|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
31,0022,001,อันเป็นโทษร้ายแรง ขาดจากความเป็นภิกษุ ต้องไล่สาปเสียจากหมู่สงฆ์
|
|
31,0022,002,ตลอดชาติ. มัธยมโทษ โทษอย่างกลาง สำหรับลงโทษ แก่ภิกษุผู้
|
|
31,0022,003,ล่วงอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประพฤติทรมานตน ซึ่งเรียกว่าอยู่กรรม
|
|
31,0022,004,ให้ถูกต้องตามวินยานุญาตแล้วจึงเป็นอันพ้นโทษได้. ลหุโทษ โทษ
|
|
31,0022,005,อย่างเบา สำหรับลงโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงอาบัติอีก ๕ กอง นอกนั้นอัน
|
|
31,0022,006,เป็นความผิดที่เพลาลงมา ต้องทำการลุกโทษบอกความผิดนั้นแก่สงฆ์
|
|
31,0022,007,หรือคณะหรือบุคคล ซึ่งเรียกว่าแสดงอาบัติ จึงเป็นอันพ้นโทษได้.
|
|
31,0022,008,สรุปความว่าปาราชิกาบัติเป็นอเตกิจฉา แก้ไขให้คืนดีไม่ได้ อาบัติ
|
|
31,0022,009,นอกนั้นเป็นสเตกิจฉา พอแก้ให้บริสุทธิ์ได้.
|
|
31,0022,010,๒๔๕๖
|
|
31,0022,011,ถ. โทษแห่งอาบัติเป็นโลกวัชชะก็มี ปัณณัตติวัชชะก็มี ฉะนี้
|
|
31,0022,012,ควรปฏิบัติอย่างไร ? จึงจักสมแก่คำว่าปฏิบัติเป็นกลาง ๆ ชี้แจงมา.
|
|
31,0022,013,ต. ควรปฏิบัติอย่างนี้ คือ อาบัติที่เป็นโลกวัชชะนั้นล่วงเข้าแล้ว
|
|
31,0022,014,ยังความเสียหายให้เกิดมาก แม้ทำคืนแล้ว ความเสียหายนั้นก็ยังเป็น
|
|
31,0022,015,เหมือนแผลติดตัวอยู่ ไม่หายได้ง่าย ควรประหยัดให้มาก อย่าล่วง
|
|
31,0022,016,ง่าย ๆ ฝ่ายอาบัติที่เป็นปัณณัตติวัชชะนั้น เหล่าใดที่ภิกษุยังถือเป็น
|
|
31,0022,017,กวดขัน ล่วงอาบัติเหล่านั้นเข้าแล้ว มีความเสียหายได้เหมือนกัน
|
|
31,0022,018,เหล่าใดไม่ถือเป็นจริงจัง เพราะกาลสมัยและประเทศทำให้เป็นอาบัติ
|
|
31,0022,019,เหล่านั้น แม้ล่วงเข้าแล้ว ก็ไม่สู้เป็นอะไรนัก.
|
|
31,0022,020,๒๗/๘/๗๐
|
|
31,0022,021,ถ. อาบัติ ๓ อย่าง เมื่อภิกษุต้องเข้าแล้ว มีหน้าที่ต่างกัน
|
|
|