dhamma-scholar-book / 14 /140006.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
14,0006,001,และคนฉลาด จะได้ไม่ตื่นเต้นไม่ติดในสิ่งนั้น ๆ.
14,0006,002,ผู้ใดสำรวมจิตไว้อยู่ ไม่ปล่อยให้เพลิดเพลินละเลิงพัวพันใน
14,0006,003,สิ่งอันล่อในเหล่านั้น ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร. อาการสำรวม
14,0006,004,จิตมี ๓ ประการ คือ :-
14,0006,005,๑. สำรวมอินทรีย์มิให้ความยินดีครอบงำ ในเมื่อเห็นรูป ฟัง
14,0006,006,เสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา.
14,0006,007,๒. มนสิการกัมมัฏฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ คือ อสุภ
14,0006,008,และกายคตาสติ หรืออันยังจิตให้สลด คือมรณสติ.
14,0006,009,๓. เจริญวิปัสสนา คือ พิจารณาสังขารแยกออกเป็นขันธ์
14,0006,010,สันนิษฐานเห็นเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
14,0006,011,กิเลสกาม คือเจตสิกอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ ให้รัก ให้อยากได้
14,0006,012,กล่าวคือ ตัณหา ความทะยานอยาก ราคะ ความกำหนัด อรติ
14,0006,013,ความขึ้งเคียด เป็นอาทิ จัดว่าเป็นมาร เพราะเป็นโทษล้างผลาญคุณ
14,0006,014,ความดีและทำให้เสียคน. วัตถุกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส
14,0006,015,โผฏฐัพพะ อันเป็นของน่าชอบใจ จัดว่าเป็นบ่วงแห่งมาร เพราะ
14,0006,016,เป็นอารมณ์เครื่องผูกใจให้ติดแห่งมาร. บ่วงแห่งมารนี้ ที่ผู้นั้นติดมาแล้ว
14,0006,017,เขาจักเปลื้องหลุดไป จักไม่อาจคล้องเขาให้ติดอีก.