|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
26,0041,001,อนิยตสิกขาบท
|
|
26,0041,002,อนิยต ศัพท์นี้ แปลว่าไม่แน่ เป็นชื่อของวิติกกมะ คือ ความ
|
|
26,0041,003,ละเมิดพระบัญญัติ แปลว่า วิติกกมะ ที่ไม่แน่ เป็นชื่อของสิกขาบท
|
|
26,0041,004,แปลว่า วางอาบัติไว้ไม่แน่ มี ๒ คือ ที่ลับตา ๑ ที่ลับหู ๑.
|
|
26,0041,005,คำว่าที่ลับตากับที่ลับหูต่างกันอย่างไร ?.
|
|
26,0041,006,<B>ที่ลับตา</B>
|
|
26,0041,007,ที่ลับตา ประสงค์เอาสถานที่ซึ่งมีวัตถุอันใดอันหนึ่งปกปิดกำบัง
|
|
26,0041,008,เช่นเรือนกั้นด้วยฝาไม้ หรือตึกเรือนโรงบ้านช่อง ที่ก่อด้วยอิฐปูน
|
|
26,0041,009,เป็นต้น อันบุคคลอื่นไม่อาจแลเห็นได้ด้วยตา ที่เช่นนี้ เรียกว่าที่ลับตา.
|
|
26,0041,010,<B>ที่ลับหู</B>
|
|
26,0041,011,ที่ลับหู หมายเอาโอกาสที่แจ้งซึ่งไม่ได้ปกปิดกำบัง ดังกล่าว
|
|
26,0041,012,แล้ว และผู้อื่นที่อยู่ไกล จะฟังถ้อยคำหรือเรื่องราวที่พูดกันนั้นไม่ได้ยิน
|
|
26,0041,013,ที่เช่นนี้ เรียกว่าที่ลับหู.
|
|
26,0041,014,<B>เหตุห้าม</B>
|
|
26,0041,015,การที่ห้ามไม่ให้ภิกษุนั่งในที่ลับตาและที่ลับหูกับด้วยมาตุคามสอง
|
|
26,0041,016,ต่อสองนั้น เพราะประสงค์จะป้องกันความเสียหายหลายอย่างอันจะ
|
|
26,0041,017,เกิดขึ้นแก่ภิกษุและคณะสงฆ์.
|
|
26,0041,018,ก. ยั่วให้เกิดราคะความกำหนัด เพราะหญิงเป็นผู้มีเพศที่เป็น
|
|
26,0041,019,ข้าศึกกับภิกษุ อาจทำลายการประพฤติพรหมจรรย์ของภิกษุได้ง่าย
|
|
26,0041,020,และเป็นไฟฟ้าที่แล่นเข้าไปสู่หัวใจ เร็วยิ่งกว่าไฟฟ้าธรรมดาที่ใช้กัน.
|
|
26,0041,021,-
|
|
|