|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
19,0010,001,เมตตา
|
|
19,0010,002,ศัพท์นี้ แปลว่า คุณสมบัติเป็นเหตุสนิทสนม. กัมมัฏฐานนี้เป็น
|
|
19,0010,003,คู่ปรับแก่พยาบาท. พยาบาทมีปกติให้คิดล้างผลาญ กัมมัฏฐานนี้มีปกติ
|
|
19,0010,004,ให้ชอบพอ. สาธุชนผู้เจริญกัมมัฏฐานนี้ พึงนึกถึงคนอื่นเทียบกับตน
|
|
19,0010,005,ว่า เรารักสุขเกลียดทุกข์ ฉันใด คนอื่นก็รักสุขเกลียดทุกข์ฉันนั้น
|
|
19,0010,006,สิ่งที่ชอบใจของเรา ย่อมเป็นของที่ชอบใจของคนอื่น สิ่งไม่เป็นที่ชอบ
|
|
19,0010,007,ใจของเรา ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่นด้วยเหมือนกัน เราจะหาผล
|
|
19,0010,008,ที่ชอบใจ ในทางเสียผลเช่นนั้นของผู้อื่น ย่อมไม่เป็นธรรม. แต่นั้นพึง
|
|
19,0010,009,ปรารถนาความอยู่ด้วยไม่มีภัยไม่มีเวรกับผู้อื่น. ถ้าคนที่ตนไม่ชอบมีอยู่
|
|
19,0010,010,ก็พึงนึกน้อมใจเพื่อให้หายเกลียดชังโดยโยนิโสมนสิการ คือความทำในใจ
|
|
19,0010,011,ถูกทาง. พึงเลือกความประพฤติทางกายก็ตาม ทางวาจาก็ตาม ทางใจ
|
|
19,0010,012,ก็ตาม. เช่นคนมักพูดบาดหูคนอื่น แต่ไม่ใช่คนดุร้ายถึงลงมือด้วยกาย
|
|
19,0010,013,ก็ดี คนมักโกรธแต่ไม่ทำจริงก็มี คนดุร้าย แต่อีกฝ่ายหนึ่งมีน้ำใจ
|
|
19,0010,014,เผื่อแผ่ อนุเคราะห์แก่ผู้อื่นก็มี เช่นนี้เป็นตัวอย่าง พึงนึกถึงความดี
|
|
19,0010,015,ที่มีอยู่ในเขา บางทีจะระงับความเกลียดชังให้เบาลงหรือให้หายได้. ถ้า
|
|
19,0010,016,ไม่มีความดีอย่างใดอย่างหนึ่งของเขา ที่จะพึงเอาขึ้นนึก ก็พึงยังกรุณา
|
|
19,0010,017,คือสงสารให้เกิด คนยากจนทรัพย์ ขาดกำลังเป็นเครื่องทำนุบำรุงชีวิต
|
|
19,0010,018,และร่างกายให้เป็นสุข และไม่ได้ช่องที่จะอนุเคราะห์คนอื่นด้วยกำลัง
|
|
19,0010,019,ทรัพย์ ควรได้รับกรุณาของคนมีทรัพย์ฉันใด คนไร้คุณสมบัติขาด
|
|
19,0010,020,กำลังเป็นเครื่องบำรุงใจให้เป็นสุข ไม่ได้ช่องที่จะชักจูงคนอื่นในความดี
|
|
|