|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
25,0028,001,อยู่ในความควบคุมของมหาราชาอื่น ๆ เช่น กาสี สักกะ เป็นต้น.
|
|
25,0028,002,สำหรับแคว้นสักกะ อันเป็นแคว้นสำคัญสำหรับพุทธบริษัทนั้น มี
|
|
25,0028,003,เรื่องที่จะต้องวินิจฉัยกันยืดยาว จักกล่าวโดยละเอียดในปริเฉทหลัง.
|
|
25,0028,004,นอกจากนี้ ยังมีบุคคลพิเศษ ที่มหาราชบางองค์ทรงแต่งตั้ง
|
|
25,0028,005,ให้เป็นอธิบดี มีอำนาจและหน้าที่ปกครองแว่นแคว้นบางส่วนที่ทรงปราบ
|
|
25,0028,006,ปรามได้มาเป็นเมืองขึ้นของพระองค์ เช่นมหาพราหมณ์ผู้หนึ่งได้รับ
|
|
25,0028,007,แต่งตั้งให้เป็นผู้ครองแคว้นอังคะขึ้นรวมอยู่ในแคว้นมคธ ในยุคพุทธ-
|
|
25,0028,008,กาลเป็นต้น.
|
|
25,0028,009,การแบ่งเขต. สำหรับชมพูทวีปหรือประเทศอินเดียทั้งหมดนั้น
|
|
25,0028,010,นิยมเป็นส่วนใหญ่ ๒ ส่วน คือ มัชฌิมชนบทหรือชนบทร่วมกลาง
|
|
25,0028,011,ส่วน ๑ ปัจจันตชนบทหรือชนบทรอบนอกสุดปลายแดนส่วน ๑ การ
|
|
25,0028,012,แบ่งเขตเช่นนี้ น่าจะเริ่มไว้ตั้งแต่ยุคที่พวกอริยกะยกเข้ามาตั้งในอินเดีย
|
|
25,0028,013,แล้ว. ครั้งแรกคงแบ่งอย่างคร่าว ๆ ตามเหตุผลและความพอใจของ
|
|
25,0028,014,พวกอริยกะเอง คือ เรียกดินแดนกลางทวีปที่พวกตนอยู่ว่ามัชฌิมชนบท
|
|
25,0028,015,เพรียบพร้อมไปด้วยการศึกษาและความเจริญหรืออารยธรรมของพวก
|
|
25,0028,016,ตน. เรียกดินแดนที่พวกตนยกไปตั้งไม่ถึงหรือที่พวกมิลักขะหนีภัยไป
|
|
25,0028,017,ตั้งอยู่ว่า ปัจจันตชนบท. เพราะยังเป็นป่าดอยไม่มีความเจริญมั่งคั่ง
|
|
25,0028,018,เหมือนมัชฌิมชนบท. แต่เขตกั้นพรหมแดนระหว่างมัชฌิมชนบทกับ
|
|
25,0028,019,ปัจจันตชนบทนี้ คงไม่เป็นเขตที่แน่นอนตายตัว เห็นจะขยายออกตาม
|
|
25,0028,020,จำนวนและความเจริญของพวกอริยกะ. เขตแห่งมัชฌิมชนบทในยุคพระ
|
|
25,0028,021,พุทธกาล ปรากฏตามธรรมวินัยนิยมดั่งนี้ :-
|
|
|