|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
13,0043,001,"ด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด "" อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอันถือ "
|
|
13,0043,002,อุปัชฌายะแล้ว. ภิกษุผู้รับให้พึ่งพิง ได้ชื่อว่าอุปัชฌายะ แปลว่า
|
|
13,0043,003,ผู้ฝึกสอนหรือผู้ดูแล ภิกษุผู้พึ่งพิง ได้ชื่อว่าสัทธิวิหาริก แปลว่า
|
|
13,0043,004,ผู้อยู่ด้วย กิริยาที่พึ่งพิง เรียกว่านิสัย. ส่วนผู้มาขออุปสมบทใหม่
|
|
13,0043,005,ทรงพระอนุญาตให้ถืออุปัชฌายะมาแต่แรก ถือเอาอุปัชฌายะนั้นเอง
|
|
13,0043,006,เป็นผู้นำเข้าหมู่และเป็นผู้รับรอง ให้ออกชื่อในกรรมวาจาสวด
|
|
13,0043,007,ประกาศด้วย คำขอและคำรับก็เช่นเดียวกัน แต่ในบัดนี้ว่าคำขอ
|
|
13,0043,008,นิสัยนำและว่าคำรับเป็นธุระกันข้างท้าย ดังมีแจ้งในอุปสมบทวิธี.
|
|
13,0043,009,ตรัสสั่งให้อุปัชฌายะและสัทธิวิหาริก ตั้งจิตสนิทสนมในกัน
|
|
13,0043,010,และกัน ให้อุปัชฌายะสำคัญสิทธิวิหาริกฉันบุตร ให้สัทธิวิหาริก
|
|
13,0043,011,นับถืออุปัชฌายะฉันบิดา เมื่อเป็นเช่นนี้ ต่างจะมีเคารพเชื่อฟังถูก
|
|
13,0043,012,กันอยู่ ย่อมจะถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัย. ตรัส
|
|
13,0043,013,สั่งให้อุปัชฌายะและสัทธิวิหาริก ต่างเอื้อเฟื้อประพฤติชอบในกันและ
|
|
13,0043,014,กัน หน้าที่อันสัทธิวิหาริกจะพึงทำแก่อุปัชฌายะ เรียกอุปัชฌายวัตร
|
|
13,0043,015,หน้าที่อันอุปัชฌายะจะพึงทำแก่สัทธิวิหาริก เรียกสัทธิวิหาริกวัตร
|
|
13,0043,016,จักกล่าวถึงข้างหน้า.
|
|
13,0043,017,นิสัยอันมีในระหว่างสัทธิวิหาริกกับอุปัชฌายะนั้น ยังอยู่ด้วย
|
|
13,0043,018,กันเพียงใด ก็ยังมีเพียงนั้น ถ้าแยกจากกันชั่ววันหนึ่ง นิสัยระงับ
|
|
13,0043,019,ขาดจากปกครอง ในบาลีแสดงเหตุนิสัยระงับจากอุปัชฌายะไว้ ๕
|
|
13,0043,020,ประการ คือ อุปัชฌายะหลีกไปเสีย ๑ สึกเสีย ๑ ตายเสีย ๑ ไป
|
|
13,0043,021,เข้ารีตเดียรถีย์เสีย ๑ สั่งบังคับ ๑ องค์เหล่านี้ยกสั่งบักคับเสีย ได้
|
|
|