|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
13,0037,001,อันเป็นของทรงอนุญาตแล้วนั้น ใช้ในที่ทั่วไปไม่ได้ ไม่เจ็บเท้า ห้าม
|
|
13,0037,002,ไม่ให้สวมเข้าบ้าน เป็นอาคันตุกะเข้าไปในวัดอื่นก็ให้ถอด ในอาราม
|
|
13,0037,003,อันไม่ใช่ที่ต้องห้าม ในป่าสวมได้. ฝ่าเท้าบางเหยียบพื้นแข็งไม่ได้
|
|
13,0037,004,เหยียบเข้าเจ็บ หรือในฤดูร้อน พื้นร้อน เหยียบเท้าพอง สวม
|
|
13,0037,005,"เข้าบ้านได้ เข้าวัดได้, ในฤดูฝน ไปในที่ฉำแฉะ ภิกษุผู้อาพาธเป็น"
|
|
13,0037,006,โรคกระษัย สวมเพื่อกันเท้าเย็นก็ได้.
|
|
13,0037,007,ส่วนบริขารอื่น พระอรรถกถาจารย์ชี้ชนิดไว้ว่า อย่างนั้นควร
|
|
13,0037,008,อย่างนั้นไม่ควร ดังมีแจ้งในบริขารกถาแห่งบุพพสิกขาวัณณนา
|
|
13,0037,009,ฟังฟั่นเฝือเสียจริง ๆ ยากที่จะกำหนดให้เข้าใจ. ผู้ศึกษาพระวินัย
|
|
13,0037,010,พึงเข้าใจต้นเค้าดังนี้ : ภิกษุย่อมนิยมใช้สอยบริขารที่เป็นของปอน
|
|
13,0037,011,หรือของเรียบ ๆ ไม่ใช้ของดีที่เขากำลังตื่นกันในสมัย อันพึงจะเรียก
|
|
13,0037,012,ว่าของโอ่โถง ความประพฤติปอนของภิกษุนี้ ย่อมนำให้เกิดความ
|
|
13,0037,013,เลื่อมใสแก่คนบางเหล่า ที่เรียกว่าพวกลูขประมาณ แปลว่า มีของ
|
|
13,0037,014,ปอนเป็นประมาณ มีของปอนเป็นเหตุนับถือ. ศิลปะ คือความคิด
|
|
13,0037,015,และฝีมือทำพัสดุสำหรับใช้สอยของมนุษย์ ย่อมเจริญขึ้นโดยลำดับ
|
|
13,0037,016,กาล. ของที่ประณีตในสมัยหนึ่ง ย่อมกลับเลวในสมัยอื่น.
|
|
13,0037,017,ของที่พระอรรถกถาจารย์พรรณนาไว้ว่าเป็นของดีในครั้งนั้น มาใน
|
|
13,0037,018,บัดนี้ กลับเป็นของสามัญหรือของเลวก็มี จะหาของที่ท่านว่าเป็น
|
|
13,0037,019,สมณสารูปเกือบไม่ค่อยได้ เหตุนั้น พึงเข้าใจว่า ท่านก็พรรณนา
|
|
13,0037,020,ตามสมัยของท่าน. ภิกษุผู้เคร่งไม่นึกถึงกาลเทศะ ปรารถนาเพียง
|
|
|