|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
26,0046,001,รูปิยะ มี ๓ คือ :-
|
|
26,0046,002,๑. ของนั้นเป็นทองหรือเงิน หรือของใช้แทนทองหรือเงิน.
|
|
26,0046,003,๒. เฉพาะเป็นของตน.
|
|
26,0046,004,๓. รับเองหรือใช้ผู้อื่นรับ หรือเขาเก็บไว้ให้ มีจิตยินดีอย่างใด
|
|
26,0046,005,อย่างหนึ่ง.
|
|
26,0046,006,<B>เหตุที่ห้ามภิกษุไม่รับทองและเงิน</B>
|
|
26,0046,007,การที่ห้ามไม่ให้ภิกษุรับทองและเงินนั้น เพราะเพื่อจะป้องกัน
|
|
26,0046,008,ภิกษุไม่ให้กังวลยุ่งยิ่งด้วยสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ อันจะพาให้เกิดความ
|
|
26,0046,009,ทะยานอยากไม่มีที่สุด ไม่เป็นอันตั้งหน้าประพฤติพรหมจรรย์และเป็น
|
|
26,0046,010,เหตุให้แสวงหาในทางผิด ๆ อันบรรพชิตไม่ควรกระทำ อนึ่งภิกษุที่เข้า
|
|
26,0046,011,มาบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ก็โดยหวังว่าจะตัดความกังวล
|
|
26,0046,012,ให้น้อยลง ทำกิเลสและกองทุกข์ให้สิ้นไป เท่าที่จะทำได้ ถ้าหากว่า
|
|
26,0046,013,ภิกษุไม่มีวิรัติในข้อเช่นนี้แล้ว ก็ชื่อว่าบวชก่อกังวล บวชบำรุงกิเลส
|
|
26,0046,014,และกองทุกข์ให้มากขึ้น อันไม่ต่างอะไรจากคฤหัสถ์ที่เขาไม่ได้บวช
|
|
26,0046,015,ซึ่งเป็นการผิดความมุ่งหมายแห่งพระพุทธศาสนา เพราะเช่นนี้ ท่านจึง
|
|
26,0046,016,ห้ามไม่ให้ภิกษุรับทองและเงิน และของใช้แทนทองและเงิน.
|
|
26,0046,017,อนุบัญญัติที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขเนื่องด้วยการรับทองเงิน และของ
|
|
26,0046,018,ใช้แทนทองเงินนั้นผ่อนให้เบาลงมา.
|
|
26,0046,019,การรับทองเงินและของใช้แทนทองเงินนี้ ในชั้นต้นพระพุทธเจ้า
|
|
26,0046,020,ทรงห้ามจริง ๆ จัง ๆ โดยเหตุดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น แต่มาภายหลัง
|
|
26,0046,021,เกิดความขัดข้องขึ้น เช่นจวนจะถึงฤดูการจำพรรษา ภิกษุจะต้องไป
|
|
|