dhamma-scholar-book / 27 /270041.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
27,0041,001,กัณฑ์ที่ ๖
27,0041,002,นิสสัคคิยปาจิตตีย์
27,0041,003,ศัพท์นี้ท่านแยกแปลไว้ ว่า :-
27,0041,004,๑. ศัพท์ว่า ปาจิตติยะ นั้น ท่านแปลว่า การละเมิดอันยัง
27,0041,005,กุศล [ คือความดี ] ให้ตก ได้แก่อาบัติ บางทีจะแปลว่าวีติกกมะ
27,0041,006,อันควรยำเกรงจะได้กระมัง เป็นได้ทั้งชื่ออาบัติ ทั้งชื่อสิกขาบท.
27,0041,007,๒. ศัพท์ว่า นิสสัคคิยะ นั้น แปลว่า ทำให้สละสิ่งของ คือ
27,0041,008,สิ่งใดเป็นเหตุจึงต้องอาบัติทำให้สละสิ่งนั้น แปลอย่างนี้ เป็นคุณบท
27,0041,009,แห่งปาจิตตีย์ ถ้าเป็นคุณบทแห่งสิงของ แปลว่าจำจะสละ.
27,0041,010,สองศัพท์นั้นควบกัน แปลว่าวีติกกมะ ชื่อว่าปาจิตตีย์อันทำ
27,0041,011,ให้สละสิ่งของ เป็นชื่อแห่งสิกขาบท แปลว่าปรับโทษชื่อนั้น.
27,0041,012,สิกขาบทในกัณฑ์นี้มี ๓๐ จัดเข้าเป็นวรรค ๆ ละ ๑๐ สิกขาบท
27,0041,013,คือ :-
27,0041,014,จีวรวรรคที่ ๑
27,0041,015,สิกขาบทที่ ๑
27,0041,016,<B>ภิกษุทรงอติเรกจีวรได้เพียง ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง ถ้าล่วง ๑๐ วัน
27,0041,017,ไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.</B>
27,0041,018,ข้อความที่ควรกำหนด ดังนี้ :-
27,0041,019,เหตุที่ทรงอติเรกจีวรเกินกำหนดไม่ได้
27,0041,020,ธรรมเนียมของภิกษุ เมื่อถึงเดือนท้ายของฤดูฝนเปลี่ยนผ้าไตร-
27,0041,021,จีวรกันคราวหนึ่ง จึงเป็นฤดูที่ทายกถวายผ้า เรียกว่าจีวรทานสมัย