|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
14,0008,001,ขันธ์ที่ ๔ ปนกัน ท่านหมายความต่างกัน สังขารแรกหมายเอาสภาพ
|
|
14,0008,002,อันธรรมดาแต่งขึ้น สังขารหลังหมายเอาสภาพอันแต่งอันปรุงใจให้
|
|
14,0008,003,เป็นต่าง ๆ แต่อย่างไรท่านจึงใช้ศัพท์เหมือนกัน เป็นปัญหาอันจะพึง
|
|
14,0008,004,สนใจ. สังขารนี้ แม้มีประเภทต่าง ๆ กันด้วยอำนาจแห่งกรรมจำแนก
|
|
14,0008,005,แต่ในทรงหนึ่งคงมีลักษณะเสมอกันเป็น ๓ คือ <B>อนิจฺจตา</B> ความไม่เที่ยง
|
|
14,0008,006,<B>ทุกฺขตา</B> ความเป็นทุกข์ <B>อนตฺตตา</B> ความเป็นอนัตตา.
|
|
14,0008,007,<B>อนิจฺจตา</B> ความไม่เที่ยง ย่อมกำหนดรู้ได้ ในทางง่าย ด้วย
|
|
14,0008,008,ความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และความสิ้นในเบื้องปลาย ได้ในบาลีว่า :-
|
|
14,0008,009,<B>อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน<SUP>๑</SUP>
|
|
14,0008,010,อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนุติ ... ... ...</B>
|
|
14,0008,011,สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้น
|
|
14,0008,012,เป็นธรรมดา. (ไม่เลือกว่าเป็นสังขารชนิดไร ประณีตก็ตาม ทราม
|
|
14,0008,013,ก็ตาม) เกิดขึ้นแล้วย่อมดับ.
|
|
14,0008,014,สังขารเหล่าใดได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต สังขารเหล่านั้นได้ดับ
|
|
14,0008,015,เสียแล้วในอดีต. สังขารเหล่าใดย่อมเกิดขึ้นในปัจจุบัน สังขารเหล่า
|
|
14,0008,016,นั้นย่อมดับในปัจจุบัน. สังขารเหล่าใดจักเกิดขึ้นในอนาคต สังขาร
|
|
14,0008,017,เหล่านั้นจักดับในอนาคต. ระยะกาลในระหว่างเกิดและดับแห่งสังขาร
|
|
14,0008,018,ที่สมมติว่ามนุษย์ ท่านกำหนดว่าหย่อนกว่า ๑๐๐ ปี พ้นจากนั้นมีน้อย
|
|
14,0008,019,นัก ไม่ถึงซึ่งอันดับ มีแต่ยิ่งสั้นลงมา.
|
|
|