dhamma-scholar-book / 13 /130002.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
13,0002,001,พื้นไป ที่ไม่ได้ปรับอาบัติโดยตรง เป็นแต่กล่าวว่า อย่า ๆ ไม่ ๆ
13,0002,002,เป็นคำแนะคำสอนก็มี เช่นนี้มีอยู่ในกถาทั้งหลายอันกล่าวเป็นเรื่อง ๆ
13,0002,003,ไป เมื่อไม่เอื้อเฟื้อในที่จะเว้น พระอาจารย์ท่านปรับเป็นทุกกฏ
13,0002,004,ดุจในเสขิยะ. ข้อที่อนุญาตนั้น น่าจะเห็นว่าเป็นประทานประโยชน์
13,0002,005,พิเศษ เช่นทรงอนุญาตวัสสิกสาฎก ไม่ได้บังคับว่า ภิกษุทุกรูป เมื่อ
13,0002,006,ถึงฤดูฝนจะต้องมีผ้าอาบน้ำฝน เป็นแต่ถ้าต้องการก็มีได้ ใช้จีวรได้
13,0002,007,มากผืนออกไปกว่าไตรจีวร แต่มีอนุญาตบางแห่ง เป็นเหมือนข้อ
13,0002,008,ห้าม เช่นอนุญาตเพื่อปิดประตูก่อนแล้วจึงนอนในกลางวัน นี้ไม่ใช่
13,0002,009,"ประโยชน์พิเศษเลย กลับเป็นเครื่องผูกมัด ควรจะว่า "" อันภิกษุ"
13,0002,010,"ผู้จะพักในกลางวัน พึงปิดประตูเสีย ภิกษุใดไม่ปิด ต้องทุกกฏ """
13,0002,011,เช่นนี้ความจะชัด แต่อย่างไรจึงเป็นอนุญาติไป ข้าพเจ้าเข้าใจว่า
13,0002,012,เป็นเพราะเรียงคำเผลอไป เพราะมีเป็นบางแห่ง พระคันถรจนา-
13,0002,013,จารย์หมายเอาอนุญาตเช่นนี้กล่าวไว้ว่า ไม่ทำตามต้องอาบัติทุกกฏ.
13,0002,014,ส่วนอนุญาตมีปริกัปเห็นได้แท้ เช่นอนุญาตสัตตาหกาลิกในวิกาล ต่อ
13,0002,015,เมื่อมีปัจจัยจึงให้ฉันได้ เมื่อปัจจัยไม่มีและฉัน เป็นอันถือประโยชน์
13,0002,016,พิเศษเกินไป ท่านปรับทุกกฏชอบอยู่. ยังข้อที่สอนให้ทำว่าควร
13,0002,017,อย่างนั้น ๆ จะเรียกข้ออนุญาตโดยอ้อมก็ได้ เมื่อไม่ทำตามข้อ
13,0002,018,เช่นนี้ จะปรับทุกกฏ เพราะไม่เอื้อเฟื้อก็ชอบอยู่ พึงรู้จักข้ออนุญาต
13,0002,019,อันให้ประโยชน์พิเศษ หรือบังคับให้ทำ ดังนี้.
13,0002,020,อาบัติที่ปรับแก่ภิกษุผู้ละเมิดในแผนกนี้ มีแต่ถุลลัจจัยกับ
13,0002,021,ทุกกฏเท่านั้น และถุลลัจจัยก็มีห่าง ทั้งพ้นจากทางแห่งปฏิบัติด้วย