|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
31,0034,001,ถ. เหตุใดสิกขาจึงจัดเป็น ๓ เท่านั้น ?
|
|
31,0034,002,ต. เพราะเหตุว่า กองกิเลสที่มีอยู่ในสันดานของสัตว์ ท่านจัด
|
|
31,0034,003,เป็น ๓ อย่างคือ ๑. อย่างหยาบ ๒. อย่างกลาง ๓. อย่างละเอียด ที่
|
|
31,0034,004,นอนจมอยู่ในสันดานของสัตว์ เพราะเหตุนั้นสิกขาซึ่งมีหน้าที่สำหรับ
|
|
31,0034,005,ปราบกิเลสของสัตว์ จึงต้องจัดเป็น ๓ เช่นเดียวกัน.
|
|
31,0034,006,๒๔๕๗
|
|
31,0034,007,ถ. เหตุไฉนปัญญาที่เป็นสิกขา จึงประสงค์เอาความรอบรู้ใน
|
|
31,0034,008,กองสังขาร ?
|
|
31,0034,009,ต. เพราะความรอบรู้ในกองสังขาร เป็นหัวข้อที่ประสงค์ใน
|
|
31,0034,010,พระพุทธศาสนา. ความรอบรู้ที่เรียกว่าปัญญานี้ เมื่อจะกล่าวโดยทั่ว
|
|
31,0034,011,ไป ได้แก่กิริยาที่รู้จักเหตุผลตามสภาวะตามธรรมดาของธาตุวัตถุ
|
|
31,0034,012,นั้น ๆ แต่ความรู้ของโลกไม่มีที่สิ้นสุด ของเก่าเสื่อมไป มีของใหม่
|
|
31,0034,013,มาแทน มีของแปลกประหลาดให้เราดูอยู่เสมอ เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าว
|
|
31,0034,014,โดยเฉพาะข้อประสงค์เอาความรอบรู้ในกองสังขาร ทั้งที่มีวิญญาณและหาวิญญาณ
|
|
31,0034,015,มิได้ จะรู้ตลอดทุกอย่างหรือเฉพาะบางประการบางชนิดของสังขาร
|
|
31,0034,016,ก็ตาม แต่ต้องให้รู้พร้อมทั้งเหตุและผลจนเห็นสังขารว่าเป็นของไม่แปลก
|
|
31,0034,017,ประหลาดอะไร เห็นอยู่ได้นาน ๆ วางใจเป็นกลางได้ไม่ยินดียินร้าย
|
|
31,0034,018,ในกองสังขารทั้งปวง ถอนความยึดมั่นถือมั่นเสียได้ จึงจะเรียกว่ารอบรู้
|
|
31,0034,019,เมื่อรอบรู้ตามสภาวะตามเป็นจริงของสังขารแล้ว ชื่อว่าได้สำเร็จผลตาม
|
|
31,0034,020,พระพุทธประสงค์.
|
|
31,0034,021,๒๔๕๖
|
|
|