|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
31,0046,001,ต. ถ้าพระพุทธรูปนั้นมีอารักขาอยู่ และทั้งภิกษุ ก. เชิญเอา
|
|
31,0046,002,ไปด้วยเถยยจิตเช่นนี้ เธอต้องอาบัติตามราคาพระพุทธรูป ถ้าภิกษุ ก.
|
|
31,0046,003,ไม่มีเถยยจิต คิดว่าเป็นของกลางสำหรับพระพุทธศาสนา ใครเอาไป
|
|
31,0046,004,บูชาได้ก็เอาไป เช่นนี้เป็นภัณฑไทย ถ้าโบสถ์นั้นเป็นโบสถ์ร้างปรัก
|
|
31,0046,005,หักพัง ไม่มีใครหวงห้ามปกครอง ภิกษุ ก. ไม่ต้องอาบัติ ต่อเมื่อไร
|
|
31,0046,006,ทราบว่า ที่นั้นมีผู้ปฏิสังขรณ์กลับคืนดีขึ้น ควรให้วัตถุอื่นทดแทนหรือ
|
|
31,0046,007,คืนไว้ที่ยังเดิม อรรถหลังนี้เป็นสามีจิปฏิบัติ ส่วนภิกษุ ข. ไม่ต้อง
|
|
31,0046,008,อาบัติอะไร แต่เป็นการเสียมรรยาท ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของ
|
|
31,0046,009,ภิกษุ ก. แล้ว ได้เชิญกลับมาที่เดิมก็สมควร.
|
|
31,0046,010,๒๔๖๖
|
|
31,0046,011,ถ. หลักฐานที่จะให้เป็นอทินนาทานถึงอันติมวัตถุมีกี่อย่าง ? คือ
|
|
31,0046,012,อะไรบ้าง ?
|
|
31,0046,013,ต. มี ๖ อย่าง คือ ๑. ของนั้นได้ราคาตั้งแต่ ๕ มาสก คือ
|
|
31,0046,014,เท่ากับ ๑ บาทขึ้นไป ๒. เป็นของมีเจ้าของ คือมีผู้ถือกรรมสิทธิ์
|
|
31,0046,015,จะเป็นของเอกชนหรือของกลาง เช่นเป็นของสงฆ์ก็ตาม นัยว่าของ
|
|
31,0046,016,นั้นมีเจ้าของหวงห้าม ๓. รู้อยู่ว่าของนั้นมีเจ้าของหวงแหน ๔. มี
|
|
31,0046,017,เถยยจิต คือตั้งจิตเป็นโจร ๕. พากเพียรพยายามด้วยตนเอง หรือใช้
|
|
31,0046,018,ผู้อื่น ๖. การกระทำนั้นสำเร็จเป็นโจรกรรม.
|
|
31,0046,019,๒๔๖๖
|
|
31,0046,020,ถ. ภิกษุตกลงกับโจรไปลักของเขา แต่ภิกษุไม่ได้เข้าไปลัก
|
|
31,0046,021,เป็นผู้คอยดูต้นทาง โจรลักของเขามาได้ราคาเกิน ๕ มาสก แล้ว
|
|
|