|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
21,0011,001,ให้พิสดาร ความว่า โยคาพจรกุลบุตรผู้มีศรัทธา ปรารถนาจะเจริญ
|
|
21,0011,002,พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้านั้น พึงทำศีลให้บริสุทธิ์
|
|
21,0011,003,ตัดปลิโพธเครื่องกังวลในเสียให้หมด อาศัยเสนาสนะที่สงัดสมควร
|
|
21,0011,004,แก่ภาวนานุโยคแล้ว พึงนั่งบัลลังก์ขัดสมาธิตั้งกายให้ตรงแล้ว พึง
|
|
21,0011,005,ระลึกตรึกคือไปในคุณของพระพุทธเจ้า. แท้จริง คุณของพระพุทธเจ้า
|
|
21,0011,006,นั้น ถ้าจะกล่าวพรรณนาไปเป็นอย่าง ๆ และ พระคุณมากนักไม่มี
|
|
21,0011,007,ที่สุด ไม่มีประมาณ ใครมีปัญญามากรู้มาก ก็ระลึกตรึกคิดไปได้
|
|
21,0011,008,มาก ใครมีปัญญาน้อยรู้น้อย ก็ระลึกตรึกคิดไปได้น้อย เหมือนอย่าง
|
|
21,0011,009,คนมีเชือกสายสมอยาว ทอดสมอลงไปได้ในที่น้ำลึก คนที่มีเชือกสาย
|
|
21,0011,010,สมอสั้น ทอดได้แต่ในที่น้ำตื้น ๆ ฉะนั้น. ก็พระคุณของพระพุทธเจ้า
|
|
21,0011,011,นั้น เมื่อจะย่นเข้ากล่าวให้สั้น ๆ แล้วมี ๒ อย่าง คือพระปัญญาคุณ
|
|
21,0011,012,และพระกรุณาคุณเท่านั้น. พระปรีชาญาณที่รอบรู้ทั่วไปในสภาวธรรม
|
|
21,0011,013,ที่จริงและไม่จริง สภาวธรรมที่ไม่จริงนั้น คือสมมติว่าสัตว์มนุษย์สตรี
|
|
21,0011,014,บุรุษเราเขาเป็นต้น สภาวธรรมที่จริงนั้น คือขันธ์ อายตนะ ธาตุ
|
|
21,0011,015,อินทรีย์ อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท ครั้นพระองค์ตรัสรู้สภาวธรรมที่จริง
|
|
21,0011,016,และไม่จริงฉะนี้แล้ว สภาวธรรมที่ไม่จริงนั้น พระองค์ละเสียไม่นำมา
|
|
21,0011,017,เป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่จริงนั้นนำมาเป็นอารมณ์ พิจารณาด้วย
|
|
21,0011,018,ปัญญา เห็นว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนละกิเลสกับทั้ง
|
|
21,0011,019,วาสนาขาดจากสันดาน เป็นสมุจเฉทปหาน ข้อนี้เป็นพระปัญญาคุณ.
|
|
21,0011,020,ครั้นพระองค์มาตรัสรู้ในสภาวธรรมที่จริงและไม่จริง จนละกิเลสกับ
|
|
21,0011,021,ทั้งวาสนาของพระองค์ได้แล้ว และทรงสั่งสอนสัตว์อื่นให้รู้ตามเห็น
|
|
|