|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
25,0007,001,หรือเหมือนอินเดียภาคกลาง. ด้วยเหตุนี้เอง ผลที่ได้จากการจำพรรษา
|
|
25,0007,002,ในฤดูฝน และการจาริกท่องเที่ยวไปในฤดูแล้งของภิกษุในประเทศ
|
|
25,0007,003,สยาม จึงได้ไม่แน่นอนเหมือนในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นแดนเกิด
|
|
25,0007,004,แห่งภิกษุสงฆ์และพระธรรมวินัย เมื่อไม่ได้ศึกษาให้ตลอดถึง
|
|
25,0007,005,ดินฟ้าอากาศแล้ว มักทำให้เกิดการเข้าใจผิดในเรื่องราวซึ่งเกี่ยวกับ
|
|
25,0007,006,ฤดู เพราะสิกขาบทบางอย่างได้บัญญัติอนุโลมธรรมชาติของประเทศ
|
|
25,0007,007,อินเดีย. ทางอินเดียฝนตกชุกภายในพรรษา ทางสยามภาคเหนือ
|
|
25,0007,008,และภาคกลางเพิ่งตกเมื่อจวนออกพรรษา และภาคใต้ตกเมื่อออก
|
|
25,0007,009,"พรรษาแล้ว, ส่วนทางลังกากำลังเป็นฤดูร้อนต้องดูหนังสือกันอยู่ตาม"
|
|
25,0007,010,ใต้ร่มไม้ในสวนที่มีไว้สำหรับพักร้อน. ฤดูกาลในส่วนต่าง ๆ ของโลก
|
|
25,0007,011,ย่อมเป็นไปต่างกันตามภูมิประเทศดั่งนี้.
|
|
25,0007,012,การแบ่งฤดูของปีในอินเดีย ที่อาจพบกันทั่วไปในพระคัมภีร์ทาง
|
|
25,0007,013,พระศาสนาและวรรณคดีโดยมากนั้น แบ่งเป็นฤดูใหญ่ ๆ ๓ ฤดู คือ
|
|
25,0007,014,ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว. ฤดูร้อนมี ๔ เดือน คือ เดือนจิตตะ
|
|
25,0007,015,วิสาขะ เชฏฐะ และอาสาฬหะ เรียกว่า คิมหฤดู. ฤดูฝนมี ๔ เดือน
|
|
25,0007,016,คือ เดือนสาวณะ โปฏฐปทะ อัสสยุชะ และกัตติกะ เรียกว่า
|
|
25,0007,017,วัสสานฤดู. และฤดูหนาวมี ๔ เดือน คือ เดือนมิคสิระ ปุสสะ มาฆะ
|
|
25,0007,018,และผัคคุณะ เรียกว่า เหมันตฤดู.
|
|
25,0007,019,ส่วนในที่อื่น เช่นคัมภีร์เวทสังหิตา<sup>๑</sup> และอรรถกถาชาดกบาง
|
|
25,0007,020,เรื่อง<sup>๒</sup> ได้กล่าวฤดูของประเทศอินเดียไว้ ๖ ฤดู คือ :-
|
|
|