|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
21,0024,001,คือจะต้องตรึกตรองมองดูด้วยใจ จะแลดูด้วยตามิได้ แลดูด้วยใจแล้ว
|
|
21,0024,002,ก็อาจจะเห็นพระธรรม ทำใจให้บริสุทธิ์หลุดไปจากกิเลสได้ เพราะเหตุ
|
|
21,0024,003,นั้น จึงจะต้องน้อมพระธรรมเข้าในใจ ตรึกตรองพิจารณาไปด้วยใจ
|
|
21,0024,004,นัยหนึ่งว่า พระธรรมนั้นเป็นของอันบุคคลจะพึงน้อมเข้าในใจได้ อธิบาย
|
|
21,0024,005,ว่าผู้ที่บำเพ็ญเพียรรีบเร่งภาวนา ดังรีบดับผ้าและเศียรอันเพลิงไหม้อยู่
|
|
21,0024,006,ฉะนั้นแล้ว ทำมรรคและผลให้เกิดขึ้นในใจ เพราะเหตุนั้น พระธรรม
|
|
21,0024,007,จึงชื่อว่า โอปนยิโก อันบุคคลจะพึงน้อมเข้าในใจได้. เพราะธรรมอัน
|
|
21,0024,008,นั้น วิญญูชนผู้รู้วิเศษทั้งหลายจะพึงรู้แจ้งเฉพาะตัว อธิบายว่า พระ-
|
|
21,0024,009,ธรรมนี้ ท่านที่เป็นนักปราชญ์ทั้งหลายจะพึงเห็นแจ้งในตน ๆ ผู้อื่นที่ไม่
|
|
21,0024,010,ได้รู้จะพลอยมารู้ด้วยท่านนั้นไม่ได้ เหมือนอย่างวิชาศิลปศาสตร์ต่าง ๆ
|
|
21,0024,011,ผู้ใด ได้ศึกษารู้เข้าใจแล้ว ก็รู้เข้าใจเฉพาะตังของผู้นั้นเอง ผู้อื่นที่ไม่
|
|
21,0024,012,ได้ศึกษา จะมาพลอยรู้ในศิลปศาสตร์วิชานั้นด้วยไม่ได้ฉะนั้น.
|
|
21,0024,013,เมื่อโยคาพจรกุลบุตรมาระลึกตรึกคิดไปในคุณของพระธรรมอยู่ก็
|
|
21,0024,014,จะมละเสียได้ซึ่งนีวรณธรรม จิตก็จะตั้งมั่นเป็นขณิกสมาธิ และอุปจาร-
|
|
21,0024,015,สมาธิโดยลำดับ.
|
|
21,0024,016,วินิจฉัยในธัมมานุสสติ ยุติแต่เท่านี้.
|
|
21,0024,017,จะวินิจฉัยในสังฆานุสสติ เครื่องระลึกถึงคุณพระสงฆ์ต่อไปว่า
|
|
21,0024,018,โยคาพจรกุลบุตรผู้เจริญสังฆานุสสติกัมมัฏฐานนั้น พึงอาศัยอยู่ในเสนา-
|
|
21,0024,019,สนะอันสมควร โดยนับที่กล่าวมาแล้วก่อนนั้น แล้วจึงระลึกถึงคุณ
|
|
21,0024,020,ของพระสงฆ์. พระสงฆ์นั้นมี ๒ จำพวก คือ พระอริยสงฆ์จำพวก ๑
|
|
21,0024,021,สมมติสงฆ์จำพวก ๑. ท่านที่ดำรงอยู่ในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่าอริยสงฆ์
|
|
|