|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
27,0046,001,จีวรเป็นนิสสัคคีย์แล้ว ยังไม่ไดสละ บริโภคต้องทุกกฏ.
|
|
27,0046,002,ลักษณะแห่งอาบัติ
|
|
27,0046,003,สิกขาบทนี้ เป็นอจิตตกะ แม้ไม่ตั้งใจ แต่อยู่ปราศแล้ว ก็
|
|
27,0046,004,เป็นอาบัติ อยู่ปราศจากไม่ถึงคืน ๑ ปัจจุทธรณ์ [ ถอน ] เสีย
|
|
27,0046,005,หรือของนั้นสูญเสีย หายเสีย พ้นไปจากกรรมสิทธิ์ของภิกษุ แต่
|
|
27,0046,006,อรุณยังไม่ทันขึ้น ไม่เป็นอาบัติ.
|
|
27,0046,007,สิกขาบทที่ ๓
|
|
27,0046,008,<B>ถ้าผ้าเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ๆ ประสงค์จะทำจีวร แต่ยังไม่พอ
|
|
27,0046,009,ถ้ามีที่หวังว่าจะได้มาอีก พึงเก็บผ้านั้นไว้ได้เพียงเดือน ๑ เป็น
|
|
27,0046,010,อย่างยิ่ง ถ้าเก็บไว้เกินเดือน ๑ ไป แม้ถึงยังมีที่หวังว่าจะได้อยู่
|
|
27,0046,011,ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.</B>
|
|
27,0046,012,ข้อความที่ควรกำหนด ดังนี้ :-
|
|
27,0046,013,อกาลจีวร
|
|
27,0046,014,จีวรอันเกิดขึ้นนอกเขตจีวรกาล นอกเขตอานิสงส์กฐิน เรียกว่า
|
|
27,0046,015,อกาลจีวร.
|
|
27,0046,016,อากาลจีวรคืออติเรกจีวร
|
|
27,0046,017,อกาลจีวรนี้ ก็คืออติเรกจีวรนั่นเอง แต่ถ้าภิกษุต้องการจะ
|
|
27,0046,018,ทำไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งใช้สอยยังไม่พอ เมื่อมีความหวังว่าจะได้จีวร
|
|
27,0046,019,มาอีก พึงเก็บอกาลจีวรนั้นได้เดือน ๑ ถ้าไม่ต้องการจะทำหรือไม่มี
|
|
27,0046,020,ที่หวังได้ เช่นนี้อายุผ้านั้นเพียง ๑๐ วัน. หรือมีที่หวัง แต่นานกว่า
|
|
27,0046,021,เดือน ๑ จึงจะได้ ก็เก็บไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ วัน.
|
|
|