|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
25,0043,001,มีผู้นำอักษร ขาโรษตรี หรือ กัษคารฺ (Kharoshtri or Kashgar)
|
|
25,0043,002,"เข้ามาใช้กันในอินเดีย เรียกว่าอักษรพฺราหฺมี, ต่อมาราว ๔๐๐ ปี ได้มี"
|
|
25,0043,003,"การเขียนเรื่องราวเช่นพระคัมภีร์ด้วยอักษรนี้อยู่คราวหนึ่ง, การเขียน"
|
|
25,0043,004,"ใช้เขียนลงในเปลือกไม้ (Birch Bark), เวลานี้ ยังมีคัมภีร์เหล่านี้"
|
|
25,0043,005,อยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งกรุงปารีสและเลนินกราด.
|
|
25,0043,006,ตัวอักษรที่ถ่ายออกมาจากอักษรเซมิติคครั้งแรกนั้น ถูกดัด
|
|
25,0043,007,แปลงเรื่อย ๆ มาตามกาลสมัย และประเทศอินเดียเป็นดินแดนที่
|
|
25,0043,008,กว้างใหญ่ไพศาล มีความเป็นอยู่แยกกัน และติดต่อกันได้โดยยาก.
|
|
25,0043,009,โดยเหตุนี้ รูปอักษรทางฝ่ายเหนือจึงปรากฏว่ามีรูปเป็นเหลี่ยม เพราะ
|
|
25,0043,010,"ใช้เขียนบนเปลือกไม้หรือกระดาษที่ทำจากเปลือกไม้, ทางอินเดียฝ่าย"
|
|
25,0043,011,ใต้ ถูกดัดให้มีรูปกลม เพราะใช้เขียนบนใบไม้ สำหรับอักษร
|
|
25,0043,012,พฺราหฺมี ซึ่งเคยใช้จารึกภาษาปรากฤตในสมัยอโศกนั้น คงใช้กันอยู่
|
|
25,0043,013,แต่ในอินเดียฝ่ายเหนือ และกลายเป็นอักษรเทวนาครีที่ใช้กันอยู่ใน
|
|
25,0043,014,ปัจจุบัน ส่วนอักษรคฤนถ์ ก็กลายเป็นอักษรอินเดียฝ่ายใต้ ถ่าย
|
|
25,0043,015,ทอดออกตลอดมาเป็นอักษรลังกา และอักษรของชนชาติในแหลม
|
|
25,0043,016,ทองนี้ คือ มอญ ขอม พม่า ไทยใหญ่ ไทยน้อย. ส่วนอักษรไทย
|
|
25,0043,017,ปัจจุบันนี้ ก็ได้สืบเนื่องมาจากอักษรอินเดียทั้งฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้รวม
|
|
25,0043,018,กัน เหตุนั้น จึงมีรูปเป็นเหลี่ยมและไม่ได้เขียนซ้อนตัวเหมือนอักษร
|
|
25,0043,019,ชนชาติอื่นในแถบเดียวกัน.
|
|
25,0043,020,อักษรศาสตร์วรรณคดี ในหมู่ชนชาติอนารยะสมัยดึกดำบรรพ์
|
|
25,0043,021,"นั้นยังไม่เจริญพอที่จะมีการศึกษาประเภทนี้, แม้ในพวกหมู่ดราวิเดียน"
|
|
|