|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
19,0007,001,กายคตาสติ
|
|
19,0007,002,ศัพท์นี้ แปลว่า สติไปในกาย. กัมมัฏฐานนี้เป็นคู่ปรับแก่
|
|
19,0007,003,กามฉันท์. กมฉันท์มีปกติให้รักสวยรักงาม. กัมมัฏฐานนี้มีปกติ
|
|
19,0007,004,ให้เห็นน่าเกลียดเห็นโสโครก. กุลบุตรผู้มาบรรพชา ย่อมได้รับสอน
|
|
19,0007,005,กัมมัฏฐานนี้ไว้ก่อนจากพระอุปัชฌายะ เหมือนดังได้รับมอบศัสตราวุธ
|
|
19,0007,006,ไว้สำหรับต่อสู้กับข้าศึก คือกามฉันท์ อันจะทำอันตรายแก่พรหมจรรย์
|
|
19,0007,007,พวกภิกษุจึงเรียกกัมมัฏฐานนี้ว่ามูลกัมมัฏฐาน แปลว่า กัมมัฏฐานเดิม
|
|
19,0007,008,ในที่นี้จักแสดงโดยสังเขป.
|
|
19,0007,009,สาธุชนผู้จะเจริญกัมมัฏฐานนี้ พึงกำหนดตจปัญจกะ คือหมวด
|
|
19,0007,010,แห่งอาการ ๕ อย่าง มีหนังเป็นที่สุดให้จำได้ก่อน ทั้งโดยอนุโลม
|
|
19,0007,011,คือตามลำดับ ทั้งโดยปฏิโลม คือย้อนลำดับ. อาการ ๕ อย่างนั้น
|
|
19,0007,012,คือ <B>เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ</B> นี้เป็นอนุโลม. <B>ตโจ ทนฺตา
|
|
19,0007,013,นขา โลมา เกสา</B> นี้เป็นปฏิโลม. ท่านสอนให้จำโดยอนุโลมและ
|
|
19,0007,014,ปฏิโลมดังนี้ เพื่อจะให้แม่นยำ. และพึงรู้จักอาการทั้ง ๕ นั้นด้วย.
|
|
19,0007,015,๑. <B>เกสา</B> นั้น คือสิ่งที่เป็นเส้น ๆ งอกอยู่บนศีรษะ เบื้องหน้า
|
|
19,0007,016,เพียงหน้าผาก เบื้องท้ายเพียงปลายคอต่อ เบื้องขวางเพียงหมวกหู
|
|
19,0007,017,ทั้ง ๒ ข้าง.
|
|
19,0007,018,๒. <B>โลมา</B> คือสิ่งที่เป็นเส้น ๆ เหมือนกันอีกส่วนหนึ่ง อันมิใช่
|
|
19,0007,019,เกสา เส้นหยาบบ้างละเอียดบ้าง งอกอยู่ตามตัวทุกแห่ง เว้นฝ่ายมือ
|
|
19,0007,020,ฝ่าเท้า.
|
|
|