|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
23,0031,001,ฝ่ายหมดทิฏฐิมานะลง ก็ระงับเวรอยู่เป็นสุข. ผู้ชำนะจะได้ความ
|
|
23,0031,002,โสมนัสปราโมทย์ไม่มีกี่มากน้อย ถ้าเป็นการใหญ่ ภายหลังไม่วาย
|
|
23,0031,003,ได้รับความแก้เผ็ดจากผู้แพ้. ผู้แพ้ ถ้าเป็นการใหญ่ก็ไม่แต่ระทม
|
|
23,0031,004,ทุกข์อยู่ หาช่องที่จะตอบเวร ถ้าได้ช่องก็ไม่รีรอ รีบแก้เผ็ดผู้ชำนะ
|
|
23,0031,005,จนได้. ผู้ชำนะมาก่อนพลาดแต้มก็กลับเป็นผู้แพ้ ผู้แพ้มาก่อนแข็งมือ
|
|
23,0031,006,ก็กลับเป็นผู้ชำนะ ถ้าไม่เลิกแล้วต่อกันเสียตราบใด ก็ก่อเวรได้
|
|
23,0031,007,ทุกข์ผลัดเปลี่ยนอยู่ดังนี้ตราบนั้น. ผู้ชำนะย่อมก่อเวร มีอธิบาย
|
|
23,0031,008,ดังพรรณนามานี้.
|
|
23,0031,009,๕๘. สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ. [ ๑๓๑ ]
|
|
23,0031,010,การให้ธรรม ย่อมชำนะการให้ทั้งปวง.
|
|
23,0031,011,ให้ธรรมได้แก่แสดงธรรมสั่งสอนเขา การแสดงธรรมสั่งสอนเขา
|
|
23,0031,012,นั้น ตนต้องเป็นผู้ศึกษาจำทรงชำนิชำนาญก่อน เมื่อว่าโดยอุกฤษฏ์
|
|
23,0031,013,ต้องปฏิบัติได้ด้วยประการทั้งปวงแล้ว จึงสมควรสอนผู้อื่นได้ เมื่อว่า
|
|
23,0031,014,โดยพอประมาณ รู้เพียงใด ปฏิบัติได้เพียงใด สอนเขาเพียงนั้นก็ชอบ
|
|
23,0031,015,เช่นพระโสดาบันผู้พระอริยเจ้าชั้นต่ำ ท่านก็สอนผู้ที่ทรงคุณธรรมต่ำ
|
|
23,0031,016,กว่าท่านได้ การให้ทั้งปวง ได้แก่ให้อามิสทั้งปวง. คำว่าชำนะนั้น
|
|
23,0031,017,ประสงคืความว่าประเสริฐกว่า. จริงอยู่ ให้ธรรมทานประเสริฐ
|
|
23,0031,018,กว่าให้อามิสทาน ให้อามิสทานสู้ธรรมทานไม่ได้ บุคคลจะรู้จักให้
|
|
23,0031,019,อามิสทาน ว่าอย่างนี้มีผลน้อย อย่างนี้มีผลมาก หรืออย่างนี้มี
|
|
23,0031,020,ประโยชน์น้อย อย่างนี้มีประโยชน์มาก ก็เพราะรู้จักให้ธรรมทาน. อนึ่ง
|
|
|