49,0050,020,หรือถูกเท่านั้น ฯ
|
|
|