dhamma-scholar-book / 11 /110022.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
11,0022,001,เกิดเพราะความเพียรก็ดี แม้ไม่ได้เสวยเลยก็ดี ก็ควรจะตรัสรู้อุบาย
11,0022,002,นั้นได้ เหมือนไม้แห้งที่ไกลจากน้ำ บุคคลตั้งไว้บนบก บุรุษอาจสี
11,0022,003,ให้เกิดไฟขึ้นได้ เพราะเป็นของแห้งและตั้งอยู่บนบกฉะนั้น จำเดิม
11,0022,004,แต่กาลนั้น พระองค์ทรงคิดจะทำความเพียร เพื่อจะป้องกันจิต
11,0022,005,ไม่ให้น้อมไปในกามารมณ์ได้ จึงทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา คือ
11,0022,006,ทรมานพระกายให้ลำบาก ซึ่งเป็นที่นิยมนับถือกันในครั้งนั้นว่าเป็น
11,0022,007,กุศลวัตรอันวิเศษ อาจจะทำให้สิ่งที่ปรารถนาสำเร็จได้ก่อน วาระแรก
11,0022,008,ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุด้วยพระชิวหา ไว้ให้แน่น
11,0022,009,จนพระเสโทไหลออกจากพระกัจฉะประเทศ ในเวลานั้นได้เสวยทุกข-
11,0022,010,เวทนาอันกล้า เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังจับบุรุษที่มีกำลังน้อยไว้ที่
11,0022,011,ศีรษะหรือที่คอ บีบให้แน่นฉะนั้น แม้พระกายกระวนกระวายไม่สงบ
11,0022,012,ระงับอย่างนี้ ทุกขเวทนานั้นก็ไม่อาจครอบงำพระหฤทัยให้กระสับ
11,0022,013,กระส่ายได้ พระองค์มีพระสติตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน ปรารภความเพียร
11,0022,014,ไม่ท้อถอย ครั้นทรงเห็นว่าการทำอย่างนี้ไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึงทรง
11,0022,015,เปลี่ยนอย่างอื่น วาระที่ ๒ ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ
11,0022,016,ไม่ให้เดินสะดวกโดยช่องพระนาสิกและช่องพระโอษฐ์ ก็เกิดเสียงดังอู้
11,0022,017,ทางช่องพระกรรณทั้ง ๒ และปวดพระเศียร เสียดพระอุทรร้อนใน
11,0022,018,พระกายเป็นกำลัง แม้ถึงได้เสวยทุกขเวทนากล้าถึงเพียงนี้ ทุกข-
11,0022,019,เวทนานั้น ก็ไม่ได้ครอบงำพระหฤทัยให้กระสับกระส่ายได้ มีพระสติ
11,0022,020,ตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ครั้นทรงเห็นว่า
11,0022,021,การทำอย่างนี้ ไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึงทรงเปลี่ยนอย่างอื่นอีก วาระที่ ๓