|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
19,0016,001,"<B>ทมฺมสารถิ""</B> แปลว่า ท่านผู้เป็นสารถีฝึกบุรุษควรทรมานได้ไม่มีผู้อื่น "
|
|
19,0016,002,ยิ่งกว่า พระคุณนี้จัดเป็นปรหิตปฏิบัติ คือประพฤติเพื่อประโยชน์ผู้
|
|
19,0016,003,อื่น. พระคุณทั้งสองส่วนนี้ มีในพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้สำเร็จพระ
|
|
19,0016,004,นาม ๙ ประการ เรียกว่า นวรหคุณ แปลว่า คุณของพระอรหันต์
|
|
19,0016,005,๙ ประการ แต่เรียกกลับกันมาเป็นนวหรคุณ บัณฑิตผูกเป็นบทตั้ง
|
|
19,0016,006,ไว้สำหรับระลึกตาม ในเวลาเจริญพุทธานุสสติ ท่านเรียงบทที่เป็น
|
|
19,0016,007,ผลไว้ข้างหน้า เรียงบทที่เป็นเหตุไว้ข้างหลัง. เพื่อจะให้เข้าใจง่าย
|
|
19,0016,008,ในที่นี้ จึงได้อธิบายความแห่งบทอันเป็นเหตุถอยหลังเข้มา.
|
|
19,0016,009,สาธุชนผู้เจริญพุทธานุสสติ ได้อ่านหนังสือแสดงพระพุทธจรรยา
|
|
19,0016,010,มามากแล้ว พบแต่บทแสดงความไว้สั้น ๆ ก็จะพึงเข้าในได้โดยกว้าง
|
|
19,0016,011,ขวาง ฝ่ายชนผู้ไม่ได้อ่านหนังสือเช่นนั้นมาก คงจะเห็นความแต่
|
|
19,0016,012,เฉพาะบทเช่นเดียวกับได้เห็นด้วยตาเอง หรือเห็นแต่รูปถ่าย ความ
|
|
19,0016,013,กว้างแคบย่อมผิดกัน. เมื่อจะเจริญพึงยังศรัทธาเลื่อมใสและเคารพให้
|
|
19,0016,014,เกิดในพระพุทธเจ้าแล้ว พึงบริกรรมนึกบทพระคุณนามเหล่านี้แต่เพียง
|
|
19,0016,015,ลำพังหรือพร้อมทั้งอธิบาย เลื่อนไปโดยลำดับ หรือเลื่อมใสมากใน
|
|
19,0016,016,พระคุณบทใดจะจับเฉพาะพระคุณบทนั้นขึ้นนึกก็ได้ เช่นเคยบริกรรม
|
|
19,0016,017,"กันมาว่า <B>""อรหํ ๆ""</B> หรือ <B>""พุทฺโธๆ""</B> ดังนี้ แต่พึงรู้จักว่ากัมมัฏ-"
|
|
19,0016,018,ฐานนี้เป็นคู่ปรับแก่มิทธะ คือความง่วงงุน ต้องการนึกยาว ๆ
|
|
19,0016,019,ในสมัยใด มิทธะครอบงำ ควรนึกไปโดยลำดับแม้พร้อมด้วยอธิบาย.
|
|
19,0016,020,ในสมัยใดจิตปลอดโปร่ง จะนึกแต่บทที่ขึ้นในก็ได้. หรือในเวลาไข้หนัก
|
|
19,0016,021,ความนึกสั้น จำต้องนึกเฉพาะบทแท้. ในสมัยใด พระคุณของพระ
|
|
|